เรียนรู้ร่วมกัน ณ เครือข่ายศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตเมืองชุมพร


ภาพการรวมกลุ่มของชาวชุมพรที่มีบทบาทหลากหลายมีทั้งที่เป็นผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คนทำงานใฝ่เรียนรู้ อิสระชนค้นหาชีวิต และต้นกล้าเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีอายุตั้งแต่ 18 ปี จนถึง 58 ปี เป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ แปลกใหม่ และมีคุณค่ายิ่ง

หลังจากเปิดการอบรมหลักสูตรสัมฤทธิบัตรไปเมื่อวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 อีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมานักศึกษาจากเครือข่ายศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต (คศร.) ทั้ง 3 ศูนย์ของ จ.ชุมพร คือ เมืองชุมพร หลังสวน และพะโต๊ะ ก็ได้เดินทางไปปฐมนิเทศและสานสัมพันธ์กับ คศร.ของ จ.สุราษฎร์ธานี ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองนาสาร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองนาสาร และเป็นที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี)

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 นักศึกษาทั้งหมด 56 คนของ คศร.เมืองชุมพรจึงได้กลับมาพร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้งหนึ่ง ณ ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเทศบาลเมืองชุมพร เพื่อเรียนวิชากระบวนทัศน์พัฒนา ซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้โดยตัวผู้เขียน (อ.ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์) ภาพการรวมกลุ่มของชาวชุมพรที่มีบทบาทหลากหลายมีทั้งที่เป็นผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คนทำงานใฝ่เรียนรู้ อิสระชนค้นหาชีวิต และต้นกล้าเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีอายุตั้งแต่ 18 ปี จนถึง 58 ปี เป็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ แปลกใหม่ และมีคุณค่ายิ่ง ทั้งนี้เพราะเนื้อหาสาระและแนวคิดปรัชญาของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ล้วนเป็นเรื่องการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนของผู้เรียน ที่สำคัญกระบวนการเรียนรู้ยังเน้นการปฏิบัติในชีวิตจริง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพสู่การพึ่งตนเองทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินในท้องถิ่นของตนเอง” เรียนแล้ว “ช่วยตัวเองได้ ช่วยคนอื่นได้”

นายประดิษฐ์ ยมานันท์
นายอำเภอเมืองชุมพร จ.ชุมพร

บุคคลสำคัญท่านหนึ่งซึ่งสนับสนุนให้ผู้นำจากทั้ง 16 ตำบลของ อ.เมืองชุมพร ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ คือ นายประดิษฐ์ ยมานันท์ นายอำเภอเมืองชุมพร ท่านเชื้อเชิญให้ผู้เขียนไปพูดเกี่ยวกับโครงการนี้ในที่ประชุมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านของ อ.เมืองชุมพร เมื่อวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 โดยท่านได้ย้ำเตือนถึงคุณสมบัติของผู้นำท้องที่ว่า จะต้องมีความรู้จริงจากการปฏิบัติและเป็นหลักให้ชาวบ้านได้อย่างน้อย 3 เรื่อง คือ เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย มีกระบวนทัศน์การพัฒนาเพื่อน้อมนำชาวบ้านไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักการวางเป้าหมายและแผนชีวิตเพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ซึ่ง 2 เรื่องหลังมหาวิทยาลัยชีวิตได้ช่วยตอบโจทย์โดยจัดการอบรมในโครงการนี้ ท่านจึงเสนอให้ใช้เงินกองทุนของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านในเขต อ.เมืองชุมพร ที่มีอยู่เป็นทุนส่งผู้ที่มีความเหมาะสมเข้าเรียนอย่างน้อยตำบลละ 1 ทุน ทุนละ 2,500 บาท โดยท่านนายอำเภอได้ให้การสนับสนุนเป็นทุนส่วนตัวอีก 1 หมื่นบาท สร้างความมั่นใจให้กับผู้นำท้องที่ได้เป็นอย่างมาก

และที่ขาดไม่ได้เมื่อรู้ว่า คศร.เมืองชุมพร เปิดการเรียนการสอน ท่านจะต้องแวะมาเยี่ยมเยือนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ คือ นายอำนวย บัวเขียว นายก อบจ.ชุมพร มาครั้งนี้นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาในประเด็นที่ลึกซึ้งเรื่องของการนำคนหมู่มากมาทำความดีร่วมกัน สร้างบุญ สร้างกุศลในโครงการไหว้พระ 9 วัดแล้ว ยังได้รับความประทับใจจากบทเพลง “คนทำทาง”ของกวีซีไรท์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ จากเสียงขับร้องหมู่ของคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต

 

“ประวัติศาสตร์อาจมีในหลายด้าน
แต่คนที่ทำงานไม่เคยจะเอ่ยออกนาม
คนที่แบกหามลุยน้ำลุยโคลน คนที่สรรสร้าง
จากป่าเป็นเมืองรุ่งเรืองงามเพียงเวียงวัง
ด้วยเลือดด้วยเนื้อของคนทำทาง
ถางทางตั้งต้นให้คนต่อไป

จากป่าเปลี่ยวเที่ยวไปในทุกถิ่น
ดังโบกโบยบินพื้นดินเป็นถิ่นอาศัย
หนาวเหน็บเจ็บใจภัยร้ายนานาชีวาว้าเหว่
เช้าค่ำจำเจเร่ไปให้คนเดินตาม
ทุกย่างเท้าเขาเหมือนเงาเลือนราง
ฝังนามฝังร่างอยู่กลางแผ่นดิน

หมายเลขบันทึก: 428110เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ชอบกิจกรรมของโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต
  • เยี่ยมมากๆๆ
  • เอาหนังสือมาฝากพี่ด้วย

 

หน้าปกหนังสือถอดบทเรียนบ้านน้ำทรัพย์

http://gotoknow.org/file/khajitfoythong/covernamsab1.pdf

 

หนังสือถอดบทเรียนบ้านน้ำทรัพย์

http://gotoknow.org/file/khajitfoythong/namsablessonlearned.pdf

 

สวัสดีครับ อาจารย์ไอศูรย์

ผมเพิ่งกลับจากเดินสายไปเยือนเยี่ยม ศรภ. อิสานใต้ (ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ ยโสธร สุรินทร์) -21-24 กพ

พบ นศ. อาจารย์ กรรมการ ศรภ. คศร.  ได้รับรู้ความเป็นไปของ "กระบวนการ" ในที่นั้นๆ  ซึ่งต่างมีความหลากหลาย

ขอบพระคุณในการร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เข้มแข็งของชุมพรครับ

วันเสาร์นี้ ไปจัดกระบวนการที่ คศร. ทต.โป่งน้ำร้อน จันทบุรี แล้ววันที่ ๑-๓ มีนา

จะลงไปสุราษฯ ชุมพร ครับ

  

ขอฝากลิ้งค์   WEB  http://jassada.50megs.com

 ครศ.  พะโต๊ะ

  • ขอบคุณ อ.ขจิต ฝอยทอง มาก ๆ ครับ
  • ผมเข้าไป "สอย" เอกสารถอดบทเรียนของอาจารย์มาอ่านดูแล้ว ได้ไอเดียเลยครับ คือ จะขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนไปใช้เป็นตัวอย่างในการเขียนรายงานของ นศ.ม.ชีวิต ซึ่งมีทั้งรายงานเดี่ยว เรื่อง "50 ปีชุมชนของข้าพเจ้า" และรายงานกลุ่ม เรื่อง "การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน"

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์

 

สวัสดีครับ นายไข่เคว็ด

พบกันวันพุธนี้ (2 มี.ค.54) ที่สวนโมกข์นะครับ ปรับเปลี่ยนกำหนดการอย่างไรค่อยโทรคุยกัน

ขอบคุณครับ

อ.ไอศูรย์

สวัสดีครับ อ.เจษ

  • ผมตามเข้าไปดู http://jassada.50megs.com แล้ว เยี่ยมจริง ๆ ได้เห็นตัวอย่างที่ดีของการบริหารการศึกษาตามแนวทางของ กศน.นำมาประยุกต์ใช้กับ คศร. (ย้ำ..คศร.นะครับไม่ใช้ ครศ.) ดีมากครับ
  • พบกันวันพุธที่ 2 มี.ค.54 นะครับ ผมจะพาทีมงานของสถาบันฯ ไปตรวจเยี่ยม

อ.ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์
ผู้ประสานงาน ม.ชีวิต จ.ชุมพร

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายคุณไอศูรย์ หลังจากห่างหายไปนาน ด้วยภาระงานค่ะ
  • อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                            

ชุติกาญจน์ เลิศศิริสาคร

เฮ้..... ดีใจจังจะได้เป็นนักศึกษา ซะที กลัวแก่เกินเดี๋ยวไม่มีแรงไปรับปริญญา

ชุติกาญจน์ เลิศศิริสาคร

ใครยังลังเลรีบตัดสินใจนะ ปริญญารออยู่ สู้เข้าไปอย่าได้ถอย พี่น้อยรออยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท