๗๐๔.แรงงานเป็ดมีผลต่อต้นข้าวในนา


           การเรียนรู้กับต้นกล้าและทีมงานคนรุ่นหนุ่มรุ่นใหม่  เกี่ยวกับการเพาะต้นกล้า  ซึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก  แม้ว่าจะอ่านมาจากบันทึกของต้นกล้าแต่ก็ไม่เข้าใจเพราะดูมาจากภาพ  แต่คราวนี้ได้เห็นต่างจากที่เคยเห็นคือโปรยข้างลงไปในนาแบบภูมิปัญญา 

 

          การเพาะเมล็ดพันธุ์ลงในถาด  ด้วยวัสดุเพาะต้นกล้าได้แก่ถาดเพาะกล้าขนาด ๓๐ X ๖๐ ซม. ดิน หรือแกลบเผา 

ขั้นตอนที่ ๑  ใส่วัสดุเพาะได้แก่ดินหรือแกลบเผาลงในถาด หนาประมาณ ๒๐ - ๒๓ ซม.  รดน้้ำให้ชุมประมาณ ๑ - ๑.๕ ลิตร

ขั้นตอนที่ ๒  โรยข้าวงอกประมาณถาดละ  ๑๘๐ - ๒๒๐  กรัม

ขั้นตอนที่ ๓  โรยดินหรือแกลบปิดหน้าถาด  หนาประมาณ ๓ - ๕ ซม.  นำถาดขึ้นซ้อกันเพื่อบ่มไว้ ๒ วัน

ขั้นตอนที่ ๔   แผ่ถาดลงในแปลงอนุบาล  จนครบ ๑๕ - ๒๕ วัน จึงนำต้นกล้าไปปักดำ  

          สำหรับนาดำ  จะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในการเพาะพันธุ์ประมาณ   ๘ - ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่

 

             "การปักดำ"  วิทยากรมีความสามารถสูงในการปล่อยมุขมาเป็นระยะ ๆ คราวนี้มุขกระจายออกมาทั้งห้องประชุมว่า "ดำถี่ได้ฟาง ดำห่างได้ข้าว" 

๑. ระยะห่างจากการปักดำ  มีระยะห่างแถวละ  ๓๐ ซม.

๒. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ ๑ หลังปักดำแล้ว ๕- ๗  วัน 

๓. รักษาน้ำคลุมหน้าดินหลักปักดำใน  ๑๕ วัน 

๔.  ไม่ควรปลูกข้าวขวางการส่องแสงของดวงอาทิตย์  จะทำให้ต้นข้าวได้รับแสงไม่พอ 

 

           "แรงงานเป็ด" เป็นการเสนอแนะให้ชาวนาได้ตระหนักเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหาร  คือขณะที่เพาะต้นกล้าให้อนุบาลลูกเป็ดไว้รอ  ภายหลังเมื่อปักดำเสร็จ  และลูกเป็ดมีอายุ ๓ สัปดาห์แล้ว  ให้ปล่อยลูกเป็ดลงในนา  ประมาณ ๔๐ ตัวต่อ ๑ ไร่ 

           ตอนเช้าไม่ควรให้อาหารเป็ดจนอิ่ม เพื่อให้เป็ดลงไปหากินในนา แหวกว่ายในร่องต้นข้าว ย่ำหญ้า จิก จับ กินแมลง  หอย ปู  และการย่ำหญ้าย่ำโคลนตมทำให้ลดก๊าซมีเทนในดินได้อีกด้วย  ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่การเพาะต้นกล้า  การอนุบาลและการปักดำ  "เป็นการประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา  เป็นผลดีต่อการพัฒนาผลผลิตเพื่อสร้างรายได้และจำหน่าย" และตระหนักในการเก็บเงินทุกบาท ทุกสตางค์ที่หล่นลงไปในดินให้คืนมาเพื่อเป็นต้นทุนในการผลิตต่อไป

 

รถดำนาแบบเดินตาม ๔ แถว

สามารถทำงานได้ ๖-๘ ไร่ต่อวัน

รถดำนำแบบนั่งขับ  ๖ แถว

สามารถทำงานได้ ๑๗-๒๒ ไร่ต่อวัน 

 

          บันทึกฉบับนี้  เป็นการเล่าประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำนาเพื่อพัฒนาผลผลิต  เพราะยังมีชาวนาอีกจำนวนมากที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน  และได้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มกับการลงแรงลงทุน  และประสบกับปัญหาสารพิษตกค้างในร่างกาย  จึงถือโอกาสนำมาเล่า 

          บรรยากาศในการเรียนรู้  เป็นความรู้สึกที่มีความสุข  เพราะชาวนามีอารมณ์ดีกันทุกคน  แบ่งปันความรู้และประสบการณ์แบบภาษาพื้นบ้านง่าย ๆ ซื่อ ๆ เป็นกันเอง  ยิ้มแย้มแจ่มใสที่มองตาแล้วเห็นทะลุถึงก้นบึ้งของหัวใจ  อีกส่วนหนึ่งก็เป็นอาจารย์และนักศึกษาเกษตร ที่มีความติดดินเปื้อนโคลนโดยเนื้อแท้  คนแบบบ้านบ้านคิดอะไรก็พูดแบบนั้น  ตรงไปตรงมา ไม่หลุดปากไทยคำลาวสองคำให้รกหู  สื่อใจถึงใจไม่นุ่มนวล ไม่อ่อนหวาน ไม่หยาบกระด้าง แต่อ่อนโยนในจิตใจ 

        แม้ว่าฉันจะไม่ค่อยมีความรู้อะไรเลย พวกเขาก็ไม่แสดงรังเกียจ  เขาใช้ภาษาเรียบง่าย  ในการอธิบายให้ฉันได้เข้าใจ  ฉันชอบอยู่สังคมแบบนี้แม้ว่าจะไม่มีระดับเหมือนคนบางกลุ่มแต่มากด้วยคุณค่าทางจิตใจ

 

 

หมายเลขบันทึก: 428236เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

เรียนคุณยายคิมครับ

เจ้าตัวนี้เองที่มาแทนเจ้าทุยหน้าทื่อที่เคยอยู่ทุ่ง

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยพบเท่าไร เรียกว่า 2 ทุย

 


นำสองทุยมาฝากไว้นึกถึงเพลงเก่าๆ รุ่น 1960 

ชอบจัง ฟังแล้วเหงาจังคุณยายคุมครับ "เจ้าทุยอยู่ไหน"....

สวัสดีครับ

             มอบดอกไม้ให้กันนั้นสดชื่น

           เคยหลับตื่นฟื้นฝันเริ่มวันใหม่

           คงมอบให้จากห้วงแห่งดวงใจ

           เสริมส่งให้มีพลังที่ตั้งปณิธาน

 

             ครับ  ละเลงบนแป้นพิมพ์  นี่ออกมาจากใจ

สวัสดีค่ะ ยามค่ำๆ แบบนี้ วิวัฒนาการ การดำนาเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพราะขาดคนทำนา จึงต้องมีสิ่งทดแทนนะคะ  และคงจะถูกกว่าแรงงานแน่นอน นะคะพี่คิม จากรถเกี่ยวข้าวก็มาถึงรถดำนา  น่าสนใจมากๆๆๆ

สวัสดีค่ะ...พี่คิม...

  • พ่อบ้านบอกว่ายุคนี้เป็นยุคของ satellite - farming (ทำนาโดยใช้สัญญาณของดาวเทียม) จริง ๆ ค่ะ...
  • สำหรับ "ควาย" หรือ เจ้าทุย ไม่ค่อยเห็นแล้วค่ะ...
  • สมกับเป็นโลก IT จริง ๆ ค่ะ...
  • ขอบคุณที่ทำให้น้องเห็นภาพรถดำนาค่ะ...บอกตรง ๆ ว่าเพิ่งเคยเห็นจริง ๆ ค่ะ...

ได้ความรู้ทั้งดูอ่านท่านถ่ายทอด     ครูคิมยอดถอดให้เห็นเช่นเตือนไว้

ทุกหยาดเหงื่อชาวนาพระคุณไทย   เพิ่มผลผลิตคิดใหม่ไทยพัฒนา

แต่เสียดายรัฐบาลท่านโง่เขลา        ไม่ค่อยเอาใจใส่ในปัญหา

ข้าวที่ทำนำหนี้ให้ไร้ราคา               เป็นแรงงานไร้คุณค่าชาวนนาไทย

ทำนาไปได้แค่ฟางทั้งหนี้เพิ่ม         แต่พวกเสริมโรงสีที่รวยได้

ผู้ส่งออกร่ำรวยด้วยอะไร               เห็นชาวนาเป็นควายหรือไรกัน


สวัสดีค่ะอาจารย์โสภณ เปียสนิท

เขาทำแล้วเห็นผลค่ะ  เหมาะสำหรับการนำมาพัฒนาการดำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตในทางเศรษฐกิจนะคะ

เพราะสมัยนี้เทคโนโลยีมันล้ำหน้าแล้ว  หากใครจะใช้ควายก็เป็นเรื่องของภูมิปัญญาแบบไทย ก็ควรอนุรักษ์  หากจะมาทำเพื่อเศรษฐกิจก็คงสู้เครื่องจักรไม่ได้แล้วค่ะ

สวัสดีค่ะนาย ประทีป ประทีป วัฒนสิทธิ์

ขอขอบพระคุณสำหรับกำลังใจค่ะอาจารย์

อาจารย์เขียนกลอนเก่งจังค่ะ

ไปเรียนรู้เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชาวนาให้ดำนาอย่างถูกวิธีค่ะ

สวัสดีค่ะRinda

วิธีการนี้เหมาะสำหรับการดำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตและการจำหน่ายค่ะ  เพราะรวดเร็ว ทุนแรง เพิ่มผลผลิต  ลดต้นทุนนั่นเองค่ะ

ทีมงานเขามีได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม  การปรับปรุงพัฒนาและเป็นกำลังใจไม่ให้ขายที่ทำกินค่ะ

สวัสดีค่ะบุษยมาศ

พี่คิมว่าการใช้ควายไถนาก็น่าจะอนุรักษ์และเหมาะสำหรับการทำนาในครอบครัวอยู่นะคะ

พี่คิมก็เพิ่งได้ทราบการทำนา ประเภทต่าง ๆ และกระบวนการดำนาก็คราวนี้ค่ะ  ที่พรหมพิรามเขามีการรวมกลุ่มกันมาแล้วนะคะ

วันอาทิตย์นี้จะไปเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณวิโรจน์ พูลสุข

วันนั้นได้เห็นภาพการทำนาของไต้หวันและญี่ปุ่นด้วยค่ะ เขาได้รับการดูแลจากรัฐบาลทุกขั้นตอน รวมไปถึงการรักษาสิทธิ์ในการจำหน่ายด้วยค่ะ

เมื่อไหร่ประเทศไทยเราจะเป็นแบบนั้นนะคะ แม้กระทั่งการป้องกันน้ำท่วมนา รัฐบาลก็หาวิธีการจัดการที่ดีให้

ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ Ico48

  • ตามมาชื่นชมงาน พี่คิมมีงานตามติดไม่ทันเลยนะคะ
  • และตามมารายงานการจับผิดหนังสือต่อ...หน้า 61 บรรทัดสุดท้ายคำว่ากรุงเทพเครื่องหมายไปยาลน้อยหายไป หน้า 62 ยายบอกได้ น่าจะเป็นได้บอก หน้า97 คำว่ากระตือรือล้น คำที่ถูกคือ กระตือรือร้น
  • เสนอไว้เพื่อพิจารณาค่ะ เพราะต้องการยืนยันว่าอ่านจริง อิอิ
  • เนื้อหาอ่านแล้วบอกได้ว่า สุดยอดค่ะวางไม่ลงต้องลุยให้จบ
  • ขอให้มีความสุขในการทำงานสร้างสรรค์ต่อไปค่ะ

ดูท่าพี่ครูเกษียญ.. แต่ได้เรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิมอีกนะครับนี่..

คนมีไฟ...ก็อย่างนี้..นับถือ ๆ

สวัสดีค่ะkrupong

ขอขอบพระคุณอย่างสูงเลยนะคะ  พี่คิมจะรีบแก้เดี๋ยวนี้ค่ะ  แก้เองไม่ได้หรอกค่ะ ต้องเมล์ไปให้ผู้จัดทำแก้ให้ค่ะ

ตอนท้าย ๆ ไม่เท่าไรนะคะ  เพราะตอนโน้นมีเรื่องให้เขียนน้อยค่ะ 

  • สวัสดีครับ
  • บันทึกนี้มีประโยชน์จังครับ แต่ปล่อยเป็ดลงนา ต้นกล้าจะบ่หักหรือครับ ที่น่าห่วงตอนนี้คือผู้ที่ทำนาปรัง เพราะไม่มีน้ำจะใส่นาเลี้ยงต้นกล้า
  • ที่เชียงราย บ้านแม่ผม ปีที่แล้วผมเห็นเกือบทั้งตำบล พากันทำนาปรังเพราะข้าวแพง แล้วเจาะน้ำบาดาล สูบน้ำใต้ดินใส่นาทั้งวัน ทั้งคืน หมดค่าน้ำมันไปไม่รู้เท่าไหร่ แถมแล้งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน น้ำบาดาลสูบมาใช้แทบไม่ขึ้น
  • การทำนาลงทุนค่อนข้างมาก ที่สำคัญชาวนาบ้านเรายังไม่มีทุน ที่จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย นอกจากรถไถ และรถเกี่ยวข้าวครับ

สวัสดีค่ะเกษตร(อยู่)จังหวัด

ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีนะคะที่ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน  อีกอย่างได้ทำให้รู้สึำนึกในพระคุณของคนปลูกข้าวให้เราทานด้วยค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะชำนาญ เขื่อนแก้ว

พี่คิมได้ชมภาพจากต่างประเทศแล้วค่ะ กับการไล่เป็ดลงนา  ที่นครสวรรค์เขาก็ทำได้แล้วนะคะ

การใช้เครื่องมือเหล่านี้ เขาแนะนำให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนค่ะ  มีอุปกรณ์อื่น ๆ ตั้งแต่เพาะกล้าจนถึงนวดข้าวได้ฟางมาขายค่ะ

การทำนาที่บ้านเรา...ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐเท่าที่ควรค่ะ  โดยเฉพาะการทำคลองส่งน้ำ ไม่มีการจัดการที่ดีเพื่อประโยชน์ต่อชาวนาค่ะ  มีคลองจริงคนมีตังค์ก็สูบเอา ๆ ๆ ๆ คนไม่มีตังค์ก็ตามมีตามเกิด...คิดแล้วฟุ้งไปกับเขาอีก

แต่ถ้ามีการทำนาแบบต้องการเพิ่มผลผลิตในการจำหน่าย พี่คิมว่าลงทุนแล้วคุ้มค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ที่นำภาพมาลงให้ดูด้วย  ความรู้ใหม่จริงๆ

เพราะมัวอยู่กับ ก.ไก่ ก.กา ในกรุงเทพฯ

ห่างเหินการเกษตรมาเสียนาน  

พี่คิมครับ จัดไปอีกหนึ่งบันทึก ย้อนหลังเดือนจากงานเดือน มกราคมครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/428473

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนครับ

เรียน คุณคิม เพื่อสอดคล้องบรรยากาศ ขอนำ "กลอนสอนศิษย์"

2  บท  หากอ่านเพิ่มก็เข้าดูที่เว็บของผมเป็นพระคุณยิ่ง  (ประมาณ 300 กว่าบท)

 

        คุณเปิบข้าวหอมมะลิซิใจชื่น

รสระรื่นรวยรินกลิ่นสวรรค์

อิ่มเอมเกษมสุขทุกทุกวัน

ผลิตภัณฑ์หยาดเหงื่ออยู่เหนือจาน

 

      กว่ามาเป็นเม็ดข้าวขาวสะอาด

ลองนึกวาดภาพชาวนาน่าสงสาร

กระดูกสันหลังแม้ผุพังยังบริการ

ทรมานทนทำจากจำเป็น

 

                   ขอบคุณมากครับ

 

  • สวัสดีค่ะ พี่คิม
  • "แรงงานเป็ด" มีประโยชน์และคุณค่าไม่น้อย
  • "กว่าจะเป็นเม็ดข้าวให้เจ้าเคี้ยว..." ช่างเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสจริง ๆ นะคะ
  • ขอบพระคุณที่ไปทักทายค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูอัมพร

เพิ่งทราบเหมือนกันค่ะว่ากระบวนการทำนาจริง ๆ ถ้าได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากภูมิปัญญา  และมีแนวคิดทางวิชาการไปผสมผสาน  จะทำให้ผลผลิตดีค่ะ

สวัสดีค่ะต้นกล้า

ขออภัยที่เขียนชื่อลุงสุกันผิดไป  จะติดตามไปแก้ใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะนาย ประทีป ประทีป วัฒนสิทธิ์

ขอขอบพระคุณค่ะ

ท่านเขียนกลอนได้ไพเราะ กินใจ  ขอชื่นชมด้วยใจจริงค่ะ

สวัสดีค่ะธรรมทิพย์

ตั้งแต่พี่คิมได้ไปเรียนรู้ ทำให้รู้สึกเห็นใจและตระหนักในพระคุณของชาวนามากค่ะ  และคนรุ่นสาวหันมาทำนากันบ้างแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะคุณยาย

ขอขอบคุณดอกไม้สวย ๆ ค่ะ  ถ่ายภาพเก่งนะคะขอบอกค่ะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

  • สนับสนุนและมีความคิดเห็นเหมือนคุณวิโรจน์ค่ะ ฮา...........
  • อิ..อิ..อิ...
  • คิดถึงค่ะ 
  • ภาพสวยทุกภาพเลยค่ะพี่คิม  สดใส เป็นไปตามธรรมชาติของชาวนา
  • ใช้กล้องถ่ายรูปรุ่นไหนคะ  คุณยาย  ถึงได้ชัดแจ๋ว  แจ๋วทุกภาพค่ะ
  • กล้องรุ่นคุณป้า(ป้าตาล) ก็สู้กล้องรุ่นคุณยายไม่ได้ 55555555+

เอ้า  แล้วกัน  เดี๋ยวก็งงกันใหญ่  ลืมไปค่ะว่าเม้นท์บนเป็นของน้องคุณยาย

พออ่านเม้นท์ที่คุณยายคิมตอบน้องคุณยาย แล้วถึงได้คิด

เอาใหม่ค่ะ

  • สนับสนุนและมีความคิดเห็นเหมือนคุณวิโรจน์ค่ะ ฮา...........
  • อิ..อิ..อิ...
  • คิดถึงค่ะ 
  • ภาพในบันทึกสวยทุกภาพเลยค่ะพี่คิม  สดใส เป็นไปตามธรรมชาติของชาวนา
  • ใช้กล้องถ่ายรูปรุ่นไหนคะ  คุณยายคิม  ถึงได้ชัดแจ๋ว  แจ๋วทุกภาพค่ะ
  • กล้องรุ่นคุณป้า(ป้าตาล) ก็สู้กล้องรุ่นคุณยายคิมไม่ได้ 55555555+
  • สวัสดีค่ะอิงจันทร์

    พี่คิมได้ชมภาพการทำนาของไต้หวันและญี่ปุ่นมาเหมือนกันค่ะ แต่ไม่กล้าเขียน  กลัวรู้ไม่จริง

    แต่เป็นการตรงข้ามกับบ้านเรานะคะ ที่นั่นรัฐบาลเขาดูแลชาวนา  ระบบน้ำ ระบบการบำรุงดิน  ผลผลิต  และการจัดการ  ดีมากค่ะ

    ภาพคุณยายสวย ๆทุกภาพ อย่างว่านะแหละคนสวยเสียอย่าง โพสท่าไหนก็ดูดีไปหมด  พี่คิมต้องพยายามถ่ายภาพตอนกลางคืนแล้วค่ะ รอยยับบนใบหน้าจะได้ถูกความมืดบดบังไงคะ ฮา ๆ ๆ

    สวัสดีค่ะอิงจันทร์

    แต่พี่คิมก็อ่านรู้เรื่องนะคะ

    ใช้กล้องดิจิทัลขนาดเล็ก CANON IS95 ค่ะ  ก็พอใช้ได้ราคาไม่แพงค่ะ หมื่นต้น ๆ

    ยิ่งคนคิดเทคโนโลยีได้มากขึ้นคนก็ยิ่งว่างงานมากขึ้น

                        ***  เป็นภูมิปัญญา....ที่ได้ทั้งพลังงานและพลังใจที่ดีนะคะ  พี่คิม  ***

                                                         glitter disney

    -สวัสดครับคุณยาย...

    -ชอบๆ ๆๆ  ครับ.

    -เส้นทางสาย "นาดำ"

    -ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ดี ครับ...

    สวัสดีครับ

              ช่อดอกไม้ยื่นให้กำลังใจ

    แสนยิ่งใหญ่อื่นใดอะไรเท่า

    ช่วยเสริมใจเสริมจิตติดดังเงา

    กระไรเล่าลืมลงคงตราตรึง

            กำลังใจใหม่เพิ่มเหมือนเติมฝัน

    ความมุ่งมั่นตั้งใจไปให้ถึง

    แม้จะนานขานจิตคิดคำนึง

    สุดซาบซึ้งตรึงใจไปนิรันดร์

     

           ไพเราะเพราะจากใจจริง  แต่งบนแท่นพิมพ์..ครับ

                                ขอบขอบพระคุณช่อดอกไม้ 

    สวัสดีค่ะเบดูอิน

    เท่าที่ได้ไปเรียนรู้  ที่เขานำเทคโนโลยีมาใช้ก็เพราะเขาขาดแรงงานค่ะ  อีกอย่างหนึ่งเขาทำเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตในกรณีที่ทำนาเพื่อจำหน่ายผลผลิตค่ะ  ทำให้มีผลผลิตเพิ่มและลดต้นทุน

    กำลังวางแผนจะไปเรียนรู้อย่างจริงจังในรอบหน้านี้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณยาย

    ขอขอบคุณค่ะ  มากับดอกไม้สวยคู่กับคนสวยนี่เอง

    สวัสดีค่ะK.Pually

    การทำนาเป็นภูมิปัญญาและอาชีพหลักของคนไทย  หากไมได้รับการพัฒนาปล่อยไปตามมีตามเกิด พี่คิมว่าอีกหน่อยพวกเราจะไม่มีข้าวกินค่ะ

    นึกถึงหมู่บ้านที่พี่คิมอยู่  เดิมเป็นท้องนานะคะ  ปัจจุบันไม่มีที่แม้แต่จะปลูกผักเลยค่ะ  เนื่องจากไม่มีคนทำนา เจ้าของเลยขายที่ค่ะ

    สวัสดีค่ะเพชรน้ำหนึ่ง

    หวังว่าคงได้พบกับน้องต้นกล้าแล้วนะคะ  เห็นบอกว่าจะไปพบคุณเพชรค่ะ  คราวหน้าให้พี่คิมมีโอกาสได้มาเรียนรู้การทำนาแถวเมืองพรานฯ บ้างนะคะ

    รู้สึกดีค่ะที่ได้สัมผัสกับชาวนาจริง ๆ

    สวัสดีค่ะนาย ประทีป ประทีป วัฒนสิทธิ์

    ขอขอบคุณ ไมตรี  ที่มีให้

    กลอนจากใจ  มิ่งมิตร  ลิขิตฝัน

    ร้อยเรียงถ้อย  ฝากคำ   มาจำนรรจ์ 

    สุดสร้างสรรค์  แลกเปลี่ยน  แวะเวียนมา...(เยี่ยม)

    -สวัสดีคับยายคิม....

    -มาส่งข่าวว่าไม่ได้พบกับคุณต้นกล้าเลยครับ...

     

    สวัสดีค่ะเพชรน้ำหนึ่ง

    จะส่งเบอร์ต้นกล้าไปให้ทางเมล์นะคะ  เพราะต้นกล้าเขาอยู่แถวนี้แหละค่ะ

    แวะมาเพิ่มเติม ครับ

    เรื่องการเลี้ยงเป็ดในนาข้าว

    เนื่องจากแปลงนากับบ้านชาวนาอยู่ห่างกัน ก็เป็นข้อจำกัดหนึ่งในการเลี้ยงเป็ดในร่องนาดำ

    จึงแนะนำให้ ชาวนาติดต่อ เจ้าของเป็ดไล่ทุ่ง(เลี้ยงหลังเกี่ยวข้าว กินข้าวเปลือกร่วงหล่น ประมาณ 60 กก/ไร่) มาเลี้ยงในเเปลงนา ที่ทำการปักดำไปแล้ว ตั้งแต่สัปดาห์ที่สอง -ข้าวก่อนตั้งท้อง เก็บเป็ดขึ้นขังคอก...

    วิธีนี้จะประหยัด

    1.ลดเวลาการดูแลเป็ดของชาวนา เจ้าของเป็ดเป็นคนดูแลเอง

    2. win-win ทั้งเจ้าของเป็ด และเจ้าของนา

    ขอบคุณครับ

      

    สวัสดีค่ะต้นกล้า

    ขอขอบคุณที่มาเติมเต็ม 

    วันที่ ๑๑ - ๑๒ เจอกันค่ะ อาจเจอพี่หนานเกียรติด้วยหละ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท