Petty Officer First Class (1 PO )สู่เส้นทางCaptain (CAPT) ทางการศึกษา ในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย


ยศทหารและตำรวจในประเทศไทยตามแบบชาติตะวันตกเริ่มกำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการปรับปรุง และจัดระบบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ตามแบบยุโรปในทุกด้าน

Petty Officer First Class (1 PO ) Watcharee Chotirat

ยศทหารและตำรวจในประเทศไทยตามแบบชาติตะวันตกเริ่มกำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการปรับปรุง และจัดระบบระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ตามแบบยุโรปในทุกด้าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกยศและบรรดาศักดิ์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด และโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบกขึ้นในปี พ.ศ. 2431 กำหนดให้มียศทหารบกตามลำดับชั้นแบบอารยประเทศ ต่อมาเมื่อจัดระเบียบฝ่ายทหารบกเรียบรีอยแล้วจึงให้จัดระเบียบยศทหารเรือ โดยอนุโลมตามแบบกองทัพเรือต่างประเทศเป็นลำดับถัดมา

เมื่อมีการจัดตั้งกองทัพอากาศในสมัยรัชกาลที่ 8 ก็ได้จัดระเบียบยศทหารโดยอนุโลมตามแบบกองทัพเรือ ส่วนยศของตำรวจนั้นได้นำรูปแบบยศของกองทัพบกมาปรับใช้โดยอนุโลม

ยศต่างๆ ในประเทศไทยสมัยปัจจุบันมีกฎหมายรองรับเป็นพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479 สำหรับยศของสามเหล่าทัพ[1] และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 สำหรับหน่วยงานตำรวจ[2] สำหรับยศของทหารและตำรวจชั้นสัญญาบัตรของไทยนั้น เป็นยศที่ต้องมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้น เมื่อส่วนราชการของทหาร-ตำรวจ ได้แต่งตั้งทหาร-ตำรวจให้มียศสัญญาบัตรใด ๆ จะมีคำว่า "ว่าที่" (Acting)ของยศนั้นนำหน้า จนกว่าจะได้นำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ให้ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานยศแล้ว จึงจะไม่มีคำว่า "ว่าที่" นำหน้ายศนั้นๆ เว้นแต่ยศทหาร-ตำรวจ ชั้นนายพล ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงพระมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศพร้อมๆกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

การเปรียบเทียบชั้นยศของทหารกับพลเรือนจะเปรียบเทียบได้ดังนี้

นายทหารชั้นสัญญาบัตร

อัตรา ชั้นยศ

น.1 ร้อยตรี-ร้อยโท เรือตรี-เรือโท เรืออากาศตรี-เรืออากาศโท (C3-C4)

น.2 ร้อยเอก-พันตรี เรือเอก-นาวาตรี เรืออากาศเอก-นาวาอากาศตรี (C5-C6)

น.3 พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท (C7)

<span>น.4 พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก(C8)</span>

น.5 พันเอก(พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ)(C9)

น.6 พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี (C10)

น.7 พลโท พลเรือโท พลอากาศโท (C10-C11)

น.8 พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก (C11)

น.9อัตราจอมพล ของ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก

 

++++ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

บันทึกนี้ข้าพเจ้าผู้เขียน..เขียนเพื่อระลึกถึงจุดเริ่มต้นของชีวิตการทำงานที่กองทัพเรือเป็นผู้ให้โอกาสเข้ามาเป้นจ่าเหล่ายย.หรือมีชื่อเต็มว่า เหล่ายุทธโยธา เริ่มต้นจากการฝึกเพื่อเข้าเป็นทหารหญิง ที่ศุนย์ฝึกทหารใหม่ สัตหีบ ชลบุรี แล้วติดยศจ่าตรีที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ สัตหีบ ชลบุรี เช่นกันเพราะได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ช่างเขียน หมวดผลิตภาพ เหล่าช่างยุทธโยธา สังกัดอร.หรือกรมอู่ทหารเรือ กรุงเทพฯ แต่ถูกส่งให้ไปประจำที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือดังกล่าว ที่นั่นได้ฝึกให้เป็นคนอดทนอยู่แล้ว ได้อดทนเพิ่มขึ้นไปอีก และคนที่ไม่เคยอดทนอะไรเลยก็จะได้รู้จัก ทุกคน ถอดยศของตนออกสิ้น ประทวน+สัญญบัตรฝึกด้วยกัน แต่เมื่อกลับไปยังหน่วยหัวโขนก็ถูกใส่ลงพลัน แต่ความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องยังอยู่...ที่นั่นข้าพเจ้าได้รู้จักทั้งการให้และรับอย่างต่อเนื่อง ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เอกวิชาศิลปะ วิชาโทวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่นี่ได้ทำการฝึกสอนแบบจำลองโดยการใช้เพื่อนเป็นนักเรียน และเราเป็นครูผู้สอน อาจารย์ผู้สังเกตการสอน กล่าวว่า วัชรี ถ้าเธอจะเปลี่ยนอาชีพจากทหารเรือ ไปเป็นครู เธอสามารถเป็นครูที่ดีได้เลย ครูจะพยากรณ์ไว้ ถ้ามีโอกาสก็ไปเป็นครูนะ...นั่นคือเสียงของอาจารย์ ชื่อวาสนา (เสียดายจำนามสกุลท่านไม่ได้) ที่ก้องอยู่ในใจ เพราะตั้งแต่เด็กใครถามว่าอยากเป็นไร..จะบอกอย่างไม่ลังเลเลยว่า เป็นครูตามพ่อ...  เรียนจนใกล้จบ มหาลัยก็ออกนอกระบบ เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ข้าพเจ้าจึงเป็นลูกครึ่งตั้งแต่นั้นมา..เมื่อได้ใบปริญญามาก็ยังเป็นทหารอยู่ ดิ้นรนสอบยศพันจ่าตรี แข่งกับเพื่อนๆเพาะช่างด้วยกัน ตกค่ะ....พอดีเพื่อนชื่อชาลี บุญโต มาชวนไปสอบเป็นครูกทม.เลยไปกับเพื่อน เพื่อนสอบได้เลขที่ดีกว่า บรรจุก่อน ส่วนข้าพเจ้าบรรจุตามมาภายหลัง..นั่นคือจุดเปลี่ยนของข้าราชการทหารเรือหญิงที่มาเป็นครูกทม.อย่างภาคภูมิใจ..และเส้นทางการสอนของข้าพเจ้าก็สนุกสนานตั้งแต่นั้นมา...จนได้ครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเทียบเท่า C 8 และยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกของทหารเทียบได้คือ(C8) ขอขอบคุณเส้นทางของการเดินเรือข้ามเส้นศูนย์สูตร...ที่ทำให้Petty Officer First Class (1 PO ) Watcharee Chotirat สู่เส้นทางCaptain (CAPT)ทางการศึกษา ในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ที่มา...http://www.facebook.com/profile.php?id=1403326796#!/notes/watcharee-chotirat/petty-officer-first-class-1-po-สู่เส้นทางcaptain-capt-ทา/185620088141026

คำสำคัญ (Tags): #ปลูกดอกไม้
หมายเลขบันทึก: 428701เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2011 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท