บทความการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


โรงเรียนแห่งความเป็นเลิศ

โรงเรียนแห่งความเป็นเลิศ

(The Intelligent School)

 

Howard Gardner (1983) เป็นผู้บุกเบิกการนำเสนอแนวคิดใหม่เกี่ยวกับ “ความฉลาด

หรือ สติปัญญา” (Intelligence) ของมนุษย์ โดยสังคมในอดีตมักเชื่อว่า ความฉลาดหรือสติปัญญา

ของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ความฉลาดทางการคิดหาเหตุผลเชิงตรรกะกับความฉลาดที่เป็น

ความสามารถทางภาษา แต่จากผลการวิจัยต่าง ๆ ที่พยายามจะหาคำตอบซึ่งสามารถพยากรณ์ถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่บุคคลเรียนรู้จากโรงเรียนกับความสำเร็จในอาชีพและการใช้ชีวิตส่วนตัว

ในสังคมแล้ว Gardner พบว่ายังมีความฉลาดหรือสติปัญญาที่นอกเหนือจากสองด้านดังกล่าวอยู่อีก

อย่างน้อย 6 ด้าน ที่อาจทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิต ได้แก่ ความฉลาดด้านดนตรี (Music

Intelligence) ความฉลาดด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily – kinesthetic Intelligence) ความ

ฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) ความฉลาดทางการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal

Intelligence) ความฉลาดด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) และความฉลาดด้าน

ธรรมชาติ (Natural Intelligence) โดย Gardner ได้รวมเรียกความฉลาดหรือสติปัญญาเหล่านี้ว่า

“ทฤษฎีพหุปัญญา” (Multiple Intelligence Theory)

เนื่องจากโรงเรียนหรือสถานศึกษามีลักษณะที่เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิต (Organic organization)

กล่าวคือมีการเกิด การเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายเฉก เช่นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมี

ความสามารถในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรา เรียกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning

organization) ด้วยเหตุนี้ Macgilchrist และคณะ (1997) จึงเชื่อว่าโรงเรียนก็ต้องมี “ความฉลาดหรือ

สติปัญญา” เฉกเช่นมนุษย์ดังกล่าวแล้ว โดย Macgilchrist และคณะได้ปรับทฤษฎีพหุปัญญาของ

Gardner มาใช้อธิบายกับกรณีของโรงเรียน โดยเรียกโรงเรียนที่มีความฉลาดหรือมีสติปัญญาครบ

ทุกด้านต่อไปนี้ว่าเป็น “โรงเรียนแห่งความเป็นเลิศ” (The Intelligent School) ซึ่งได้แก่ 1. ความฉลาดเชิงบริบท (Contextual Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนในการ

สร้างสายสัมพันธ์ความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน มีความสามารถในการอ่าน

สถานการณ์และบริบททั้งภายในและภายนอกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ มีการบริหารจัดการที่ยึดความ

ยืดหยุ่น (Flexible) และพร้อมปรับตัว (Adaptable) อย่างเท่าทันต่อภาวะเปลี่ยนแปลงภายนอกได้ดี

ตลอดเวลา

2. ความฉลาดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนในการ

ใช้ความฉลาดเชิงบริบทดังกล่าว มาจัดทำเป้าหมายที่แจ่มชัดของโรงเรียน (Clear goal) สร้าง

วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายร่วม (Shared aims and purposes) ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มี

ความสามารถผลักดันวิสัยทัศน์ลงสู่ภาคปฏิบัติจริง โดยจัดทำแผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ออกมารองรับ

และทำให้ทุกคนผูกพันต่อวิสัยทัศน์นั้น

3. ความฉลาดเชิงวิชาการ (Academic Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนที่

สามารถให้ความสำคัญต่อจุดเน้นด้านผลสัมฤทธิ์และด้านวิชาการ (Emphasizes achievement and

scholarship) สามารถทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมช่วยกันสร้างนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนและทุ่มเทต่อการ

เรียนที่มีคุณภาพของนักเรียนอย่างจริงจัง

4. ความฉลาดเชิงพิเคราะห์ไตร่ตรอง (Reflective Intelligence) เป็นความสามารถของ

โรงเรียนในการติดตามและประเมินการดำเนินงานตลอดจนกิจกรรมทั้งหลายอย่างละเอียดถี่ถ้วน

รู้จักใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาช่วยขยายผล เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิผลและการปรับปรุง

แผนงานที่จะดำเนินการต่อไปให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะรู้จักใช้ข้อมูลจากการประเมินผลการเรียนของ

นักเรียน มาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนและการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสูงยิ่งขึ้น

5. ความฉลาดเชิงวิธีสอน (Pedagogical Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนใน

การทำให้ครูทุกคนยอมรับที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างจริงจัง (Emphasizes

learning about pupils’ learning) โรงเรียนต้องสามารถสร้างความมั่นใจต่อสาธารณะชนและ

ผู้ปกครองได้ว่ามีการติดตามตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนและผลการสอนของครูพร้อมทั้งมี

การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โรงเรียนมีความกล้าและท้าทายที่จะนำวิธีการสอนใหม่

ๆ มาทดลองใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้น

6. ความฉลาดเชิงวิทยสัมพันธ์ (Collegial Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนใน

การทำให้ทุกคน (ผู้บริหาร ครู ฯลฯ) มีมุมมองและยอมรับว่า ตนคือผู้เรียนรู้ (นักเรียน) คนหนึ่ง

(view the staff as learners) สามารถทำให้ครูพึงพอใจที่จะรวมกลุ่มถกปัญหาทางวิชาการ ปัญหา

นักเรียน ตลอดจนร่วมมือช่วยปรับปรุงพัฒนาการสอนของกันและกันด้วยความเต็มใจของทุกฝ่าย

ภายใต้ความมีอิสระและมีบรรยากาศทางวิชาการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสู

 

7. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) เป็นความสามารถของโรงเรียนใน

การสร้างบรรยากาศแห่งมิตรไมตรีที่มีความอบอุ่น ให้การยอมรับต่อความรู้สึกของผู้อื่นด้วยความ

เข้าใจและส่งเสริมให้ทุกคนรู้ถึงวิธีการร่วมมือกันทำงานอย่างราบรื่น ส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจถึง

จุดอ่อนและจุดแข็งของอารมณ์ตนเอง เพื่อที่จะได้แก้ไขพัฒนาหรือควบคุมอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา

ต่อการทำงานแบบทีมหรือการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนโรงเรียน

8. ความฉลาดเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual Intelligence) โรงเรียนควรเป็นสิ่งที่มีจิตวิญญาณ

แฝงด้วยความเมตตา มีความรัก เอื้ออาทรและปรารถนาดีต่อสมาชิกทุกคน โดยเฉพาะต่อนักเรียน

ตลอดจนถึงครู บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและชุมชน จิตวิญญาณดังกล่าวของโรงเรียนสามารถ

แสดงออกมาเป็นรูปธรรมที่สื่อให้ทุกคนสามารถรับรู้และพร้อมที่จะยึดถือร่วมกันจนฝังรากลึก

กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมโรงเรียนในที่สุด

9. ความฉลาดเชิงจริยธรรม (Ethical Intelligence) โรงเรียนจะต้องสามารถสร้าง

ภาพลักษณ์ของตนเองต่อสาธารณชนว่า โรงเรียนของเราคือ สถาบันแห่งคุณธรรมและจริยธรรม

(Moral and ethical institute) ที่ซึ่งมีผู้บริหารและคณะครูสามารถเป็นต้นแบบของการประพฤติด้าน

จริยธรรม (Ethical model) ต่อสังคมเป็นหน่วยงานที่สามารถช่วยกำหนดปทัสถานทางสังคม

(Social norm) การตัดสินใจในการดำเนินงานไม่ว่าเรื่องใดจะต้องตั้งอยู่บนเหตุผลของค่านิยมทาง

ศีลธรรม (Moral value) เป็นหลักมากกว่ายึดหลักการอื่นใด และที่สำคัญคือการบริหารจัดการ

โรงเรียนจะต้องยึดหลักการที่ทุ่มเทเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้นักเรียนได้เจริญงอกงาม ได้เรียนรู้

อย่างมีคุณภาพและมีความสุข (ดี เก่งและมีสุข) มากที่สุด

ที่มา http://suthep.cru.in.th/mgnt21.pdf

เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 429350เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณท่านผู้เขียน บทความดังกล่าวข้างต้นนับว่าบทความที่ดี ที่ควรได้รับการเผยแพร่ และนำไปใช้เพื่อพัฒนาสถานศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพราะการที่เราจะสามารถพัฒนาคนให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นเราต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรก ฝึกตนให้เป็นคนมีวินัย มีศีลธรรม รับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง ครอบครัว และสังคม ไม่ซ้ำเติมสังคม เช่น การทำร้ายเด็กทั้งทางตรงและทางออม ไม่มีส่วนร่วมในการทำให้สังคมเสื่อมทราม โดยเฉพาะเรื่องเพศ เรื่องหนี้สิน สามารถบริหารรายได้ให้พอเพียงต่อการดำเนินชีวิต ไม่เป็นภาระต่อสังคม เป็นแบบอย่างที่ดี สมกับคำว่า "พ่อพิมพ์ แม่พิมพ์ ของชาติ"

ครูขนิษฐา นราสูงเนิน

ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท