>> ธัมมะ ไม่ใช่ ธรรมชาติ <<


แก้ไข...

ธรรม (ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาของพราหมณ์)

หรือ ธัมมะ (ภาษาบาลี) คือ พระธัมม์คำสอนของพระพุทธเจ้า

ธรรมชาติ คือความจริงแท้ที่มีในโลกในจักรวาล


ธรรมชาติของมนุษย์ กลุ่มที่หนึ่ง เป็นผู้มี จิตสำนึกดี 3 ส่วน จิตสำนึกไม่ดี 7 ส่วน

ธรรมชาติของมนุษย์กลุ่มที่สอง เป็นผู้มี จิตสำนึกดี 5 ส่วน จิตสำนึกไม่ดี 5 ส่วน

ธรรมชาติของมนุษบ์กลุ่มที่สาม เป็นผู้มี จิตสำนึกดี 7 ส่วน จิตสำนึกไม่ดี 3 ส่วน


ธรรมชาติของกลุ่มที่หนึ่งได้สั่งสมบุญมาน้อย ถ้าไม่สั่งสมบุญเพิ่มให้เพียงพอก็จะเป็น"คนชั่ว" ไปยังแดนทุคติ

ธรรมชาติของกลุ่มที่สองได้สั่งสมบุญมาดีในระดับหนึ่งแล้ว มีโอกาสไปทั้งแดนสุคติและแดนทุคติ จะเป็น"คนดี" หรือ "คนไม่ดี"

ธรรมชาติของกลุ่มที่สามได้สั่งสมบุญมามากแล้วจึงเป็นผู้ที่จะเป็น"คนดี"ไปสู่แดนสุคติได้ง่าย  

มนุษย์ทั้งสามกลุ่มนั้นจะมีปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลก็คืออยู่ในสิ่งแวดล้อมใด ก็จะมีผลดีหรือไม่ดีเพิ่มขึ้น อยู่ในหมู่คนดีก็มีโอกาสไปในทางดี ถ้าอยู่ในหมู่คนไม่ดี สัดส่วนก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมนั้น ดั่งกับคำที่ว่า


"คบพาล พาลพาไปหาผิด"             เป็น  มหาโจรองคุลีมาล

"คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล"     เป็น  พระอรหันต์องคุลีมาล


ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามจิตธรรมชาติของตัวก็จะไหลไปตกอยู่ภายใต้จิตสำนึกไม่ดี โอกาสที่คนเราจะประพฤติผิด ประพฤติชั่วจึงมีมากว่า

และตนเองจะเข้าใจว่าทำดี ทำถูกต้องแล้ว เพราะนั่นคือ คิดจากจิตสำนึกของตัว

มนุษย์จึงต้องมี"ธัมมะ" เป็นเครื่องกำกับไม่ให้ตกไปอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ไม่ดี

 


ธัมมะ จึงไม่ใช่ธรรมชาติ หรือธรรมชาติของจิต เหมือนกับบางข้อมูล



อรรถและพยัญชนะเป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ

พระพุทธเจ้าคือผู้รู้แจ้งโลกแล้ว จึงมาตรัสรู้ ในดินแดนที่ใช้ภาษาบาลี

ในการเผยแผ่พระธัมม์คำสอน เพราะสามารถสื่อได้ตรงและถูกต้องตามอรรถและพยัญชนะ

 


ผู้ที่สั่งสมบุญมาดีแล้ว  ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใดมาก่อน

เคยนับถือลัทธิความเชื่อใดมาก่อน เป็นสัตว์เป็นเดรัจฉานมาก่อนก็ตาม

เมื่อสั่งสมบุญจนถึงพร้อมก็จะได้มาเกิดและได้รู้จักกับพระพุทธศาสนา



หมายเลขบันทึก: 430490เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2011 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

แปลความตามต้นทุนความรู้ของตัวเอง

ได้ว่า "ธัมมะ" เป็นเครื่องกำกับไม่ให้ตกไปอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ไม่ดี

ดังนั้นเราต้องมี "ธัมมะ" เพื่อไปควบคุมธรรมชาติของจิต เพื่อให้มีจิตสำนึกที่ดี

ใช่มั้ยคะ  "ธัมมะ" ไม่ใช่ธรรมชาติ แต่ เป็นตัว ควบคุม "ธรรมชาติ"

     ไม่ได้เห็นแย้งคุณโยมนะ แต่มีประเด็นนึงในธัมจักรกัปปวัตนสูตร ในตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ โกณฑัญญะที่เป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือที่เรียกกันว่าได้ธรรมจักษุ ว่า..

                     ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ

     ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา.

    จากความหมายนี้ แสดงให้เห็นว่า ศัพท์ว่า ธรรมะ ในบาลีบทนี้ ก็คือความเป็นไปของธรรมชาตินั่นแล เพราะธรรมชาติ ตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ซึ่งบาลีบทนี้แสดงว่าท่านโกณฑัญญะ ได้มีความเข้าใจในเรื่องราวของธรรมชาติ เข้าใจในลักษณะของญาณ ไม่ใช่เห็นในลักษณะทิฏฐิอย่างเราท่านทั้งหลาย บาลีเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ คือมีความรู้เห็นตามเป็นจริง จึงทำให้ท่านเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นในศาสนา

     เพราะฉะนั้นธรรมะ  ศัพท์นี้จึงเป็นชื่อของความดีมีหลายความหมาย  โดยอรรถ (ความหมาย)  ท่านก็แก้ไว้อยู่ โดยพยัญชนะ (ตัวหนังสือ) ก็แก้ไว้เช่นกัน

    ที่คุณโยมทำไว้ก็ความหมายดีมาก  ผู้รู้ธรรมไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ก็ดี ญาติโยมก้ดี มีมากมาย แต่ผู้ที่เห็นธรรมและประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังในชีวิตประจำวัน นี้มีน้อย  ก็คงต้องตามบาลีว่า ยถาสตฺติ  ยถาพลํ  ตามความสามารถ  ตามกำลัง ของตนเท่าที่จะทำได้

     ในการเทศน์พระท่านยกบาลี ญาติโยมก็บอกว่าไม่รู้เรื่อง ไม่จำเป็น แต่อาตมาว่า จำเป็นมาก และต้องอธิบายให้กระจ่างด้วยยิ่งดี จำเป็นมาก เพราะจะได้เกิดความสมบูรณ์พร้อมทางวิชาการ อีกอย่างก็เป็นการรักษาพระพุทธวจนะ เมื่อพระเทสน์และนำคำบาลีที่เป็นพุทธพจน์มาแสดง ก็จะทำให้เกิดการได้ยินได้ฟัง อันจะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าต่อไป  ศาสนาจักตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติ โดยความก็คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

     ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เป็นภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

     อีกอย่างคนเรา ไม่ชอบภาษาบาลี ทั้งๆที่ชื่อบุคคลในปัจจุบัน หรือชื่อสถานที่สำคัญๆ  หรือชื่ออะไรต่อมิอะไรอีก  ก็เป็นภาษาบาลี สันสกฤต จะปฏิเสธไม่ได้ว่าบาลี เป็นเรื่องไกลตัว ภาษาไทยเราเองก็มีคำยืมบาลีตั้งมากมาย ภาษาบาลีจึงเป็นเสมือนขุมทรัพย์แห่งถ้อยคำในภาษาไทย

    ขอให้คุณโยมสุขภาพร่างงกายแข็งแรง

ตอบอิงจันทร์/พระมหาวินัย

ธัมมะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้รู้ละชั่ว ทำดี มีจิตผ่องใส ไม่ประมาท เป็นต้น

มีคำสอนบางส่วนเป็นเรื่องธรรมชาติ อาทิ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ แต่ธรรมชาติที่ฝนตกลงมา แล้วถูกแดดเผาระเหยขึ้นไป กลายเป็นก้อนเมฆ กลับลงมาเป็นฝน กลับมาเป็นน้ำ วนเวียนหลายร้อยหลายพันปี ก็มิใช่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นกฎของธรรมชาติ มิใช่ธัมมะ

ธัมมะบางเรื่องไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ "ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน" ถามว่า ทารกเป็นที่พึ่งแห่งตนได้หรือไม่ คนชราจนหมดความสามารถในการดูแลตนเอง ก็มี

ดังนั้นการเหมารวมว่า ธัมมะ คือธรรมชาติ จะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จนทำให้ชาวพุทธมีความเข้าใจที่ผิดได้ จนกลายเป็นว่าไม่ศึกษา ไม่ทำความเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เหมารวมไปว่าธัมมะเป็นธรรมชาติ ทำอะไรที่เป็นธรรมชาติก็คือธัมมะ มันจะไปกันใหญ่ คนก็จะทิ้งคำสอนพระพุทธองค์ไป เพราะถือว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถือว่าเป็นผู้ถือธัมม์ เดี๋ยวจะยุ่งกันไปใหญ่

I am not a language expert but "ธรรม (ไทย-บาลี) หรือ ธัมมะ (สันสกฤต) คือ พระธัมม์คำสอนของพระพุทธเจ้า; ธรรมชาติ คือความจริงแท้ที่มีในโลกในจักรวาล..." and "...อรรถและพยัญชนะ เป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธพระพุทธเจ้าคือผู้รู้แจ้งโลกแล้ว จึงมาตรัสรู้ ในดินแดนที่ใช้ภาษาสันสกฤตในการเผยแผ่พระธัมม์คำสอน เพราะสามารถสื่อได้ตรงและถูกต้องตามอรรถและพยัญชนะ...ดินแดนที่มีภาษาสันสกฤต จึงเป็นดินแดนตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา"

1. (by the romanized spelling) 'dharma' or ธรรมะ is Sanskrit, dhamma or ธัมมะ is Pali

2. The tipitaka is written in a language (Prakit?) now called Pali.

3. Why did the Buddha have to be born and teach among Sanskrit speaking people? Is this not 'pure speculation'? The last passage "...ผู้ที่สั่งสมบุญมาดีแล้ว  ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใดมาก่อนเคยนับถือลัทธิความเชื่อใดมาก่อน เป็นสัตว์เป็นเดรัจฉานมาก่อนก็ตาม เมื่อสั่งสมบุญจนถึงพร้อมก็จะได้มาเกิดและได้รู้จักกับพระพุทธศาสนา" is a belief -- not within the Buddha's Teaching, but more in line with Brahmanism (or Hinduism as commonly called).

4. we are confused by the Thai word 'ธรรมชาติ' and the Pali 'ธัมมะ' both carry the meaning of 'character' or 'nature' (ลักษณะ อุปนิสัย ความเป็นไป -- อย่างแท้จริง) but ธรรมชาติ in Thai also mean 'environment' (Nature) which may be the root of your confusion.

5. "...อรรถและพยัญชนะ เป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ..." we should read Galama sutta (in the tipitaka) one or more times again ;-).


ความคิดเห็นของพระคุณเจ้า และ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเจ้าของบันทึก

ให้ความรู้ดีมากค่ะ  นี่แหละคือสิ่งที่อยากเห็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบพระคุณทั้งสองท่านค่ะ

ขอรับความรู้..เพื่อเป็นต้นทุนค่ะ

 

สุ-มหาวิทยาลัยชีวิตที่ไม่มีวันปิดทำการ

ขอบคุณท่านวิโรจน์มากนะคะ ได้อ่านแล้ว ทั้ง 3 ท่าน ที่ตอบกันไป บางครั้ง สุก็คิดว่า ธรรมะ กับธรรมชาติมันเกี่ยวกัน

แต่ของท่านนั้นว่าธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ส่วนธรรมชาตินั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นอยู่ ดับไป

ดังนั้นการเหมารวมว่า ธัมมะ คือธรรมชาติ จะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จนทำให้ชาวพุทธมีความเข้าใจที่ผิดได้ จนกลายเป็นว่าไม่ศึกษา ไม่ทำความเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เหมารวมไปว่าธัมมะเป็นธรรมชาติ ทำอะไรที่เป็นธรรมชาติก็คือธัมมะ มันจะไปกันใหญ่ คนก็จะทิ้งคำสอนพระพุทธองค์ไป เพราะถือว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถือว่าเป็นผู้ถือธัมม์ เดี๋ยวจะยุ่งกันไปใหญ่

สุมีความเห็นด้วยตรงตัวหนังสือสีแดงนี้ของท่าน

แต่สุเคยหารูปธรรมชาติ มาประกอบกับคำธรรม ไม่รู้ว่าสุจะเข้าใจ ว่าธรรมมะกับธรรมชาติต้องเกียวข้องกัน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เดี๋ยวสุจะบทความเก่าลิงค์ม
มาให้ท่านดู ว่าสุเข้าใจผิดหรือถูกคะ เดี่ญวจะหามา ถ้าดึงมาไม่ได้ ก็ต้องไปเปิดหา ในบล็อคมีธรรมา เป็นยาใจ เรื่องที่ 13 ชมธรรมะ(ใส่สระอะด้วยกลัวคนอ่านไม่เข้าใจ)ชมธรรมะและธรรมชาติ มีภาพประกอบด้วย คืออยากสื่อว่า มีธรรมมีธรรมชาติได้ด้วยคะ

สุ-มหาวิทยาลัยชีวิตที่ไม่มีวันปิดทำการ

ขอบคุณท่านวิโรจน์มากนะคะ ได้อ่านแล้ว ทั้ง 3 ท่าน ที่ตอบกันไป บางครั้ง สุก็คิดว่า ธรรมะ กับธรรมชาติมันเกี่ยวกัน

แต่ของท่านนั้นว่าธรรม คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ส่วนธรรมชาตินั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นอยู่ ดับไป

ดังนั้นการเหมารวมว่า ธัมมะ คือธรรมชาติ จะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จนทำให้ชาวพุทธมีความเข้าใจที่ผิดได้ จนกลายเป็นว่าไม่ศึกษา ไม่ทำความเข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เหมารวมไปว่าธัมมะเป็นธรรมชาติ ทำอะไรที่เป็นธรรมชาติก็คือธัมมะ มันจะไปกันใหญ่ คนก็จะทิ้งคำสอนพระพุทธองค์ไป เพราะถือว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถือว่าเป็นผู้ถือธัมม์ เดี๋ยวจะยุ่งกันไปใหญ่

สุมีความเห็นด้วยตรงตัวหนังสือสีแดงนี้ของท่าน

แต่สุเคยหารูปธรรมชาติ มาประกอบกับคำธรรม ไม่รู้ว่าสุจะเข้าใจ ว่าธรรมมะกับธรรมชาติต้องเกียวข้องกัน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เดี๋ยวสุจะบทความเก่าลิงค์ม
มาให้ท่านดู ว่าสุเข้าใจผิดหรือถูกคะ เดี่ญวจะหามา ถ้าดึงมาไม่ได้ ก็ต้องไปเปิดหา ในบล็อคมีธรรมา เป็นยาใจ เรื่องที่ 13 ชมธรรมะ(ใส่สระอะด้วยกลัวคนอ่านไม่เข้าใจ)ชมธรรมะและธรรมชาติ มีภาพประกอบด้วย คืออยากสื่อว่า มีธรรมมีธรรมชาติได้ด้วยคะ

สวัสดีค่ะ

หากดิฉันพบข้อเขียนของท่านพุทธทาสดังนี้ค่ะ

" ธรรมในพุทธศาสนา เมื่อกล่าวตามหลักแห่งพุทธศาสนา คำว่า "ธมฺม" ในภาษาบาลี ย่อมเล็งถึงของทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ยกเว้นอะไร และแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
ก. ตัวธรรมชาติหรือปรากฏการร์ตามธรรมชาติทั้งหมด เรียกว่า สภาวธัมม์
ข. กฏของธรรมชาติทั้งหมด เรียกว่า สัจจธัมม์
ค. หน้าที่ของมนุษย์ตามกฏธรรมชาติ เรียกว่า ปฏิปัตติธัมม์
ง. ผลที่ได้รับจากการทำหน้าที่ เรียกว่า วิปากธัมม์
ทั้ง 4 ประเภทนี้ รวมเรียกด้วยคำเพียงคำเดียวว่า ธัมม์ ในภาษาบาลี ทั้ง 4 ประเภทนี้ ล้วนแต่เป็นตัวธรรมชาติ หรือขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ไม่เป็นของศาสนาไหน หรือขึ้นอยู่กับมนุษย์ชาติพันธุ์ (race) ไหนเลย"

พุทธทาสภิกขุ การทำงานคือการปฏิบัติธรรม (หน้า14)

ขออนุญาตนำมาแทรกไว้ที่นี้นะคะ

สุ-มหาวิทยาลัยชีวิตที่ไม่มีวันปิดทำการ

http://gotoknow.org/blog/rangaai/344054 ชมธรรมะ และธรรมชาติ สุเข้าระบบไม่ได้ และอะไรก็ไม่ได้ ถ้ามันมามากเกินไปก็ลบออกนะคะ กว่าจะเขียนจบ พอกดบันทึกมันหายไปก็หลายที จนคำพูดตอบแบบยาวๆ ของสุหายไปหมดคะ เหลือเท่านี้ อย่าเข้าใจผิดนะคะ เพราะสุเข้าใจที่ท่านเขียนดีทีเดียว โดยเฉพาะตรงสีแดงคะ สุเข้าระบบไม่ได้ นึกว่าเขาตัดหางปล่อยวัด แล้วพอกดบันทึกก็เกือบไม่ได้คะ สุเลยไม่อยากเขียนอะไรอีกแล้วหละคะ ชอบคุณท่านมากนะคะ ได้ข้อคิดดีทีเดียวเชียว ขอบคุณทุกๆท่านที่ตอบกันไปตอบกันมา สุได้ข้อคิดทั้งนั้นคะ สวัสดีคะ

การมองธรรมะว่าหมายถึงคำสั่งสอนของพุทธเจ้าแล้วผมว่าแคบไปนิดหนึ่งครับ เป็นการมองแบบเหตุเดียวผลเดียว (เอกังสวาท)

ธรรมชาติกับธรรมะไม่เหมือนกันแน่นอน เพราะธรรมชาติ คือ ธรรมะ+ชาติ ความหมายตรงตัวอยู่แล้วคือ เกิดขึ้นเป็นไปกฎเกณฑ์ นั่นก็คือธรรมดา หรือธรรมชาติมีอะไรบ้างลองพิเคราะห์ต่อว่า ต้นไม้ ก็เกิดขึ้นของมันเองเป็นธรรมะ มันจะเกิดมันจะตั้งอยู่มันจะดับก็เป็นเรื่องที่เป็นไปของมันเราไม่ต้องยุ่งอะไรมันก็มีของมันอยู่อย่างนั้น

เพราะมันเป็นกฎ มันเป็นหน้าที่ของมันเหมือนคุณณัฐรดากล่าวถึงไปแล้ว

ถ้าจะเอาความหมายที่ตรงตัวก็อ้างถึง หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ หน้าที่ 141 กล่าวว่า

ธรรม ความหมาย สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ สภาวธรรม สัจจธรรม ความจริง เหตุ ต้นเหตุ สิ่ง ปรากฎการณ์ ธรรมารมณ์ สิ่งที่ใจคิด คุณธรรม ความดี ความถูกต้อง ความประพฤติชอบ หลักการ แบบแผน ธรรมเนียม หน้าที่ ความชอบ ความยุติธรรม พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฎขึ้น

นอกจากนี้ถ้ากล่าวถึงคำว่าธรรม แล้วความหมายโดยนัยของพุทธศาสนายังหมายถึง รูปธรรม อันได้แก่ขันธ์ทั้งหมด และอรูปธรรม ประกอบด้วยรูป 4 นาม 1 หรือนอกจากนี้ยังหมายถึง โลกียธรรม และโลกุตรธรรม

จากความหมายที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้เขียนไว้นั้น คำว่าคำสั่งสอนของพุทธเจ้านั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด

และพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายได้มีอยู่ในโลกนี้อยู่แล้วไม่ว่าพระองค์จะอุบัติหรือไม่สิ่งนี้ก็มีอยู่เป็นธรรมดา ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมแล้วนำมาเปิดเผย ไม่ใช่การสร้างขึ้นโดยพระองค์เอง เพราะสิ่งนี้มีอยู่แล้วมันเป็นกฎของอิทัปปัจจยตา ที่กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด

ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ขัดแย้ง แต่เป็นการเติมเต็มในเนื้อหานะครับ

อนึ่งคำตอบข้างต้นที่บอกว่า

ธัมมะบางเรื่องไม่ใช่เรื่อง ธรรมชาติ "ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน" ถามว่า ทารกเป็นที่พึ่งแห่งตนได้หรือไม่ คนชราจนหมดความสามารถในการดูแลตนเอง ก็มี

เป็นการเข้าใจผิดหลักพุทธศาสนาแล้วครับ เพราะคำว่าตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เด็กทารกพึ่งตนเองไม่ได้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช่ธรรมชาติ ไม่ใช่ธรรมะ

เพราะมนุษย์เราเกิดมาตอนแรกนั้นยังพึ่งตนเองไม่ได้นี่แหละครับคือธรรม คือธรรมชาติ ต้องอาศัยคนอื่นให้ความช่วยเหลือ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กไม่ช่วยเหลือตัวเอง

เด็กหิวแล้วนอนอยู่เฉย ๆ หรือไม่ มดกัดเด็กก็นอนอยู่เฉย ๆ รอให้คนอื่นช่วยหรือไม่ หิวก็ร้อง เจ็บก็ร้องเพื่อให้คนอื่นเห็น นั่นก็เป็นการช่วยเหลือตนเอง แต่ช่วยได้ระดับหนึ่ง เป็นไปตามธรรม ที่เรียกว่าธรรมดา หรือธรรมชาติ

เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์เดรัจฉานตรงที่ใช้การฝึกฝนตนเองมากกว่าสัญชาติญาน เราใช้สัญชาติญานในการดำรงชีวิตน้อยจนหายไปเยอะ

ที่กล่าวอ้างมานั้นก็เป็นเพียงหยิบธรรมะมานิดเดียวแล้วกล่าวถึง (เอกังสวาท)

สุภาษิตบทนี้เต็ม ๆ บอกว่า

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน, บุคคลอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันบุคคลได้โดยยาก

นอกจากมีคำว่าตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วยังมีต่ออีกว่าบุคคลอื่นใครเล่าจะพึ่งได้

พุทธศาสนาจะสอนให้รู้จักก่อนให้เห็นผลก่อนแล้วค่อยหาเหตุ แล้วก็ชี้ให้เห็นถึงวิธีการ นั่นคือชี้ให้เห็นว่าตนต้องพึ่งตนเอง เพราะคนอื่นพึ่งไม่ได้ หรือพึ่งได้ก็ระดับหนึ่ง ไม่ได้ดีหรือไม่ยั่งยืน ดังนั้นเราจึงต้องฝึกตน เพราะถ้าฝึกได้แล้วย่อมได้ที่พึ่งอันคนอื่นหาได้โดยยาก

นั่นแสดงให้เห็นว่าเด็กทารกก็ต้องฝึกตน และถ้าพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูฝึกได้ดีแล้วเขาย่อมพึ่งตนเองได้ เพราะคนคิดเพียงประเด็นเดียวขบไม่แตกก็คิดว่าธรรมะข้อนี้ผิด เลยไม่สนใจ และไม่ฝึกตนเองในที่สุด ก็ไม่มีที่พึ่งอันประเสริฐ คือตนเอง ต้องอาศัยคนอื่นทำให้หมด

และธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องดินฟ้าอากาศเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น หรือมีสภาวะของมันเอง และอย่าสับสนกับคำว่า Nature ที่เราชอบใช้ว่าคือ พืชและสัตว์สิ่งของต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองโดยมนุษย์ไม่ได้สร้าง จริง ๆ คำว่า Nature มีความหมายกว้างมาก และมาจากภาษา Latin ว่า natura แปลว่า birth แต่พอดูความหมายอื่น ๆ ของ Nature แล้วก็คือธรรมชาติ และเป็นความจริง สภาวะของสรรพสิ่งที่มนุษย์เราไม่ได้สร้างขึ้น ไม่มีใครสร้างขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ให้คุณต่อมนุษย์ และมนุษย์มักไม่รู้ แล้วคิดว่าตนเองรู้จักธรรมชาติแล้วเปลี่ยนแปลง ควบคุม แก้ไข ทำลาย จนทุกวันนี้เรารู้กันแล้วว่ามนุษย์เราไม่ได้รู้จักธรรมชาติหมดทุกสิ่งหรอก

เหมือนกันลองเปิดใจศึกษาธรรมะให้เยอะ ๆ แล้วค่อยตัดสินว่าอะไรเป็นอะไร...

ขอขอบคุณทุกๆความคิดเห็น และอนุโมทนาบุญกับทุกท่าน

ขออนุญาตตอบรวมกันนะครับ

ประเด็น ธัมมะ ไม่ใช่ ธรรมชาติ

แต่ ธรรมชาติ ก็คือ ธัมมะ สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็คือ ธัมมะ

กุศล ก็คือ ธัมมะ อกุศล ก็คือ ธัมมะ

ถ้า ธัมมะ คือ ธรรมชาติ พระพุทธเจ้า ก็จะไม่มีความแตกต่างจากศาสดาอื่นใด

แต่เพราะธัมมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ นี้หละ จึงทำให้พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ได้โดยพระองค์เอง จากความเพียร ๒๐ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ จากการคิด การตั้งจิต การตั้งมั่นในการปฏิบัติจนตรัสรู้ถึงที่สุด

การสั่งสมบารมีข้ามภพข้ามชาตินี้ ถ้าไม่ได้ตั้งปรารถนาที่จะเป็นพุทธเจ้า บุญบารมีก็ไม่ต้องสั่งสมมาถึง ๒๐ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ เพราะลำพังจะไปถึงนิพพานนั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ข้ามพ้นวัฏฏสงสารนี้ไปแล็ว

แต่เพราะพระเมตตาที่พระพุทธเจ้าทรงมีต่อสัตว์ มนุษย์และเทวดา จึงตั้งความเพียรพาทุกสรรพสัตว์ มนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม ทั้งหลายให้ข้ามพ้นไปด้วย แม้กระทั่ง การที่ผู้ใดได้รู้ธัมม์แล้ว มีความปรารถนาจะตั้งความเพียรเฉกเช่นพระองค์ ก็จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าได้ในกาลต่อๆไป เพราะแม้แต่พระสมณโคดมพุทธเจ้านี้ก็ตั้งปรารถนาหลังจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเช่นกัน

พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์มาก่อนหลายภพหลายชาติ

แต่บางลัทธิยึดพระโพธิสัตว์เป็นศาสดาก็มี แม้แต่เทวทัต ก็ยังมีสาวกที่ศรัทธา เพราะโมหจริตนำพา ไปเป็นอวิชชา มีอกุศลจิตที่มีกิเลสฉาบทาปัญญารู้แจ้งจึงไม่เกิดขึ้น

ประเด็น ธัมมะ คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า

ในพระไตรปิฎก ในพระสูตร พระคาถา จะมีคำว่า ธัมม์ สารพัดธัมม์ ดั่งเช่นตัวอย่างที่คุณณัฐรดายกมาจากพระพุทธทาส คุณโยธินินยกมาจากพระพรหมคุณาภรณ์ก็เป็นข้อธัมม์บางตอนใน ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

ในลัทธิความเชื่ออื่นไม่ใช่ "ธัมมะที่เกิดขึ้นจากการตรัสรู้" มีศาสดาใดที่ตรัสรู้นอกจากพระพุทธเจ้า ทุกลัทธิความเชื่ออื่นจึงไม่มีนิพพาน แต่เมื่อเขาเหล่านั้นสั่งสมบารมีมากพอก็จะได้รู้จักพระพุทธศาสนา ในกาลข้างหน้า ก็อาจไปสู่นิพพาน หรือตั้งปรารถนาบำเพ็ญฌาณบารมีถึงเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้

"คำที่ว่าทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี" นั้นใช่ "แต่ศาสนาพุทธสอนให้เป็นคนดีของทั้งสามโลก"

พระพุทธเจ้าได้แสดงพระเมตตาธิคุณต่อผู้ที่มีความเชื่อในลัทธิอื่นหรือคำสอนอื่นจนได้รู้จักพระพุทธศาสนา ได้ฟังธัมม์จนได้บำเพ็ญบารมีเป็นพระอริยบุคคลได้ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ในช่วงที่มีพระชนม์ชีพอยู่ก็มาก

จนเขาเหล่านั้นไปถึงนิพพาน ได้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายอีก

คนดีของในทุกลัทธิความเชื่อไปเป็นเทวดาได้ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เป็นพุทธศานิกชนแต่ยังเวียนว่ายในกองทุกข์นี้ไม่สิ้นสุด ก็คือจะต้องนำขันธ์ ๕ กลับมาเวียนว่าย มีสุข ทุกข์ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายอยู่อย่างนี้ตลอดไป ตราบใดที่ยังไม่รู้จักนิพพาน

 

 

ต้องขออภัยที่ต้องเข้ามาตอบอีก เพราะปล่อยไว้เห็นทีจะเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้น

ถ้า ธัมมะ คือ ธรรมชาติ พระพุทธเจ้า ก็จะไม่มีความแตกต่างจากศาสดาอื่นใด

แต่ เพราะธัมมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ นี้หละ จึงทำให้พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ได้โดยพระองค์เอง จากความเพียร ๒๐ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ จากการคิด การตั้งจิต การตั้งมั่นในการปฏิบัติจนตรัสรู้ถึงที่สุด

ถ้า ธัมมะคือธรรมชาติ พระพุทธเจ้าก็ไม่แตกต่างจากศาสดาอื่นใด อันนี้ก็เข้าใจผิดครับ พระพุทธเจ้าต่างจากศาสดาอื่นตรงที่พระองค์ได้ค้นพบนะครับ สังเกตให้ดีกับคำว่า ค้นพบ พระองค์ไม่ได้บรรญัติคำสอนขึ้นมาใหม่ เพราะสิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่าธรรมะมีอยู่แล้ว แม้พระองค์ไม่อุบัติมันก็ยังมีอยู่ แต่ศาสดาอื่นจะอ้างพระผู้เป็นเจ้า แล้วศาสดาเป็นผู้นำสารมาจากพระผู้เป็นเจ้าตรงนี้แหละครับที่แตกต่าง

ส่วน เรื่องที่พระองค์ตรัสรู้ คือ อริยสัจ 4 คืออะไรครับ ถ้าย่อก็เหลือเรื่อง ทุกข์และการดับทุกข์ ถามว่าทุกข์นี่เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้วหรือว่าพระพุทธองค์ทรงสร้างขึ้นครับ ทุกข์มีอยู่แล้ว เป็นผล ทำให้พระองค์หาเหตุเพื่อแก้ไข เป็นทางที่จะพ้นทุกข์ จึงบำเพ็ญเพียร ทุกขรกิริยา แต่ก็ไม่ใช่ทางออก จึงกลับมาพิจารณาใหม่ ในที่สุดก็ค้นพบทางแห่งการดับทุกข์คือ มรรค 8 ถามว่า มรรค 8 นี่มีอยู่แล้วหรือว่าสร้างขึ้นใหม่

เป็น เรื่องที่มีอยู่แล้ว แต่พระพุทธองค์ทรงเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่แล้วนำเอาสิ่งต่าง ๆ มาชี้แจง แนะนำผู้อื่น ผ่านการปฏิบัติซึ่งพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ

สำหรับ เรื่องการบำเพ็ญเพียรถึงกี่อสงไขยนั้นเป็นเรื่องของไตรปิฎกฉบับอรรถกถา เราไม่ได้เกิดในสมัยนั้นก็ยากที่จะหยั่งรู้ และที่ไม่สนใจก็เพราะมันไม่ใช่ทางที่จะหลุดพ้นได้ มันเป็นอจินไตย มันไม่ใช่วิสัยของปุถุชน ต้องเรียนรู้ด้วยปรมัตถธรรมเท่านั้น เราอย่าไปคิดเพราะคิดไปก็ติดแค่เปือกและกระพี้ไม่ใช่วิถีแห่งความหลุดพ้น

ขออภัยอีกครั้งที่ต้องแสดงความคิดเห็นขัดแย้ง...ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

อ่านทุกบันทึกและได้อ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ แล้ว  คล้าย ๆ กับคำสอนของปราชญ์ท่านหนึ่งที่สอนว่า "การฝึกทำธรรม ให้เป็นธรรม ให้เกิดธรรม ให้เป็นธรรมชาติ"

ขอขอบพระคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท