>> ธัมมะ ไม่ใช่ ธรรมชาติ (ตอนจบ) <<


ขอขอบคุณทุกความคิดเห็น และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน

ขออนุญาตตอบรวมนะครับ (จากความเห็นใน ธัมมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ ๒)

การที่ตั้งประเด็นนี้ขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ ผู้เขียนต้องการยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่ชาวพุทธน่าจะต้องพิจารณาร่วมกัน เพราะ ความคลาดเคลื่อนมีมากขึ้น จนอาจนำมาสู่ความเสื่อมได้


ธัมมะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า  ตามคำที่ว่า

 

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

 

สันทิฏฐิโก

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

 

อะกาลิโก

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

 

เอหิปัสสิโก

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

 

โอปะนะยิโก

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

 

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วัญญูหิติ

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.

 

อะไรที่มีนอกจากบทพระธรรมคุณนี้ จึงไม่มีใน ๘๔,๐๐๐ พระธัมมขันธ์

 

การที่ "ธัมมะ" กับ "ธรรมชาติ" เกี่ยวข้องกันก็คือ

อาศัยปรากฏการณ์ของธรรมชาติมาพิจารณา ว่า

"สรรพสิ่งทั้งหลาย มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา"

ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะทำให้กิเลสเข้าครอบงำได้ง่าย ทำให้เกิดอารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ก็จะทำให้มีหมองหม่น เร่าร้อน เป็นทุกข์

กิเลสคืออาคันตุกะที่มาเยือน และพยายามครอบงำจิตของเราให้ตกอยู่ภายใต้กิเลส ตกไปอยู่ในทางชั่ว ทางต่ำ ถ้าไม่ฝืน ขัดขืนก็จะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลส ได้ง่าย

 

เมื่อมีพระธัมม์คำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ "อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ได้โดยพระองค์เอง นำมาศึกษา ปฏิบัติ และฝึกฝนจิต จนสามารถ รู้แจ้ง

ก็จะสามารถประหารกิเลสได้ จิตก็เกิดปภัสสรผ่องแผ้ว กิเลสก็ไม่สามารถครอบงำจิตให้ตกไปในทางต่ำได้

ธัมมะมีทั้งขั้นศีลธัมม์  และขั้นปรมัตต์

ชาวพุทธตกอยู่ในความประมาท จึงตกเป็นทาสของกิเลสครอบงำ แม้แต่ผู้ถือบวชเป็นสมมุติสงฆ์ (ที่ไม่ยืนยันความเป็นพุทธสาวก)ก็ยังทรยศต่อพระพุทธเจ้า ทำตัวเยี่ยงศิษย์เทวทัต

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี ๒๐ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ เพื่อนำ สัตว์ มนุษย์ เทวดา ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร

ละทิ้งจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ ทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี

แต่สมมุติสงฆ์ ที่ไม่เป็นพุทธสาวกด้วยความกตัญญู วิ่งหา ลาภ ยศ สรรเสริญ ตกเป็นทาสแห่งกิเลส

แม้กระทั่งการสร้างรูปเคารพนอกศาสนา อย่าง อีเป๋อ อิ้นคู่เสพกาม พิฆเนศวร ใหญ่โตที่สุดในโลก ในจักรวาล นำชาวพุทธตามยถากรรม หนีห่างจากพระธัมม์คำสอนของพระพุทธเจ้า เอาแต่บนบานศาลกล่าว ร้องขอวิงวอน  พาไปเป็นทาสของกิเลส


หมายเลขบันทึก: 430937เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เข้ามารับรู้ เรียนรู้เช่นเดิม

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ติดตามอ่านมาถึงตอนจบแล้วค่ะ  แต่รอกลับมาอ่านบันทึกการแสดงความคิดเห็นของเพื่อน ๆอีกครั้งเพื่อเพิ่มความเข้าใจค่ะ

ทุกตอนที่ผ่านมามีผู้สนใจให้เกียรติแสดงความคิดเห็นเติมเต็มมากมาย  อยากให้คุณวิโรจน์เขียนบันทึกแบบนี้อีกนะคะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

ก่อนอื่นต้องขออภัยและออกตัวนิดหนึ่งว่าไม่ได้เห็นขัดแย้งหรือจงใจเพราะจะเห็นว่าผมมาตอบทุกกระทู้ และเป็นการตอบโดยไม่มีอคติ แต่จะเป็นการเติมเต็ม และไม่ได้อวดว่าตนเองรู้ เพียงแต่อ่านมากและหาโอกาสปฏิบัติอยู่เนือง ๆ แต่อย่างไรก็ยังต้องศึกษาอยู่

และเห็นด้วยหลายประการ ทั้งหมดเลยก็ว่าได้ แต่จะขอเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเสริมในเรื่อง

ธัมมะ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า  ตามคำที่ว่า

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

ธรรมะ (ผมใช้แบบสันสกฤตนะครับ เพราะไม่ถนัดแบบบาลี) คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นด้วยทุกประการ และคำแปลของบทสวดที่ว่า พระธรรมเปนสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัวไว้ดีแล้ว ก็จริงทุกประการ แต่ที่จะเสนอไว้ตรงนี้คือ เป็นเพียงความหมายหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับชาวพุทธแล้วผมอยากให้ศึกษาให้เป็นทั้งเชิงลึก และเชิงกว้าง

กล่าวคือ ศาสนาพุทธ เป็นวิภัชวาท (สอนให้แยกแยะ) ไม่ใช่เอกังสวาท (เหตุเดียวผลเดียว) เพราะทุกสิ่งในโลกล้วนมีเหตุปัจจัยให้เกื้อหนุนกัน ไม่มีอะไรเป็นเหตุเดียวผลเดียว มีแต่ 1 เหตุหลายผล 1 ผลหลายเหตุ เสมอ แต่บางครั้งเรามักจะไม่รู้เหตุหรือผลด้านอื่น ซึ่งเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง

อย่างเช่น มนุษย์เราคิดว่าชนะธรรมชาติได้ เข้าใจธรรมชาติมาก สามารถแก้ไขธรรมชาติมาก จนก้าวไปถึงการตัดต่อพันธุกรรม แต่ในที่สุดก็ไม่ใช่จะชนะธรรมชาติและสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการตัดต่อพันธุกรรมยังไม่เป็นที่ปลอดภัย เพราะยังมีภัยที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ นี่แหละครับธรรมชาติ

จึงอยากให้แปลความหมายของธรรมะให้ครบทุกด้าน

  1. ธรรมะ คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
  2. ธรรมะ คือ ตัวธรรมชาติ
  3. ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติ
  4. ธรรมะ คือ หน้าที่
  5. ธรรมะ คือ ผลของหน้าที่

แล้วธรรมะที่แท้จริงคืออะไร? ตอบ ธรรมะคือสภาวะ สิ่ง หรือปรากฎการณ์ นั่นเอง

ลองดูธรรมะตามแนวของพุทธองค์ว่ามีอะไรบ้าง

ธรรมะมีสองคือ รูปธรรม อรูปธรรม (นี้ก็เป็นสภาวะ สิ่ง หรือปรากฎการณ์)

รูปธรรม หมายถึง รูปขันธ์ทั้งหมด
อรูปธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปอันได้แก่ นาม 4 นิพพาน 1

ธรรมะมีสองคือ โลกียธรรม และโลกุตระธรรม (นี้ก็เป็นสภาวะ สิ่ง หรือปรากฎการณ์)

โลกียธรรม คือ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก
โลกุตระธรรม คือ ธรรมอันเป็นสภาะพ้นโลก

ธรรมะมีสองคือ สังขตธรรม และอสังขตธรรม (นี้ก็เป็นสภาวะ สิ่ง หรือปรากฎการณ์)

สังขตธรรม คือ สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (ขั้นธ์ 5 ทั้งหมด)
อสังขตธรรม คือ สิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (นิพพาน)

ธรรมะมีสองคือ อุปาทินนธรรม และอนุปาทินนธรรม (นี้ก็เป็นสภาวะ สิ่ง หรือปรากฎการณ์)

อุปาทินนธรรม คือ สิ่งที่ถูกยึดครอง
อนุปาทินนธรรม คือ สิ่งที่ไม่ถูกยึดครอง

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือสภาวะทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาน้อมนำสู่การปฏิบัติ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ ไม่ใช่เพียงแต่สอนอย่างเดียว เพราะแค่มีการพูดและมีการฟังแล้วผ่านเลยก็ไม่เกิดผล

พระพุทธองค์เป็นเพียงผู้ชี้แนวทาง และไม่เกิดผลหากผู้ที่รับฟังไม่นำไปปฏิบัติ ดังนั้นพระองค์จึงเป็นแบบอย่างของผู้นำอย่างแท้จริง ที่หาใดเปรียบมิได้ เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้วนำวิธีการข้อมูลบอกแก่ผู้อื่น และผู้อื่นก็สนใจที่ศึกษาและพร้อมใจปฏิบัติตามโดยไม่ได้ถูกบังคับ

และข้อความที่ว่า

ถ้าเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ จะทำให้กิเลสเข้าครอบงำได้ง่าย

นั้นถ้าพิจารณาโดยตรรกะแล้วจะพบว่า ถ้าปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติแล้วกิเลสจะเกิดหรือไม่ก็ได้ ขออธิบายเพิ่มเติมแนวทางการเกิดกิเลสก่อนว่าเกิดได้อย่างไร

กิเลส อันหมายถึง เครื่องทำให้เศร้าหมอง โดยเบื้องต้นคนเราเกิดมาแล้วจะมีอนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน โดยละเอียดจะมี 7 อย่าง คือ กามราคะ ปฏิฆ ทิฎฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชา

ทั้ง 7 อย่างกล่าวโดยย่อเป็น 3 อย่างคือ โลภ โทสะ โมหะ กิเลสเหล่านี้จะนอนเนื่องอยู่ในสันดาน แม้แต่เด็กเกิดใหม่ก็มีอนุสัยนอนเนื่องในสันดานแต่กำเนิด เมื่อโตขึ้นจิตมีการปรุงแต่งทำให้กิเลสที่เป็นอนุสัยนี้เริ่มจะลอยขึ้นมาให้เห็นอุปมาเหมือนดั่งการกวนน้ำให้ขุ่นย่อมมองเห็นตะกอนที่นอนก้นที่นิ่งมานาน

สำหรับผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือพุทธะ นั้นท่านได้ละทิ้งสิ่งที่ปรุงแต่ง และสามารถควบคุมกิเลสเหล่านี้ได้ ด้วยการตัดการปรุงแต่ง ที่เรียกว่าละกิเลสได้ เพียงแค่นี้ก็เรียกว่าบรรลุธรรม แต่สิ่งที่ยากคือการละ โลภะ (อยากได้อยากมีอยากเป็น) โทสะ (ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น) โมหะ (ไม่รู้ว่าสิ่งไหนผิดหรือถูก) นี่แหละ

จากความหมายของกิเลสแล้วมันจึงเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมาแต่กำเนิดโดยเราไม่ได้สร้างขึ้นมาเอง แต่จิตของเราปรุงแต่งให้มันมีอำนาจขึ้นมาจนแผดเผาใจเราให้หมองไหม้ได้

สุดท้ายเรื่องของภิกษุสงฆ์ในบ้านเรายังไม่ละทิ้งลาภ ยศ สรรเสริญ ปลุกเสก เลข ยันต์ ต่าง ๆ นั้นก็ถือว่าเป็นโลกะวัชชะ โลกตำหนิติเตียนได้ ก็เนื่องจากกิเลสนี่แหละ ไม่กี่วันนี้ก็มีให้เห็นเกี่ยวกับจักขุธาตุ ซึ่งมองยังไงก็ลวงโลก สุดท้ายก็ถูกขับออกจากวัด อันนี้จะได้กล่าวกันต่อไป...

และขอออกตัวอีกครั้งว่าไม่ได้คิดไม่ได้เขียนด้วยอวิชชาตามอำนาจกิเลสฝ่าย มานะ คือการถือตัวว่าเก่ง ว่ารู้ แต่ปรารถนาในการเสริมเพิ่มการเรียนรู้ การศึกษาพุทธศาสนา และธรรมะอย่างเข้าใจเพื่อนำสู่การปฏิบัติให้มากขึ้น จึงขอขอบคุณคุณวิโรจน์อีกครั้งหนึ่งครับ...

สวัสดีค่ะ

  • ครูอิงแวะเข้ามาติดตามตั้งแต่ต้นจนตอนจบ
  • การตั้งกระทู้ของท่านวิโรจน์ เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง
  • ทั้งในตัวบันทึกของเจ้าของบันทึก และในความคิดเห็นของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก จึงนับเป็นนิมิตรหมายที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ในการแสดงออกทางด้านความคิด เป็นเวทีความคิดอิสระ ตามจุดประสงค์ของเจ้าของบล็อก(จากคำอธิบายบล็อก)  อาจจะมีความต่างกันอยู่บ้าง แต่ไม่อคติต่อกัน
  • ถือว่าเป็นการเติมเต็ม และการต่อยอด ให้กันและกัน ทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้รับความรู้ความกระจ่างชัด และสบายใจ
  • ขออนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ
  • แวะมาอ่านธัมมะ
  • แต่ชื่นชอบแนวการเมืองท่าน วิโรจน์  พูลสุข เขียน

ชาวพุทธต้องมาอ่านตรงนี้นะครับ

Sorry for repeating (because of the target is moving) ;-)


"...เมื่อมีพระธัมม์คำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ "อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค" ได้โดยพระองค์เอง นำมาศึกษา ปฏิบัติ และฝึกฝนจิต จนสามารถ รู้แจ้ง ก็จะสามารถประหารกิเลสได้ จิตก็เกิดปภัสสรผ่องแผ้ว กิเลสก็ไม่สามารถครอบงำจิตให้ตกไปในทางต่ำได้..."

1. The above passage gives this impression that the Buddha discovered His theory then he practiced according to the theory...

We are told of the Buddha practicing/trying many (yoga) methods before He discovered the Knowledge He lived by till He died.

2. ประหาร is rather non-buddhistic ('to kill' is against siila 1)

3. กิเลศ (kilesa) is a 'state' of mind of oneself; มาร (mara) is more like the 'devil' (a being). Even in the tipitaka suttas, there are confusions in meanings. Should we learn and be aware of 'kilesa' (including our own kilesa) so that we can 'live and behave' in non-kilesa state? Or should we 'kill' kilesa/mara so that we no longer have kilesa/mara (forever)? Here, we may ask if 'kilesa/mara' is recycling/reborn over and over (when one kilesa/mara dies then another one appears), and if buddhists aim for 'nibbaana' (นิพพาน), then in the final end, wouldn't Buddhism disappears and 'kilesa/mara' remains to rule the world?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท