น้ำส้มควันไม้ ที่ ต.ภาชี อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา (ตอนที่ 1 )


ต้องการพัฒนาทีมทำงานที่เป็นเด็กรุ่นใหม่เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ใช้ KM เป็นเครื่องมือ

เรื่องเล่า "น้ำส้มควันไม้ ที่ ต.ภาชี อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา

      วันที่ 1 สิงหาคม 2549 เดินทางออกจากกรมฯพร้อมด้วยคุณอรวรรณ(น้องออ) เพื่อไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยนัดกับคุณจำลอง พุฒซ้อน ไว้ที่สำนักเกษตรจังหวัด เมื่อถึงสำนักงานก็ได้เจอกับท่านเกษตรจังหวัดพอดี ก็เล่าให้ท่านฟังนิดหน่อยถึงวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาครั้งนี้  แล้วจึงเดินทางต่อไปถึงศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลภาชี  พบกับแกนนำกลุ่มนำส้มควันไม้และปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้มาคอยอยู่ก่อนแล้ว 4 คน คือ

      ผู้ใหญ่  สำอางค์  หวลอาวรณ์

      ลุงเสวก  มณีเจียร

      ลุงเสวย  สาตร์หิรัญ

      ลุงสมนึก  ศรีนวล

และไม่นานก็มีน้อง ๆ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของอำเภอเมือง อ.มหาราช อ.บางปะอินและ อ.อุทัย มาสมทบอีก 4 คน ลุงจำลอง(เรียกเหมือนที่ลูกผมเรียก)เล่าให้ฟังว่าต้องการพัฒนาทีมทำงานที่เป็นเด็กรุ่นใหม่เพื่อเป็นแกนนำในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ใช้ KM เป็นเครื่องมือ ต้องการให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้การสกัดความรู้ การใช้เครื่องมือในการสกัดความรู้  จึงนัดหมายมาวันนี้ด้วย น้องออแอบกระซิบกับกับผมว่า รู้แล้วทำไมลุงจำลอง จึงหนีจากกองวิจัยฯกลับมาอยุธยา "เพราะทำงานกับน้อง ดีกว่าทำงานกับผู้สูงอายุที่กองวิจัยฯ (เจ้าหน้าที่กองวิจัยฯส่วนใหญ่ 40 UP ) ตั้งเยอะ " และหลังจากนั้นเราก็เริ่มพูดคุยกับแกนนำกลุ่มทั้ง 4 ท่าน โดยมีลุงจำลองทำหน้าที่คุณอำนวยและน้อง ๆ ทั้ง 4 คน ช่วยเป็นคุณลิขิต(ทราบว่าวันนี้ แกนนำกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ที่วัดในตำบลภาชี เพราะมีการอบรมการเกษตรอินทรีย์ที่เป็นการดำเนินงานร่วมกันของ ธกส. กศน. สำนักงานเกษตรอำเภอ สถานีพัฒนาที่ดินและแกนนำกลุ่ม โดยแกนนำกลุ่มส่วนหนึ่งต้องทำหน้าที่ในการเป็นวิทยากรอยู่ที่วัด) พูดคุยกันในเรื่องน้ำส้มควันไม้ของกลุ่มเป็นหลัก โดยมีประเด็น คือ ความเป็นมา วิธีการในการผลิต วิธีใช้ ประโยชน์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ เราพูดคุยกันอยูที่ศูนย์บริการฯจนถึงเที่ยง

Ayut3

 ลุงเสวก กำลังเล่าเรื่อง

Ayut4

 วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         ลุงสมนึกก็ชวนคณะไปดูแปลงปลูกชะอมอินทรีย์ที่บ้านของคุณลุง ซึ่งลุงปลูกชะอมอยู่ 4 ไร่ ใช้การผลิตแบบอินทรีย์ทั้งหมด ลุงบอกว่ามี รายได้ต่อวันอยู่ที่ 250 - 400 บาททุกวัน โดยจะนำชะอมไปขายในตลาดภาชีลุงเป็นคนเก็บ ป้า(ภรรยาของลุงสมนึก)เป็นคนมัด ทำกัน 2คน จากเดิมที่ลุงมีอาชีพในการให้เช่าเครื่องเสียง เครื่องไฟในชุมชนมีรายได้เป็นช่วง ๆ พอหันมาผลิตชะอมอินทรีย์เลยเลิกอาชีพเช่าเครื่องเสียงเครื่องไฟไปเลย หลังจากนั้นก็เดินทางต่อไปดูการอบรมเกษตรอินทรีย์ที่วัดกันต่อ และก็โชคดีที่ได้พลอยอาศัยอาหารเที่ยงกับผู้อบรมที่วัด

 Ayut1

ลุงสมนึกกับแปลงชะอมอินทรีย์

 Ayut2

แปลงชะอมอินทรีย์ 4 ไร่

      สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับนำส้มควันไม้จะเล่าต่อในคราวหน้านะครับ

คำสำคัญ (Tags): #น้ำส้มควันไม้
หมายเลขบันทึก: 43288เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โครงการวิทยานิพนธ์ สายวิทยาศาสตร์

การป้องกันกำจัดด้วงหมัดผัก (Phyllotreta sinuate Stephen and P. chontarica) ในพันธุ์ผักคะน้ายอด: พันธุ์แม่โจ้ 1 (Brassica alboglabra Bailey) ด้วยน้ำส้มควันไม้

The Protection of Leaf Eating Beetle (Phyllotreta sinuate Stephen and Phyllotreta chontarica) on Chinese kale: Maejo 1 (Brassica alboglabra Bailey) with Wood Vinegar

เสนอ ต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชมงคลธัญบุรี เพื่อขออนุมัติทำการวิจัยประกอบวิทยานิพนธ์

ปริญญา วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารศัตรูพืชอย่างยั่งยืน

ภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2551

โดย นายประทีป น้อยเจริญ

ภายใต้การควบคุมของ รศ.วัฒนา เครือคล้าย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

คำนำ

ประเทศไทยมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา จนถึงปัจุบันประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นในชนบทได้รับผลกระทบจากการพัฒนายิ่งกว่าจะได้รับประโยชน์ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยังคงยากจน กว่า 40 ปีที่ผ่านมากับการพัฒนาการเกษตรเพื่อผลิตพืชเชิงเดี่ยว มีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น การทำการเกษตรยังส่งผลให้ป่าไม้ของเมืองไทยถูกตัดทำลายเพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกพืช ทำให้พื้นที่ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนขาดสมดุลของธรรมชาติ

จังหวัดปทุมธานี แต่เดิมชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ การทำสวน การทำนา การปลูกผัก เกษตรกรใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี สารป้องกันกำจัดโรคพืช สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดแมลง ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเกษตรกรที่สัมผัสกับวัตถุอันตรายทางการเกษตรโดยตรงและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น หลายคนเกิดอาการผื่นคันและเกิดโรคต่างๆได้ง่าย ร่างกายอ่อนแอมีสุขภาพไม่แข็งแรง เมื่อกรมพัฒนาที่ดินได้ตรวจสอบความเป็นพิษที่ตกค้างอยู่ในดินและน้ำปรากฏว่ามีค่าของความเป็นพิษเกินค่าที่ปลอดภัย (ปราณี ภุมมาและเทียน คล้ายนุช, 2550) ชุมชนชาวอำเภอหนองเสือได้ตระหนักถึงปัญหาพิษภัยดังกล่าว พร้อมกับการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของผู้นำชุมชนเพื่อให้เกิดการลดการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรให้น้อยลง

ตำบลบึงบอน เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหนองเสือ มี 9 หมู่บ้าน เกษตรกรก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เมื่อมีผู้นำชุมชนได้นำแนวทางการผลิตการเกษตรชีวภาพ โดยการผลิตน้ำส้มควันไม้มาใช้ในผักคะน้า เพื่อลดการใช้สารเคมีให้ลดน้อยลง

การวิจัยจะทำการศึกษาในพื้นที่ในตำบลบึงบอนซึ่งมีกลุ่มเกษตรกร อยู่ 2 กลุ่มที่มีแนวคิดในการผลิตการเกษตรชีวภาพจากน้ำส้มควันไม้ ซึ่งมีสมาชิกรวมกันประมาณ 104 คน และต้องการที่จะพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดภัยแม้ว่าจะมีกลุ่มเล็กๆที่ริเริ่มรวมกลุ่มกันคิดแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการที่จะลดรายจ่ายและลดการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร อย่างไรอันที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่เป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาการเกษตรอันเป็นทางไปสู่ระบบการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน อันจะเป็นแบบอย่างที่เป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาด้านเกษตรชีวภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ หรือแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดกับชุมชนอื่นๆได้ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เปรียบเทียบการใช้น้ำส้มควันไม้กับสารไดโครโตรฟอสในการป้องกันกำจัดด้วงหมัดผักในพันธุ์คะน้ายอด : พันธุ์แม่โจ้ 1

2. เปรียบเทียบต้นทุนในการใช้น้ำส้มควันไม้กับการใช้สารไดโครโตรฟอสในการผลิตพันธุ์คะน้ายอด : พันธุ์แม่โจ้ 1

น้ำส้มควันไม้ หรือน้ำส้มไม้ หรือ กรดไพโรลิกเนียส เป็นของเหลวสีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ที่ได้มาจากการควบแน่นควันที่ได้จากการเผาถ่านไม้ในสภาพอับอากาศ ซึ่งอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 – 400 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ปากปล่องควันอยู่ระหว่าง 80 - 150 องศาเซลเซียส ส่วนประกอบและโครงสร้างของไม้มี เซลลูโลส ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส หลายประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และสารประกอบชนิดอื่นๆ

เทคโนโลยีชาวบ้าน (2545) ได้กล่าวว่า น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวสีน้ำตาลใสมีกลิ่นควันไฟ ที่ได้มาจากการควบแน่น (CONDENSED) ควันที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ในช่วงที่ไม้กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน (CARBONIZATION) อุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300o C – 400oC สารประกอบต่าง ๆ ในไม้ฟืนจะถูกลายตัวด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบใหม่มากมาย ( PYROLYSIS) แต่ถ้าเก็บควันในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 300o C แม้ว่า เฮมิเซลลูโลส ( HEMICELLULOSE) จะสลายตัวแล้ว และเซลลูโลสกำลังเริ่มสลายตัว แต่ก็จะมีสารประกอบที่มีประโยชน์น้อยมากไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และถ้าเก็บควันในช่วงอุณหภูมิเกิน 425oC น้ำมันดินจะสลายตัวเป็นสารก่อมะเร็ง ได้แก่ BENZOPYRENE และ DIBENZANTHRACENEMENTYL CHOLNISRENE แม้ว่าสารดังกล่าวสามารถกำจัดออกไปได้ง่ายเมื่อมากลั่นซ้ำที่อุณหภูมิ 60 oC - 70 C แต่การนำมากลั่นซ้ำก็จะสูญเสียสารประกอบบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร

สมาคมน้ำส้มควันไม้แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคนกลางในการซื้อขายน้ำส้มควันไม้ ได้ตั้งเกณฑ์มาตรฐาน ของการเก็บน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากเตาอิวาเตะ (Iwate) ไว้โดยการวัดอุณหภูมิที่ปากปล่องควันระหว่าง 80 oC - 150 oC ซึ่งอุณหภูมิภายในเตาจะอยู่ระหว่าง 300 oC – 400 oC

น้ำส้มควันไม้สามารถเก็บได้โดยอาศัยเครื่องมือง่าย ๆ โดยอาศัยการถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันที่มีอุณหภูมิสูง สู่อากาศรอบปล่องดักควันที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ความชื้นในควันก็จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ นำมารวบรวมและทำให้บริสุทธิ์ขึ้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จุดสำคัญของการเก็บน้ำส้มควันไม้ก็คือ ต้องให้ปล่องดักควันอยู่ห่างจากปากปล่องควันของเตาผลิตถ่าน 20-30 ซม. หากทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันโดยตรงจะเท่ากับเป็นการต่อความยาวให้กับปล่องควันของเตา ซึ่งจะมีผลกระทบไปถึงการไหลเวียนของอากาศภายในเตา และส่งผลถึงคุณภาพและผลผลิตของถ่านไม้ด้วย (จิระพงษ์, 2550)

การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์

น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเก็บจากเตาผลิตถ่าน ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา แต่จะเริ่มก่อนที่หน้าเตาด้านบน แล้วแผ่กระจายมายังหลังเตาด้านล่าง ดังนั้นควันที่ออกมาจากปล่องควันจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันอุณหภูมิต่ำและสูง และเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 310 oC ลิกนิน (LIGNIN) ก็จะเริ่มสลายตัว ก็จะมีน้ำมันดิน (TAR) และสารระเหยง่าย (VOLATILE) ปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้ (OIL BASE) จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิดปากใบของพืช และเกาะติดรากพืช ทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้

การทำให้น้ำส้มควันไม้บริสุทธิ์ สามารถทำได้ 3วิธี

1. ปล่อยให้ตกตะกอน

โดยนำน้ำส้มควันไม้มาเก็บในถังทรงสูง มีความสูงมากกว่าความกว้างประมาณ 3 เท่า โดยทิ้งให้ตกตะกอนประมาณ 90 วัน น้ำส้มควันไม้ก็จะตกตะกอนแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส (LIGHT OIL) ชั้นกลางเป็นของเหลวใสสีชา คือน้ำส้มควันไม้ และชั้นล่างสุดจะเป็นของเหลวข้นสีดำหรือน้ำมันดิน หากนำผงถ่านมาผสมประมาณ 5% โดยน้ำหนัก ผงถ่านก็จะดูดซับทั้งน้ำมันใสและน้ำมันดิบให้ตกตะกอนลงสู่ชั้นล่างสุดในเวลาที่เร็วขึ้น เพียงประมาณ 45 วันเท่านั้น

ระหว่างการปล่อยให้ตกตะกอน สารประกอบในน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน เปลี่ยนเป็นสารประกอบใหม่ที่มีโมเลกุลยาวขึ้น (POLIMERLIZATION) เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ (FOMADEHYDE) ทำปฏิกิริยากับฟีนอล (PHENOL) เปลี่ยนเป็นน้ำมันดิน (TAR) แล้ว ตกตะกอนหรือจับตัวติดแน่นกับผนังของถังเก็บ ดังนั้นหากนำน้ำส้มควันไม้มากรองโดยไม่ตกตะกอนเสียก่อนก็จะเกิดน้ำมันดินใหม่ได้ทั้ง ๆ ที่ได้ผ่านการกรองแล้วถังเก็บควรมีวาล์ว 3 ระดับ คือ ระดับ (1) บนมีไว้สำหรับแยกน้ำใส (LIGHT OIL)

ระดับ (2) กลางมีไว้สำหรับเก็บน้ำส้มควันไม้ (3) ก้นถัง สำหรับถ่ายน้ำมันดิน

แต่ถ้าใช้ถ่านช่วยตกตะกอนมีเพียงระดับกลาง (2) ก็พอ เมื่อแยกน้ำส้มควันไม้เสร็จแล้วต้องยกถังเพื่อเทผงถ่านผสมน้ำมันดินออก เพราะผงถ่านผสมน้ำมันดินไม่สามารถไหลผ่านวาล์วได้ (ผงถ่านผสมน้ำมันดิน สามารถนำไปใช้โรยรอบอาคารเพื่อป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เช่น มด ปลวก ตะขาบ ฯลฯ และจะสลายตัวได้เองภายในเวลาไม่นานนัก แต่ห้ามทิ้งลงแหล่งน้ำเด็ดขาด) หลังจากตกตะกอนจนครบกำหนดแล้ว นำน้ำส้มควันไม้มากรองซ้ำอีกครั้งด้วยผ้ากรอง แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ น้ำส้มควันไม้ที่บริสุทธิ์ต้องมีน้ำมันดินไม่เกิน 1% ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่าย โดยการดูความใสหากมีน้ำมันดินเกิน 1% น้ำส้มควันไม้จะขุ่นและมีสีดำ น้ำส้มควันไม้ที่ดีจะมีลักษณะใส สีชา หรือน้ำตาลแดง แตกต่างกันไปตามชนิดของไม้

2. การกรอง โดยใช้ผ้ากรองหรือถังกรองที่ใช้ผงถ่านกัมมันต์ ซึ่งจะได้คุณสมบัติแตกต่างกันไป เพราะถ่านกัมมันต์จะลดความเป็นกรดของน้ำส้มควันไม้ และจะใช้วิธีนี้เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรม

3. การกลั่น โดยกลั่นได้ทั้งในความดันบรรยากาศและกลั่นแบบลดความดันรวมทั้งกลั่นแบบลำดับส่วนเพื่อแยกเฉพาะสารหนึ่งสารใดในน้ำส้มควันไม้ มาใช้ประโยชน์ มักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาอย่างไรก็ตาม ทั้งการกรองและการกลั่น ต้องทำหลังจากตกตะกอนก่อนเท่านั้น เนื่องจากต้องรอให้เกิดปฏิกิริยาในน้ำส้มควันไม้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์เสียก่อน (จิระพงษ์, 2550)

คุณสมบัติของน้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้แตกต่างจากน้ำส้มสายชู หรือน้ำส้มอื่น ๆ ที่ได้จากการหมัก หรือสังเคราะห์อื่น ๆ คือมีสารประกอบหลากหลายเท่า โดยเฉพาะฟีนอล ( PHENOL) ซึ่งได้จากการสลายตัวของลิกนิน ( LIGNIN) น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากไม้ต่างชนิดก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย เช่น น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากไม้ยูคาลิปตัส จะมีความเป็นกรดต่ำและมีสีใสแต่มีเมธาน(METHANOL) สูงกว่า ไม้กระถินยักษ์หรือไม้สะเดา น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่าง ๆ มากกว่า 200 ชนิด ซึ่งได้จากการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อน เกิดเป็นสารประกอบใหม่หลายชนิด เช่น กรดอินทรีย์และแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ ได้จากการสลายตัวของเฮมิเซลลูโลส และเซลลูโลส ส่วนฟีนอลได้จากการสลายตัวของลิกนิน น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบที่สำคัญได้แก่ น้ำประมาณ 85% กรดอินทรีย์ ประมาณ 3% และสารอินทรีย์อื่น ๆ อีกประมาณ 12% มีค่าความเป็นกรด (pH) ประมาณ2.5- 3 ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.012-1.014 ซึ่งมีแตกต่างกันไปตามชนิดของไม้ อุณหภูมิที่เผา การดักเก็บน้ำส้มควันไม้ และระยะเวลาในการเก็บรักษา

ตารางที่ 6 สารต่าง ๆ ในน้ำส้มควันไม้

ชนิด สารประกอบ

Organic acid

Phenol

Carbonyl compound

Alcohol

Neutral ingredients

Basic ingredients Formic acid, acetic acid, propinoic acid, butyric acid, Isobutyric acid, valeric acid, isovaleric acid, Crotonic acic, isocapronic acic, tiglic acid, Enanthic acid, levulinic acid, ete.

Phenol, o.m.p-cresol, 2.4-and 3.5-xylenol, 4-ethyl-and 4-propylphenol, guaiaclo, cresol, 4-ethyl-and 4-propyl-guaiacol, pyrogallol, 5-methylpyrogallol, 5-ethyl pyrogllol-anv 5-propyol pyrogallol-1.3-dunethyl ether, catechol, 4-methyl, 4-ethyl, and 4-propyl catechol, etc.

Formaldehyde, acetaldehyde, propuonaldehyde, Isobutylaldetyde, butylaldehyde, valeraldetyde, Isovaleraldehyde, glyoxal, acrolein, crotonaldehyde, Furfural, 5-hydroxymethylfural, acetone,

Methyl ethyl ketone, methyl propyl detone, Methyl isopropyl ketone, methyl buthyl tulyl ketone. Diacetyl, methylcyclo pentenone,

Methycyclo pentenorone, etc.

Methanol, ethanol , propanol, isopropanol,

Allylacohol, isobutylatcohol, isoamyl alcohol, etc.

Levoglucosan, acetol, maltor, roganic acic methyl ester,

Veratrole, 4-methyl, 4-ethyl, and 4-propyl veratrole,

3.4-benzopyrene, 1.2.5.6-dibenzanthracene,

20-methylcholinserne, -hydroxy- -valerolactone, etc.

Ammonia, methylamine, dimethylamine, pryidine, Methlpyridine,

dimethylpyridine, trimethylamine, etc.

ตารางที่ 7 สารประกอบในน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากเตาผลิตถ่าน

สารประกอบ (HCETIC) Content (B)

Acetic acid

Propionic acid

Methanol

Furfural

Acetone

Cycloten

2-Cyclopinternon

Fulfuryl alcohol

Gulalcohol

Tetrahydro Fulfuryl alcohol

Para-Cresol & Meta-Cresol

2-Methoxy-4-Cresol

Ortho-Cresol

Nonan-1, 4-Olld

Ethyl-Gulalcohlol 2.70

0.12

0.13

0.11

0.01

0.15

0.03

0.02

0.04

0.06

0.09

0.08

0.08

0.04

0.01

การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้

1. ใช้ในด้านการเกษตร

การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้และถ่านในการเกษตร ใช้ได้กับพืช ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ช่วยติดดอกผลดก ช่วยเพิ่มผลผลิต ผลโตสีสดใส รสหวาน ลดโรคพืช เชื้อรา แผลเน่า ฟื้นฟูดินเสื่อม ดินจะมีสุขภาพดี การใช้ร่วมกับสารเคมี เช่น สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดแมลง ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน สามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีได้ ในการใช้น้ำควันไม้ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง จะสามารถลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลงถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยใช้อยู่เดิมน้ำส้มควันไม้เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมีจะส่งเสริมคุณสมบัติความสามารถให้กัน ซึ่งน้ำส้มควันไม้สามารถป้องกันและไล่แมลงศัตรูพืชได้ เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะสามารถมีบทบาททำงานร่วมกันกับปุ๋ยเคมีช่วยให้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการฉีดระยะต้นเล็กและก่อนเก็บเกี่ยว ช่วยให้คุณภาพและรสชาติดีขึ้น รวมทั้งชะลอการเหี่ยวเฉา นอกจากที่กล่าวมาน้ำส้มควันไม้ยังช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ถ่านที่ใช้แช่ในน้ำส้มควันไม้ จะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดี โดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในดินที่มีประโยชน์ต่อต้นพืช เบสจากถ่านมีรูพรุนจำนวนมากและมีแร่ธาตุ สารอาหารอยู่ด้วยทำให้เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัยของ จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช การใช้น้ำส้มควันไม้กับต้นพืช ควรใช้เวลาเช้าหรือเย็น จะเกิดประโยชน์ต่อพืชมาก

น้ำส้มควันไม้ที่มีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรง เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง และมีสารประกอบ เช่น เมธานอล และฟีนอล ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้ดีเมื่อเจือจาง 200 เท่า จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (ANTIBACTERIAL MICROBE) จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารจากกรดน้ำส้ม (ACITIC ACID)

- ใช้ผสมน้ำ 20 เท่า พ่นลงดิน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน เช่น โรคเน่าเละจากแบคทีเรีย โรคโคนเน่าจากเชื้อรา และไส้เดือดฝอย ฯลฯ ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นจะเทียบเท่าการอบฆ่าเชื้อด้วยการรมควัน (FUMIGATION) ควรทำก่อนการเพาะปลูก 10 วัน เพราะน้ำส้มควันไม้ ที่รดลงดินจะไปทำปฏิกิริยากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เกิดคาร์บอนโมโนออกไซด์ (CO) ซึ่งเป็นพิษต่อพืช แต่เมื่อแก๊สคาร์บอนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วจึงจะสามารถปลูกพืชได้ รวมทั้งพืชจะได้รับประโยชน์จาก CO2 ด้วย

- ใช้ผสมน้ำ 50 เท่า พ่นลงดิน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าทำลายพืชแล้ว หากใช้ความเข้มข้นมากกว่านี้ รากพืชอาจได้รับอันตรายได้

- ใช้ผสมน้ำ 200 เท่า ความเข้มข้นระดับนี้สามารถใช้ฉีดพ่นที่ใบพืช รวมทั้งพื้นดินรอบต้นพืชทุก ๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลง ป้องกันและกำจัดเชื้อราและกระตุ้นความต้นทานและการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากความเข้มระดับนี้สามารถทำลาย ไข่แมลงและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อพืช เช่น บาซิลไล (BACILLI) ที่ไม่มีสปอร์ (SPORE) รวมทั้งเชื้อไซโฟมัยซีส (SYPHOMYCETE)

- ผสมน้ำส้มควันไม้กับน้ำให้เจือจาง 1 ต่อ 500 – 1,000 (น้ำควันไม้ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นหรือรดไม้ผล จะช่วยไล่แมลงศัตรูพืช เร่งการติดดอก การเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน

ตารางที่ 8 การใช้น้ำส้มควันไม้ในด้านการเกษตร

ชนิดพืช ระยะการใช้ – ประโยชน์ที่ได้รับ

( ป้องกันโรค ติดดอก ออกผล) วิธีการใช้น้ำส้มควันไม้

ผักมีหัวต่าง ๆ ( ผักกาดหัว กระชาย) หลังแยกหน่อ ผสมน้ำ 1:1,000 ส่วน

(1-2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)

ฉีดพ่น 5-10 วันต่อครั้ง

ข้าว ครั้งแรกผสมยาคุม – ฆ่าถึงตั้งท้อง ผสมน้ำ 1:200 ส่วน

(10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)

ฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน

ไม้ผล ช่วงใบอ่อนและใบแก่หรือราดโคลนต้น ผสมน้ำ 1:200 ส่วน

(10 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)

ราดโคลน 2-3 ครั้งต่อเดือน

ไม้ดอก แตกใบอ่อน ช่วงต้นแข็งแรงแล้ว ผสมน้ำ 1:500 ส่วน

(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)

ฉีดพ่นเดือนละครั้ง

พืชไร่ ตั้งแต่ต้นอ่อนถึงก่อนเก็บเกี่ยว ผสมน้ำ 1:500 ส่วน

(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)ฉีดพ่น 2-3 ครั้งต่อเดือน

ถั่วต่าง ๆ ช่วงต้นเล็กและก่อนออกดอก ผสมน้ำ 1:500 ส่วน

(4-5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปี๊บ)

ฉีดพ่น 1-2 ครั้งต่อเดือน

(นิตยสารเทคโนโลยีเกษตรแนวใหม่, 2546)

ตารางที่ 9 การใช้น้ำส้มควันไม้ในด้านการกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร

ประโยชน์ อัตราส่วน วิธีการใช้

- กำจัดไส้เดือนฝอย แมลงในดินมด และปลวก 1:20 น้ำส้มฯ 5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1ลิตร ราดหรือพ่นบริเวณที่มี ก่อนปลูกพืช 15 วัน

- ป้องกันโรครากและโคนเน่าจากเชื้อรา 1:100 น้ำส้มฯ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 20 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นลงดิน ก่อนปลูกพืช 15 วัน

- เร่งการเจริญเติบโต กระตุ้นความต้านทานโรค 1:200 น้ำส้มฯ 1/2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 10 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ราดโคนต้นทุก 7-15 วัน

- ป้องกันศัตรูพืช ขับไล่แมลงทุกชนิด และเชื้อรา 1:200 น้ำส้มฯ 1/2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 10 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นที่ใบทุก 7-15 วัน

- กระตุ้นการงอก ของข้าว ป้องกันเชื้อรา 1:300 น้ำส้มฯ 3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 0.27 ลิตร ต่อน้ำ 1 โอ่ง แช่เมล็ดพันธ์ข้าว 2 คืน แล้วผึ่งในกระสอบ 1 วัน

- เพิ่มผลผลิต ข้าว 1:300 น้ำส้มฯ 7 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 7-15 วัน

- ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาลของพืช ทำให้ผักและผลไม้มีรสหวาน 1:500 น้ำส้มฯ 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นผลอ่อนหลังติดผลแล้ว 15 วัน และพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน

- เป็นสารจับใบ, ช่วยลดการใช้สารเคมี 1:1,000 น้ำส้มฯ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ผสมสารเคมีฉีดพ่นลดค่าใช้จ่าย

หมายเหตุ ควรฉีดพ่นเช้า หรือเย็น 1 ช้อนโต๊ะ = 10 ซีซี, 1 ปี๊บ = 20 ลิตร, 1 เดือนไม่ควรฉีดเกิน 2-3 ครั้ง และอย่าผสมเกินอัตรากำหนด

ชญานิษฐ์ (2547) รายงานว่า การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้น้ำส้มควันไม้ที่มีต่อผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยทำการปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2546 ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized complete block design จำนวน 4 ซ้ำ การทดลองมี 11 กรรมวิธี ดังนี้; 1)ไม่พ่นน้ำส้มควันไม้ (กรรมวิธีควบคุม); 2) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 200; 3) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 250; 4) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 300; 5) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 350 ; 6) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 400 ; 7) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 500 ; 8) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 600; 9) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 800;10) น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 1,000 และกรรมวิธีที่ 11 ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 1,000 ทุกๆ 7 วัน โดยกรรมวิธีที่ 2 ถึง กรรมวิธีที่ 10 ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ทุกๆ 15 วันจนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว โดยเป็นการฉีดพ่นทางใบ โดยทุกกรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวมีอายุ 14 วันหลังปักดำ และใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะกำเนิดช่อดอก (30 วันก่อนข้าวออกดอก) จากผลการทดลองพบว่าการใช้น้ำส้มควันไม้ไม่มีผลทำให้ความสูง จำนวนหน่อต่อกอ ดัชนีพื้นที่ใบ น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดิน องค์ประกอบผลผลิต และ ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใช้น้ำส้มควันไม้ในอัตราส่วน น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ 1:300-350 มีแนวโน้มทำข้าวมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนัก 1000 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดต่อกอดีขึ้น

ดรุณี (2547) รายงานว่า น้ำส้มควันไม้ (wood vinegar หรือ pyroligneous acid) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม ใช้ในครัวเรือน ด้านปศุสัตว์ และด้านการเกษตร โดยมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ในรูปของปุ๋ย สารเร่งการเจริญเติบโต และสารไล่แมลง งานทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของการใช้น้ำส้มควันไม้ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์ 5E โดยทำการทดลอง ณ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2546 ใช้แผนการทดลองแบบ Randomized complete block design จำนวน 4 ซ้ำ มี 4 กรรมวิธี ดังนี้; 1) ไม่ใช้น้ำส้มควันไม้และไม่ใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง (วิธีควบคุม); 2) ไม่ใช้น้ำส้มควันไม้แต่ใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง; 3) ใช้น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 300 และไม่ใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง และ 4) ใช้น้ำส้มควันไม้ต่อน้ำ อัตรา 1 ต่อ 500 และไม่ใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง โดย ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ทุกๆ 7 วันตั้งแต่ระยะ 30 วันหลังปลูกจนถึง 15 วันก่อนเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำส้มควันไม้ไม่มีผลทำให้ความสูง น้ำหนักแห้ง จำนวนกิ่งต่อต้น จำนวนฝักต่อต้น การสะสมน้ำหนักแห้ง ที่ระยะ 60 วันหลังปลูกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเช่นเดียวกับที่ระยะเก็บเกี่ยว การใช้น้ำส้มควันไม้ไม่สามารถทำให้ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามความสูง จำนวนฝักต่อต้น และผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยที่ระยะเก็บเกี่ยว ถั่วเหลืองที่ได้รับการฉีดพ่นด้วย น้ำส้มควันไม้ ในอัตรา 1:300 มีความสูงเฉลี่ย 78.15 เซนติเมตร และผลผลิตเฉลี่ย 273.99 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ถั่วเหลืองที่ไม่ได้รับการฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ และไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรค และแมลงมีความสูงเฉลี่ย 71.79 เซนติเมตร และผลผลิตเฉลี่ย 259.46 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้น้ำส้มควันไม้ ในอัตรา 1:300 มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมีความงอกในสภาพไร่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความงอกในสภาพไร่เฉลี่ย 81.36 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองซึ่งไม่มีการใช้น้ำส้มควันไม้ และไม่กำจัดโรคและแมลง มีความงอกในสภาพไร่เฉลี่ย 77.50 เปอร์เซ็นต์

ดรุณี (2547) ได้วิจัยการใช้น้ำส้มควันไม้ในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่า การนำเมล็ดข้าวมาทำให้เมล็ดมีการเสื่อมคุณภาพ โดยวิธีการเร่งอายุ (เก็บเมล็ดข้าวไว้ที่ 41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 %) นาน 0 (ควบคุม), 24, 48, 72 และ 84 ชั่วโมงเพื่อให้ได้ เมล็ดที่มีคุณภาพแตกต่างกันก่อนนำเมล็ดมาแช่ในน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นต่างๆกัน เป็นเวลา24 ชั่วโมง ก่อนเพาะทดสอบความงอกงาม

ได้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์มากเลย ผมมีความสนใจอยากได้น้ำส้มควันไม้มีจำหน่ายที่ไหนครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับผม การเกษตรทำให้คนไทยสามารถพ้นวิกฤตและมีรายได้มากขึ้นได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท