น้ำส้มควันไม้ ที่ ต.ภาชี อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 2


น้ำส้มควันไม้ของที่นี้จะแตกต่างจากที่อื่น คือ ในตอนเผาจะใส่สมุนไพรเผาร่วมกับฟืน ดังนั้น หลังจากได้น้ำส้มควันไม้แล้วสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม้ต้องเก็บไว้ 3เดือน เพื่อให้มีการตกตะกอน

เรื่องเล่า " น้ำส้มควันไม้ ที่ ต.ภาชี อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา" ตอนที่ 2

        เกี่ยวกับน้ำส้มควันไม้ของกลุ่มเกษตรกร ต.ภาชี ลุงเสวก ได้เล่าให้เราฟังว่าลุงอาศัยอยู่ที่ อ.อุทัย ซึ่งติดอยู่กับ อ.ภาชี ได้เริ่มทำและใช้น้ำส้มควันไม้มา 20 กว่าปีแล้วโดยเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษประกอบกับตอนหนุ่ม ๆ เป็นทหารเกณฑ์ได้เรียนรู้เพิ่มเติมและตัวคุณลุงเองก็มีลักษณเป็นคนไฝ่รู้ ได้มีการค้นคว้าทดลองใช้โดยตัวเอง

         และเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ธ.ก.ส. ได้มีการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ อ.อุทัย ลุงเสวกจึงมีบทบาทในการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับนำส้มควันไม้และเมื่อมีการขยายพื้นที่ส่งเสริมในเขตอำเภอภาชี ลุงเสวกก็ยังมาทำหน้าที่วิทยากรและพัฒนาเครือข่ายการผลิตพืชปลอดภัยเพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ ลุงเสวกเป็นผู้ทีมีความรุความสามารถจริง ๆ เคยได้รับการสนับสนุนจาก ธ.ก.ส. ให้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ 2 ครั้ง

  • ครั้งแรกประมาณปี 2545 ไปดูงานเตาอิวาเตะในการทำ          น้ำส้มคัวนไม้ที่ประเทศญี่ปุ่น
  • ครั้งที่สอง เมื่อปี 2548 ไปดูงานเกษตรอินทรีย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

และได้นำความรู้จากการดูงานเรื่อง เตาอิวาเตะ  มาดัดแปลงเตาที่ใช้ผลิตน้ำส้มควันไม้ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ของตนเอง โดยประยุกต์การเผาแบบเดิมที่ใช้สังกะสีเป็นตัวดักควัน+ไอน้ำ(น้ำส้มควันไม้)มาใช้ท่อเพื่อควบแน่นแทน

         กลุ่มฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลว่าน้ำส้มควันไม้ของที่นี้จะแตกต่างจากที่อื่น  คือ ในตอนเผาจะใส่สมุนไพรเผาร่วมกับฟืน ดังนั้น หลังจากได้น้ำส้มควันไม้แล้วสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม้ต้องเก็บไว้ 3เดือน เพื่อให้มีการตกตะกอน โดยสมุนไพรที่ใส่เพิ่มเติม ได้แก่ ข่า ตะไคร้หอม หนอนตายหยาก ใบน้อยหน่า กระเทียม ยาฉุน พริกขี้หนู

         วัสดุที่ใช้ในการเผา (ฟืน) จะได้จากไม้ยูคาลิปตัสในพื้นที่เพราะจากการทดลองของกลุ่มพบว่ายูคาลิปตัสจะให้ปริมาณน้ำส้มควันไม้มากที่สุด  และถ้าเป็นฟืนไม้สดและได้น้ำส้มควันไม้มากกว่าฟืนแห้ง เตาเผาก็ใช้ถังนำมันขนาด 200 ลิตร มาดัดแปลงเป็นเตาเผาดูรูปประกอบ

          การเผา จะใส่ฟืนไปประมาณ 1/2 ถัง รวมกับสมุนไพรอย่างละ 1 กก. ใช้เวลาเผาประมาณ 1 วัน( 24ชม. ) และตอนนี้กลุ่มได้ดัดแปลง เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยได้นำผลไม้เช่น มังคุด น้อยหน่า สัปปะรด มาเผารวมโดยวางไว้บนสมุนไพรอีกชั้นหนึ่งแล้วจะได้ถ่านผลไม้ ซึ่งมีพ่อค้าจากในเมืองมาซื้อ ผลละ 10 บาท เพื่อนำไปทำเป็นของใช้ที่ใช้ดูดกลิ่น ในตู้เย็น ในการเผาแต่ละเตาจะได้น้ำส้มควันไม้ ประมาณ 2 - 3 ลิตรและในการเผายังมีเทคนิควิธีการอีกมากมาย เพื่อตอบสนองหลายวัตถุประสงค์ตามข้างต้น คือ ได้ถ่าน ได้น้ำส้มควันไม้และได้ถ่านผลไม้ ถ้าใครสนใจจะไปดูงานก็ติดต่อผ่านลุงจำลอง ก็แล้วกัน สนง.เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. 0-3533-6560

          การใช้น้ำส้มควันไม้ใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อไล่แมลงเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มนี้จะใช้ในข้าวโดยใช้ 7 - 15 วัน/ครั้ง ทำให้สามารถเลิกการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไปได้ ประกอบกลุ่มนี้มีการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพควบคู่ไปด้วย ทุกคนจึงบอกเราว่า ตอนนี้ในแปลงของเขามีสภาพแวดล้อมดีขึ้น  โดยสังเกตจาก หอย ปู ปลา เริ่มกลับมามีมากขึ้น

          การเก็บรักษา สามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นปี โดยเก็บในที่ร่ม

          ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน  ซึ่งแกนนำกลุ่มได้ให้ข้อมูล คือ

          -   ต้นทุนการผลิตข้าวลดลง

          -   สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดีขึ้น ( จากการสังเกตของเกษตรกรที่มีสิ่งมีชีวิตในนาในแง่ของชนิดและปริมาณเพิ่มขึ้น)

           -  รายได้เพิ่มขึ้น  (มีพ่อค้ามารับซื้อน้ำส้มควันไม้ เพื่อใช้เป็นน้ำมันนวดในกิจกรรมสปา( SPA ) และถ่านสามารถขายได้)

 Ayut7

 การวางเรียงวัสดุในเตา

 Ayut6

 กำลังเผา

 Ayut5

น้ำส้มควันไม้ที่ได้

           นี่คือสิ่งที่ผมเก็บเกี่ยวได้จากการไปเรียนรู้กับน้ำส้มควันไม้ ต.ภาชี ก็ก็บมาเล่าให้ฟังและถ้าเราสามารถส่งเสริมการทำงานแบบนี้ในหลาย ๆ พื้นที่ คิดว่าเกษตรกรไทยน่าจะมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น

หมายเลขบันทึก: 43313เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อยากทราบข้อมูลเรื่องกระบวนการผลิต

รวมทั้งงบประมาณี่ต้องจ่าย

เรียน  คุณ wang

ต้องขออภัยที่ไม่ค่อยได้เข้ามาดูในบลอค  ส่วนรายละเอียด ขอให้ติดต่อ คุณ จำลอง  พุฒซ้อน  สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โทร. มือถือ089-821-3410 ครับ

ข้างบนลืมใส่ชื่อ

ผม สำราญ  สาราบรรณ์ ครับ

เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ครับ

ขอรบกวนทุกท่านที่มีเรื่องเกี่ยวกับ น้ำส้มควันไม้

หัวข้อ

- ชนิดไม้ที่ผลิต

-อุณหภูมิ

-คุณสมบัติ

-และปัจจัยอื่นๆ

ด้วยกระผมเองได้ศึกษาในเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำส้มควันไม้

*** ถ้าท่านผู้ประสงค์ดีมีความกรุณาในส่วนของข้อมูล ในส่วนต่างๆ กรุณาส่งข้อมูลที่ท่านมีให้ในเมล์ด้วยนะครับ

E-mail [email protected]

ขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านส่งมานะครับ

นายหวั่น มะนาวหวาน

สวัสดีครับ

ผมเป็นกลุ่มเกษตรกร อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผมได้ผ่านการฝึกอบรมเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้พึ่งพาตนเอง ที่ศูนย์การเรียนรู้ตนแบบเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก ตามแนวพระราชดำริเศษฐกิจพอเพียง

บ้านแห หมู่ 2 ตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

ตอนนี้ผมได้ทดลองทำเป็นผลสำเร็จแล้ว ผมจึงอยากสอบถามที่รับซื้อน้ำส้มควันไม้

เบอร์ติดต่อ 086-9708126 คุณหวั่น มะนาวหวาน

ผมก้ออยากทราบแหล่งที่รับซื้อน้ำส้มควันไม้ครับ มีแต่บอกว่าให้ผลิตกันแต่ไม่มีที่ให้ขาย คนผลิตก้อตายหมดซิครับ ยังไงก้อช่วยเหลือกันหน่อยนะครับ ผมเสนอขายในราคา10-15บาทต่อลิตรครับ ขอบคุณครับ

จากข้อความข้างบน ต้องขอโทษจริง ๆ ครับพอดีผมลืมใส่ที่ติดต่อกลับ อีเมลล์ [email protected] โทร 084 119 1394

ตอนนี้มีน้ำส้มควันไม้ (ไม้ลำไย-มะขาม)ขายราคา 15 บาทต่อลิตร มีจำนวนมาก สนใจติดต่อได้ที่เบอร์ 086-2113342

ขายส่งน้ำส้มควันไม้ ราคาถูก จากผู้ผลิตโดยตรง

รับผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทุกชนิด ในกลุ่มปุ๋ย ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

น้ำส้มควันไม้ บิววาเรีย ไตรโคเดอร์ม่า เมธาไรเซียม และอื่นๆ พร้อมทั้งออกแบบ

บรรจุภัณฑ์ ฉลากบรรจุภัณฑ์ ครบวงจร

>>>ทางเรามีกำลังในการผลิตน้ำส้มควันไม้ สูงถึง 10,000-100,000 ลิตร ต่อเดือน

พร้อมทั้งกระบวนการผลิต บรรจุ และสต๊อกสินค้าที่ มีคุณภาพ ทำให้ผลผลิตไม่ขาดตลาด

อย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์คุณภาพ ผ่านกระบวนการหมักกว่า 90 วัน จนได้น้ำส้มควันไม้ที่เป็นสีส้มจริงๆ

(ไม่เป็นสีดำหรือสีของน้ำถ่านไม้) ท้าพิสูตร ถึงความใสสะอาดและบริสุทธิ์ของน้ำส้มควันไม้

โทร.0835490705

เราตอ้งการขายน้ำส้มควรไม้ติดตอ่ใด้ที่ใหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท