ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า


วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

ศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง                                                                         ผู้อำนวยการ (เชี่ยวชาญ) กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

******************

31 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ถือเป็นวันสำคัญของชาติเพื่อประกอบงานรัฐพิธีถวายราชสักการะโดยมิต้องถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชว่า พระมหาเจษฎาราชเจ้า แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ 

พระราชประวัติ                                                                                  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าชายทับเป็นพระราชโอรสลำดับองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระราชสมภพ เมื่อวันที่31 มีนาคม 2330 ณ พระราชวังเดิมธนบุรี   เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก   พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์(ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมาจากคำว่า ทับ ซึ่งหมายถึง พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงประทับอยู่เหนือหัวของประชาชนชาวไทยทุกคน นั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5     ขึ้น1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน 2394 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์          ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์  ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลา-        ธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย  พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์    ภูมินทรปรมาธิเบศร  โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ในปี พ.ศ.2394 นั้น ประเทศอยู่ในสภาพมั่นคงสมบูรณ์ รัฐบาลเป็นปึกแผ่นยิ่งกว่าตอนที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชอาณาเขตขยายออกไปกว้างขวางกว่าเดิม เขตแดนทั้งทางบกทางน้ำมีความปลอดภัยยิ่งกว่าครั้งใดๆ ด้านเศรษฐกิจของประเทศก็มีเสถียรภาพ      ยิ่ง สามารถนำเงินไปใช้ในการทะนุบำรุง ประเทศ การป้องกันประเทศ    การศาสนา และด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังมีเงินที่เหลือบางส่วนเก็บใส่ “ถุงแดง” เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับ    ในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมือง และสงครามระหว่างประเทศไปได้

เหตุการณ์สำคัญในสมัย

1. การค้าขายกับต่างประเทศและการเก็บอากรต่างๆ

2. เกิดสุริยุปราคาถึง 5 ครั้ง ฯลฯ

พ.ศ. 2367 เหตุการณ์สำคัญดังนี้

    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3     แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้พระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า

พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย

พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้ 

  • ลงนามในสัญญา เบอร์นี
  • เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไป ปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราช สุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก

พ.ศ. 2370 เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์

พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย

พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก

    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย

พ.ศ. 2376 ญวนเกิดกบฏโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน

พ.ศ. 2377 ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์

พ.ศ. 2381 เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี

พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และมีการเผาฝิ่น และโรงยาฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น

พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2389 ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม

พ.ศ. 2390 ทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วง เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ครองกรุงกัมพูชา

พ.ศ. 2391 ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้

  • พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา  ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394รวมพระชนมายุได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติตได้นานถึง 27 ปีเท่ากับพระราชอัยกา (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

 

หมายเลขบันทึก: 433434เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2011 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท