พระอธิการโชคชัย
พระอธิการ พระอธิการโชคชัย โชคชัย เอี่ยมยัง

“โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และอุปสมบทนาคหมู่เพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ใน ปี๒๕๕๔”


ที่มา: มฆมานพน้อย

 โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และอุปสมบทนาคหมู่เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  และเทิดพระเกียรติ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่อง  ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ในปี ๒๕๕๔

 ระหว่างวันที่ ๑-๑0 เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔  ณ. วัดซำรัง หมู่ที่ ๔ ตำบลชมพู   อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

จัดโดย: คณะสงฆ์อำเภอเนินมะปรางและคณะสงค์อำเภอพรหมพิราม ร่วมกับส่วนราชการท้องถิ่น องค์การบริหารส่วยตำบลชมพู ข้าราชการ พ่อค้าประชาชน องค์กรต่างๆ ทุกหมู่เหล่า และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ของวัดซำรัง


หมายเลขบันทึก: 436647เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2011 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

              “โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน และอุปสมบทนาคหมู่เพื่อ 

  ถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

  เนื่องในโอกาสมหามงคล  เฉลิมพระชนมพรรษา  ๘๔  พรรษา ใน ปี๒๕๕๔ 

                    สู่…เวทีเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างยุวมฆมานพแก่สังคมไทย

                                  ระหว่างวันที่ ๑-๑o เมษายน ๒๕๕๔

                       ณ. วัดซำรัง  หมู่ที่  ๔  ตำบลชมพู  อำเภอเนินมะปราง  

                                               จังหวัดพิษณุโลก 

 

            ในปัจจุบัน สังคมมีความเจริญก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่  คนส่วนใหญ่จึงยึดติดอยู่กับความสำเร็จทางด้านวัตถุกันมาก  จนขาดความเอาใจใส่เรื่องศีลธรรมคุณธรรม  ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาเยาวชน ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยศีลธรรมคุณธรรม หากเขาได้รับการเรียนรู้และอบรมสั่งสอนในเรื่อง ศีลธรรมคุณธรรมด้วยความสมบูรณ์แล้ว เขาก็จะสามารถเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เก่ง-ดี-มีประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาก็ไม่ถูกสร้างขึ้นแก่สังคม เท่ากับเป็นการลดปัญหาอีกทางหนึ่ง

             การอบรมสั่งสอนเรื่องศีลธรรมคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพนั้นจะมีแค่ด้านพุทธิพิสัยอย่างเดียวไม่ได้จะต้องอาศัยการปฏิบัติด้วยตนเอง ให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา กลุ่มพุทธบุตรจึงมีโครงการอบรมศีลธรรม “ค่ายพุทธบุตร” ขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย เพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงหลักธรรมคำสอนที่ดีงาม มีความศรัทธาใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา และจะได้พัฒนาตนเองพร้อมยกระดับจิตใจให้มั่นคงมีศีลธรรมคุณธรรมต่อไป

            คณะสงฆ์อำเภอเนินมะปรางและคณะสงฆ์อำเภอพรหมพิราม ร่วมกับส่วนราชการท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนตำบลชมพูได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้อย่างยิ่ง  จึงได้จัดทำโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนและอุปสมบทนาคหมู่เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติ แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษาขึ้น  เพื่อปลูกฝังคุณธรรมฝึกฝนอบรมให้เยาวชนให้เป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่, เป็นศิษย์ที่ดีของครู-อาจารย์, เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน, เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ, และเป็นสาวกที่ดีของพระศาสดา เพื่อเยาวชนทั่วไป  เพื่อให้น้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสันติสุข

                      

พระพุทธภาษิต: อปฺปมาเทน มฆวา... เทวานํ  สฏฐตํ  คโต...อปฺปมาทํ  ปสํสนฺติ...ปมาโท  ครหิโต  สทา  คำแปล:ท้าวมฆวะ ถึงความประเสริฐกว่าเทวาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาท ส่วนความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ...(ที่มา:มฆมานพ )    

                      

สถานที่ปฎิบัติธรรม: ศูนย์วิปัสสนาโลกอุดร วัดซำรัง  หมู่ที่  ๔  ตำบลชมพู  อำเภอเนินมะปราง  จังหวัดพิษณุโลก

พระบาลีที่ว่า: สมณสฺส  อปจฺจํ  สามเณโร  แปลเป็นใจความว่า เหล่ากอแห่งสมณะชื่อว่าสามเณร 

                       

                      

อธิบายภาพ: สามเณรสถบดี และสามเณรสถาปัตถ์  สามเณรสองพี่น้อง อายุ 6-7 ขวบ ที่มีศรัทธาแรงกล้า และโยมพ่อโยมแม่ สนับสนุนเป็นโยมอุปถากอย่างดี  ขอยกย่องเป็นครอบครัวตัวอย่าง 

                      

                                หลักไตรสิกขา : ศีล สมาธิ ปัญญา

 

                      

ญาติโยมพ่อเฒ่า แม่แก่ ชุมชนรักไทย-เผ่าไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปรางรอใส่บาตรลูกพระ ลูกเณร

                      

มีพุทธภาษิตบทหนึ่งที่เปรียบกฎแห่งกรรมกับกฎการหว่านพืชไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

                      “ ยาทิสํ  วปเต  พีชํ     ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ

                        กลฺยาณการี  กลฺยาณํ  ปาปการี  จ ปาปกํ” 

                      “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น 

                       ผู้ทำดีได้ดี  ผู้ทำชั่วได้ชั่ว...”

               One reaps whatever one has sown. Those who do         

               good receive good, those who do bad receive bad.

       ขอให้สังเกตว่า: พุทธภาษิตนี้ได้อุปมากฎการหว่านพืช กับ กฎแห่งกรรม ข้อความที่ว่า "หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น" หมายความว่า ถ้าปลูกมะม่วง ก็ได้ผลมะม่วง ปลูกมะพร้าว ก็ได้ผลมะพร้าว ไม่ใช่ปลูกมะม่วงหรือมะพร้าวแล้วได้ทรัพย์สินเงินหรือโล่ห์รางวัล  นี้คือการให้ผลแบบตรงไปตรงมาตามกฎธรรมชาติ ส่วนประเด็นว่าเมื่อได้ผลผลิตแล้วจะขายได้ราคาดีหรือไม่ เป็นเรื่องกลไกตลาดในสังคมมนุษย์ ข้อความต่อมาที่ว่า "ผู้ทำดีได้ดี  ผู้ทำชั่วได้ชั่ว" ในที่นี้หมายถึงการได้ดีได้ชั่วแบบตรงไปตรงมาตามกฎแห่งกรรม  กล่าวคือเมื่อทำความดีก็ได้ความดี  เมื่อทำความชั่วก็ได้ความชั่ว  ไม่ใช่ได้บำเหน็จรางวัลหรือทรัพย์สินเงินทอง...   

 

       แล้วมันสู่…เวทีเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างยุวมฆมานพแก่ชุมชนตำบลชมพู และสังคมไทยได้อย่างไร? 

                         

   กระบวนการเรียนรู้ชุมชน/ประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านชมพู ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

                         

สระน้ำที่ทรงพระราชทานให้ขุดเพื่อกักเก็บน้ำและพลับพลาที่ประทับรับรอง ณ บ้านรักไทย

                         

กรุณาติดตามตอนต่อไป: สาธุ...







 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท