โครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก (Assessment of Cooperation between Thai Public Sectors and UNESCO)


สวัสดีครับชาว Blog

          เนื่องด้วยสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะของหน่วยงานกลางของรัฐบาลในการประสานความร่วมมือกับยูเนสโก ได้มอบหมายให้ผมและคณะดำเนินโครงการวิจัย: การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก (Assessment of Cooperation between Thai Public Sectors and UNESCO) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของยูเนสโกที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐของไทย  ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก วิเคราะห์ความคาดหวังและความต้องการของหน่วยงานภาครัฐของไทยในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับยูเนสโก และกำหนดแนวทางและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับยูเนสโกในสาขาต่าง ๆ ได้แก่การศึกษา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ และประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไทยอย่างแท้จริง

           เมื่อวานนี้ (28 เมษายน 2554) ผมมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ ที่ทางภาษาวิจัยเรียกว่า "Expert Opinion Survey" ดร.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมสามัญศึกษาคนสุดท้าย เลขาธิการคณะกรรมการการประถมศึกษา (กปช.) และตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกษมาเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ทำงานร่วมกับ UNESCO อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังได้รับเชิญให้ร่วมทำงานสำคัญ ๆ ของยูเนสโกอยู่อย่างต่อเนื่อง

            ผมรู้สึกว่าบรรยากาศของการสัมภาษณ์ดีมาก ท่านให้ความเป็นกันเอง ผมและทีมงานได้ความรู้เชิงคุณภาพและลึก ท่านยังให้คำแนะนำที่ดีต่อการพัฒนางานของประเทศไทยกับ UNESCO และการเตรียมบุคลากรของประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับ UNESCO เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

             ต้องชมว่าการทำงานครั้งนี้ทีมงานของผมเตรียมตัวดี และก็มีส่วนร่วมในการถามคำถามที่ดี

             วิธีการทำงานวิจัยของผมในครั้งนี้..

  1. โจทย์ หรือ Hypothesis คือ
  • UNESCO สร้างประโยชน์ให้คนไทยมากน้อยแค่ไหน? จะปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างไร?
  • สรุปจุดแข็งที่ประเทศไทยได้รับ มีอะไรบ้าง?
  • สรุปจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงมีอะไรบ้าง?

  2.  Methodologies ที่ใช้ คือ

      1) เก็บข้อมูลจากเอกสาร (ซึ่งกำลังทำอยู่ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว)

      2) Expert Opinion Survey

      3) Focus Group

      4) Questionaires จำนวน 500 ชุด (ซึ่งกำลังส่งไปยัง Stakeholders ของ UNESCO โดยจะเน้นหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก)

          สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเขียนมีการวิเคราะห์ที่เป็นระบบ ในเรื่องนี้ ดร.คุณหญิงกษมา ท่านแนะนำว่าผมควรจะพูดบ่อย ๆ นำเสนอให้คนไทยได้รับทราบ วันอาทิตย์นี้จะมีการเริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องงานวิจัยของ UNESCO โดยผมได้เรียนเชิญท่านประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ มาให้มุมมองของท่านผ่านทางรายการวิทยุ Human Talk คลื่น 96.5 ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2554 นี้ด้วย เวลา 6 โมงถึง 7 โมงเช้าครับ ท่านใดที่สนใจก็สามารถติดตามได้ครับ

          สำหรับการทำงานของ UNESCO เพื่อประโยชน์ของสุงคมไทย ดร.คุณหญิงกษมา ท่านให้มุมมองและข้อเสนอแนะที่ดีหลายเรื่อง เช่น

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยในอดีตและปัจจุบันควรจะมีความสามารถเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ จะได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำในต่างประเทศได้

- ฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ต้องสร้างข้าราชการพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานร่วมกับ UNESCO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่ ๆ ที่กำลังจะเกษียณอายุไปสู่รุ่นน้อง หรือคนรุ่นใหม่ ๆ

- ต้องสร้าง Network กับหน่วยงานไทยหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเอกชนและ NGOs

- ต้องมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และต้องเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสำคัญ ๆ บ้างเพื่อสร้าง Impacts ในเวทีระดับโลก

- ต้องมีนโยบายการใช้สื่อที่คนไทยจับต้องได้ คล้าย ๆ งานของ Unicef

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หลาย ๆ ฝ่ายคงต้องช่วยกันผลักดันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศ รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ UNESCO สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทยโดยรวมได้อย่างแท้จริง

ผมขอขอบคุณท่าน ดร.คุณหญิง กษมา เป็นอย่างสูงครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 437556เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โปรดคลิกที่ link นี้เพื่ออ่านบทสัมภาษณ์ Expert Opinion ท่านอื่นๆ

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/444099

บรรยากาศการสัมภาษณ์ Focus Group สาขาวิทยาศาสตร์ ในวันพฤหัสที่ 30 มิถุนายน 2554

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

บรรยากาศการสัมภาษณ์ Focus Group สาขาการศึกษา ในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2554

 

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

บรรยากาศการสัมภาษณ์ Focus Group สาขาสื่อสารมวลชนในวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2554

 

 

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การประชุมวิพากษ์วิจัย :

การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก

ในวันพุธที่ 7 กันยายน 2554  เวลา 14.00 – 16.00 น.

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

โปรดคลิกที่นี่เพื่ออ่านสัมภาษณ์ Expert Opinion

http://www.gotoknow.org/posts/444099

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท