WormSilk
สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต๒ จังหวัดอุดรธานี สมข.๒ อุดรธานี หม่อนไหม

การผลิตชาใบหม่อน เชิงพาณิชย์


การผลิตชาใบหม่อน

การผลิตชาใบหม่อนเชิงพาณิชย์

 

                ชาใบหม่อน  เป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยม อุดมด้วยการต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สารดีเอ็นเจ (DNJ) ลดน้ำตาลในเลือด สารกาบา (GABA) ลดความดันโลหิต อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างการครบทุกชนิด

                ชาใบหม่อน  เกิดจากการวิจัยของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ จนกลายเป็นเครื่องดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น นับเป็นเภสัชโภชนาภัณฑ์ที่น่าสนใจยิ่ง ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตเชิงพาณิชย์

                ประโยชน์ของชาใบหม่อน

                ในใบหม่อนมีสาระสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ ที่มีสรรพคุณทางเภสัชศาสตร์ ได้แก่

  • สารเควอซิติน (Quercetin) เคมเฟอรอล (Kaempferol) รูติน (Rutin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีผลในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
  • สารดีเอ็นเจ (DNJ : 1-deoxynojirimycin) มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • สารกาบา (GABA : gamma amino butyric acid) มีผลในการลดความดันโลหิต
  • สารฟายโตสเตอรอล (Phytosterol) มีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอล
  • กรดอะมิโนครบทุกชนิดที่ร่างการต้องการ และยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด อาทิ แคลเซียม โพแทสเซี่ยม โซเดี่ยม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ และบี ฯลฯ

       การบริโภคชาใบหม่อน

  • บริโภคร้อน  ใช้ชาใบหม่อน 1 กรัมต่อน้ำร้อน 100 ซีซี ชงทิ้งไว้อย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม
  • บริโภคเย็น  ใช้ชาใบหม่อน 10 กรัมต่อน้ำร้อน 800 ซีซี ชงทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที กรองกากออก เติมน้ำตาล 190 กรัม เกลือ 10 กรัม ใส่น้ำแข็ง ก่อนดื่มให้ผสมน้ำมะนาวตามชอบ

 

การผลิตชาใบหม่อนเชิงพาณิชย์

                สามารถดำเนินการได้ทั้งการผลิตแบบครัวเรือน และแบบโรงงานอุตสาหกรรม โดยต้องคำนึงถึงการผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกสุขลักษณะของกระทรวงสาธารณสุข วัตถุดิบใบหม่อนที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อนควรคำนึงถึง

  1. พันธุ์หม่อน  พันธุ์ที่แนะนำได้แก่  พันธุ์คุณไพ  พันธุ์บุรีรัมย์60  พันธุ์นครราชสีมา60
  2. ความสด สะอาด สมบูรณ์ของใบหม่อน ใบไม่แคระแกรน ไม่มีสิ่งปลอมปน ปราศจากโรค แมลง สารเคมี และต้องรักษาความสดของใบหม่อนก่อนการผลิต
หมายเลขบันทึก: 438757เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2011 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท