TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

การสัมมนาและศึกษาดูงาน ประจำปีงบประมาณ 2554: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; งานบริการฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง


KM Blog นี้ จึงขอแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การดูงานห้องสมุดในประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในส่วนของงานบริการสารนิเทศโดย บรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ และเจ้าหน้าที่งานบริการยืม-คืนจากหอสมุดป๋วยฯ อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีคุณจีราพรรณ สวัสดิพงษ์ บรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ เป็นผู้นำชมและตอบข้อซักถามให้กับพวกเรา

        เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปศึกษาดูงานสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         

                           

                           

การศึกษาดูงานแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามฝ่ายงานต่างๆ ดังนี้

        1. การบริหารสำนักงานเลขานุการ

        2. งานเทคโนโลยีห้องสมุด

        3. งานจัดซื้อ วิเคราะห์และจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ

        4. การจัดทำเอกสารดิจิทัลและการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

        5. งานบริการฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลาง

        6. งานบริการฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

        7. งานบริการฝ่ายห้องสมุดและสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

         KM Blogs นี้ จึงขอแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ เรื่อง การดูงานห้องสมุดในประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในส่วนของงานบริการฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศกลางโดย บรรณารักษ์บริการตอบคำถามฯ และเจ้าหน้าที่งานบริการยืม-คืนจากหอสมุดป๋วยฯ อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีคุณจีราพรรณ สวัสดิพงษ์ บรรณารักษ์งานบริการสารนิเทศ เป็นผู้นำชมและตอบข้อซักถามให้กับพวกเรา 

     

           จากการศึกษาดูงาน พบว่าทรัพยากรสารสนเทศและการบริการที่จัดเตรียมให้แก่ผู้ใช้ มีข้อที่แตกต่างจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่บ้าง จึงอยากจะขอนำเสนอในประเด็นเรื่องที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

1. หนังสือ วิเคราะห์เลขหมู่และทำรายการตามระบบทศนิยมดิวอี้ การค้นหาหนังสือในห้องสมุด สามารถค้นจากฐานข้อมูลที่เรียกว่า CMUL OPAC

  

2. วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าแบบอิสระ ให้บริการในรูปแบบของเอกสารฉบับเต็มดิจิทัลเท่านั้น ซึ่งเปิดกว้างในการดาวน์โหลดข้อมูล สามารถเข้าใช้ได้จากทุกที่ แม้อยู่ภายนอกเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดจัดทำขึ้นเอง ยกตัวอย่างเช่น เพลงล้านนา  อาหารพื้นบ้านล้านนา ภาพล้านนาในอดีต เป็นต้น

ด้านการทำบัตรสมาชิกและสิทธิการยืม 

บุคคลภายนอกไม่เก็บค่าเข้าใช้ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวและวางบัตรประจำตัวประชาชน ก็สามารถใช้บริการได้ แต่ไม่สามารถยืมหนังสือได้

ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย หากต้องการสมัครสมาชิก จะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าบุคคลทั่วไป

  

                                   

ด้านการยืม-คืนหนังสือ

              การยืมหนังสือ สามารถใช้บริการยืมที่เคาน์เตอร์บริการหรือจะใช้บริการยืมด้วยเครื่อง Self-Check ก็ได้ แต่การคืนหนังสือ หากหนังสือเปียกน้ำหรือชำรุดจะต้องมาคืนที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนเท่านั้น หรือถ้าเป็นโสตทัศนวัสดุ คืนได้ที่เคานเตอร์บริการห้องโสตทัศนวัสดุ ชั้น 3

                                       

     

              การยืมต่อหนังสือ  นักศึกษาอนุญาตให้ทำยืมต่อได้ไม่เกิน 3 ครั้ง  อาจารย์ทำยืมต่อได้  10 ครั้ง

              การปรับลดเวลาการยืมหนังสือของอาจารย์ลงจากเดิมเคยยืมได้ 1 เทอม ก็ปรับลดเหลือ 1 เดือน เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้หนังสือบ้าง 

              บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Service) เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกห้องสมุด (อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาปริญญาโท) ที่ต้องการยืมหรือคืนหนังสือ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง ห้องสมุดจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับ-ส่งหนังสือให้ถึงที่ โดยส่งคำขอก่อน 10 โมงเช้า ได้รับหนังสือเวลาบ่าย 2 โมง

              บริการแจ้งเตือนผ่าน SMS  เริ่มต้นจากในปีงบประมาณ 2552 ห้องสมุดจัดงบประมาณจำนวน 5 พันบาทเพื่อใช้ในการจัดหาระบบ SMS แจ้งเตือนกำหนดการส่งหนังสือ โดยแจ้งก่อนครบกำหนดส่ง 3 วัน และหลังเกินกำหนดส่งแล้ว นักศึกษาสามารถใช้บริการได้ฟรี เพียงแต่ต้องมาสมัครใช้บริการนี้กับทางห้องสมุดก่อน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากนักศึกษาดีมาก มีคนมาสมัครนับพันคน เปอร์เซ็นการได้รับคืนหนังสือตามกำหนดส่งก็เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 87 %

ด้านบริการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ

ทำหน้าที่ปูพื้นฐานเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ การสอนการใช้โปรแกรมจัดการบรรณานุกรม EndNote และการอัพเดท Feature ใหม่ที่เพิ่มมาในแต่ละฐานข้อมูล ในส่วนงานบริการนี้ประกอบไปด้วยบรรณารักษ์จำนวน 5 คน ที่หมุนเวียนกันมานั่งที่เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เวียนเป็น 3 กะ คือ ช่วงเวลา 8-12.00 น. ช่วงเวลา 12.00-17.00 น. และช่วงเวลา 17.00-21.00 น.

              บริการที่โดดเด่นและน่าสนใจมาก คือ บริการบรรณารักษ์พบนักวิจัย (Liaison Librarian) เป็นบริการที่เน้นให้บรรณารักษ์พบนักวิจัยเพื่อแนะนำแหล่งข้อมูล ประเภทข้อมูล และบริการที่จะสนับสนุนการทำวิจัย โดยจัดคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญในข้อมูลด้านต่างๆ มาพบปะพูดคุยกับอาจารย์เพื่อนำเสนอสิ่งที่ห้องสมุดได้จัดหามาให้อาจารย์ได้ใช้ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ หรือโปรแกรมต่างๆ Liaison librarian จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ทั้งการสืบค้นและการใช้ฐานข้อมูลจาก OPAC และฐานข้อมูลออนไลน์

                                     

ถ่ายทอดความรู้ โดย นางปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์

ภาพ โดย นางสาวประวีณา ปานทอง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 439422เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท