การให้ยาเคมีบำบัดในเด็กมะเร็ง


การให้ยาเคมีบำบัดในเด็ก ต้องระวังการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด

 

ห่างหายจาการเขียนบันทึกไปนาน วันนี้มีเวลาจึงอยากเขียนบอกเล่าประสบการณ์ การดูแลเด็กมะเร็งที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัด

 แม้ยาเคมีจะทำให้โรคมะเร็งมีการทุเลาหรือหายได้ แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อันตราย อย่างหนึ่งคือการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด โดยเฉพาะยาเคมีบำบัดกลุ่มกัดกร่อนหลอดเลือด เมื่อเกิดการของยา จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแสบปวดร้อน เกิดแผลไหม้ จะเกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยเด็กมากๆ

 พยาบาลที่ดูแลจะต้อง มีการตระหนัก และป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว การแทงเส้นต้องมีความชำนาญ

ไม่เลือกหลอดเลือดที่ข้อต่าง ข้อพับแขน หลอดเลือดที่เล็ก แข็งเปราะ และเส้นที่เปิดใช้นานๆ ก็ไม่ควรให้ยา

 ต้องดูแลใกล้ชิด เมื่อเด็กบอกว่าปวด หรือดูดเลือดแล้วเลือดไม่ย้อนสาย ก็ให้หยุด อาจเกิดการรั่วของยา....

เด็กเล็กๆทั้งร้องทั้งดิ้น...พยาบาลเด็กต้อง...อดทน มีเวลา...

ขอเป็นกำลังใจให้หายไวๆนะคะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 440064เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำในเด็กต้องใช้ความระมัดระวังสูงมาก พ่อแม่ก็คาดหวัง อยากให้พยาบาลแทงเส้นครั้งเดียวได้ เด็กก็ทั้งร้อง ดิ้น บางครั้งยิ่งกดกัน พยาบาลยิ่งไม่มีสมาธิ

การแทงเส้นก่อนที่จะให้ยา พยาบาลควรแทงในห้องที่จัดเตรียมเฉพาะ มีสมาธิ เลือกเส้นที่ใหญ่

 

สวัสดีค่ะคุณหนูรี

ขอบคุณเมนูเด็ดๆนะคะ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท