ภาพัฒฯชูตั้งหน่วยงานชาติรับภัยพิบัติ


เขียนโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2554 เวลา 16:05 น.
 
 
   

สศช.เสนอตั้งหน่วยงานระดับชาติ เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ดึงจิตอาสากู้ภัยและชุมชนท้องถิ่นร่วมจัดการ

นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (19 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เสนอให้กลไกรับมือภัยพิบัติที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยตั้งหน่วยงานระดับชาติ และจัดระบบการจัดการระดับชุมชนและท้องถิ่น

สศช. ได้เสนอ 5 ประเด็น ได้แก่ 1.เสนอให้พัฒนากลไกจัดการภัยพิบัติ โดยเพิ่มบทบาทของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้เป็นกลไกระดับชาติ มีความคล่องตัวในการบริการจัดกรรและสั่งการ 2.ส่งเสริมระบบงานอาสาสมัครประเทศอย่างจริงจังในการกู้ภัย ช่วยเหลือยามฉุกเฉิน การค้นหาผู้รอดชีวิต และการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

3.จัดระบบการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติจำนวนหนึ่งจะเปลี่ยนสถานภาพจากผู้ประสบภัยมาเป็นผู้ ร่วมกอบกู้วิกฤติและเป็นกำลังสำคัญในการค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิต เพราะรู้จักบุคคลในชุมชน และสภาพทางกายภาพ

4.ผนึกกำลังจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อสารมวลชน กองทัพ ประชาสังคม และอาสาสมัครต่างๆ เพื่อนำพลังของกลุ่มต่างๆมาทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ

5.การผนวกมาตรการด้านการจัดสาธารณภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา เช่น การช่วยให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีภูมิต้านทานพัฒนาฐานข้อมูล ระบบการสื่อสาร

สศช.รายงานว่า เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 2553 และ 2554 รวมทั้งภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เหตุการณ์สึนามิในภูมิภาคเอเชียปี 2547 พายุเฮอริเคนแคทรินาที่สหรัฐปี 2548 พายุไซโคลนนาร์กิสที่พม่าปี 2551 และกรณีภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อเดือน มี.ค. 2554 ก่อให้เกิดความสูญเสียมาก

“เฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นครั้งเดียว สร้างความเสียหายเท่ากับจีดีพีของไทย ขณะที่รายงานภัยพิบัติโลก (World Disaster Report) ชี้ว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมามีผู้ประสบภัยพิบัติทั่วโลก 4 พันล้านคน มีผู้เสียชีวิต 2 ล้านคน ซึ่งภับพิบัติขนาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและทำให้ขีดความสามารถการ แข่งขันลดลง การลงทุนหยุดชะงัก งบประมาณและเงินทุนถูกใช้ในการฟื้นฟูความเสียหาย โดยธนาคารโลกระบุว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทำให้รายได้ประชาชาติของประเทศต่างๆ ลดลง 1-15%”

เขา กล่าวว่า สศช. ได้เปรียบกรณีศึกษาพบว่าปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มทวีความรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น และถือเป็นภัยคุกคามใหม่ที่ประเทศต้องเผชิญ แม้ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีรองรับและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศแต่ยังไม่มี ประสิทธิภาพเพียงพอในการรองรับภัยพิบัติ เช่น สหรัฐมีหน่วยงานจัดการภัยพิบัติระดับชาติ คือ Federal Emergency หรือ FEMA และญี่ปุ่นมีสภาการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ระบบป้องกันภัยที่ได้เตรียมพร้อมและมีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยชีวิตชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก  

คำสำคัญ (Tags): #ข่าว
หมายเลขบันทึก: 440075เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2011 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท