ตำนานเหมืองฝายล้านนา


การตีฝายสร้างระบบการจัดการที่ดีของชาวนา

เมืองล้านนาหากเวลาย่างเข้าสู่เดือนแปดหรือเดือนหกทางภาคกลาง  ผู้คนล้านนาในสมัยก่อนจะร่วมกันทำหลักฝายแล้วช่วยกันไปตีฝายกั้นแม่น้ำเพื่อทดน้ำเข้าไร่นา

หลักฝายทำด้วยไม้ไผ่ฮวก หรือทางผู้คนภาคกลางเรียกกันว่า  ไม่ไผ่รวก   ยาวราวๆวาเศษๆ  แหลมปลายให้เสี้ยมปริ้ด  และจะต้องทำตามจำนวนที่สังคมชาวนาบอกต่อๆกันมา เช่นว่า นาหนึ่งไร่ต้องทำหลักฝายสามเล่ม  เป็นต้น  ดังนั้นหากใครมีนานับร้อยๆไร่ ก็ต้องทำหลายร้อยเล่ม ตามเกณฑ์ที่สังคมชาวนากำหนด  ดูๆแล้วก็เป็นธรรมดีแท้

เมื่อถึงเวลาตีจะฝาย แก่ฝายผู้เป็นหัวหน้าเหมืองฝายทั้งหมดจะกำหนดเกณฑ์ต่างๆที่ร่วมกันตั้งไว้ แล้วบอกไปยังล่ามฝายผู้ที่มีหน้าที่ป่าวเอิ้นประกาศข่าวให้แก่ชาวนาชาวไร่รับรู้และต้องร่วมกันปฏิบัติต่อไป  หากใครไม่ปฏิบัติตามปีนั้นๆก็จะไม่มีน้ำเข้าไร่นาของตนเอง เป็นอันว่า อดข้าวกันเท่านั้นเอง...

เนื่อจากแม่น้ำใหญ่ย่อมมีผู้คนหลายหมู่บ้าน  ผืนนานับพัน นับแสนไร่ที่รอรับน้ำจากแม่น้ำใหญ่ จึงมีการจัดให้หัวหน้าในแต่ละหมู่บ้านรอรับข่าวจากล่ามฝายอีกทอดหนึ่ง    หัวหน้าฝายในแต่ละหมู่บ้านนี้เอง เป็นตัวการสำคัญที่ลงลึกถึงรากหญ้าของชาวนาในแต่ละหมู่บ้าน

เมื่อถึงเวลากำหนด  บรรดาชาวนาต่างแบกหลักฝายของตนไปร่วมตีฝายที่หอฝีฝายสถานที่กั้นแม่น้ำใหญ่บรรดาชาวนาต่างพากันทำพิธีไหว้หอผีฝาย เลี้ยงผีฝายก่อนเพื่อขออนุญาตกระทำในสิ่งที่ฝืนธรรมชาติเพราะกั้นกระแสน้ำให้ผิดปกติเพื่อยกระดับสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่   หลังจากนี้บรรดาชาวนานับพันๆคนต่างพากันลงน้ำนำหลักฝายปักลงพื้นทรายใต้น้ำ ใช้ฆ้อนหน้าแหว้น  หรือตะลุมพุก เข้าหวดตีหัวหลักฝายดังตึกตัก  บ้างนำไม้ไผ่รวกหรือไผ่ซางเล่มใหญ่มาผ่าสานเป็นซองแล้วนำก้อนหินใหญ่ๆเท่าลูกแตงโม หลายๆก้อนใส่ลงไปแล้วผูกปากซอง ช่วยกันหามลงใส่โคนหลักฝายหรือฐานแผงหลักฝายเพื่อป้องกันมิให้กระแสน้ำเลาะหลักฝายให้หลุดลอยเสียหาย  ลูกซองไม้ไผ่นี้เองบรรดาชาวนาเรียกกันว่า "ลูกจั๊กเข้"เพราะมีลักษณะคล้ายจั๊กเข้หรือจระเข้าตัวโตนั่นเอง

เมื่อตีหลักฝายลงมากเท่าใด  ก็จะต้านกระแสน้ำให้สูงขึ้นๆ  จนระดับน้ำไหลเข้าสู่เหมืองใหญ่แยกกระแสน้ำเข้ามาสู่ผืนแผ่นดิน สายน้ำไหลเข้าสู่ลำเหมืองบรรดาชาวนาที่ต้องการน้ำจากเหมืองต้องช่วยกันน้ำอีกช่วงหนึ่ง  แผงกั้นน้ำของชาวนาในลำเหมืองใหญ่นี่เองชาวล้านนาเรียกกันว่า  "แต"

แผงแตจะกั้นกระแสน้ำสูงขึ้นสายน้ำไหลเข้าสู่ลำเหมืองเล็กเรียกกันว่า  " เหมืองไส้ไก่" เป็นลำเหมืองเล็กๆที่สำคัญเพราะน้ำจากเหมืองไส้ไก่นี่เองจะเข้าสู่ผืนนาโดยผ่านช่องที่ขุดจากคันนาให้เป็นร่องเรียกกันว่า " ต๊างนา"

ดังนั้นต๊างนาคือช่องระบายน้ำเข้าสู่ผืนนา ขณะเดียวกันก็จะเป็นช่องระบายน้ำออกจากนาหากมีความจำเป็น เมื่อถึงเวลารวงข้าวเป็นสีทองเหลืองอร่าม  ชาวนาจะระบายน้ำออกจากนี้เรียกกันว่า "ยอยน้ำ" คือการทยอยเอาน้ำออกจากผืนนาให้หมดเพื่อให้ง่ายแก่การลงเก็บเกี่ยวรวงช้าว...

ตามที่กล่าวเล่ามาอย่างเคร่าๆจะเห็นถึงการจัดการน้ำเข้าสู่ไร่นาแบบระบบเหมืองฝายของผู้คนล้านนา ที่ใช้ผะหญาปัญญาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อมโดยแท้เน้อ..หมู่เฮา....

 

 

หมายเลขบันทึก: 440346เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีครับ ลุงหนานพรหมมา
  • วันนี้มาแอ่วหา ได้อ่านตำนานการตี๋ฝายแล้วม่วนใจ๋ขนาด
  • ก็เลยเอาฮูปเก่าๆ ที่บ้านมาฝากหื้อผ่อครับ

มีตึงข้อมูล มีตึงฮูบ ยินดีจ้าดนักครับพ่อหนานพรหมมา กับพ่อหนานสนั่น

ไหว้สาครับคุณสนั่นและท่านหนานวัฒน์ครับ...

ขอบคุณที่เข้ามาแว่แอ่วและเอาฮูปมาแถมเตื่อมแถ้ง เนื้อหาสมบูรณ์ดีขึ้น เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาเข้ามาอ่านแล้วนำข้อมูลไปทำรายงาน เขาก็มีความฮู้เพิ่มเติมดีขึ้น..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

คงต้องบอกว่า เหมาะแก่นักศึกษาอ่านและพิมพ์ใหม่ อย่าให้เขาติดนิสัย ก๊อปวาง เดี่ยวคุณนะภาพเด็กยุคใหม่ จะแย่ แล้วหาว่า ไอทีบะดีเห็มเมาะ :)

สวัสดีเจ้า   

 ครูดาหลากำลังกึดเติงหาน้ำเหมืองในหมู่บ้าน ตี้สมัยก่อนเปิ้นจะมีน้ำไหลผ่านบ้าน ทำฮื้อจุ่มเย็นได้ปลูกผักไม้ บ่าเดี่ยวเปิ้นถมน้ำเหมืองเป็นถนนคอนกรีต( ตี้บ่ได้แป๋งถนนก็กลายเป๋นฮ่องขังน้ำเน่าจากหอพัก) ยามแลงครูดาหลาปั่นรถถีบไปก็กึดว่าคนสมัยก่อนเปิ้นกึดเป็นระบบจ้าดดีตี้ขุดน้ำเหมืองผันน้ำมาจากลำน้ำปิงมาถึงบ้านครูดาหลา     เปิ้นฮ้องว่าน้ำเหมืองหน้อย  ในหมู่บ้านจะมีเหมืองหน้อย 2 สาย มีน้ำปิงห่างตี้ไหลมาลงแม่กวงตี้หน้าวัดแถม1สาย  ทำฮื้อเป็นหมู่บ้านตี้อุดมสมบูรณ์

        มาฟังลุงหนานพรหมมาเล่าก็ทำฮื้อเคารพในผญาของบรรพบุรุษเฮา   แต่รุ่นหลังนี้กำกึดบ่ตันนายทุน ปาเปิ้นมาตั้งโฮงงาน มาแป๋งนิคมอุตสาหกรรมปากั๋นถมน้ำเหมืองไปหมด ...กึดเติงหาน้ำเหมือง  กึดเติงหาสวนบ่าลำไยกึดเติงหาโต้งนา...  มันก๋ายเป๋นตึกไปหมดแล้วเจ้า ป้อหนาน

                             

สวัสดีครับครูคนเมืองและครูดาหลาครับ.....

ยินดีที่เข้ามาแว่อ่าน...

คนที่ถมเหมือง ถมลำน้ำมักตกขึดหรือได้รับอาถรรพ์เท่าที่พบมักจะตายโหงแทบทั้งนั้นโดยเฉพาะอุบัติเหตุจากรถ....เรียกกันว่า   คนตกขึด  นั่นเองลองดูต่อไปเน้อหมู่เฮา..

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.......พรหมมา

สวัสดีเจ้า..ป้ออุ้ย..

อ่านแล้วฮื้อฮู้สึกว่ามีความภาคภูมิใจตี้เกิดเป็นคนเมืองเหนือเฮาเน้อเจ้า

ตี้บ้านข้าเจ้าก่ได้ภูมิผะญาของคนรุ่นอุ้ยยะไว้ฮือเหมือนกันเจ้า

เกี่ยวกับเรื่องเหมืองฝาย..ถึงมีน้ำเข้านาได้อย่างตึงวันนี้เจ้า

....ขอบคุณเจ้า.....

                  

สะหรีสวาสดีเจ้าอิหล้าบัวจมออน..

ยินดีนักๆเจ้าที่เข้ามาอ่านแล้วเอาฮูปมาเพิ่มเติม....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

 

อยากถาม พ่อหนานว่า ข้าวทิพย์ น้ำทิพย์ 10 ประการ มีอะไรบ้าง เจริญพร

สวัสดีเจ้า ขอบพระคุณความรู้เจ้า

เด็กในโครงการบนดอยใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ด้วยการช่วยทำฝายเจ้า

 

นมัสการพระคุณเจ้าสมพงษ์และคุณ POO

ขอบคุณที่เข้ามาแว่อ่านและแอ่ว....

เรื่องข้าวทิพย์ น้ำทิพย์ เป็นด้นว่า น้ำอก น้ำใจ๋ ฯลฯ.  ของพอ่แม่ และหมู่คณาญาติมมิตร..ครับ  ลองไปศึกษาเรื่องพรเ้จ้าสิบชาติ หรือ เกี่ยวกับเรีื่องพระเวสสันดรแล้วสรุปลงก็จักรู้แจ้ง....

ข้าวทิพย์น้ำทิพย์เป็นการกำหนดของพระเถรานุเถระบางองค์แล้วสั่งสอนศิษญย์ต่อๆกันมาโดยวิเคราะห์มาจากชาดก หรือเรื่องในพระพุทธศาสนา  ไม่ได้บัญญัติในพระศาสนาอย่างแท้จริง เป็นเพียงกุศโลบายครับ....แต่ก็ดีเป้นการนำสาระเนื้อหามาปรับใช้สอน..

ส่วนคุณ POO  ขอบคุณครับที่ให้โอกาสเด็กๆร่วมมือทำในสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาต้องใช้และทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้น... การเรียนการสอนต้องใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสื่ิอจึงจะเกิดคุณภาพแก่ชีวิต....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท