ทำไมต้องเป็นผู้นำพลังบวก? (Why appreciative leadership is suitable for today leader?)


ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง การตลาด การแข่งขัน ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ทำให้มีการค้าขายที่แปลกใหม่ เราจะพบว่าคู่แข่งทางธุรกิจของเรามีเป็นจำนวนมากที่เราไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเขาเหล่านั้นเลย การค้าขายกันบางครั้งไม่ต้องรู้ที่ตั้งของร้าน หน้าตาของผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ต้องจ่ายเงินกันต่อหน้าของทั้งสองฝายก็ได้ อยู่กันคนละซีกโลกก็ค้าขายกันได้ อาทิเช่น การขายสินค้าทาง ebay และ Internetbanking เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เพิ่งจะขยายตัวอย่างมากในระยะ10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง ต้องขอบคุณความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ทำให้มี การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำติดตัวไปทำงานที่ไหนก็ได้ สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในทางธุรกิจ องค์กรขนาดเล็กก็สามารถต่อสู้กับองค์กรขนาดใหญ่ได้ แถมมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่า เช่น ในธุรกิจออกแบบทางสถาปัตย์ หรือการออกแบบตกแต่งภายในโปรแกรมต่างๆที่บริษัทใหญ่ๆมีใช้ ฟรีแลนซ์ (Freelance) ที่อยู่ในต่างจังหววัดก็มีใช้และสามารถทำงานเพียงคนเดียวได้เหมือนกัน ดังนั้นถ้าพิจารณาตัวสินค้าแทบจะไม่มีความแตกต่างเลย (ถ้าไม่มองถึงลักษณะการออกแบบและรูปทรงสถาปัตยกรรม) แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างคือคนที่ทำงานในองค์กร

 ปัจจุบันนี้การพัฒนาองค์กรมีส่วนสำคัญมากในการแข่งขันและการอยู่รอดขององค์กร องค์กรที่อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้คือองค์กรที่สามารถค้นหาจุดแข็ง ความสำเร็จที่ผ่านมา รวมถึงศักยภาพ (Competency) ที่มีอยู่ในตัวพนักงาน หน่วยงาน และองค์กร แล้วนำไปขยายผลต่อเนื่องเพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และนี่คือภาระกิจของผู้นำในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำพลังบวก (Appreciative Leadership:AL)

นอกจากนี้ ผู้นำพลังบวก (AL) ต้องสร้างมุมมองเชิงบวก (Positive Attitude) ให้เกิดขึ้นภายในตัวพนักงานและองค์กรให้ได้ เพราะสิ่งนี้จะนำมาซึ่งความคิดใหม่ๆ บรรยากาศการทำงานที่สร้างสรรค์ ไม่มัวแต่หาปัญหา แต่ใช้เวลาในการมองทางออกซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือกันของบุคลากรภายในองค์กรได้ดีกว่าการมองตัวปัญหาแล้วหาคนผิด มารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมการจับผิด การแข่งขันแบบแพ้ชนะของคนในหน่วยงาน ซึ่งท้ายที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อสมาชิกในหน่วยงานหรือในองค์กรเลย

 ดร.อัจฉริยะ อุปการกุล(Ph.D.OD)

หมายเลขบันทึก: 440773เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2011 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มายินดีต้อนรับครับ ชอบแนวคิดแบบบวกเหมือนกันครับ อยู่ที่เดียวกับ ดร.ภิณโญ ใช่ไหมครับ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ขจิต สำหรับการต้อนรับ ผมทำงานที่เดียวกับ ดร.ภิญโญครับ ช่วยสนับสนุนกันและกันครับ

ท่านครับ Appreciative Leadership เป็นทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบวกหรือไม่ มีแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมหรือไม่ครับท่าน ชอบแนวคิดนี้มากเลย อยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ ถ้าสามารถนำสู่การปฏิบัติได้จะสุดยอดเลยครับท่าน

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาตอบกลับ ผมอยากกวนขอศึกษางานวิจัย Full text ของอาจารย์ได้หรือไม่ครับ จะต้องทำอย่างไรบ้างครับ ผมไปติดต่อที่ห้องสมุด MBA น้องบรรณารักษ์ให้ข้อมูลว่า ยังไม่มีงานวิจัยของท่านครับ คือตอนนี้ผมกำลังศึกษา ป.เอก สาขาบริหารฯ มข.และสนใจศึกษาเรื่องนี้อยู่ครับ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับผม (เบอร์ติดต่อ 08-7879-5757)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท