โรงพยาบาลแห่งความสุข


เป็นการทำงานที่แสดงออกอย่างชัดเจนของรูปธรรมของความหมายที่ว่า “ อยู่รอด อยู่ร่วม และ อยู่อย่างมีความหมาย “อย่างแท้จริง

เมื่อผู้ป่วยมาใช้บริการที่โรงพยาบาล อาจจะมีความรู้สึกและการรับรู้ร่วมกัน  คือความทุกข์ หรือความคับข้องใจ จากระบบสุขภาพ โดยจากการทบทวนการทำงานในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการสร้างหลักการที่ดี แต่การปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันหรือในการทำงานนั้นยังก่อให้เกิดความทุกข์อย่างต่อเนื่อง และเป็นจริงในทุกมิติ  ความทุกข์ที่ว่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นความทุกข์ทั้งสองด้านคือ ทั้งทางด้านผู้ที่ทำงานจากแรงกดดัน ความต้องการที่มากขึ้นของสังคมและด้านผู้รับบริการที่การบริการไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

ด้วยเหตุนี้สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล( องค์การมหาชน) เมื่อได้นำแนวคิดเรื่อง” มาตรฐาน” และ” การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเกณท์การทำงาน เพื่อเน้นมาตรฐานการรักษาและความปลอดภัยในการให้บริการเป็นประเด็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมุ่งเน้นด้านระบบบริการตามมาตรฐานแล้ว ทางสถาบัน ก็ยังพบว่าอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อผู้ป่วยและประชาชน ตามสถานการณ์ของสังคม และ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจนเป็นสาเหตุของทุกข์ในระบบบริการสุขภาพดังกล่าว

โดยเฉพาะมุมมองของการดูแลผู้ป่วย ที่จะต้องครอบคลุมในลักษณะองค์รวม ทั้งจิตใจ  ร่างกาย  และผู้ให้บริการเองควรต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นแบบอย่าง  ส่วนผู้รับบริการเองก็ต้องควรมีความรู้และมี พลังขับเคลื่อนของตัวเองให้เป็นคนที่มีสุขภาวะที่ดีได้จึงนับเป็นความท้าทายที่สำคัญของแวดวงสุขภาพของประเทศ

ปรากฏการณ์ที่สำคัญซึ่งนับว่าเป็นมิติใหม่ของระบบคุณภาพสถานพยาบาลได้เริ่มเกิดขึ้น เมื่อสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ( สรพ.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ดำเนินงาน” โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ( sustainable Health Care& Health promoting by Appreciation and Accreditation ) SHA.

โดยการขับเคลื่อนองค์กร หรือสถานพยาบาลไปสู่การบริการด้วยมิติจิตใจ  แสวงหาความร่วมมือ ใช้แนวคิดเชิงบวก เห็นคุณค่าที่ดีของคนอื่น และการเรียนรู้ร่วมกัน  สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ป่วย ประชาชน

และการ สร้างพลังให้กับคนไข้ และประชาชน ด้วยการนำเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานและคุณค่าที่ดีงามของคนไทยที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม  อันได้แก่ ความรัก  ความเมตตา ความเอื้อาทรซึ่งกันและกัน มาผสมผสานในการทำงานประจำวันได้อย่างงดงาม จนกลายเป็นนิยามใหม่ของการพัฒนาคุณภาพที่ประชาชนต้องการนั่นคือ

“ การบริการที่มีความงาม และความหมาย” จนพัฒนามาเป็น โรงพยาบาลแห่งความสุข

ที่โรงพยาบาล พระยืน จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งแห่งในจำนวนหลายๆโรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการนี้  การพัฒนาทีมทำงานให้มีลักษณะของผู้ที่มีเมตตา อ่อนน้อมถ่อมตน จากการออกแบบและเคี่ยวกรำ จากการปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่างอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจากผู้นำองค์กร 

ภาพของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ที่มีความอ่อนน้อม พูดจากับคนไข้และชาวบ้าน และสัมผัสได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นออกมาจากจิตใจที่กรุณา ทำให้ทีมทำงานถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และนำมาใช้ในการทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยๆหล่อหลอมจิตใจ และแนวคิด ขยายผลสู่การสร้างความรัก ระหว่างทีม ระหว่างผู้ให้บริการ คนไข้และขุมชน

เรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่น ภูมิปัญญา ตลอดจนความเชื่อ ความศรัทธาของ ประชาชน  เช่น นำรำผีฟ้า มาผสมผสานกับ ระบบการดูแลต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั้งเดิมของบรรพบุรุษ มีกำลังใจที่ดี

โรงพยาบาลยังเป็นแหล่งที่เรียนรู้ของเด็กเล็กและเยาวชน  เป็นแหล่งจัดกิจกรรมของชาวบ้าน เช่นงานวันเด็ก ที่ทุกๆคนรอคอย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก  ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในรั้วของโรงพยาบาล โดยมีประชาชนเป็นผู้ให้การสนับสนุน

พลังของความสุขเหล่านี้ จึงทำให้โรงพยาบาลไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนา และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ  จากจิตใจมีความสุขในการทำสิ่งที่ดีงามเป็นแนวคิดที่สำคัญ   การดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย การทำงานอย่างมีมาตรฐาน การพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น สิ่งก่อสร้าง สถานที่ทำงานอันสะอาดเป็นระเบียบ และสีสรรที่สวยงาม  ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากความร่วมมือที่ดี และจากความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระของทีมงานที่ใช้เวลาว่างมาร่วมกัน

ทีมงานของโรงพยาบาลจึงร่วมกันขนานนามแนวคิดการทำงานของพวกเขาอย่างภาคภูมิใจว่านี่คือ  “ พระยืน โมเดล”

การใช้มิติจิตใจในการทำงานจึงเป็นกระบวนการหล่อหลอมให้คนทำงาน รับรู้ความต้องการของผู้อื่น มีความรัก และมีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อกัน ขยายผลสู่ผู้ป่วยและประชาชน

เป็นการทำงานที่แสดงออกอย่างชัดเจนของรูปธรรมของความหมายที่ว่า “ อยู่รอด อยู่ร่วม และ อยู่อย่างมีความหมาย “อย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 441648เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2011 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

"... รับรู้ความต้องการของผู้อื่น มีความรัก และมีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อกัน ขยายผลสู่ผู้ป่วยและประชาชน..."

นี่แหละค่ะโรงพยาบาลแห่งความสุข

อยากให้ทุกๆโรงพยาบาลเป็นแบบนี้แหละค่ะ

บรรยากาศในโรงพยาบาลแสดงธรรม

ความจริงให้เห็นได้มากกว่าที่อื่น

อริยะสัจแท้ๆ

เรียนแม่ต้อยที่นับถือ

  • ขอบคุณทีมงานทุกท่านที่ช่วยดูแลพวกเราค่ะ
  • ขอให้มีความสุขทุกๆวันนะคะ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์แม่ต้อย

มิติด้านจิตใจนี้สำคัญ ใส่ใจ เติมใจ ผู้รับบริการได้รับการเยี่ยวยาที่ครอบคลุม

เคยไปโรงพยาบาลนี้ค่ะ ประทับใจท่านผอ.และบุคลากรทุกท่านค่ะ

เป็นโรงพยาบาลแห่งความสุขที่น่าชื่นชมและเอาเป็นแบบอย่างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะแม่ต้อย

แวะเข้ามาทักทายและเยี่ยมโรงพยาบาลแห่งความสุข

  • สรพ. เปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานไปดีมาก
  • โรงพยาบาลเครียดน้อยลงเมื่อแม่ต้อยและทีมงานทำโครงการนี้ครับ
  •  โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ( sustainable Health Care& Health promoting by Appreciation and Accreditation ) SHA
  • ขอชื่นชม
  • อยากเห็นภาพรำผัฟ้าครับแม่ต้อย

แวะมาทักทาย เพื่อ "คูณ" ความสุขรายทางให้ทวีขึ้น ทวีขึ้นครับพี่ต้อย

บริการด้วยใจ

ดูแลผู้ป่วยเหมือนดูแลญาติของเราครับ

มาขอร่วมซึมวับความปิติที่เกิดจากความสุขแห่งนี้ค่ะ ขอให้แม่ต้อยมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท