มองราชภัฎอุตรดิตถ์ย้อนดูตัวม.วลัยลักษณ์


1.กลับมาดูเป้าหมาย ทิศทางและต้นทุนที่มีอยู่ในงานวิจัยและบริการวิชาการของมวล.2.รวบรวมความต้องการงานวิจัยบริการวิชาการของชุมชนสังคมในพื้นที่เป้าหมายคือภาคใต้ตอนบนหรือโดยจำเพาะเจาะจงคือจ.นครศรีธรรมราชและจ.ตรัง(ที่มวล.MOUเป็นเจ้าภาพ)3.ทบทวนโครงสร้างและระบบบริหารจัดการของมวล.ทั้งระบบ

หนึ่งมหาวิทยาลันหนึ่งจังหวัดของม.ราชภัฎอุตรดิตถ์

โครงสร้างหลักและการบริหารจัดการ
1.ระบบบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการอยู่ด้วยกันในสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ(ผอ.)
มีหน่วยจัดการย่อยอยู่ในคณะต่างๆเรียกว่าRMU(คณบดี)
2.มีศูนย์วิทยาศาสตร์ที่รวมงานวิจัย บ่มเพาะ ถ่ายทอดเทคโนโลยี(ทุนจากสวทช. กระทรวงวิทย์ ฯลฯ)
3.หัวหน้าโครงการสุขภาวะตำบลที่สนับสนุนโดยสสส.คืออ.ฉัตรนภา ในชื่อศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ใช้งานนี้ด้วยงบต่อเนื่อง3ปี18ล้านบาท บูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยเข้ากับโครงสร้างการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ วิสัยทัศน์ยาวไกล รวมทั้งบุคลิกการทำงานที่อ่อนนอกแข็งในและบารมีด้วยอายุงาน40กว่าปีและตำแหน่งรองอธิการบดีหลายสมัยของอาจารย์ซึ่งผ่านการเรียนรู้พัฒนาตนเองจากหน่วยสนับสนุนต่างๆโดยเฉพาะจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสกว.ซึ่งอาจารย์เป็นโหนดพื้นที่มายาวนาน 

ตัวอย่างเชิงประจักษ์ที่นำเสนอในนิทรรศการและเวทีเสวนาของม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ถือเป็นตัวอย่างของการยกระดับจากสถาบันราชภัฎมาเป็นม.ราชภัฎด้วยปณิธานการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นที่ม.ราชภัฎอื่นๆจะได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน

สำหรับม.วลัยลักษณ์ได้วางตัวเองในร่องค2 คือผลิตบัณฑิตชำนาญเฉพาะทางเน้นปริญญาตรี ย่อมมีความแตกต่างจากม.ราชภัฎซึ่งวางตัวเองไว้ในกลุ่มข
วิสัยทัศน์ของมวล.เขียนไว้คาบเกี่ยวว่า "เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล"

การศึกษาดูงานที่ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์นอกจากรู้เขาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก็ต้องรู้เราด้วยเพื่อปรับประยุกต์เป้าหมายทิศทางและความสามารถของเขาให้สอดคล้องกับของเรา


ตัวผมเองใช้งบไปในงานนี้เฉพาะของมวล.(ไม่รวมค่าตัว)จำนวน10,000บาท (ไม่รวมงบสนับสนุนค่าเดินทางจากพิษณุโลก ค่าที่พักอาหารและอื่นๆของสสส.) ผมได้เรียนรู้โดยส่วนตัวและได้เขียนเล่าและเสนอความเห็นให้เจ้าภาพแล้ว สำหรับข้อคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อนงานของมหาวิทยาลัยภายใต้MOUเดือนมีนาคมโดยการนำของสกอ.ที่อาจจะมีงบเจียดให้มหาวิทยาลัยละ100,000บาท(เท่าที่ทราบคือ7ล้านทั่วประเทศ)นั้น มี3ประเด็นดังนี้(ผมได้ให้ความเห็นในที่ประชุมกลุ่มย่อย7คนของเราแล้ว)

1.กลับมาดูเป้าหมาย ทิศทางและต้นทุนที่มีอยู่ในงานวิจัยและบริการวิชาการของมวล.
2.รวบรวมความต้องการงานวิจัยบริการวิชาการของชุมชนสังคมในพื้นที่เป้าหมายคือภาคใต้ตอนบนหรือโดยจำเพาะเจาะจงคือจ.นครศรีธรรมราชและจ.ตรัง(ที่มวล.MOUเป็นเจ้าภาพ)
3.ทบทวนโครงสร้างและระบบบริหารจัดการของมวล.ทั้งระบบ

เมื่อกลับมาทบทวนดู ความเห็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเมื่อวันที่2ก.พ.2554 ศูนย์บริการวิชาการได้จัดประชุมนำเสนอร่างรายงานบริการวิชาการมวล.ปี2553และหารือนโยบายหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัดไปแล้ว โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในมหาวิทยาลัยคือ คณะกรรมการแก้ไขความขัดแย้งฯ คณะกรรมการประจำศูนย์บริการวิชาการ หัวหน้าหน่วยจัดบริการวิชาการซึ่งรวมสำนักวิชาหรือคณะทั้งหมด11สำนักวิชา แนวทางการนำเสนอในPPก็เดินตามหัวข้อ1และ2 สำหรับหัวข้อที่3คิดว่าผู้เข้าร่วมคงต้องช่วยกันคิดต่อไป

งานหลักที่ผมรับผิดชอบนำเสนอคือพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานบริการวิชาการ โดยนำเสนอเนื้อหางานบริการวิชาการที่ได้จากการประมวลผลเชิงพื้นที่ในปี2553 และความต้องการของชุมชนสังคมในจ.นครศรีธรรมราชที่รวบรวมได้

คำสำคัญ (Tags): #1x1y
หมายเลขบันทึก: 442050เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่ภีม มีอะไรเหมือนแลแตกต่างหลายอย่าง เชื่อมั่นในการทำงานของพี่และทีมมวล ครับ

นายหัว ภีม นานจ้านแล้วที่ไม่ได้เจอ ไม่ได้ฟังแนวคิดท่าน

ก็มาติดตามอ่านด้วยความคิดถึง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท