ไหว้พระ@เมืองหลวง(โลหะปราสาท)


ต่อกันไปเลยอีกบันทึกค่ะ
ต่อจากบันทึก http://www.gotoknow.org/blog/suwinya-trip/442516 บันทึกที่แล้วหนึ่งเล่าถึงตอนที่เราตัดสินใจเดินกันไปโลหะปราสาท งั้นเรามารู้จักประวัติคร่าวๆของโลหะปราสาทกันก่อนนะคะ
โลหะปราสาท  แห่งเดียวของโลก
เป็นโบราณสถานล้ำค่าของชาติไทย  ได้รับการยกย่องว่าเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ ๓  ของโลก   ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประเทศไทยเพียงแห่งเดียว  แห่งแรกอยู่ที่ประเทศอินเดีย  แห่งที่ ๒  อยู่ที่ประเทศศรีลังกา   ทั้งสองแห่งได้ถูกทำลายพังสูญสิ้นไปแล้ว   เหลือสมบูรณ์อยู่ ณ วัดราชนัดดารามวรวิหารเท่านั้น
โลหะปราสาท   ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว    โปรดให้ช่างออกแบบก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙  ตามลักษณะของโลหะปราสาทที่พรรณาไว้ในหนังสือมหาวงศ์  พงศาวดารลังกา  โดยมอบหมายให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต  บุนนาค)  ขณะนั้น ยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ดำรงตำแหน่งอธิบดีก่อสร้าง   เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้าง     และยังโปรดให้ช่างเดินทางไปดูแบบโลหะปราสาทในประเทศลังกาด้วย  โดยนำเค้าเดิมมาเป็นแบบแล้วปรับปรุงให้เป็นสถาปัตยกรรมตามลักษณะศิลปกรรมของไทย   แต่ที่แตกต่างจากโลหะปราสาทองค์อื่นๆ  คือ  ไม่ได้สร้างสำหรับพระสงฆ์อยู่  แต่สร้างขึ้นแทนพระเจดีย์เท่านั้น
เมื่อรู้จักประวัติของโลหะปราสาทกันคร่าวๆแล้วเราออกเดินทางกันต่อเลยนะคะ
สะพานที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆในข่าวค่ะ ^^
ใกล้ถึงโลหะปราสาทแล้วค่ะ ตรงจุดนี้เราจะสามารถมองเห็นยอดเจดีย์อยู่ไกลๆ
เราไม่ได้รีบร้อนอะไรค่ะ แวะเก็บภาพทุกมุม อิอิ (พักเหนื่อยไปในตัวด้วย)
ชอบๆๆๆๆบรรยากาศงานวัด มีสีสันแม้กระทั่งรั้ววัดค่ะ
ถึงแม้ว่าวันนี้จะไม่ค่อยมีแดด ดูครึ้มๆเหมือนฝนจะตก แต่ก็ไม่ตกค่ะ อากาศจึงร้อนอบอ้าวกว่าปกติ แต่เราก็ยิ้มสู้กล้องกันได้เสมอ อิอิ
ใกล้เข้าไปทุกขณะแล้วค่ะ หาทางลัดเดินลัดเลาะเข้าไป
ถึงแล้วค่ะ นั่นไง ... โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร หนึ่งสงสัยว่าทำไมเรียกว่าโลหะปราสาท เลยเข้ามาหาข้อมูลใน google ได้ข้อมูลมาดังนี้ค่ะ
คำว่า โลหะปราสาท (Lohaprasada) เป็นชื่อดั้งเดิมของอินเดีย  เรียกมาแต่ครั้งพุทธกาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานความหมายว่า   ตึกที่มียอดเป็นโลหะ    
ลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมของโลหะปราสาท ที่วัดราชนัดดารามวรวิหารนี้ มีการออกแบบให้เป็นอาคารทรงปราสาท 3 ชั้น โดยแฝงหลักธรรมสำคัญ (ปริศนาธรรมที่แฝงมากับโลหะปราสาท) ที่เป็นปัจจัยนำไปสู่การหลุดพ้นหรือพระนิพพานเอาไว้อย่างแยบยล อาทิเช่น ยอดอาคาร 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ  ได้แก่  สติปัฏฐาน 4  สัมมัปธาน 4  อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5  พละ 5   โพชฌงค์ 7  และมรรค 8 
ข้างในเย็นกว่าข้างนอกมากๆค่ะ
ขึ้นบันไดมากันเหนื่อยเลยค่ะ นั่งพักกันซักนิดก่อนจะเดินขึ้นกันไปต่อ
ถึงบนยอดโลหะปราสาทแล้วค่ะ
บริเวณนี้สามารถขึ้นมานั่งสักการะได้ครั้งละเพียง ๒ คนเท่านั้น (เป็นบริเวณส่วนบนสุดของโลหะประสาท ซึ่งอาจจะคับแคบไปซักหน่อย นักท่องเที่ยวต้องใจเย็นนิดนึง ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นไปค่ะ)
เมื่อลงกันมาเรียบร้อยเราก็ออกเดินทางกันต่อ
บริเวณนี้เป็นสถานที่จัดงาน ร้อยนิทรรศน์ยลรัตนโกสินทร์ 
จากจุดนี้เราจะไปไหว้พระกันที่ศาลหลักเมืองกันต่อ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าวมาก และเราเหนื่อยล้ากันพอควร จึงตัดสินใจนั่งรถตุ๊กๆ กันไปค่ะ สนุก ตื่นเต้น เร้าใจไปอีกแบบ
สงสัยคงต้องจบบันทึกนี้ไว้ที่รถตุ๊กตุ๊กก่อนดีกว่าค่ะ ไว้พบกันบันทึกต่อไปนะคะ

ขอขอบคุณ

  • สมาชิกในทริปนี้ทุกคนค่ะ (โดยเฉพาะก้อย ผู้จุดประกายให้เรารู้จักโลหะปราสาทกันค่ะ)

  • ทุกท่านที่แวะมาทักทายค่ะ

  • ข้อมูลเกี่ยวกับโลหะปราสาทจากเวบ http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no06-15/wat/watrachanadda2.html

คำสำคัญ (Tags): #โลหะปราสาท
หมายเลขบันทึก: 442521เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2011 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ว้าวๆๆ ข้อมูลพี่หนึ่งสุดยอดไปเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความรู้ที่ก้อยเองก็เพิ่งได้รู้นะค้าพี่หนึ่ง^^

วันนี้ปั่นบันทึกที่ดองไว้นานแล้วได้มา ๒ บันทึกอะก้อย ยังไม่จบทริปเราเลยเนอะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท