Queen Sirikit Sericulture Center (Sakon Nakhon)
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสกลนคร Queen Sirikit Sericulture Center (Sakon Nakhon) หม่อนไหมสกลนคร

สืบสานสร้างงานหม่อนไหมของเยาวชน


สืบสานงานหม่อนไหม

    

      วันนี้ผมจะมาขอเล่า เรื่อง โครงการสืบสานสร้างงานหม่อนไหมของเยาวชนในเขตพื้นที่ศิลปาชีพโสกส้มกบ ที่ ต.บ้านใหม่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 120 กม. และห่างจากอำเภอสีชมพูประมาณ 20 กม. ซึ่งทำอยู่ที่โรงเรียนบ้านสวนสวรรค์ (ประถม) และโรงเรียนบ้านใหม่โสกส้มกบ (ขยายโอกาส)  โครงการนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนั้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยกรมหม่อนไหม ผมจะขอเล่าเพียง 3 ปี (2551-2553) ขณะที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการอยู่เท่านั้นนะครับ การดำเนินการครั้งแรกได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก ผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งสองแห่ง คือท่าน ผอ.สาโรจน์ ปาสาทัง โรงเรียนบ้านสวนสวรรค์ และ ผอ.กิตติศักดิ์ ชุมทอก และ รอง ผอ.จงจิตร ดวงสนาม โรงเรียนบ้านใหม่โสกส้มกบ รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และคนในชุมชน เป็นอย่างดี ขอบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นก็เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะอาชีพด้านหม่อนไหมให้นักเรียน สร้างรายได้เสริมให้แก่นักเรียนและเป็นแหล่งเรียนรู้หม่อนไหมของชุมชน โดยคาดหวังไว้ว่า โรงเรียน นักเรียน ประชาชนในชุมชน จะได้ตระหนัก และร่วมกันสืบสานงานหม่อนไหมให้คงอยู่คู่ชุมชนสืบไป จากผลการดำเนินงาน 3 ปี (ปี 2551-2553) ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมหม่อนไหม เป็นเงิน 300,722 บาท เพื่อดำเนินงานโครงการทั้ง 2 โรงเรียน ได้ปลูกหม่อนใช้ใบ และหม่อนรับประทานผล ระบบน้ำในแปลงหม่อน สนับสนุนห้องเลี้ยงไหม อุปกรณ์เลี้ยงไหม และสาวไหม อุปกรณ์ทำชาหม่อน น้ำหม่อน ไอศกรีมจากผลหม่อน กี่ทอผ้าพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทำการฝึกทักษะทั้งการเลี้ยงไหม สาวไหม การแปรูปและทอผ้า โดยอาศัยวิธีการนักวิชาการและวิทยากรภูมิปัญญา สอนครูและนักเรียน และระบบนักเรียนรุ่นพี่สอนนักเรียนรุ่นน้อง ลูกช่วยเหลือพ่อแม่ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผลจากการดำเนินงานทำให้โรงเรียนและนักเรียนเลี้ยงไหมวัยอ่อนและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อน ไอศกรีม และดอกไม้ประดิษฐ์จำหน่ายให้กับชุมชนและบุคคลทั่วไปที่มาศึกษาดูงาน รายได้จากการจำหน่ายแบ่งให้นักเรียนที่ร่วมดำเนินกิจกรรม และเข้ากองทุนการศึกษาของโรงเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมกับครอบครัวในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ชุมชนมีส่วนร่วมในการสอนและให้คำแนะนำนักเรียนในนามวิทยากรภูมิปัญญา ตลอดจนมีแหล่งเรียนรู้ด้านหม่อนไหม และชุมชนเลี้ยงไหมได้ประสบผลสำเร็จมากขึ้นเมื่อใช้ไหมวัยอ่อนที่นักเรียนเลี้ยงจำหน่ายทำให้นักเรียนที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักและสืบสานงานหม่อนไหมของท้องถิ่นต่อเนื่องไป ทั้งนี้โครงการดังกล่าวสามารถใช้เป็นต้นแบบได้ต่อไป   ขอเชิญทุกท่านเข้าเยี่ยมชมโครงการที่โรงเรียนทั้ง 2 แห่งนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 443040เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2011 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท