เรียนรู้การขอคำปรึกษาเรื่องการใช้ยาจากเภสัชกร (ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยควรต้องเรียนรู้)


เรื่องเจ็บไข้ ได้ป่วย มักจะเกิดกับทุกคน ดังนั้นเมื่อความเจ็บป่วยมาเยือน หากเราทุกคนซึ่งอาจจะต้องรับบทบาทเป็นผู้ป่วยเอง หรือเป็นญาติผู้ป่วย จึงต้องให้ความสำคัญในการจะหาความรู้เรื่องยา

ก่อนหน้านี้ การเข้ารับบริการในโรงพยาบาลต่างๆ นั้น จริงๆ แล้ว เราอาจจะรู้กันอยู่บ้างแล้วว่า โรงพยาบาลต่างๆ จะมีบริการให้คำปรึกษาเรื่องยาจากเภสัชกร แต่จากประสบการณ์ที่ไม่เคยใช้บริการหรือโรคที่เป็นอาจจะไม่ต้องอาศัยถามรายละเอียดการใช้ยาจากเภสัชกรเพิ่มเติม ชีวิตของเราก็เหมือนจะคิดว่าขั้นตอนนี้มันไม่จำเป็น

แต่หากว่าท่านเป็นผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โรคบางประเภท การใช้ยาครั้งแรกจำเป็นต้องรู้ว่าถึงผลข้างเคียงของยา หรือเราจำเป็นต้องรู้ว่ายาที่รักษาโรคหนึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายในที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือส่งผลต่ออาการของโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่อาจจะมีอาการป่วยหลายๆ โรคในช่วงเวลาเดียวกัน การใช้ยารักษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ

ดังนั้นการไปตรวจหรือไปหาคุณหมอในแต่ละครั้งนั้น การตรวจผู้ป่วยแต่ละคนก็ดูเหมือนมีความจำเป็นต้องเร่งด่วนและใช้เวลาค่อนข้างเร็ว เนื่องจากด้วยปริมาณคนไข้ที่มีจำนวนมาก คุณหมออาจจะไม่ได้มีเวลาอธิบายหรือให้ความรู้เราได้ครอบคลุม หรือแม้กระทั้งผู้ป่วยหรือญาติเอง เมื่ออยู่ในห้องตรวจ ณ เวลานั้น อาจจะยังไม่ทันนึกคำถามหรือสิ่งที่ต้องการสอบถามคุณหมอเกี่ยวกับรายละเอียดของยาเพื่อรักษาอาการของโรคที่เป็นอยู่ค่ะ

ทำอย่างไรดี ปัญหานี้แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยบริการของโรงพยาบาลที่มีห้องสำหรับให้คำแนะนำและปรึกษาเรื่องการใช้ยา โดยเฉพาะ รพ.สงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ต้องพาผู้สูงอายุไปรักษาอยู่ ห้องให้คำปรึกษาเรื่องยา จึงเป็นห้องที่สามารถให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องยาได้ดีเลยทีเดียวค่ะ

จากประสบการณ์ของตัวเองที่ได้เข้าไปขอคำปรึกษา รู้สึกประทับใจเลยล่ะค่ะ เพราะเภสัชกรมีน้ำใจและให้ความช่วยเหลือในการหาข้อมูลของยาและยังดูผลการตรวจ Lab ต่างๆ ประกอบกับตัวยาที่ได้รับจากการสั่งยาของคุณหมอ ซึ่งต้องบอกว่า ญาติผู้ป่วยที่ไม่ได้มีความรู้ทางด้านนี้ก็จะสะดวกขึ้น เพราะบางทีการอ่านค่าผล Lab ต่างๆ ก็ค่อนข้างต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ในระดับหนึ่ง บางทีก็ดูเหมือนจะยุ่งยากสักหน่อย แต่เมื่อได้เภสัชกรช่วยเหลือในการดูว่า ยาตัวดังกล่าวจะมีผลอย่างไรบ้าง หรือควรจะมีการปรับเปลี่ยนยาหรือไม่ ก็จะเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยได้ค่ะ

เรื่องเล็กๆ ที่อาจจะดูไม่สำคัญ แต่ก็มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วยมากเลยนะค่ะ หากเพียงแค่เราใส่ใจในการใช้ยา ทำความรู้จักกับยาและผลข้างเคียงของยา ด้วยการขอคำปรึกษาจากเภสัชกรก็จะทำให้การใช้ยาและการดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

เล่ามาซะยาวเชียวนะค่ะ จริงๆ แล้วก็อยากจะมาแบ่งปันว่า การใช้ยาสำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยในวัยสูงอายุ เราจึงจำเป็นต้องใส่ใจและขอคำปรึกษาจากเภสัชกร ซึ่งจะมีความรู้และประสบการณ์ที่จะช่วยเหลือเราให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 443331เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เขียนดีมากครับ เสียดาย ไม่มีรูปเภสัชกร

คุณศุภรักษ์คะ

ไม่ได้ถ่ายรูปไว้นะค่ะ แต่ต้องบอกว่าประทับใจการให้คำปรึกษาของเภสัชกรมากค่ะ ทำงานกันเป็นทีม ช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ตัวเองในฐานะญาติผู้ป่วยก็ไม่ได้เร่งรัดอะไร เพราะบางทีต้องเปิดตำราหรือเอกสารเพิ่ม ก็ให้เวลาทีมเภสัชกรเต็มที่ค่ะ

เท่าที่ผมพบหลายจังหวัด เภสัชกรหลายท่าน ซึ่งมีร้านยาส่วนตัวนอกเวลาราชการ ยังให้คำปรึกษาเกี่ยวยา การใช้ยา และอาการข้างเคียง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ เป็นน้ำใจที่ขอยกย่องอย่างยิ่ง

ที่สงขลา หาดใหญ่คงเช่นเดียวกัน

ร้านยาก็เป็นที่ปรึกษาได้ และอยู่ใกล้บ้านท่าน

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ประธานโครงการพัฒนาร้านยา อย. และอุปนายกสภาเภสัชกรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร มีนโยบาย “โครงการร้านยาเภสัชกรชุมชนในเครือข่ายสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร” เพื่อยกระดับร้านยาในชุมชนให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีเภสัชกรคอยให้บริการประชาชน ช่วยคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อและโรคเรื้อรัง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคเบาหวาน และความดันโลหิต เป็นต้น เข้าสู่ระบบและได้รับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีร้านยาในชุมชนที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ จำนวน 200 แห่ง เข้าร่วมโครงการร้านยาเภสัชกรชุมชนฯ โดยร้านยาดังกล่าวมีแบบคัดกรองที่ได้มาตรฐาน สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นอกจากร้านยาในชุมชนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายร้านยาเภสัชกรชุมชนฯ อ่านต่อที่ http://www.ryt9.com/s/prg/366769

 

 

โครงการ “ล้านนาฟาร์มาซี” ผลงานของ นศ.ภ.กัลชนิกา ยศยิ่ง, นศ.ภ.จุฑามาศ สุธรรม, นศ.ภ.ชวพันธุ์ แก้วมา และนศ.ภ.นลินรัตน์ แก่นเวียงรัตน์ นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล่าสุด กวาดรางวัล “ร้านยาในฝัน”ในโครงการประกวดสุดยอดเภสัชกรชุมชนรุ่นใหม่ ครั้งที่ 1 จัดโดย สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ร่วมกับ มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) เพื่อสร้างความตระหนักให้กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นใหม่ถึงความสำคัญของงานเภสัชกรชุมชน ซึ่งมีพิธีมอบรางวัลเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บริหารและบริการ สร้างภาพลักษณ์ของร้านยาให้ผู้มารับบริการได้รับความสะดวก มีความรู้สึกเป็นกันเอง และเข้าถึงข้อมูลด้านยา โดยมีเภสัชกรประจำร้านพร้อมให้คำปรึกษาตลอดเวลา “ การทำธุรกิจต้องมีจรรยาบรรณ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำมาหากินบนความเจ็บป่วยของผู้อื่น นอกจากร้านต้องอยู่รอด ลูกค้าต้องอยู่ได้ กำไรอาจไม่อยู่ในรูปของตัวเงินเสมอไป แต่อาจอยู่ในรูปของนามธรรม คือได้รับบุญจากที่ทำให้ผู้อื่นพ้นจากความเจ็บไข้ ” ดังนั้นการดำเนินงานของร้านยาจึงให้สิ่งทดแทนอื่นนอกจากยาด้วย เช่น การบริการที่มีคุณภาพ การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกรอย่างเอาใจใส่ ซึ่งแนวคิดของโครงการ “ล้านนาฟาร์มาซี” ได้วางแนวทางการบริบาลเภสัชกรรม คือ (1)การให้คำปรึกษาเรื่องยา โดยเสนอแนวคิดเภสัชกรประจำร้าน 4 คนเพื่อผลัดเปลี่ยนเวลาทำงาน ซึ่งจะทำให้สามารถมีเภสัชกรประจำร้านตลอดเวลา (2) การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (3) การบริการตรวจวัดความดันโลหิต วัดมวลกระดูก วัดปริมาณไขมันในร่างกาย (4)มีโครงการเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่ และให้คำปรึกษาในการเลิกเหล้าหรือยาเสพติด (5) การจัดมุมสาระน่ารู้ด้านสุขภาพไว้บริการ ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพได้ง่ายขึ้นและ (6)การบริการจัดส่งเอกสารความรู้ อ่านรายละเอียดที่http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n28.php

 

ขอร่วม km กับคณะแพทย์ เภสัชกร นะคะดิฉันเป็นครูค่ะ ชอบอ่าน เพิ่งเรียนการสร้าง บล็อกค่ะ พยายามเข้ามาแวะดู นู่นนี่นั่น ทั้งที่อายุก็กำลังจะมากแล้วค่ะ เป็นคนหนึ่งที่ทานยาหลายชนิด ทั้งรักษาโรค (ไขมัน) ยาลดน้ำหนัก (จากโรงพยาบาลยอดนิยม) ทานมานานมาแล้วค่ะ ตรวจเช็คระบบ ตับ ไต ทุกปี (คุณหมอดำเนินการค่ะ) ตอนนี้ก็ไม่มีอาการอะไร ข้องใจอย่างเดี่ยวคือ ประจำเดือนหายไปประมาณ 7 เดือนแล้ว หาคุณหมอสูติ อีกตามเคย คุณหมอให้ความรู้ทางวิชาการแพทย์มาพอเข้าใจได้ อายุ 47 ทำท่าจะหายไปเลยจริง ๆ ฝ้าที่แก้มเริ่มเข้มขึ้นเป็นวง กำลังจะหมดสวย ก็พยายามหาทางอยู่ค่ะ

อีกอย่างในชีวิตที่กังวัล ลูกสาวค่ะ เข้ามหาลัย (KU) ปีหนึ่ง เป็นสิงอักเสบอยู่เรื่อย รักษาตามคลีนิกที่โปรโมทสุด ๆ และโรงพยาบาลชื่อดัง หมดไปเป็นแสนแล้วค่ะ ล่าสุดไปเฉพาะทางรพ.ผิวหนัง ครั้งแรกก็หมดไป หมื่นกว่าบาืท ( เลเชอร์ กดสิว 200 กว่าเม็ด) ลูกออกมาจากห้อง treatment ร้องไห้จนตาบวมเพราะเจ็บมากตอนกด หน้าเป็นสีม่วงเลย วันต่อมา ๆ ก็ดีขึ้น คุณหมอก็นัดไปดูอีก ไม่ห่วงเรื่องเสียตังค์เพราะเสียมาเยอะมากแล้ว แต่สงสัย แกมกลุ้มใจ สงสารลูกมากว่ากะแค่เรื่องสิว ทำไมถึงแก้ไขได้ยากขนาดนี้ พอจะหายก็กลับมาอีกแบบเยอะมาก ลุกอยากแลกกับการป่วยเป็นโรคอื่นด้วยซ้ำค่ะ คุณหมอ เภสัชกรท่านจะกรุณาแลกเปลี่ยนให้คำแนะนำ ปลอบโยนอย่างไรก็ขอเชิญนะคะจักเป็นพระคุณยิ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท