ภัทรลภา
นาง ภัทรลภา ตุ๊กตา ศุภฤทธานนท์

มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542


มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547   เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์  และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาและกำกับดูแลการตรวจสอบ    การประเมินผล  และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

มาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก  (คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข)

ตัวบ่งชี้          ๑.๑ กำลังกาย  กำลังใจที่สมบูรณ์๑.๑.๑   คนไทยมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา   เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย

          ๑.๒ ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิตและการ

                พัฒนาสังคม                   ๑.๒.๑   คนไทยได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง

                   ๑.๒.๑   คนไทยมีงานทำและนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงาน

                   และสร้างประโยชน์ให้สังคม          ๑.๓ ทักษะการเรียนรู้ และการปรับตัว

๑.๓.๑   คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโลก รวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

๑.๓.๒   คนไทยสามารถปรับตัวได้ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

           ๑.๔ ทักษะทางสังคม

๑.๔.๑  คนไทยเข้าใจและเคารถในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสังคม มีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข๑.๔.๒  คนไทยมีความรับผิดชอบ เข้าใจ ยอมรับ และตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  สามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทยและสังคมโลกโดย สันติวิธี

          ๑.๕ คุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย

            และพลโลก

                   ๑.๕.๑ คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และ

                   มโนสุจริต

                   ๑.๕.๒    คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม

                   มีจิตสำนึกในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความภูมิใจใน

                   ชนชาติไทย รักแผ่นดินไทย และปฏิบัติตนตามระบอบ

                   ประชาธิปไตย เป็นสมาชิกที่ดี เป็นอาสาสมัครเพื่อชุมชนและ

                   สังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก

มาตรฐานที่ ๒  แนวการจัดการศึกษา
 (จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน)

ตัวบ่งชี้๒.๑ การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ๒.๑.๑ มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน๒.๑.๒ ผู้เรียนมีโอกาส/สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง๒.๑.๓ องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย๒.๑.๔มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพื่อการเรียนรู้และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 

๒.๒ มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

      อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ๒.๒.๑ ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ๒.๒.๒ ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม มีความถึงพอใจในการทำงาน และผูกพันกับงานมีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง

                   ๒.๒.๓ มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้าง

                   เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม และติดตามการดำเนินงานของ

                   บุคลากรและสถานศึกษา ตลอดจนการสั่งสม องค์ความรู้ที่

                   หลากหลาย๒.๓ มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน๒.๓.๑ องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน๒.๓.๒ ผู้รับบริการ/ ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา

๒.๓.๓มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

มาตรฐานที่ ๓  แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/ สังคมแห่งความรู้

  (การสร้างวิถีการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง)

ตัวบ่งชี้

๓.๑ การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน

ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้๓.๑.๑ สถานศึกษาร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                        ๓.๑.๒ ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามี

                        สถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ มีความ

                        ปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่าง

                        ต่อเนื่อง ๓.๒ การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ และกลไกการเรียนรู้๓.๒.๑ ศึกษาวิจัย สำรวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ๓.๒.๒ระดมทรัพยากร   (บุคลการ  งบประมาณ  อาคารสถานที่  สิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิปัญญาและอื่นๆ ๓.๒.๓ ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาประเทศ๓.๓ การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม๓.๓.๑ ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 
 

 

 
  
 
หมายเลขบันทึก: 44345เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2006 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีมาก ขอให้พวกเราช่วยกันคิด และหาทางพัฒนาการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่เขากำหนด หมั่นแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มาสอนลูกศิษย์ ความรู้ที่เราได้รับงันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยและใช้ไม่ได้ ต้องใช้ความรู้ใหม่ ๆ เสมอ เหมือนดาวเคราะห์ เราบเคยสอนว่ามี 9 ดวง วันนี้ต้องสอนใหม่แล้ว มี 8 ดวง เป็นต้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท