ไก่พื้นเมือง ไก่ประดู่หางดำ


ที่ตำบลป่าซาง ชาวบ้านส่วนใหญ่อบพยพมาจากหลายแห่งแต่ที่มากที่สุดจะมาจากลี้ลำพูน สำเนียงพูดจะคล้ายกัน การเลี้ยงสัตว์จะชอบเลี้ยงไก่มากกว่าเป็ดเพราะมีความเชื่อในเรื่องการกินเป็ดด้วยกันแล้วจะมีอันต้องแยกทางกันหรือเหินห่างกันไป จึงไม่นิยมกินเนื้อเป็ด เลยไปจนถึงไม่ชอบการเลี้ยงเป็ดไปด้วย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2554 ผู้เขียนได้เดินทางไปส่งลูกชายทดสอบคณิตศาตร์ที่เชียงใหม่ ก็เลยใช้โอกาสนี้ทำธุระสี่อย่าง ในครั้งเดียว หนึ่งในนั้นคือชื้อไก่ประดู่หางดำมาให้เกษตรกรที่เวียงเชียงรุ้งมาเลี้ยง ด้วยอยากให้อำเภอเวียงเชียงรุ้งมีการเลี้ยงไก่ให้เป็นที่รู้จัก ได้ทดลองติดต่อฟาร์มเครือข่ายที่ผลิตไก่ประดู่หางดำที่อำเภอสันทรายเชียงใหม่ มาให้เกษตรกรที่มีความสนใจหัวไวใจสู้ มาเลี้ยงเพื่อที่จะทำพ่อแม่พันธุ์ผลิตสายเลือดประดูหางดำให้มากๆในเวียงเชียงรุ้ง เริ่มด้วยลูกไก่ประดู่หางดำจำนวน 229 ตัว กระจายลงที่ตำบลป่าซาง 149 ตัว ตำบลทุ่งก่อ 80 ตัว เสียดายนำมาคละเพศ ถ้าเป็นแม่พันธุ์ได้สักครึ่ง อีกไม่นานก็จะมีลูกไก่เพิ่มอีกเป็นพัน คิดแล้วสนุกดี ต้องรออีกเป็นปีค่อยมาเล่าต่อครับ งานนี้ต้องขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยประสานให้ได้ไก่ประดู่หางดำมาขยายคือคุณหมอศักดิ์ชาย บุณยราศรัย ปศุสัตว์อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ที่ติดต่อประสานจนได้ไก่มาเร็ว เคยติดต่อเพื่อชื้อของสถานีบำรุงพันธุ์แล้วต้องรอคิวยาว วางแผนจองกันเป็นปี รอไม่ไหวครับ ราชการก็เป็นไปอย่างนี้ต้องทำใจ

ขนเองทั้งไก่ และอุปกรณ์ทำบ่อหมักชีวภาพที่ไปเอาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถึงบ้านเกษตรกรนายบุญทวี วงค์พระเลื่อน ก็ค่ำมืดพอดี ต้องเปิดไฟจับไก่ อากาศก็หนาวเย็นลมโกรกต้องแนะนำให้มีไฟกกและผ้ากันลมด้วย
มืดและไม่สามารถเอาไก่ไปแจกทันก็เลยฝากเลี้ยงที่บ้านลุงขาว(นายทองสุข มณีจันทร์สุข) ที่มีอุปกรณ์กกตั้งแต่สมัยที่นำเป็ดไข่มาเลี้ยงตอนเดือนมกราคม 2554
ไก่กำลังมึนงง กับการเดินทาง และอากาศหนาวเย็น
ได้น้ำ อาหาร และไฟกก ร่าเริงแจ่มใส มีตายไประหว่างเดินทาง ตัวเดียวค่อยยังชั่ว
หมายเลขบันทึก: 448269เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาเป็นกำลังใจให้แก่ไก่ของพระนเรศวร

ใช่หรือเปล่าครับ

สวัสดีค่ะ

  •    รู้จักชื่อไก่จากหนังสือเล่มเล็กของนักเรียนค่ะ
  •    ปกเป็นภาพวาดรูปไก่ระบายสีสวยงาม
  •    ในเล่มก็มีไก่ หลายพันธุ์ พร้อมเล่าเรื่องไก่ที่เลี้ยงในบ้าน
  •     มีไก่ชบา  ไก่สา  ไก่ดู่หางดำ  ฯลฯ
  •    ได้มาเห็นภาพจริงและชื่อเต็มๆวันนี้เองค่ะ 

ขอบคุณมากกำลังใจจากท่านโสภณ ไก่ของพระนเรศวรเป็นเหลืองหางขาวครับ...

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ข้อมูลไว้ดังนี้ครับ....

" ไก่ชนนเรศวร " เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารของไทย ดังจะเห็นได้จาก หนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบ โชประการ ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า

วันหนึ่ง ได้มีการตีไก่ขึ้น ระหว่างสมเด็จพระนเรศวร ฯ กับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา) ไก่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ตีชนะมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์จึงขัดเคือง ตรัสประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ เก่งจริงหนอ”

ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาตอบโต้ไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้”

นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวร ฯ เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชน ต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน

การตีไก่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทร์ เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัย ทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ ครั้งเสด็จไปประทับที่พม่าก็ทรงนำไก่ชนไปด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจาก “บ้านกร่าง”

“บ้านกร่าง” อำเภอเมืองพิษณุโลก แดนไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ มีการเลี้ยงไก่มาก เมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ ก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนชนไก่ประจำหมู่บ้าน ไก่บ้านกร่าง เป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น “ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว” เป็นไก่ชนที่มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จนได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง”

ตามตำราได้กล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่มีสกุล มีประวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือรูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดง แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว และได้มีผู้รู้ บรรยายลักษณะพิเศษไว้ว่า

“ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง

สร้อยระย้า หน้านกยูง ”

ทางภาคใต้ ได้บรรยายลักษณะของไก่เหลืองหางขาวชั้นเยี่ยม ไว้ว่า

“ อกชัน หวั้นชิด

หงอนบิด ปากร่อง

พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด

เกล็ดยี่สิบสอง ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม ”

การค้นหาไก่เหลืองหางขาว ให้มีลักษณะครบทุกอย่าง และมีลักษณะพิเศษอีกนั้น คงจะมีเพียงตัวเดียว คือ ไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันการผสมพันธุ์ไก่ชนได้แพร่หลาย และกระจายไปทั่วประเทศ เพราะมีการผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ และข้ามสี จนมีไก่ชนหลากสีขึ้น สุดแท้แต่ไก่ตัวไหนจะเก่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท