CSR กับ การเริ่มต้นชีวิตคู่ และการทำงานร่วมกันในองค์กร


Communication / Sustainable / Rectify / Love you & Love me

 

 

“CSR” คำๆนี้ สำหรับคนที่ทำงานในวงการประชาสัมพันธ์ การตลาด คงจะคุ้นเคยดีนะครับ แต่คำว่า CSR ที่ผมจะนำมาแบ่งปันในบันทึกนี้ไม่ได้มีความหมายในทำนองคืนกำไรให้สังคมหรอกนะครับ ผมได้การตีความของคำว่า CSR ในมุมมองของการใช้ชีวิตคู่จากงานแต่งงานที่รุ่นน้องที่ทำงานของผมเป็นเจ้าบ่าว ซึ่งวันนั้นผู้บังคับบัญชาของเจ้าสาวได้ขึ้นอวยพรและให้โอวาทแก่เจ้าบ่าว เจ้าสาว โดย ใช้ Keyword ของ CSR  แต่ตีความไปยังเรื่องการครองเรือน โดยเพิ่ม Keyword ไปอีกตัวหนึ่ง คือ “L” เป็น “CSRL” ดังนี้คือ


C = Communication – การสื่อสารอย่างเข้าใจกัน
S = Sustainable – ความพอเพียงอย่างยั่งยืน
R = Rectify – การปรับตัวแก้ไข
L = Love you & Love me - ความรักกันและกัน

 

จาก Keyowrd ดังกล่าว ผมคิดว่าน่าจะตีความเพื่อนำมาใช้ในการทำงานร่วมกันในองค์กรได้ เลยลองตีความต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาอีกดังนี้

 

Keyword ตัวแรก “C” - Communication -การสื่อสาร : มีความหมายในตัวชัดเจนอยู่แล้ว การสื่อสารในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าต้องสื่อสารด้วยคำพูดเท่านั้น สายตา กริยาท่าทางก็สำคัญไม่แพ้กัน การทำงานร่วมกันต้องสื่อสารกันให้มากพูดคุยกันให้มาก ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือความเข้าใจไม่ตรงกัน และคิดไปเอง ผมสังเกตเห็นบางครั้งเราสื่อสารกันก็จริงแต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เพราะตีความตามเข้าใจไปคนละอย่าง การสื่อสารที่ดีน่าจะเริ่มต้นจากการฟังเสียก่อน ฟังโดยไม่ตีความ ฟังเพื่อฟัง โดยไม่ตัดสิน (Deep Listening) เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะต้องอาศัยการฝึกฝน (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องDeep Listening ผมได้เคยบันทึกไว้ที่ http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/339607) ผมเชื่อว่าถ้าเราฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ(ผล) การสื่อสารที่ดีก็จะตามมาเอง

 

 

Keyword ตัวที่สอง “S” = Sustainable – ความพอเพียงอย่างยั่งยืน : เรื่องนี้เป็นปรัชญาที่ค่อนข้างลึกซึ้ง แต่จับต้องได้ ผมคิดว่าคนไทยเราคงคุ้นเคยกับคำนี้พอสมควร แต่การที่จะปฏิบัติได้ขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและจริงใจของแต่ละคน ในเรื่องนี้ผมตีความในมุมมองของการยืนหยัดแนวคิดแบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน พึ่งพาตัวเอง แต่ต้องมีเครือข่าย ไม่ไหลไปตามกระแสของทุนนิยม/วัตถุนิยม ดังนั้นเป้าหมายของการทำงานจึงไม่ใช่แค่ผลตอบแทนราคาสูงเท่านั้น มีผลวิจัยหลายสำนักสำรวจออกมาแล้วพบว่าผลงานที่ดีไม่ได้มาจากผลตอบแทน แต่มาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนทำงานแล้วมีความสุข   แต่ทั้งนี้ต้องมองเรื่องความสมดุลของกำไร และสังคมสิ่งแวดล้อมด้วย ดังที่ อ. วรภัทร์ ได้เคยให้แนวคิดเรื่อง 3 P :  Profit/People/Planet ไว้ (อ่านรายละเอียดเรื่อง 3 P ได้ที่ http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/332080) เรื่องเหล่านี้บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd., น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

 

Keyword ตัวที่สาม “R” = Rectify – การปรับตัวแก้ไข : เรื่องนี้ผมตีความไปยังเรื่องการปฏิบัติจริง (ปัญญาปฏิบัติ) ผมสังเกตพบว่ายิ่งคนทำงานในตำแหน่งสูง จะยิ่งมี EGO มาก เชื่อมั่นในตัวเองมาก ใช้ฐานคิดเยอะ ไม่ค่อยคำนึงถึงฐานกายและฐานใจ ดังนั้นในการทำงานร่วมกันควรให้โอกาสทีมงานได้ลองคิดลองทำ โดยให้เขาเสนอโครงการที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเข้ามา หรือใช้น้อยที่สุด แต่ไม่เดือดร้อน สิ่งที่ทำออกมาอยากให้มองเรื่อง Process ไปพร้อมๆ กับเป้าหมายด้วย เพราะบางครั้งนวัตกรรมที่ออกมา อาจจะเกิดจากความบังเอิญก็ได้ ถ้าเรารู้จักสังเกต มองในมุมแปลกๆ

 

Keyword ตัวสุดท้าย “L” = Love you & Love me – ความรักกันและกัน : Keyword ตัวนี้ไม่ต้องตีความอะไรมาก หากเรามีความรักให้กันทุกอย่างก็จะดูสวยงาม ความรักที่บริสุทธิ์ คือ ความเมตตา กรุณา ห่วงหาอาทรซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ความใคร่  ทางกามรมณ์ ดังเช่นหนังเรื่อง “ฮักนะสารคาม” (http://movie.mthai.com/movie-profile/new-movie/89725.html) เป็นตัวอย่างสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ที่แสดงให้เห็นถึงความรักในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นความรักระหว่างเพื่อน พ่อแม่ พี่น้อง ความกตัญญู ความรักในถิ่นฐาน บ้านเกิด วิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียง กลมกลืน

 

หมายเลขบันทึก: 448590เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท