ลำดวน
นาง ลำดวน ไกรคุณาศัย (เรือนรื่น)

ฝีมือ...ความคิดสร้างสรรค์...


งานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นฝีมือและความคิดสร้างสรรค์จากเด็กนักเรียน....

      ดิฉันเป็นคนหนึ่งในทีมจาก สพฐ.  ที่พานักเรียนไทยไปประกวดสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเวียตนาม ในเมืองฮานอย ดิฉันเป็นกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ไปดูแนวคิดการจัดงาน IEYI ซึ่งเวียตนามเป็นเจ้าภาพ ปี ๕๓ และไทยจะต้องเป็นเจ้าภาพในปีนี้ และได้ทราบคร่าวๆจากคุณ พนิดา วิชัยดิษฐ์ เจ้าของเรื่องว่า กำหนดจัดงานที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ประมาณเดือนมกราคม ปี ๕๕

      ซึ่งสถานศึกษาจะสามารถส่งชิ้นงาน ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และสร้างเป็นชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาตร์โดยฝีมือของนักเรียน ขอย้ำว่าต้องเป็นความคิดและฝีมือของนักเรียนจริงๆ เพราะการประเมินชิ้นงานจะใช้การดูชิ้นงานและสัมภาษณ์นักเรียนผู้สร้างชิ้นงาน...

     สิ่งหนึ่งที่ดิฉันพบเห็นจากการประกวดที่เวียตนามในครั้งนั้นคือ

  •  ชิ้นงานของเด็กนักเรียนไทย มักเป็นชิ้นงานที่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบอลังการณ์ ซับซ้อน 

  • แต่ชิ้นงานของเด็กประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น อิโดนีเซีย เวียตนาม ฯลฯ มักเป็นชิ้นงานที่เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ง่ายๆ ผลิตได้ด้วยตัวนักเรียนเอง และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

  • เช่น แปรงสีฟันที่สามารถบีบยาสีฟัน เพิ่มเขัาไปได้ขณะแปรงฟัน โดยไม่ต้องนำแปรงสีฟันออกจากปากก่อน...ของเด็กอินโดฯ ได้รางวัลเหรียญทอง 

  • แปรงทาสีที่เด็กใช้สายน้ำเกลือต่อกับถังสี และแปรงทาสี แล้วทาสีได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องยกแปรงมาจุ่มสี ของเด็กฟิลิปปินส์...ฯลฯ 

  • จากการสังเกตดิฉันรู้สึกว่า เด็กต่างชาติทำชิ้นงานง่ายๆ แต่เห็นร่องรอยของความคิดสร้างสรรค์แท้...ของเด็กเอง ได้รางวัลเหรียญทองเช่นเดียวกันกับเด็กไทย

      ถามกรรมการชาวต่างชาติบอกว่า...การให้คะแนน กรรมการจะพิจารณาจากส่วนที่ีเป็นแนวคิด ส่วนที่เกิดจากฝีมือเด็กโดยแท้ การนำสิ่งของใช้แล้วไปต่อยอดได้ และการนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน...( เพื่อนๆสามารถดูรายละเอียด การผลิตชิ้นงานโดยละเอียดได้จาก ข้อคิดเห็นจากคุณสันติสุข สันติศาสนสุข ที่ต่อท้ายบันทึกนี้ค่ะ)

       จึงขอนำเสนอเรื่องนี้ในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนคิดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการพิจารณาในการนำไปใช้ แนะนำนักเรียนได้ในโอกาสต่อไปค่ะ (เสียดายนำรูปแปรงสีฟัน กับแปรงทาสีขึ้นไม่ได้)

 

หมายเลขบันทึก: 450521เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ข้อเสนอแนะ และกำลังใจ.....
  • การฝึกเด็กให้สร้างสรรค์ชิ้นงานดูเป็นเรื่องยาก
  • แต่ไม่พ้นความสามารถของคุณครู
  • เพียงคิดเสมอว่าเรื่องเล็กๆจากความคิดของเด็ก
  • อาจประสบผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต....

สวัสดีครับอ.ลำดวน

  • เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มีเวทีแสดงทักษะความสามารถตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งโอกาสแบบนี้มีไม่มากนัก
  • ไม่ต้องจำเป็นต้องเกิดจากผลงานของกลุ่มส่าระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เท่านั้น กลุ่มไหนก็ได้ เพียงให้ผลงานที่สร้างขึ้นมีหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่สามารถสนองตอบสนองต่อการดำรงชีวิต เช่นหวีที่สางผมแล้วไม่มีเส้นผมติดค้าง เทคนิคการแก้ไขไม่ให้ซิปติดผ้าเวลารูดซิป ไม้เท้าของตาบอดที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นม้านั่งได้ เป็นต้น
  • ที่สำคัญทุกผลงานต้องเกิดจากแรงบันใจ มีเหตุผล มีที่ไปที่มา หรือเหตุจูงใจให้สร้างผลงาน
  • การสร้างสิ่งประดิษฐ์จึงเป็นการบูรณาการความรู้จากหลายกลุ่มสาระ ทั้ง คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ศิลปะ การงาน และถ้าถึงระดับนานาชาติก็ต้องใช้ภาษาต่างประเทศด้วย
  • อยากให้ครูทุกระดับทั้งประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ตื่นตัว กระตุ้นให้เด็กๆเข้าสู่เวทีนี้ ดีกว่าปล่อยให้เด็กๆใช้เวลาอยู่กับการเล่นเกมส์ แชดด่ากันไปมาทางอินเทอร์เน็ต

มาชม

มีสาระน่าสนใจนะครับผม

  • การเรียนการสอนในโรงเรียนบ้านเรา ส่วนใหญ่ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดเองทำเองอย่างแท้จริง เพราะวัฒนธรรมในครอบครัว สังคม และ/หรือวัฒนธรรมในการปฏิบัติราชการของครู ครูมักเข้าไปชี้แนะหรือให้คำปรึกษามากเกิน เรามุ่งหวังชัยชนะ รางวัล หรือหน้าตา จนละเลยสิ่งที่นักเรียนควรจะรู้เอง หรือเกิดทักษะการค้นคว้าเอง จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ได้เอง เราจึงขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ผลงานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในเวทีระดับนานาชาติจึงน้อย เราซื้อ เราบริโภคนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลัก...ได้อ่านบันทึกของท่านศน.ลำดวนนี้แล้ว ผมคิดถึงเรื่องที่ว่ามาครับ 
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่จะเกิดขึ้นในวงการศึกษา โดยเฉพาะในระดับขั้นพื้นฐานของพวกเรา/บ้านเราครับ

สันติสุข สันติศาสนสุข สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะที่มาเติมเต็ม ทำให้บันทึกนี้มีคุณค่า.... เพราะลำดวนอยากเขียนเรื่องนี้ แต่ไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด เพียงอยากให้แง่คิดการผลิตชิ้นงานของนักเรียนค่ะ คุณมาเติมให้เต็มได้จริงๆ เพราะคุณทำมาแด่แรก และเป็นคนในสพฐ.นะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

umi สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากที่แวะมาชมค่ะ

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ สวัสดีค่ะ

อาจารย์วิเคราะห์ได้ตรงใจดิฉันค่ะ

แต่ไม่กล้าเขียน.....

".......ส่วนใหญ่ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดเองทำเองอย่างแท้จริง เพราะวัฒนธรรมในครอบครัว สังคม และ/หรือวัฒนธรรมในการปฏิบัติราชการของครู ครูมักเข้าไปชี้แนะหรือให้คำปรึกษามากเกิน เรามุ่งหวังชัยชนะ รางวัล หรือหน้าตา จนละเลยสิ่งที่นักเรียนควรจะรู้เอง หรือเกิดทักษะการค้นคว้าเอง จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ได้เอง เราจึงขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ผลงานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในเวทีระดับนานาชาติจึงน้อย เราซื้อ เราบริโภคนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลัก......"

ขอบคุณที่มาเติมเต็มค่ะ

สวัสดีค่ะท่านศน.ลำดวน

ฝีมือเด็กไทยมีความละเอียด ซับซ้อน เพิ่มเติมเรื่องการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเข้าไปก็เยี่ยม เป็นกำลังใจสำหรับผู้มีส่วนร่วมในงานที่น่าภูมิใจนี้ค่ะ

ต้องขอชื่นชมผู้ใหญ่ที่สร้างพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนไม่ว่าชาติใดได้แสดงความสามารถนะคะ

ข้อสังเกตของอาจารย์และจากอาจารย์ธนิตย์เป็นสิ่งที่คุณครูและวงการการศึกษาของไทยเราควรนำไปทบทวนจริงๆค่ะ

ถาวร สวัสดีค่ะ

......ฝีมือเด็กไทยมีความละเอียด ซับซ้อน เพิ่มเติมเรื่องการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเข้าไปก็เยี่ยม ....

ใช่ค่ะ ชิ้นงานเล็กๆที่ใช้ได้ในชีวิตจริง ที่แสดงความคิดสร้างสรรค์จากเด็กสำคัญต่อการพิจารณาจากกรรมการค่ะ

ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ

คุณนายดอกเตอร์ สวัสดีค่ะ

การทบทวนว่า...การผลิตชิ้นงานที่ดูเหมือนต้องใช้แรงหรืออุปกรณ์ประกอบที่ต้องใช้แรงผู้ใหญ่จึงจะสำเร็จ

ตรงส่วนนี้เราจะไม่มีคะแนน และจะกลายเป็นว่าเขาไม่เชื่อว่าเด็กทำได้ค่ะ

ขอบคุณคุณนุชมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ ศน.

  • เป็นบันทึกที่ให้ข้อคิดดี ๆ สำหรับคุณครูจริง ๆ ค่ะ
  • นับได้ว่า พี่ ศน. ลำดวน มิใช่เป็น ศน.ของคุณครูชาวสุพรรณเท่านั้น แต่เป็น ศน. ของคุณครูทั้งประเทศ
  • และเมื่อได้อ่านข้องคอมเม้นท์ของเพื่อน ๆ ที่เม้นท์ก่อนหน้านี้ยิ่งทำให้มีความรู้ได้ข้อคิดมากขึ้น
  • อีกประเด็นหนึ่งที่อยากแสดงความคิดเห็น สนับสนุนว่า ครูไทยชอบความอลังการมากกว่าความคิดสร้างสรรค์
  • ทุกครั้งที่มีการเข้าค่ายลูกเสือ  จำได้ว่าถ้าเป็นสมัยครูอิง เราจะคิดกิจกรรมการแสดงรอบกองไฟ ณ ตอนที่อยู่ค่าย  มิได้เตรียมอะไรไปจากโรงเรียนเลย
  • แต่สมัยปัจจุบัน เข้าค่ายลูกเสือทีไร โรงเรียนจะเตรียมการแสดงแบบอลังการไปแสดง  โดยซ้อมก่อนล่วงหน้าเป็เดือน ๆ มีการประชันกันอย่างเต็มที่
  • เด็ก ๆ มิได้คิดเอง  การแสดงส่วนใหญ่ไม่ตรงตามเป้าประสงค์ในการเข้าค่ายลูกเสือมากนัก
  • ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น อาจนอกประเด็นไปหน่อย แต่อยากแสดงค่ะ
  • นำสิ่งของใช้แล้วมาใช้ใหม่ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ
  • คิดถึงคำพูดของ "เศรษฐีขยะ" ที่พิษณุโลก
  • บอกว่า "วันๆ มีแต่คนเอาเงินมาเหวี่ยงใส่บ้านผม
  • กราวๆๆ" หมายความว่า เอาขยะมาขายนะครับ

สวัสดีค่ะครูอิง

ลำดวนก็เห็นตรงกับครูอิงด้วยในเรื่องการแสดงในการอยู่ค่ายลูกเสือ....

"......แต่สมัยปัจจุบัน เข้าค่ายลูกเสือทีไร โรงเรียนจะเตรียมการแสดงแบบอลังการไปแสดง โดยซ้อมก่อนล่วงหน้าเป็เดือน ๆ มีการประชันกันอย่างเต็มที่

เด็ก ๆ มิได้คิดเอง การแสดงส่วนใหญ่ไม่ตรงตามเป้าประสงค์ในการเข้าค่ายลูกเสือมากนัก...."

ถ้าเราปล่อยเด็กใหเขาคิดเอง ทำเอง

เราอาจได้เห็นความคิดสร้างสรรค์แปลกๆที่น่าสนใจนะคะ

ขอบคุณมากๆค่ะที่เป็นกัลยาณมิตรที่ให้กำลังใจมากมายค่ะ

โสภณ เปียสนิท สวัสดีค่ะ

เศรษฐีขยะ มีเยอะนะคะที่รวยจากขยะ

และขยะบางชิ้นนำมาต่อยอดผลิตเป็นสิ่งประดิษฐ์

ของเล่น ของใช้ ของประดับตกแต่งได้นะคะ

        มาให้กำลังใจเด็กๆเตรียมชื้นงานเพื่อการแข่งขันนะคะ  ต้องเด็กๆคิดเองเราห้ามช่วยคิด อ่านบันทึกนี้แล้ว  ทำเอาผู้ใหญ่อย่างเราอยากทำอะไรใหม่ๆบ้างแล้วค่ะ เตรียมๆไว้เหมือนกันนะคะ บันทึกนี้เป็นเรื่องวิชาการ ตอนแรกจะนำคำตอบมาให้  คุณลำดวนคลิกไปอ่านอีกครั้งนะคะ  http://gotoknow.org/blog/kanda02/450849  ขอบคุณมากค่ะ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะคุณกานดา

".....ต้องเด็กๆคิดเองเราห้ามช่วยคิด ...."

นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะปล่อยเด็กคิดเอง ทำเองค่ะ

ขอบคุณมากนะคะทีกรุณาตอบ

จะตามไปถามน้องแจ๋วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท