การถอดความรู้งานพัฒนาชุมชน


ความแตกต่างระหว่างข้อมูล-บทเรียน/ประสบการณ์-องค์ความรู้ -ภูมิปัญญา
การถอดความรู้งานพัฒนาชุมชน
อ.กู้เกียรติ ญาติเสมอ 
อาจารย์พิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
 ความแตกต่างระหว่างข้อมูล-บทเรียน/ประสบการณ์-องค์ความรู้ -ภูมิปัญญา
ข้อมูลได้จากการเก็บรวบรวม เป็นบันทึกการกระทำในเรื่องนั้นๆอย่างเป็นขั้นตอน มีตัวเลขเชิงปริมาณ มีการบรรยายเชิงคุณภาพข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้
      บทเรียน/ประสบการณ์ได้จากการสรุปทบทวนกระบวนการทำงานที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์กระบวนการทำงานในเรื่องนั้นๆเพื่อค้นหาว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
     องค์ความรู้ได้จากการนำชุดบทเรียน/ประสบการณ์มาปฏิบัติซ้ำ พัฒนายกระดับการทำงานอย่างต่อเนื่องจนเกิดความชัดเจน มีการถ่ายทอดได้ เขียนเป็นหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ได้
    ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้จริง สั่งสม สืบทอดกันอยู่ในชุมชนท้องถิ่นกันมายาวนาน
  • การถอดความรู้คืออะไร?
  • การถอดความรู้คือการสืบค้นความเป็นมา/กระบวนการ/วิธีการทำงาน/ปัจจัยความสำเร็จ/ปัญหาและวิธีแก้ไขของกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาไม่เน้นระเบียบวิธีเหมือนงานวิจัย เน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ เล่าเรื่อง
  • สังเคราะห์จับประเด็นให้ได้กระบวนวิธีการทำงานในเชิงบทเรียนประสบการณ์ที่ดำเนินการผ่านมาจริง
  • ผลลัพธ์จะเป็นเอกสารที่แสดงออกมาง่ายๆไม่ซับซ้อนผู้ที่สนใจนำไปปรับใช้ได้โดยง่าย
งานพัฒนาชุมชน คืออะไร
  • งานพัฒนาชุมชน คือการทำงานร่วมกับประชาชนเพื่อทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือ เกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมตามเจตจำนงของประชาชนเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนเอง
ชุมชนที่พัฒนา คือชุมชนที่ประชาชนมีความสามารถในการพึ่งตนเองได้ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการจัดการกับปัญหาและสนองความต้องการต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองได้
  • ขั้นตอนการถอดความรู้ชุมชน
1.เตรียมทีม ได้แก่ คนตั้งคำถาม คนจดบันทึกและจับประเด็น คนบันทึกเทปหรือถ่ายภาพ
2.เตรียมอุปกรณ์ สมุดบันทึก ปากกา       เทปบันทึกเสียง กล้องวิดิทัศน์ กล้องบันทึกภาพ
3.เตรียมกรอบเนื้อหา/ประเด็น
4.เตรียมแนวคำถาม/แนวสัมภาษณ์
5.เตรียมงบประมาณ
6.เตรียมกลุ่มเป้าหมาย
7.ปฏิบัติการถอดความรู้
8.ประมวล/สรุปข้อมูล/วิเคราะห์/สังเคราะห์
9.การเขียนรายงาน
10.การนำเสนอและใช้ประโยชน์/ขยายผล
  • เครื่องมือการถอดความรู้
1.เทคนิคพลังเรื่องเล่า
2.การสนทนากลุ่ม
3.การสัมภาษณ์เจาะลึก
4.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR)  ฯลฯ
1.เทคนิคพลังเรื่องเล่า                            
  เครื่องมือที่สำคัญ คือ การฟังและการเล่า     
หัวใจสำคัญของการถอดความรู้ด้วยพลังเรื่องเล่า คือ
  1. การฟัง
  2. การคิด
  3. วิเคราะห์
  4. การตั้งคำถาม
  5. การจดบันทึก
  6. การสังเคราะห์
  7. การเขียนสรุปประมวลผล
วิธีการใช้เทคนิคพลังเรื่องเล่าถอดความรู้
1.แนะนำตัว/บอกวัตถุประสงค์/สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
2.การเปิดประเด็นคำถามใช้ การกระตุ้นถามให้ตอบเชิงเล่าเรื่อง
3.ถามเจาะลึกใช้คำถาม 3 ชั้น 1.คืออะไร 2.เป็นอย่างไร 3.ทำไมเป็นอย่างนั้น
4.เก็บตก
5.กล่าวลา/ขอบคุณ
เครื่องมือบันทึกผล = MIND MAPPING/ฟลิปชาร์ท/กระดาษสี
 การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติ(After Action Review - AAR)
  • แนวคิดในการดำเนินกิจกรรม (AAR)

           AAR เป็นแนวคิดกระบวนการกลุ่ม  ประเภทหนึ่งซึ่งใช้เพื่อการถอดความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล(Tacit Knowledge) ออกมาเป็นความรู้ที่ปรากฏชัดเจน(Explicit Knowledge) ผ่านกระบวนการเล่าเรื่อง (Story Telling)
  • คําถาม AAR  คือ

         1. สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการทํางานคืออะไร?

         2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร หรือเป็นอย่างไร?

         3. ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น? (ทำไมต่างกัน)

         4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการ ลด/แก้ความแตกต่างคือ       อะไร?(คราวหน้าจะทำอย่างไร?)  
  • 7 ขั้นตอนกับ AAR
1. คุณควรทําAAR ทันทีทันใดหรืออย่างเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ
2. ไมมีการกล่าวโทษ ซํ้าเติม ตอกยํ้าซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง  มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง
3. มี“คุณอํานวย” คอยอํานวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคําถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน
4. ถามตัวคุณเองว่าสิ่งที่คุณควรได้รับคืออะไร
5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
6. ความแตกต่างคืออะไร ทําไมจึงต่างกัน
7. จดบันทึกเพื่อเตือนความจําว่าวิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนํามาแก้ปัญหา
ต้องคัดเลือกให้ได้ผู้เข้าร่วมสนทนาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogeneous) หรือ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น เพศ อายุ อาชีพ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส

 n เครื่องบันทึกเสียง และ อุปกรณ์ ควรมีสำรองเพื่อป้องกันการผิดพลาด

“คุณได้ข้อมูลเกี่ยวกับ…มาอย่างไร”

“คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิญญาณ”

n ควรมีประมาณ 6 – 10 คำถาม

  • แนวทางในการสนทนากลุ่ม

    (Group Discussion Guide)

n ดูแลบริการเครื่องดี่มและของขบเคี้ยวแก่ผู้ร่วมสนทนา

n คอยควบคุมเครื่องบันทึกเสียง และ เปลี่ยนเทปขณะที่ทำการสนทนา

n จัดเตรียมอุปกรณ์สนามให้พร้อม

n สังเกตพฤติกรรมของผู้ร่วมสนทนา

n ยืดหยุ่น เปิดใจ อดทนต่อการรบกวน/ไม่ร่วมมือ

n ควบคุมประเด็น และ จังหวะของการสนทนา และ เวลา

n ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดสนทนากลุ่ม

  • ความหมายการสนทนากลุ่ม
  • การสนทนากลุ่ม เป็นเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีหนึ่ง
  • ใช้การสนทนากลุ่มสมาชิกที่มีลักษณะเหมือนกัน ประมาณ 6 – 12 คน
  • มีผู้ดำเนินการสนทนา เป็นผู้สร้างให้เกิดบรรยากาศของความเป็นกันเองในกลุ่ม จุดประเด็นคำถาม (ซึ่งนักวิจัยอยากหาคำตอบจากกลุ่ม) และคอยกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มผู้ร่วมสนทนาได้มีการพูดคุย ซักถาม และ โต้ตอบกันอย่างกว้างขวางและเป็นธรรมชาติ
  • ใช้เวลาสนทนานานประมาณ 45 นาที ถึง หนึ่งชั่วโมงครี่ง
  • คุณลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนา (Characteristics of Moderator/Facilitator)
  • n ผู้ดำเนินการสนทนา ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้การสนทนาบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
  • – รู้ถึงความต้องการ หรือ เป้าหมายของโครงการเป็นอย่างดี
  • – มีบุคลิกภาพดี
  • – มีมนุษย์สัมพันธ์ สุภาพ อ่อนโยน มีอารมณ์ขัน
  • – สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
  • – สามารถพูด หรือ ใช้ภาษาท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารได้
    • บทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินการสนทนา
แนวคิดและเทคนิคการสนทนากลุ่ม

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 450799เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2011 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ติดตามมาอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท