การถอดความรู้ จะตั้งคำถามอย่างไร?


ความรู้ในนิยามของท่านคืออะไร ท่านเชื่อว่าอะไรคือความรู้ครับ

โจทย์คำถามที่ผมตั้งเป็นหัวข้อการเขียนบันทึกนี้เป็นคำถามที่คนทำงานจัดการความรู้สงสัยและอยากได้คำตอบที่ชัดเจน หลายครั้งได้รับมอบหมายให้ไปจัดเก็บความรู้ หรือไปถอดความรู้ "วามรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)"ของบุคลากร ที่หน่วยงานหรือตัวเราต้องการความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ แต่ไม่รู้จะไปถามอะไรเขา ประเด็นนี้ผมได้รับคำถามมากมายที่ต้องการให้ผมตอบโจทย์หรือตั้งข้อคำถามนี้ให้ วันนี้ผมปลีกเวลาจากงานหลายๆด้านมาชวนท่านตั้งคำถามและคิดไปพร้อมๆกันนะครับ

       ในการไปจัดการหรือจัดเก็บหรือสกัดความรู้บุคคลเพื่อแสวงหาเทคนิคการแก้ปัญหาหรือเทคนิควิธีในการทำงานที่ดี ทำแล้วประสบผมสำเร็จนั้น สิ่งที่เป็นคำถามต้องถามตัวเราก่อนครับ ถ้าท่านตอบตัวเองได้ท่านก็จะจัดเก็บหรือจัดการความรู้ได้และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างคำถามที่ท่านต้องตอบให้ชัดก่อนเริ่มจาก

  1. ความรู้ในนิยามของท่านคืออะไร ท่านเชื่อว่าอะไรคือความรู้ครับ

ความรู้ที่ว่านี้สำคัญต่อท่านอย่างไร จำเป็นแค่ไหน จะใช้ไปทำอะไร(หาแหล่งความรู้ (Knowledge Sources))

  1. ความรู้ที่ว่านี้ใครรู้ ใครเก่ง ใครชำนาญ ใครเคยมีประสบการณ์ครับ มีกี่คน อยู่ที่ไหน ใครเก่งกว่าใคร
  2. ท่านจะตั้งคำถามเพื่อสกัดความรู้เขาอย่างไรบ้าง
  3. จะบันทึกความรู้ที่ว่านี้อย่างไร ใช้เครื่องทุ่นแรงอะไรช่วย หรือต้องมีคนช่วยหรือเปล่า ทำคนเดียวได้มั้ย
  4. ไปเมื่อไร วันเวลา สถานที่ ที่สะดวก(เอื้อความสะดวกให้เจ้าของความรู้เป็นสำคัญ)

 นี่เป็นคำถามแรกๆที่ท่านต้องตอบให้ชัดเจน ทะลุและเตรียมการให้พร้อม สำหรับคำถามเพื่อใช้ในการสนทนาเพื่อจัดเก็บหรือบันทึกความรู้ เป็นการดักจับความรู้(Capture Knowledge) จากเรื่องที่ผู้รู้เล่าให้ฟัง (Story Telling) เป็นชุดคำถามที่ท่านต้องโยนข้อสงสัยเหล่านี้ให้ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ตอบนะครับ นี่เป็นตัวอย่างที่ใช้ในการชวนคนเก่งเล่าเรื่องความสำเร็จ เช่น จากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ผ่านมาท่านมีทักษะหรือเทคนิคที่ดีในการจัดการกับสิ่งนั้นอย่างไร (มีกระบวนการ ขั้นตอนและเทคนิควิธีการในแต่ละขั้นดอนอย่างไรบ้าง) มีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำงานหรือข้อพึงระวังอย่างไร  เกิดบทเรียนสำคัญอะไรบ้าง อะไรที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานนั้นสำเร็จ หากเราใช้ภาษาการพูดจาและตั้งคำถามแบบง่ายๆ เป็นการเปิดประเด็นให้เป้าหมายเล่าเรื่อง ท่านทำอย่างไร จึงสำเร็จ บอกความเป็นมาของภูมิปัญญา เล่ากระบวนการขั้นตอน เทคนิควิธีการ กลม็ดเคล็ดลับ

       ในการตั้งคำถามเพื่อถอดบทเรียนหรือสกัดความรู้ในตัวคน ดังที่กล่าวมา จะต้องทราบเป้าาหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จึงจะกำหนดเป็นข้อคำถามในการสรุปต่อไปนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 450802เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2011 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาร่วมเรียนรู้ในการตั้งคำถามในการถอดบทเรียนครับ

ขยันมากครับ...ขอชมเชย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท