ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การจัดการความรู้ของบัณฑิต


บัณฑิตคืนถิ่น คือผู้ที่จะสร้างความยั่งยืนในชุมชน

วันนี้มีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุม ติดตามงานตามโครงการบัณฑิตคืนถิ่นที่สนับสนุนโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด อำเภอขุขันธุ์ จังหวัดศรีสะเกษ นับเป็นพื้นที่ของเครือข่าย ที่มีบัณฑิตจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน

ในเบื้องต้น คุณเล็ก ในฐานะเลขานุการผู้ประสานงานระดับภาค ได้พูดคุยน้องๆ บัณฑิต ที่มีหัวใจรักบ้านเกิดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เกี่ยวกับเป้าหมายของโครงการ โดยสรุปสาระสำคัญๆ ให้น้องฟังว่า เป้าหมายของโครงการนั้นมีอยู่ 3 ข้อ คือ 

  1. มุ่งให้ชุมชนท้องถิ่น สร้างเสริมและพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักงานพัฒนาท้องถิ่น  ให้สามารถเป็นแกนนำหลักต่อไปได้ในอนาคต
  2. มุ่งให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ สร้างรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชุมชนกับสังคมภายนอก
  3. มุ่งเสนอทางเลือกใหม่ โดยการให้การศึกษาต่อสังคมเพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังหลักในการพัฒนาท้องถิ่น

จากนั้นได้จัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประเด็นในการที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งของตนเอง และชุมชนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการในช่วงเช้า

ภาพกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ภาพนี้ พี่นุ๊ก ในฐานะบัณฑิตรุ่นพี่ กำลังเล่าประสบการณ์ให้น้องๆ ฟังว่า หลังจากที่ตนเองเรียนจบจากเชียงใหม่แล้ว ได้กลับมาทำงานที่บ้านเกิดที่จังหวัดสุรินทร์ และได้เข้าร่วมโครงการบัณฑิตคืนถิ่นรุ่นที่ 3 การทำงานกับชุมชนในช่วงแรกลำบากมาก เนื่องจากชาวบ้านไม่ให้การยอมรับ เนื่องจากตนเองเป็นลูกของคนไทยที่พูดภาษาเขมรทั้งหมู่บ้าน แต่ตนเองพูดภาษาเขมรไม่ได้ เพราะพ่อแม่ไม่สอนให้พูด และตอนที่ตนเองเป็นเด็กพ่อแม่พาไปอยูภาคเหนือตลอด เลยพูดไม่ได้

หลังจากเรียนจบ จึงอยากใช้ชีวิตแบบสบายๆ ทำการเกษตร และต้องการสานต่อแนวคิดของคุณตา ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน (พ่อมหาอยู่ สุนทรธัย) แต่ตอนนี้ท่านเสียชีวิตแล้ว เป็นความลำบากมากในการทำงานในช่วงแรก เนื่องจากไปชวนชาวบ้านทำเกษตร และเขาไม่ให้ความร่วมมือ และยังถูกประณามจากชาวบ้านด้วยว่า "เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ" (เป็นลูกของคนเขมร แต่พูดภาษาเขมรไม่ได้ แล้วจะมาพาคนเขมรทำการเกษตรได้อย่างไร)ทำให้พี่นุ๊กต้องทนแรงเสียดทานเป็นอย่างมาก กับคำพูดที่เสียๆ หายๆ บารมีของคุณตาแทบช่วยอะไรไม่ได้เลยในสถานการณ์อย่างนั้น อีกทั้งเวลาพูดกับเขาเป็นภาษาไทยกลางกับชาวบ้าน และชาวบ้านฟังรู้เรื่อง แต่เขากลับพูดภาษาเขมรกับพี่นุ๊ก ซึ่งพี่นุ๊กก็ฟังไม่รู้เรื่อง ถึงแม้จะเชิญชวนโดยการชักแม่น้ำทั้งห้า หาของไปฝากครั้งแล้วครั้งเล่า เขาก็ไม่ให้ความร่วมมือ

ต่อมาประมาณหนึ่งเดือนพี่นุ๊กได้มานั่งทบทวนตัวเองว่าจะทำอย่างไรดี จึงคิดได้ว่าคงมีหนทางเดียวที่จะให้ความร่วมมือ คือ ต้องหาคนที่พูดภาษาเขมรได้ไปด้วย จากนั้นพี่นุ๊กจึงได้ชวนน้าชาย ซึ่งพูดภาษาเขมรได้ ไปด้วยทุกๆ ครั้งเมื่อออกชุมชน และให้น้าช่วยพูด และอธิบายให้เขาฟัง ชาวบ้านจึงเริ่มที่จะเข้าใจ และให้ความร่วมมือ แต่ก็ต้องเสียเวลาไปกว่า 3 เดือน  และตอนนี้ชาวบ้านให้ความร่วมมือที่ดี และก็ทำงานร่วมกันได้ดี

นับเป็นการสะท้อนภาพให้บัณฑิตรุ่นใหม่ ได้เห็นถึงความอดทน และกระบวนการปรับตัวสำหรับนักพัฒนาที่จะต้องเรียนรู้วิธีการทำงานเพื่อให้เข้ากับบริบทของชุมชนที่ดี อันจะนำไปสู่เป้าหมายของงานได้

                                              

บรรยากาศการกินข้าวร่วมกัน                  

 

 เยี่ยมชมแปลงของบัณฑิต (คุณสุพิศ) 

 

 ภาพเยี่ยมชมแปลงเกษตรประณีต คุณครรชิต  เทศขันธ์

คำสำคัญ (Tags): #บัณฑิตคืนถิ่น
หมายเลขบันทึก: 451065เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากให้มีการสืบสานต่อแนวคิด อย่าทำเป็นไฟไหม้ฟางนะคะ
เป้าหมาย 3 ประการ อ่านดูแล้วดูเหมือนไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมที่ให้จับต้องดำเนินต่อได้เลย : )

ขอบคุณอาจาร์มากครับสำหรับความรู้ วันนี้ได้อะไรมากจริงๆ

ขอบคุณมากครับ ที่ได้เข้ามาให้กำลังใจ

สำหรับผลที่จะเกิดขึ้น ก็คงสำเร็จที่เป็นต้นกล้าใหม่ที่ยั่งยืนบ้าง

อาจารย์หายไปนาน สบายดีนะครับ...

ขอบคุณมากครับอาจารย์ดร.ขจิต สบายดีครับ หวังว่าอาจารย์สบายดีเช่นกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท