ผลของโปรแกรมค่ายเบาหวานไม่พักแรมต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและความรู้เพื่อการดูแลตนเองของผู้ปวยเบาหวานชนิดที่๒


ค่ายเบาหวาน

ชื่อเรื่อง ผลของกิจกรรมค่ายเบาหวานไม่พักแรม ต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ความรู้เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่๒ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

บทนำและวัตถุประสงค์ เบาหวานเกิดขึ้นกับประชากรทั่วโลกคน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยามีผู้ป่วยเบาหวานเป็นจำนวนมากติดอันดับ๑ใน๕อันดับแรกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต๑ใน๑๐ อันดับแรกของโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น การจัดโปรแกรมค่ายเบาหวานไม่พักแรมมีวัตถุประสงค์เพื่อ๑)ศึกษาความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ๒) ศึกษาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน วิธีการศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา คัดเลือกอย่างมีเงื่อนไข จำนวน๓๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ, Pair t-test (P<.05)

ผลการศึกษา พบว่าความรู้ของผู้ป่วยเบาหวานเรื่องโรคเบาหวานและการดูแลตนเองหลังการเข้าร่วมโปรแกรมค่ายเบาหวานไม่พักแรมแล้ว ๖ เดือน มากกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ(P<.05) และระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1C) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการเข้าร่วมโปรแกรมค่ายเบาหวานไม่พักแรมน้อยกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาอาจกล่าวได้ว่าเมื่อผู้ป่วยเบาหวานได้รับความรู้เรื่องโรคและการดูแลตนเอง การได้มีประสบการณ์ร่วมกับการฝึกปฏิบัติเรื่องการดูแลเท้า เรื่องการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะส่งผล ต่อการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งเกิดจากการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นคือทีมผู้ให้บริการและผู้ป่วยที่มาร่วมเข้ากิจกรรมค่ายเบาหวานด้วยกันทำให้ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลงซึ่งสอดคล้องกับหลายการศึกษา ดังนั้นโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังจึงเหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มโรคเรื้อรังเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีการปรับตัวเข้ากับภาวะสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมต่อไป โรงพยาบาลจึงควรจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้(Setting for Leaning) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้เรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองปรับตัวเข้ากับโรคและการเจ็บป่วยได้อย่างเป็นปกติสุข 

หมายเลขบันทึก: 451084เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เยี่ยมมากๆคุณหนู
  • ตามมาเชียร์
  • สมาชิกสบายดีไหมครับ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ พึ่งมีโอกาสได้เปิดอ่าน เพราะมัวแต่หนีน้องน้ำอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท