ทิศทางองค์กร


ปรัชญา

            วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า   จังหวัดเพชรบุรี   เชื่อว่า ผลผลิตจะเป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่มีคุณค่า               ดุจเพชรน้ำหนึ่ง  กอปรด้วยความรู้  ความสามารถเชิงวิชาชีพ  สามารถให้บริการสุขภาพและปฏิบัติงานร่วมกับทีมสุขภาพหรือชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับสากล   เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม    จริยธรรม  มีความฉลาดทางอารมณ์  เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม 

 

ปณิธาน       งาม สง่า  มีคุณค่า อ่อนโยนและเข้มแข็ง   

 

วิสัยทัศน์      

                  สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศ  แหล่งการเรียนรู้  ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ  ที่เน้นชุมชน   

 

พันธกิจ   

   ๑.    ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ

        ๒.   วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้

        ๓.    ให้บริการวิชาการแก่สังคม

             ๔.    ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

 

วัตถุประสงค์ 

              ๑.  ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพที่เน้นชุมชนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ/ นานาชาติ

                ๒.  วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อใช้ในการผลิต  พัฒนากำลังคนด้านสุขภาพและพัฒนาระบบสุขภาพ

                ๓.  ให้บริการวิชาการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาองค์กรให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

        ๔.ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

นโยบายวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า  จังหวัดเพชรบุรี   ปรับครึ่งแผน เมย.๒๕๕๓

 

วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี  เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  พัฒนาวิทยาลัยฯ   ให้มีความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร  การให้บริการวิชาการแก่สังคม  การศึกษาวิจัยและผลิตผลงานวิชาการ   การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม   การพัฒนากิจการนักศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา  มีคุณภาพและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม    กำหนดนโยบาย ดังนี้

.นโยบายด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ   ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพให้ตอบสนองกับความต้องการของชุมชน ให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงกับสถาบันอุดมศึกษาระดับชาติและอาเซียน

.นโยบายด้านส่งเสริมวิชาการ      มุ่งพัฒนาคุณวุฒิและสมรรถนะของบุคลากร   พัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง  เป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ   ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการ / งานสร้างสรรค์   ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและอาเซียน  

.นโยบายด้านบริการวิชาการ      พัฒนาการให้บริการวิชาการเชิงรุกและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพโดยตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในระดับชาติ

.นโยบายด้านการบริหารจัดการ      พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์   โดยเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัย  

๕.นโยบายด้านการเงินและงบประมาณ    พัฒนาระบบการจัดการด้านการเงินและงบประมาณเพื่อการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

๖.นโยบายด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ        พัฒนาและการจัดการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

.นโยบายด้านพัฒนานักศึกษา      เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษามีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม   มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างภายใน  ภายนอกสถาบันและชุมชน

.นโยบายด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและเสริมสร้างอัตลักษณ์ของสถาบัน     ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่บูรณาการกิจกรรมนักศึกษาร่วมกับพันธกิจหลักด้านอื่นๆ  ของวิทยาลัย       รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ  อนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  

.นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา  ใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้มีคุณภาพระดับชาติ  โดยส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้วยระบบคุณภาพ   

 

ประเด็นยุทธศาสตร์   ได้พิจารณาปรับแผนกลยุทธ์เดิมให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก  ยุทธศาสตร์ของชาติ รวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดเพชรบุรี  ดังนี้

          ๑. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับชาติ/อาเซียน   (สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช. ๑ ) 

          ๒. ส่งเสริมบริการวิชาการเชิงรุกและเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน และตอบ สนองกับความต้องการของชุมชน (สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช. ๒ ) 

             ๓. เร่งรัดพัฒนาคุณวุฒิและสมรรถนะในการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากรทุกระดับ ( สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช. ๑ และ ๒  )

             ๔. เร่งรัดการผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เน้นชุมชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ / อาเซียน   (สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช. ๓ )

            . พัฒนาระบบและการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ  (สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช. ๑,๒,๓)

              ๖.พัฒนาระบบและกลไกการบริหารทรัพยากรบุคคล  การเงินและงบประมาณ อย่างมีส่วนร่วมและมีประสิทธิภาพ  (สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของสบช.  ๑,๒,๓)

 

เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์  

             มิติประสิทธิผลตามแผนยุทธศาสตร์

๑. ผู้สำเร็จการศึกษามีจำนวนตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในระดับชาติ/ อาเซียน

๒. บุคลากรด้านสุขภาพที่ได้รับการพัฒนาและผู้รับบริการวิชาการมีจำนวนและสมรรถนะ ในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในระดับชาติ / อาเซียน

๓.  ผลงานวิชาการที่เน้นชุมชนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ / อาเซียน

             มิติคุณภาพการให้บริการ

๔. การจัดการศึกษามีคุณภาพ

๕. การบริการวิชาการและการพัฒนาบุคลากรมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากชุมชน ในระดับชาติ / อาเซียน 

             มิติประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

๖. พัฒนาหลักสูตรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหลักสูตร/การเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพ

๗.เสริมสร้าง/เพิ่มแรงจูงใจในการผลิตผลงานงานวิชาการ

๘. เพิ่มและพัฒนาการประชาสัมพันธ์ แก่กลุ่มเป้าหมายใหม่ และกลุ่มผลผลิตหลักของสถาบัน

๙.  เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ

๑๐. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกระดับทั้งในระดับชาติ / อาเซียน 

             มิติการพัฒนาองค์กร

๑๑. พัฒนาศักยภาพบุคลากร

๑๒.พัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการทำงานอย่างมีความสุข

๑๓. พัฒนาระบบและการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย   

๑๔. บริหารจัดการองค์กรให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัวสอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบราชการไทย

 

 

กลยุทธ์วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี  ปีงบประมาณ  ๒๕๕๓  ( ปรับครึ่งแผน เมษายน 2553 )

 

กลยุทธ์ที่  ๑   พัฒนามาตรฐานการจัดการศึกษาและส่งเสริมให้ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการสอบขึ้นทะเบียน

                     ใบประกอบวิชาชีพบรรลุตามเป้าหมายของวิทยาลัยฯ และมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

กลยุทธ์ที่  ๒  สนับสนุนการให้การบริการวิชาการเชิงรุกและพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

กลยุทธ์ที่  ๓  เร่งรัดการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการที่เน้นชุมชนให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและ

                     นานาชาติ 

กลยุทธ์ที่   ๔  เสริมสร้างอัตลักษณ์ของสถาบัน       

กลยุทธ์ที่   ๕  พัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กรและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ 

กลยุทธ์ที่   ๖   พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อตอบสนองการบริหาร

                       จัดการภาครัฐ 

กลยุทธ์ที่   ๗  พัฒนาการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ  

กลยุทธ์ที่   ๘   พัฒนาการจัดการความรู้เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่   ๙   สนับสนุนให้บุคลากร ทุกระดับใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกในการ

                        ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ (Tags): #ทิศทางองค์กร
หมายเลขบันทึก: 452574เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท