KM…VS…บทบาทของห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์กับชีวิต


ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความสัมพันธ์กับชีวิตตั้งแต่เกิด...จนตาย

            ห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์นั้นประกอบด้วยงานเจาะเลือด งานชีวเคมี งานโลหิตวิทยา งานอิมมูโนวิทยา งานธนาคารเลือด งานจุลทรรศน์วิทยาและงานจุลชีววิทยา ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค การติดตามผลการรักษา การพยากรณ์โรคและการป้องกันโรคหรือการประเมินภาวะสุขภาพ โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการตรวจ การทดสอบ วิเคราะห์วิจัยและการรายงานผลให้แพทย์ประกอบการารักษา โดยใช้ตัวอย่างตรวจคือเลือด อุจจาระ-ปัสสาวะ เสมหะและสารคัดหลั่งของร่างกายเป็นต้น

 

 

          ในเรื่องของการจัดการความรู้(KM)ซึ่งมีขบวนการจัดการความรู้(KM Process) นั้นก็มีแทรกอยู่ในขั้นตอนการทำงานของห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นจึงนับว่าห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพอย่างยิ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการจัดการความรู้ทั้ง 7 ขั้นตอนดังนี้

1.      การค้นหาความรู้    ห้องปฏิบัติการมีการประเมินความต้องการในการพัฒนาความรู้รวมถึงด้านทักษะ ความชำนาญของบุคลากร อีกทั้งมีการจัดการอบรมให้ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งห้องปฏิบัติการก็ค้นหาเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้เพื่อนำมาพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ให้มีความทันสมัย 

2.      การสร้างและแสวงหาความรู้    ห้องปฏิบัติการได้มีการการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอยู่เสมออีกทั้งได้จัดอบรมและพัฒนาความรู้ให้บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมกิจกรรมให้บุคลากรได้ไปดูงานBest Practice เช่นด้านการป้องกันการติดเชื้อ ที่โรงพยาบาลบำราษฏร์นราดูร เป็นต้น เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนางาน

3.      การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ   ห้องปฏิบัติการได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบ LIS ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์ของห้องปฏิบัติการมาใช้ในการจัดเก็บลงในฐานข้อมูลและส่งผลระบบออนไลน์ ง่ายและสะดวกต่อแพทย์ในการดูผลการรักษาและยังใช้ระบบสารสนเทศเพื่อมาจัดการความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงและง่ายต่อการใช้งาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นคลังความรู้ 

4.      การประมวลและกลั่นกรองความรู้    ความรู้ด้านต่างๆทางห้องปฏิบัติการต้องมีการนำมาผ่านการวิเคราะห์และประมวลว่าความรู้ไหนบ้าง?ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการทำงานและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมกระตุ้นให้บุคลากรใช้ประสบการณ์การทำงานมาประมวลและกลั่นกรองเพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ รวมถึงร่วมกันทำกิจกรรมการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อสะดวกในการค้นหา จัดเก็บและง่ายต่อการเข้าถึง เช่นการจัดทำคู่มือการใช้บริการตรวจทางห้อปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ กลุ่มงานพยาธิ  

5.      การเข้าถึงความรู้    ทางห้องปฏิบัติการได้จัดให้มีการจัดอบรมด้านการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อการสื่อสารในการเข้าถึงความรู้ที่ต้องการ อีกทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์การใช้ห้องสมุดเพื่อเกิดการใช้ความรู้และเกิดการเข้าถึงความรู้ของหน่วยงาน เนื่องจากมีความรู้ใหม่ๆที่เกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นการเข้าถึงความรู้ต้องง่ายต่อการใช้งานและเข้าถึงของผู้ปฏิบัติงานจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

6.      การแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ทางห้องปฏิบัติการจัดให้มีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนงานในแต่ละงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน อีกทั้งจัดให้มีการสอนงานให้บุคลากรที่มาใหม่หรือต่ำกว่าได้เรียนรู้งาน รวมถึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้ปัญหาและวิธีการแก้ไขที่เกิดขึ้นและนำความรู้ที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้กับงานที่ทำ รวมถึงการเผยแพร่เทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยระหว่างกันและได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่บล็อกชื่อ รวมพลคนพยาธิ NCI  URL:http://gotoknow.org/blog/labcancer

7.      การเรียนรู้    ห้องปฏิบัติการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมบุคลากรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์คิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆเป็นการเพิ่มมูลค่าให้องค์กร รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการต้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ  เพื่อนำมาปรับปรุงการพัฒนางานให้ทันสมัย ได้มาตรฐานและสามารถสู้หน่วยงานอื่นได้ในยุคที่มีการแข่งขันสูง

 

 

ลองมาดูว่าห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตตั้งแต่เกิด..จนตายได้อย่างไร?......

          ก่อนเกิด    ห้องปฏิบัติการมีบทบาทตั้งแต่ก่อนเกิด เมื่ออยากมีลูกก็จะมีการเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ คนเป็นพ่อ-แม่ก็พยายามศึกษาข้อมูล ความพร้อมในการมีบุตร โดยไปหาหมอและได้ไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคต่างๆและฉีดวัคซีนป้องกันเช่น หัดเยอร์มัน ไวรัสตับอักเสบชนิดบี เป็นต้น หาโรคซิฟิลิส ซึ่งสามารถส่งผลกระทบกับเด็กแรกเกิดได้

          ซึ่งห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจวิเคราะห์หาโรคตางๆที่อาจจะถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตของคู่สมรสและบุตรที่จะเกิดมาได้ เช่น โรคธาลาสซีเมีย โรคเบาหวาน โรคเอดส์เป็นต้น  (งานที่มีบทบาทคือ งานโลหิตวิทยา / งานชีวเคมี / งานอิมมูโนวิทยา)

 

          ตอนตั้งครรภ์    ผู้เป็นพ่อ-แม่ต้องหาหนังสือมาอ่าน เพื่อค้นหาความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กในครรภ์ในด้านต่างๆ เมื่อไปหาหมอก็ต้องถูกสั่งให้เจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจความพร้อมเพื่อหาภาวการณ์ตั้งครรภ์เป็นพิษ  หรือความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะมีอันตรายกับเด็กในครรภ์ได้  (งานที่มีบทบาทคือ งานโลหิตวิทยา / งานจุลทรรศน์วิทยา / งานอิมมูโนวิทยา )

 

          วัยเด็ก    เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องปรับตัวให้ร่างกายเกิดความสมดุล ซึ่งบางครั้งต้องเจาะเลือดหาภูมิคุ้มกันของโรคต่างๆ การฉีดวัคซีนป้องกัน ตรวจหาพยาธิหรือเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุของโรค  (งานที่มีบทบาทคือ งานโลหิตวิทยา / งานจุลทรรศน์วิทยา / งานอิมมูโนวิทยา / งานชีวเคมี )

 

          วัยรุ่น     การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคต่างๆซึ่งจำเป็น เช่น โรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อต่างๆ โรคเอดส์ เริม  ภาวะการตั้งครรภ์ เป็นต้น (งานที่มีบทบาทคือ งานจุลทรรศน์วิทยา / งานอิมมูโนวิทยา / งานจุลชีววิทยา )

 

          วัยเริ่มทำงาน    พอถึงวัยเริ่มทำงานก็ต้องมีใบรับรองแพทย์ ประกอบการสมัครงานเพื่อดูว่ามีโรคติดต่อที่ร้ายแรงหรือไม่? ก็ต้องดูผลจากการเจาะเลือดร่วมกับตรวจร่างกายอย่างอื่น (งานที่มีบทบาทคือ งานโลหิตวิทยา / งานชีวเคมี / งานอิมมูโนวิทยา / งานจุลทรรศน์วิทยา )

 

          วัยคนทำงานจนถึงวัยกลางคน    เมื่อทำงานหนักและเครียดกับปัญหาชีวิตและการทำงานรวมถึงการสร้างครอบครัว ก็ต้องมีการดูแลสุขภาพจากองค์กรโดยให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี หรือมีการเจ็บป่วยเนื่องจากมีการละเลยสุขภาพ ซึ่งต้องมีการเจาะเลือดเพื่อดูการทำงานของอวัยวะในต่างๆของร่างกายและสารเคมีในร่างกายที่สามารถช่วยบ่งบอกโรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากประสิทธิภาพของร่างกายเริ่มเสื่อมลง ก็มักมีโรคต่างๆมาเยือน บางครั้งอาจต้องนอนรพ.หลายวัน ดังนั้นหลายคนจึงพยายามหาความรู้และสนใจสุขภาพมากขึ้นเช่น การออกกำลังกาย กินอาหารเสริมสุขภาพ หาวิตามินมาบำรุงกำลัง การดูแลตัวเองให้สุขภาพดี อาหารธรรมชาติแมคโคไบโอติคเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง    (งานที่มีบทบาทคือ งานทุกสาขาที่มีอยู่)

 

          วัยกลางคน     คนวัยกลางคนมีการกินดีอยู่ดี มีกำลังซื้อมากจึงมักกินอาหารเกินความต้องการของร่างกายมากขึ้น กินเลี้ยงบ่อยขึ้น ความอ้วนและร่างกายก็ถูกใช้งานมากขึ้นและประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆเริ่มเสื่อมลง มีการเหนื่อยง่ายกว่าตอนวัยทำงาน เมื่อมีการใช้สมองมากก็ทำให้ร่างกายเครียดอ่อนล้า ในส่วนของห้องปฏิบัติการมีการตรวจวิเคราะห์มากที่สุดก็คือช่วงวัยกลางคนนี้เอง เนื่องจากพอร่างกายเริ่มมีการเสื่อมก็ต้องหาสาเหตุของโรคมากมายทั้งด้านโรคเก๊าต์ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การทำงานของตับ ไต หัวใจ การตรวจหาระดับออร์โมนในวัยทองหรือการตรวจหาการบ่งชี้เพื่อหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกหรืออื่นๆ โดยการตรวจเลือด  อุจจาระ-ปัสสาวะ x-rayปอด ตรวจคลื่นหัวใจ โรคแทรกซ้อนอื่นๆที่เริ่มตามมา  ทางห้องปฏิบัติการมีบทบาทสำคัญในเรื่องเหล่านี้ทั้งสิ้น เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรค

 

          การดูแลป้องกันในวัยชรา    ซึ่งพอเริ่มอายุมากขึ้นในวัยชรา ก็มักจะมีโรคประจำตัวซึ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกเจาะเลือด เพื่อดูความเค



ความเห็น (2)

การดูแลป้องกันในวัยชรา    ซึ่งพอเริ่มอายุมากขึ้นในวัยชรา ก็มักจะมีโรคประจำตัวซึ่งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกเจาะเลือด เพื่อดูความเคลื่อนไหวของอาการของโรคว่าดีขึ้นหรือแย่ลง ดังนั้นการเรียนรู้ในการอยู่กับโรคและดูแลร่างกายในขณะเสื่อมสภาพลง ให้เสื่อมลงน้อยที่สุด ทางห้องปฏิบัติการจึงมีบทบาทสำคัญในการตรวจและวินิจฉัยโรคต่างๆตั้งแต่เกิดจนตาย(หาสาเหตุของโรคที่ทำให้ตาย)อีกทั้งเพื่อรักษาหรือติดตามร่องรอยของโรค รวมถึงการป้องกัน

 

          ดังนั้นจะเห็นว่าการทำงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของเราและการจัดการความรู้ก็เช่นกันมีส่วนมาช่วยในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการใช้ขบวนการจัดการความรู้ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่องานยิ่งๆขึ้น

สวัสดีค่ะ

                                   

  • ความสำคัญของการเจาะเลือดไปตรวจวิเคราะห์นั้น มาหาคำตอบได้จากที่นี่ถ้าอยากรู้ว่าหมอสั่งเจาะเลือดไปทำไม? ซึ่งเป็นบล็อคของกลุ่มงานพยาธิวิทยา ซึ่งผึ้งงานได้เขียนไว้ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่การฟังค่ะ

                      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท