สุขภาพคนพิการ


"คิด...รับรู้...ให้ความหมายกับความพิการในมุมมองของคนพิการเองเป็นด่านแรกที่สำคัญของผู้ให้บริการ"

ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ ทุกครั้งที่ออกมาตรวจคนไข้ใน สอ.เครือข่าย นี่ก็เป็นเอกสารที่ดีเล่มหนึ่งที่ผมพบ " การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติ รพ.สต. ประสบการณ์การทำงาน สร้างเสริมสุขภาพคนพิการ"

บทที่๑ การทำความเข้าใจ "ความพิการ" และ "สุขภาพ" ในมุมมองของคนพิการ

น.๒๕-น.๒๗ "คิด...รับรู้...ให้ความหมายกับความพิการในมุมมองของคนพิการเองเป็นด่านแรกที่สำคัญของผู้ให้บริการ"

"ความพิการ" อาจถูกอธิบายให้ความหมาย หรือสร้างคำจำกัดความ ผ่านมุมมองที่แตกต่างหลากหลายได้แก่

  • มุมมองเชิงสงเคราะห์(Charitable model of disability) นองความพิการเป็นเรื่องความผิดปกติ สูญเสีย ด้อยโอกาสของบุคคล ที่ควรได้รับความสงสาร เห็นใจและสงเคราะห์ช่วยเหลือให้อยู่รอดในสังคม แนวคิดนี้แม้จะเกื้อกูลกันอยู่บ้าง แต่ก็มักจะปิดบังหรือจำกัดโอกาสที่มนุษย์จะได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ หรือในบางกรณีอาจเป็นการจำกัดหรือละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ของกันและกันไปโดยไม่รู้ตัว
  • มุมมองทางการแพทย์(Medical model of disability) อธิบายว่า ความพิการเป็นผลพวงของการมีพยาธิสภาพของโรคหรือการบาดเจ็บ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ก่อให้เกิดร่องรอยที่เป็นความบกพร่อง(Impairment) ของอวัยวะหรือร่างกาย ซึ่งส่งผลให้มีการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ(Disability) จนหมดโอกาสหรือ กลายเป็นผู้ด้อนโอกาสในสังคม(Handicapped) ดังนั้นมุมมองนี้จึงเห็นว่า ความพิการเป็นปัญหาของบุคคล การแก้ไขปัญหาจึงเน้นที่การจัดบริการส่วนบุคคลให้เพียงพอ
  • มุมมองทางสังคม(Social model of disability) อธิบายว่าความพิการเกิดจากการที่สภาพแวดล้อม และเงื่อนไขต่างๆในสังคมไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม จึงไม่ตอบสนองต่อความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ ดังนั้นจึงมองว่าความพิการเป็นปัญหาทางสังคม การแก้ปัญหาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆทางสังคม
  • มุมมองแบบบูรณาการ(Bio-Psycho-Social model of disability) อธิบายว่า ความพิการเป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาวะสุขภาพของบุคคล ที่เป็นผลรวมของสภาพและการทำงานของร่างกาย ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของบุคคล และการมีโอกาสร่วมในกิจกรรมทางสังคมที่มีความหมายต่อตนเอง ภายใต้บริบทแวดล้อมหนึ่งๆ ทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล ซึ่งเป็นมุมมองที่ใหความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของบุคคล เท่าเทียมกับการร่วมกันจัดการสภาพแวดล้อม ทัศนคติ และเงื่อนไขทางสังคมให้เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลาย

แล้วคุณล่ะครับ มองผู้พิการในมุมไหน ?????

หมายเลขบันทึก: 454118เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลองสมมติว่าตัวเองเป็นคนพิการ

แบบสงเคราะห์ สงสาร ไม่ชอบนัก แต่ถ้าใครมีความสงสารให้ก็น้อนมรับ

ทางการแพทย์ ขอนักกิจกรรมบำบัดเก่งๆ คุณหมออู้เพราะๆ

ทางสังคม อะไรก็ตามที่เอื้อให้ไม่ต้องมีคนมาเข็น ไปเองได้

ทางบูรณาการ คงอยากให้ใครๆ มองเป็น คนๆ หนึ่งที่ยังมี "ศักยภาพ" เป็นประโยชน์ต่อสังคมคะ

ขอบคุณคะ

ผมมองุทกแบบครับพี่

เนื่องจากคนมี ศักยภาพภายในไม่เท่ากัน...ในเชิงทัศนคติ มองทุกคนมีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิได้รับความยุติธรรมเท่ากันและมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้

แต่ความจริงที่เห็นชัดมากคือทุกคนมิได้เท่าเทียมกัน มีผู้อ่อนแอมีผู้แข็งแกร่ง สังคมที่ดีควรมีความเป็นธรรมมองว่าทุกคนเท่าเทียม ในขณะที่มีน้ำใจคนแข็งแรงดูแลคนอ่อนแอ เพื่อให้เขาเริ่มพึ่งตนเองได้

1.การสงเคราะห์ยังจำเป็นในเบื่องต้น หากแต่มิใช่สิง่เดียว เพราะสุดท้ายหากสงเคราะห์มาก สุดท้ายก็จะเกิดคำว่าภาระ

2.ทางการแพทย์ paradigm ใหม่ มองไปถึงการฟื้นคืนสภาพให้มากที่สุดโดยใช้วิทยาการทางการแพทย์ช่วย...ใครจะรู้ stem cell อาจการเป็น การรักษามาตรฐานในอนาคตที่ สปสช.สนับสนุน ความพิการทางกายอาจหายไปก็ได้

3. ทางสังคม มองการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสม เมื่อชุมชนเข้มแข็งให้โอกาส ผู้อ่อนแอได้มีส่วนร่วมตามสมควร ให้โอกาสคนพิการทำงาน มีการอาสาดูแลกันและกัน

หาสมดุลในการมองและลองทำในสิ่งที่เป้นไปได้

ในมุมแบบบูรณาการ

เพิ่มพูนพลังคนพิการดึงศักยภาพออกมา อยู่ร่วมกันอย่างมีสีสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท