ลำดวน
นาง ลำดวน ไกรคุณาศัย (เรือนรื่น)

แรงใจ...ครูเพื่อศิษย์


 ข้อความนี้ที่ประทับใจ

"........ขอเพิ่มเติมส่วนที่ฝันอยากเห็น คือ PLC ทั้งเขตพื้นที่การศึกษา ที่เขต ๒ สุพรรณบุรี ให้เป็นเขตพื้นที่นำร่องของประเทศไทย ที่ใช้ PBL & PLC ปฏิรูปการศึกษาชนิดที่ปฏิรูปเพื่อนักเรียนอย่างแท้จริง เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ เพื่อการเรียนที่สนุกและมีความสุข รวมทั้งเพื่อชีวิตการเป็นครูที่สนุกและมีความสุขด้วย ....."  

วิจารณ์

      

        ข้อความจากข้างบนนี้ เป็นข้อความที่เป็นเหมือนแรงใจในการพัฒนาการศึกษา ของเราชาว สพป.สุพรรณบุรีเขต๒ ค่ะ เพราะเท่ากับว่าคุณหมอวิจารณ์ ผู้ที่เราเคารพนับถือ และยกย่องให้เป็นผู้ที่เราต้องคอยเรียนรู้จากท่าน ในเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ได้กรุณาพูดถึงพวกเราชาวสุพรรณบุรีเขต ๒ ในการต่อยอดครูเพื่อศิษย์ให้ขยายเต็มพื้นที่ทั้งเขต....

       ซึ่งตรงกับความคาดหวังของท่าน ผอ.ไพฑูรย์ โกพัฒน์ตา ซึ่งท่านได้ไปเข้าร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ เมื่อ ๑๖-๑๗ ส.ค.๕๔ แล้วกลับมาเล่ากับพวกเราว่า...เรามีเครือข่ายครูต้นแบบอยู่แล้ว เราน่าจะขยายแนวคิดครูเพื่อศิษย์นี้ เต็มจำนวนครูต้นแบบของเราที่มีต้นทุนเป็นครูดี ครูเก่ง ที่มีความมุ่งมั่นต่อการจัดการเรียนรู้อยู่แล้ว แล้วเราจะสามารถแตกตัว ขยายเครือข่ายครูเพื่อศิษย์ต่อไปได้มากขึ้นเรื่อยๆต่อไป...

       เพื่อนๆคะดิฉันในฐานะเป็นฝ่ายปฏิบัติ เมื่อได้เห็นข้อความจากคุณหมอวิจารณ์ ได้ฟังความคาดหวังของท่านผอ. ดิฉันได้คุยกับคุณครูถึงความเป็นไปได้ คุณครูที่ไปร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกว่ามีความเป็นไปได้ ขอเพียงให้มีผู้สร้างให้เกิดเวทีของโอกาส ที่ครูจะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ต้องทำ หรือสร้างเวทีนี้ให้ต่อเนื่อง และต้องขอกำลังใจเป็นระยะๆจากท่านทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง

       ที่บอกมานี้คืออยากเชิญชวนทุกท่านค่ะ จากทุกที่ ทุกวิชาชีพ เรามาช่วยกันกับเราชาวสุพรรณบุรีเขต ๒ นะคะในการให้โอกาสคุณครูของเราต่อยอดเติมเต็มแนวคิด เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้"ครูเพือ่ศิษย์ "ที่...ใช้ PBL&PLC เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครูเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านทั้ง ความดี ความเก่ง และความสุข...

       แล้วจะนำมาบอกต่อไปนะคะว่าเราจะตั้งต้น และต่อยอดเติมเต็มกันอย่างไร...ต่อไป

 

      

      

 

หมายเลขบันทึก: 454953เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2011 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

: ณัฐพัชร์. สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่มาให้ดอกไม้เป็นกำลังใจค่ะ

ขอให้การศึกษาที่สุพรรณบุรีจงเจริญ ไชโยๆๆ เย้ๆๆๆ

โสภณ เปียสนิท สวัสดีค่ะ

การศึกษาสุพรรณจะเจริญได้ต้องอาศัยท่านด้วยนะคะในโอกาสต่อไป

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

PBL&PLC เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน

หนูยังไม่รู้จักเลยค่ะ..แงๆๆๆ

เพ็ญศรี สวัสดีค่ะ

สู้ค่ะ...แต่เพื่อนๆใน gotoknow ต้องช่วยกันด้วยนะคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะค่ะ

สวัสดีค่ะครูป.๑

พี่ตอบเองไม่ชัดเท่าอ่านจากหมอวิจารณนะคะ

พี่ก๊อปมาให้ค่ะ...

"....... หัวใจสำคัญที่สุดของ PLC คือมันเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่ดีของครู ในยุค ศตวรรษที่ ๒๑ ที่การเรียนรู้ในโรงเรียน (และมหาวิทยาลัย) ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง โดยครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก “ครูสอน” (teacher) มาเป็น “ครูฝึก” (coach) หรือครูผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน (learning facilitator) ห้องเรียนต้องเปลี่ยนจากห้องสอน (class room) มาเป็นห้องทำงาน (studio) เพราะในเวลาเรียนส่วนใหญ่ นักเรียนจะเรียนเป็นกลุ่ม โดยการทำงานร่วมกัน ที่เรียกว่าการเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)

การศึกษาต้องเปลี่ยนจากเน้นการสอน (ของครู) มาเป็นเน้นการเรียน (ของนักเรียน) การเรียนเปลี่ยนจากเน้นการเรียนของปัจเจก (Individual Learning) มาเป็นเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม (Team Learning) เปลี่ยนจากการเรียนแบบเน้นการแข่งขัน เป็นเน้นความร่วมมือหรือช่วยเหลือแบ่งปันกัน

ครูเปลี่ยนจากการบอกเนื้อหาสาระ มาเป็นทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ สร้างความท้าทาย ความสนุก ในการเรียน ให้แก่ศิษย์ โดยเน้นออกแบบโครงงานให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันลงมือทำ เพื่อเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) เพื่อให้ได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะ 21st Century Skills แล้วครูชวนศิษย์ร่วมกันทำ reflection หรือ AAR เพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือทักษะที่ลึกและเชื่อมโยง รวมทั้งโยงประสบการณ์ตรงเข้ากับทฤษฎีที่มีคนเผยแพร่ไว้แล้ว ทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงทฤษฎีจากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากการฟังและท่องบ่น

หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing) เปลี่ยนจากเรียนรู้จากฟังครูสอน (Learning by Attending Lecture/Teaching)

ทั้งหมดนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนและวงการศึกษาโดยสิ้นเชิง เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับจิตสำนึก ระดับรากฐาน และระดับโครงสร้าง จึงต้องมี “การจัดการการเปลี่ยนแปลง” (Change Management) อย่างจริงจังและอย่างเป็นระบบ โดยต้องมีทั้งการจัดการแบบ Top-Down โดยระบบบริหาร (กระทรวงศึกษาธิการ) และแบบ Bottom-Up โดยครูช่วยกันแสดงบทบาท

มองจากมุมหนึ่ง PLC คือเครื่องมือสำหรับให้ครูรวมตัวกัน (เป็นชุมชน – community) ทำหน้าที่เป็น Change Agent ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระดับ “ปฏิรูป” การเรียนรู้ เป็นการปฏิรูปที่ “เกิดจากภายใน” คือครูร่วมกันดำเนินการ เพื่อให้การปฏิรูปการเรียนรู้ดำเนินคู่ขนาน และเสริมแรงกัน ทั้งจากภายในและจากภายนอก

PLC เป็นเครื่องมือให้ครูเป็น actor ผู้ลงมือกระทำ เป็น “ประธาน” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่วงการศึกษา ไม่ใช่ปล่อยให้ครูเป็น “กรรม” (ผู้ถูกกระทำ) อยู่เรื่อยไป หรือเป็นเครื่องมือปลดปล่อยครู ออกจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สู่ความสัมพันธ์แนวราบ เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่การศึกษา รวมทั้งสร้างการรวมตัวกันของครู เพื่อทำงานสร้างสรรค์ ได้แก่ การเอาประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบ PBL และนวัตกรรมอื่นๆ ที่ตนเองทดลอง เอามาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน เกิดการสร้างความรู้หรือยกระดับความรู้ในการทำหน้าที่ครู จากประสบการณ์ตรง และจากการเทียบเคียงกับทฤษฎีที่มีคนศึกษาและเผยแพร่ไว้

เป็นเครื่องมือ นำเอาเกียรติภูมิของครูกลับคืนมา โดยไม่รอให้ใครหยิบยื่นให้ แต่ทำโดยลงมือทำ ครูแต่ละคนลงมือศึกษา 21st Century Skills, 21st Century Learning, 21st Century Teaching, PBL, PLC แล้วลงมือทำ ทำแล้วทบทวนการเรียนรู้จากผลที่เกิด (reflection) เอง และร่วมกับเพื่อนครู เกิดเป็น “ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์” ซึ่งก็คือ PLC นั่นเอง ......"

กราบขอบคุณคุณหมอวิจารณ์ มากค่ะ ขออนุญาตนะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์ลำดวน

แวะมาเยียมเยียนยามสายของวันหยุดครับ...ขอส่งแรงใจให้ครูไทย

ที่คิดดี ทำดี ได้สุขสมอารมณ์หมายทุกคนครับ

จะคอยเป็นกำลังใจให้กับการต่อยอดของครูไทยเรา  เพื่อพัฒนาการเรียน

การสอนตามหลักการที่ยากต่อการเข้าใจของนักวิชาการ  

บางครั้งผู้ปฏิบัติก็ต้องนำเอาภาษาไทยมาแปลให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

เพราะการใช้ภาษาทางวิชาการมันเป็นอุปสรรคต่อหลายๆคนจริงนะ  เท่าที่ผ่าน

ประสบการณ์และผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก  บางทีภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมัน

ก็ไปด้วยกันไม่ได้จริงๆ  มันต้องลงลึกเชิงประจักษ์จึงจะรู้แจ้งเห็นจริงนะคะศน.

นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ....


สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

ไม่ได้เข้ามาคุยนานมากแล้วค่ะ

สบายดีนะค่ะ

ดีใจด้วยค่ะที่ได้แนวคิดและบทเรียนหลากหลายไปปรับใช้ตามภูมิสังคมที่เหมาะสมต่อไป :)

  • พาดีซอ สวัสดีค่ะ
  • เราเป็นฝ่ายคิดค่ะ
  • แต่ฝ่ายนำสู่การปฏิบัติถึงเด็กคือครู
  • คิดดีต้องมีผู้ทำดีด้วยจึงจะสำเร็จนะคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

krugui Chutima สวัสดีค่ะ

เห็นจริงตามที่ครูว่าค่ะ

"........บางครั้งผู้ปฏิบัติก็ต้องนำเอาภาษาไทยมาแปลให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

เพราะการใช้ภาษาทางวิชาการมันเป็นอุปสรรคต่อหลายๆคนจริงนะ ......."

ลำดวนพยายยามเป็นสื่อกลางนะคะ

เพื่อเป็นผู้ร่วมทางกับคุณครูค่ะ

ในการนำแนวคิดใหม่ๆให้ถึงเด็กค่ะ

ขอบคุณในความห่วงใยมากๆค่ะ

ขจิต ฝอยทอง สวัสดีค่ะ

ลำดวนเสียที่ไม่ได้ไปในงานสัมนาแนวทาง ครูเพื่อศิษย์

แต่พอเข้าใจค่ะว่าการปรับการสอนจากครูเป็นผู้บอกความรู้

เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้เป็นกลุ่ม เรียนเป็นกลุ่มเรียนแบบทำโครงงานและได้ความรู้ระหว่างทางไปพร้อมๆกัน

เป็นPBL เมื่อครูจัดการเรียนรู้แบบนี้ไปเรื่อยๆก็กลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นชุนชนครูเพื่อศิษย์ PLC

ดร.ขจิตต้องมาช่วยครูสุพรรณ๒นะคะ

ขอบคุณค่ะ

Bonnie สวัสดีค่ะ

ดีใจมากค่ะที่กลับมาทักทายกันอีก

ขอบคุณมากนะคะ

นาง นงนาท สนธิสุวรรณ สวัสดีค่ะ

ใช่ค่ะการนำไปปรับใช้สำคัญมากค่ะ

การศึกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ควรต้องปรับปรุง

วิธีสอนเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เด็กไปตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไปค่ะ

อาจารย์ขจิตคะ

ครูสุพรรณ๒ใช่ไหมชื่ออะไรน่ะ

สนุกมากถ้ามีครูสอนแบบนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ขจิต

ดาวโหลดไม่ได้ค่ะ

ไม่เป็นไรเดี๋ยวจะตามไปปริ้นส์มาไว้อ่านค่ะ

พี่จะประชุมครูต้นแบบทุกกลุ๋มสาระเร็วๆนี้

จะนำเทคนิค PBL ไปบอกครูและขอให้นำไปทดลองสอน

แล้วจะนัดนะคะถ้าอาจารย์ว่างพี่ขอเชิญค่ะ

สวัสดีค่ะ ศน.ลำดวน

ประทับใจในความสามารถและจริงจัง

ของบุคลากรทางการศึกษาสุพรรณฯค่ะ

อยู่สระแก้ว แต่มารับความรู้จากวิทยากรสุพรรณฯ

นำไปทำผลงานทางวิชาการเสนอขอ คศ.3

ผ่านเรียบร้อยแล้วค่ะ

ขอบคุณผู้มีพระคุณชาวสุพรรณฯเป็นอย่างสูง

  • วันที่สองของการประชุมอ.ขจิตบอกท่านศน.ลำดวนจะมาเยี่ยม ดีใจที่จะได้พบ แต่ก็พลาดโอกาสไปนะครับ 
  • ข้อความของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ที่พูดถึงคณะที่สุพรรณบุรี เขต 2 ได้อ่านแล้วเช่นกัน เป็นแรงใจครูเพื่อศิษย์ที่สำคัญจริงๆครับ และถ้าตัวผมเองมีอะไรพอจะช่วยได้ อย่าได้เกรงใจนะครับ

krupadee สวัสดีค่ะ

ยินดีด้วยนะคะกับ คศ. ๓

ลำดวน และครูสุพรรณ๒ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านค่ะ

สระแก้วกับสุพรรณไม่ไกลกันนะคะ

เราคงได้แลกเปลี่ยนกันบ่อยๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ป๊าดดด....มาด้วยความระลึกถึงค่ะ

และมาบอกว่าสพป.สุพรรณ 2 ไปได้อย่างมั่นใจ

ในโลกของความเปลี่ยนแปลง "21st Century Skills, 21st Century Learning, 21st Century Teaching, PBL, PLC"

ชัดเจนค่ะ..ขอบคุณพี่เองอยากเห็นๆมากค่ะ

 

น้องศน.ลำดวนคะ

ครูต้อยและน้องครูอ้อยก็เป็นครูสุพรรณเช่นกัน อิอิ..ฮามากค่ะ

  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/454124
  • ขอบคุณค่ะ
  • ธนิตย์ สุวรรณเจริญ สวัสดีค่ะ

    ลำดวนตามอ่านงานสอนของครูเสมอ

    และเห็นว่าน่าจะเป็น PBL อยู่แล้ว

    ถึงอยากเชิญมาเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    กับครูสุพรรณ๒ ค่ะ

    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    krutoiting สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณที่เชื่อมั่นในครูสุพรรณ๒ค่ะ

    ต้องมาช่วยกันด้วยนะคะ

    ครูอ้อยเคยมาช่วยตอนขยายเครือข่าย KM ค่ะ

    ครูต้อยก็ต้องมาช่วยตอน PBL นะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    : อักขณิช , Bonnie, และ 12 คนอื่น สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณมากที่มอบดอกไม้เป็นแรงใจ

    สวัสดีค่ะหัวหน้า....

    ได้มาอ่านเรื่องราว"ครูเพื่อศิษย์"...เป็นความรู้สึกดี ๆ ค่ะ...การที่ครูจะทำเพื่อศิษย์ได้...ครูต้องมีความรัก...และความสุข...

    ...รักศิษย์...และมีความสุขกับงาน...ความสุขจากงาน...มาจากเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย...คุยกันได้..ฟังกัน...คิดด้วยกัน..แนะนำกัน..ยอมรับซึ่งกันและกัน...ครูทุกคนหรือครูส่วนใหญ่...น่าจะพร้อมทำเพื่อศิษย์อยู่แล้วค่ะ....ฟันธง..(อิ ๆ )

    ด้วยความเคารพ...

    • ท่านหัวหน้าลำดวน
    • ขอบคุณที่ฝากของมากับพี่กุ้งครับ
    • ขอบคุณมากๆๆครับ

    อิจฉาชาวจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีครูดี ใส่ใจในเรื่องคุณภาพการเรียนการสอน ชอบใจประโยคสุดท้ายที่ว่า...เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครูเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านทั้ง ความดี ความเก่ง และความสุข...ครับ


    วันนี้ก็เพิ่งมีโอกาสคุยกับท่านนายกสภามหาวิทยาลัยฯ...
    ท่านถามว่า

    เก่งแบบไหน
    ดีแบบไหน
    สุขแบบไหน

    ท่านให้นิยามคุณลักษณะเหล่านี้ให้ชัดเจน เพื่อเป็นเป้าหมาย และหาสิ่งชี้วัดให้เป็นรูปธรรม

    ...

    ชื่นชม นะครับ และแวะเอากำลังใจมากฝาก

     

            นิทานมหาสนุกเรื่องที่ 4   และเรื่องที่ 5  ออกแล้วนะคะ  เชิญท่าน ศน.

                ไปเยี่ยมชมได้ค่ะ  

                               ขอชื่นชมท่านมาก  เป็นกำลังใจให้ท่านค่ะ   

    ขจิต ฝอยทอง สวัสดีค่ะ

    ขอบคุณค่ะ ที่มาจัดค่ายให้เด็ก ให้โรงเรียนสุพรรณ๒

    พี่กับศน.ทุกคนกำลังมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    เรื่องการนิเทศ online อยู่นครนายกค่ะ

    สวัสดีค่ะพี่ครูลำดวน

    เก่ง ดี สุข ด้วยพอใจ และพอเพียง

    สุขสันต์และขอบคุณค่ะ

    • ผมจะ copy เอกสารสองชิ้นนี้ไปนะครับ
    • การสอนภาษาอังกฤษเรื่อง  สนุกกับภาษาอังกฤษโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ในวารสาร สานปฏิรูป ปีที่8 ฉบับที่ 85 พฤษภาคม 2548
    • บทความเรื่อง โครงงานภาษาอังกฤษ ( Project Work in English):อีก ๑ ทางเลือกของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ วารสารวิชาการปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2549  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ISSN 1513-0096
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท