ทำไมคนถึงออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


ฉันอยู่ข้างถนนนานกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน..... บางครั้งฉันก็นั่งในสวนสาธารณะ ...... ฉันเป็นอยู่อย่างนี้ ชีวิตฉันไม่มีปัญหาอะไร แต่ฉันไม่กล้าที่จะหลับในสนสาธารณะ เพราะเขาไม่อนุญาติให้ฉันอยู่ ..... บางที ตำรวจก็จะมาคอยจับคนเร่ร่อนอย่างฉัน .... พวกเขาจะมาตีฉันอย่างแรง เพื่อให้ออกไปจากสวนสาธารณะ....” (Shand,A.M. 2004: 8; citing Bottomley et at. 2001)

ฉันอยู่ข้างถนนนานกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน..... บางครั้งฉันก็นั่งในสวนสาธารณะ ...... ฉันเป็นอยู่อย่างนี้ ชีวิตฉันไม่มีปัญหาอะไร แต่ฉันไม่กล้าที่จะหลับในสนสาธารณะ เพราะเขาไม่อนุญาติให้ฉันอยู่ ..... บางที ตำรวจก็จะมาคอยจับคนเร่ร่อนอย่างฉัน .... พวกเขาจะมาตีฉันอย่างแรง เพื่อให้ออกไปจากสวนสาธารณะ....” (Shand,A.M. 2004: 8; citing Bottomley et at. 2001)  

            ทุกครั้งที่มีคนเข้ามาในพื้นที่จะถามคำถามหนึ่งที่อิสรชน ต้องตอบทุกคนจากประสบการณ์การทำงาน การเรียนรู้แลกเปลี่ยนในพื้นที่กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กับคำถามที่ว่า ทำไม “คนถึงเลือกเดินออกจากบ้านมาอยู่ที่ถนน ที่สวนสาธารณะ” ทั้งที่คนทุกคนมีบ้าน มีครอบครัว แต่ทำไมถึงมาอยู่ที่ถนน เป็นคำถามที่ทุกคนถามทุกครั้งที่มาพื้นที่ และเราอิสรชน ก้ใช้การเรียนรู้กว่า 10 ปีในการหาคำตอบ ต่าง จนค้นพบว่า

  1. ชีวิตครอบครัว เป็นปัจจัยหลัก และเป็นสถาบันหลักในการดูแลคนออกสู้สังคม แต่ก็เป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนออกมาสู้ถนน มากที่สุด

พอเราเดินออกมาเขาถึงกินข้าว1.1.ความวุ่นวายในครอบครัว ความเห็นที่แตกต่างกัน ความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน ภายในของสมาชิกในครอบครัว จนเกิดการสร้างความอึดอัดใจในการอยู่ร่วมกัน เกิดการทะเลาะกันบ่อย ซึ่งปัญหาบางทีเกิดจากเรื่องเล็กน้อย แต่นานวันเข้าที่เกิดการสะสมจนเกิดเป็นแรงปะทุกัน เกิดการต้อต้าน จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ไม่อยากรับรู้อะไร เบื่อหน่ายพี่น้อง เครือญาติ จนต้องออกมาข้างนอก “ลุงไม่อยากมีอะไร ไม่อยากเจออะไร ไม่อยากรับรู้อะไรเลย เพราะที่บ้านมีแต่ความวุ่นวาย จนน่ารำคาญใจ”

1.2.การไม่เป็นที่ยอมรับ ของคนในครอบครัว การดูถูก จนเกิดการสะสม “พี่ ๆ น้อง ๆ เขาชอบพูดกระทบหาว่าแฟนฉันจะเอาคุณไสย มาใส่ตัว เพราะเห็นว่าเขาเป็นเขมร ฉันเลยไม่ไปอยู่บ้าน”

1.3.การด้อยความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่สูงอายุ รู้สึกว่าเป็ฯภาระของลูกหลาน ลูกหลานไม่ได้ให้ความสำคัญ การถูกมองข้าม ลูกหลานไม่สนใจ ทำให้ผู้สูงอายุหลายท่านน้อยใจจนออกมาข้องถนน ทั้ง ๆ ที่ลูกหลาน หรือสังคมครอบครัวไทยเปลี่ยนไปเป็นครอบครัวเลี้ยงเดียวมากยิ่งขึ้นลุงแถวนั้นตักน้ำในคลองมาให้อาบ

  1. การดิ้นรนเลี้ยงหาชีพ   ที่ต้องเข้ามาดิ้นรนในเมืองมหานคร เพราะคิดว่า จะมีทองให้ขุด อย่างที่หลาย ๆ คนแถวบ้านเข้ามาในเมืองหลวงแล้วได้ดิบได้ดี มีบ้าน มีเงินทองกลับไปให้คนที่ต่างจังหวัด แต่เมื่อมาแล้ว ไม่เป็นอย่างที่หวัง ถูกโกง ถูกดูถูก ไม่มีเงิน ไม่มีงาน กลับบ้านไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่า สังคมชนบท มีความคาดหวังสูงกับคนที่เข้ามาในเมือง ไม่ได้เด่น ไม่ได้ดัง กลับบ้านไม่ได้ ดูอย่างเทศกาลที่สำคัญแต่ละปี คนที่เดินทางกลับบ้านต้องหอบหิ้วข้าวของมากมายเมื่อเพื่อไปอวดกันว่าใครได้ดีกว่าใคร ซื้อทองใส่ พอกลับมาในกรุงก็ขายทองเอาเงินไว้กิน “กรณีหรึ่งพี่ยางเสียชีวิตลงที่สนามหลวง หลังจากไม่ได้กลับบ้านกว่า 10 ปี เพราะมาดิ้นรนเป็นสาวโรงงาน แต่ดูต่อว่า ดูถูก ไล่ออก โดยโดนกล่าวหาว่าเป็นเมียน้อยเพื่อน  อิสรชนตามญาติมาเอากระดูก และไปเยี่ยมกระดูก แต่กลับได้ยินคนในชุมชน ด่าว่ากระดูกว่าเป้นสาวไม่ดี มาในเมืองหลวงคงทำอาชีพไม่ดีจนต้องเป็นแบบนี้” นี้คือชีวิตของคนที่เวลาล้มแล้วสังคมไม่ได้ให้โอกาสอย่างแท้จริง

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราพบจากการที่คนออกมาสุ่ที่สาธารณะมากขึ้น และเป็นปัจจัยใหญ่ที่ทำให้คนออกจากสังคมที่ตนเองเคยอยู่ เคยมีชีวิต ดิ้นรนออกมาเพื่อหาความสุข ความสบายใจ และชีวิตที่ดีกว่า แต่กลับไม่ได้พบ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ด้วยอาการป่วยทางสมอง อาการป่วยทางจิตที่มีมากขึ้นในโลกสังคมปัจจุบัน การคาดหวังแต่ไม่เป้นดังที่หวัง ชีวิตอิสระ ชีวิตที่เคยผิดพลาด เป้นต้น

แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ คนทุก ๆ แห่งืที่ผิดหวัง ที่ขาดโอกาส ให้เขากลับคืนสู่ที่ที่เขาเคยมาอย่างเต็มใจและมีความสุข คือ “การมองเห็นคนเท่ากัน” เมื่อคุณมองเห้นว่าเขาเป็นนคนเหมือนคุณ คุณจะพร้อมหยิบยืนโอกาสและแลกเปลี่ยนกัน เพราะคุณก็มีโอกาสและขาดโอกาสไม่ต่างกัน แต่แตกต่างเพียงตัวของโอกาสที่ต่างกัน แช่นคุณมีเงิน มีสังคม เขาก็มีสังคม แต่ไม่มีเงิน มีประสบการณ์การดิ้นรนในที่ถนน การเอาตัวรอด ซึ่งคุณอาจไม่มี

เราจึงชวนคุณมาแลกเปลี่ยนรู้ร่วมกันกับเรา เป็นความเป็นคนเท่ากัน แล้วคุณจะรู้ว่าทุกปัญหาแก้ได้ เพียงแค่มองเห็นคนเท่ากัน ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ไม่มีใครอยู่แล้วไม่ตาย ทุกคนมีหนึ่งชีวิตเท่ากัน  ไม่มีชนชั้นในสังคม นี้คื่อสิ่งที่เราอยากเห็น และการให้โอกาสซึ่งกันและกันเสมอ 

ถ้าสนใจมีเวลาว่างอยากมาเรียนรู้ ทุกวันอังคารกับศุกร์ เวลา 13:00 – 18:00 น. แต่วันศึกร์ อาจจะเพิ่มเวลายาวถึงเที่ยงคืน กำลังอยู่ระหว่างประสานงานหาที่จอดรถโมบาย ติดต่อได้ที่ 086-6870902 หรือถ้าใครไม่สะดวกแต่อยากร่วมแบ่งปัน การทำงานของอิสรชนให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะอิสรชนทำงานจากทุนการบริจาคจากสังคมที่พร้อมจะแบ่งปัน เพื่อคนที่เท่ากันในสังคม

ทำแผลหากท่านสนใจจะร่วมสมทบทุนในการทำงานกับ อิสรชน

ท่านสามารถร่วมสมทบทุนได้ที่

ธนาคารกรุงไทย สาขาปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สำนักบริหาร สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

เลขที่บัญชี 031-0-03432-9

ธนาคารกรุงเทพ สาขามีนบุรี ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

เลขที่บัญชี 145-5-24762-5

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซีติวานนท์ ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

เลขที่บัญชี 382-217647-5

ธนาคารกสิกร สาขา ปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

เลขที่ บัญชี 706-2-33411-2

เราช่วยกันได้ เพียงแค่คุณได้แบ่งปัน อาจจะไม่มากแต่คุณก็ทำได้ ช่วยสนับสนุนการทำงานด้วยนะค่ะ ธนาคารกรุงไทย สาขาปิ่นเกล่า เลขที่บัญชี 031-0-03432-9 ชื่อ "สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน" งบประมาณโครงการหมดแล้ว แต่รายจ่ายประจำงานที่ดำเนินต่อเนื่องยังมีอยู่


หมายเลขบันทึก: 454996เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2011 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

Ico64

เป็นเรื่องใหญ่ในสังคม...' ทำไมคนถึงออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ' สวัสดิการของรัฐเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างไร?...ขอเป็นกำลังใจให้ในการทำงานที่เสียสละมากๆนะคะ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท