หลุมดำ KM …จะโดดข้าม...หรือเต็มใจโดดลงไปเอง...


เดินหลงป่า...หรือไม่รู้จักป่า...คิดว่าทำKM ...แต่ไม่รู้จักความหมายKM…ก็เดินทางไม่ถึงจุดหมาย

      หลุมดำKM…มีพบเห็นอยู่ทั่วไปในองค์กรที่เพิ่งเริ่มทำหรือทำมาได้สักระยะหนึ่งแล้วไปไม่ถึงไหน?...เริ่มงง..!!!! กับวิธีการทำงานหรือการบริหารที่มีความแตกแยกทางความคิด คนนี้บอกอย่างนี้ อีกคนบอกต้องมาแนวนี้ พอให้วัดผลออกมาก็วัดไม่ได้ เหมารวมว่าอย่างงี้แหละคือ KM อ้างว่าที่อื่นก็ทำอย่างนี้ แนวนี้ถือว่าตั้งใจโดดลง...หลุมดำKM ไปเอง...

  

 

            การที่องค์กรที่ทำKMแล้วประสบความสำเร็จหรือเป็นBest Practice ก็มีมากที่ตอนเริ่มทำKMเขาก็มีปัญหาเหมือนกัน...แต่หลุมดำที่มองเห็นนั้น...เขาสามารถโดดข้ามมันไปได้ จนพบสิ่งที่ต้องการที่แท้จริง 

 

 

            เปรียบเหมือนการทำงานนั้นต้องมี knowledge base ก่อน (K.องค์กร/K.วิชาชีพ/K.KM) แล้วนำมาบูรณาการมาใช้ในการพัฒนาคน/งาน/องค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

        

         ใบไม้...ใครๆก็รู้จัก...แต่เมื่อเราเข้าไปในป่าแล้วอยากได้ใบไม้สักอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่บอกว่าเป็นใบอะไร? เมื่อมองไปรอบป่าจะเห็นใบไม้ทั้งป่ามีลักษณะเป็นใบไม้มีรูปร่างต่างๆกันและมีสีเขียวเหมือนๆกัน ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าใบไม้ชนิดไหน?ที่เราต้องการจริงๆ หากเราไม่บอกคุณสมบัติเฉพาะต้นไม้นั้นๆ  KM…ก็เช่นกัน ถ้าคนในองค์กรไม่มี knowledge baseก็คงไม่เข้าใจการทำงานKMได้ดี

  

          

           ต้นไม้ทั้งป่า...เปรียบเหมือนการทำงานพัฒนาคุณภาพทั้งหมด แต่ KM…เปรียบเหมือนต้นไม้สายพันธุ์หนึ่ง เช่นต้นสัก (สามารถนำลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้มากมายขายได้ราคาสูง) ถ้าไม่บอกว่าต้นสักมีลักษณะเป็นเช่นไร? แล้วใช้ให้คนหนึ่งเข้าไปตัดไม้สักมาใช้ประโยชน์ ...ถามว่า...ต้นไม้เหมือนกันทั้งป่า จะมีโอกาสที่จะนำต้นไม้มาได้ถูกต้องกี่ %

  

            เปรียบเหมือนองค์กร...ที่ยังไม่พร้อมในด้านความรู้พื้นฐานที่จะนำไปใช้งาน แต่ให้นำผลงานมาโชว์และแชร์เลย...มันข้ามขั้นตอน...เหมือนจงใจโดดลงไปในวังวนหลุมดำKM… ซึ่งมีดักไว้มากมายในเส้นทางการทำงานKM สิ่งที่จะได้ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ต้องการ แต่หลอกกันว่าคืออันนี้แหละน่า...คือ KM…ยังไง?มันก็อาจจะเป็นต้นไม้ ต้นไหน?สักต้น(แต่ไม่ใช่ต้นที่เราต้องการ ซี่งมีความแข็งแรง มอดไม่กิน ทนแดด ทนฝน ต้นตั้งตรง อายุการใช้งานนานหลายชั่วอายุคน)

  

            อาจจะมีคนแย้งว่า...มันจะต่างกันตรงไหน?...มันก็คือต้นไม้และใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน นั่นซิน่ะ...ต้องย้อนถามว่า คุณทำKMไปทำไม? และคุณทำงานอย่างอื่นไปทำไม?....

  

            ถ้าคิดว่าไม่แตกต่างกัน...แล้วที่อื่นเขาจะทำให้เหนื่อยทำไม? ให้เสียเวลาไม่ต้องทำให้เหนื่อยหรอก ทำอย่างที่เป็นอยู่นั่นแหละถ้าไม่ยอมพัฒนา เพราะในสังคมแห่งการแข่งขัน ถ้าหากองค์กรคุณไม่พัฒนา ความเชื่อมั่นในคุณภาพในองค์กรก็จะถูกลดระดับลง จนหายไปจากสายตาคู่แข่งและเป็นองค์กรที่ล้าหลัง

  

            การเตรียมความพร้อมในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเป็นปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ การตัดต้นไม้เล็กหรือใหญ่ อุปกรณ์ที่ใช้ก็ต่างกัน  KM…ก็เช่นกัน มีเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จมากมาย ถ้าเราได้รู้จักและเรียนรู้การใช้งานอย่างเหมาะสม ...ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน

  

            การไม่มี knowledge base เปรียบเหมือนคุณสร้างบ้านแล้วทำฐานไม่แน่นมีโอกาสบ้านพังได้ หรือคุณเดินทางไปโดยไม่รู้จักเส้นทางและยังหลับตาเดิน การที่คุณจะไปถึงจุดหมายปลายทางก็คงจะลำบากพอควร

 

 

          

           ลองมาช่วยกันสำรวจการทำงานของเราดูซิว่า...เรากำลังจูงมือกันก้าวข้ามหลุมดำ...หรือ...ว่าจูงมือกันโดดลงหลุมดำด้วยความเต็มใจ.....

 

                              (ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอเน็ต)

หมายเลขบันทึก: 456146เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณคะ ได้ยินคำนี้บ่อย 
  • แต่ไม่เข้าใจสักที เพราะมีนิยามหลากหลาย 
  • ได้ข้อคิด KM ต้องมี knowledge base ก่อน 
  • มีคำถามคะ ว่าอะไรเป็นเครื่องมือ ในการหาจุดที่เป็น knoweledge base (ต้นสักแท้) ได้

สวัสดีค่ะคุณ CMUpal   Ico48

  • ถามว่า...อะไรเป็นเครื่องมือ ในการหาจุดที่เป็น knoweledge base (ต้นสักแท้) ได้
  • ผึ้งงานขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ค่ะ

       

 ความรู้พื้นฐานสำหรับคนในองค์กรที่พูดถึงนั้นประกอบด้วยความรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวกับองค์กร ความรู้ในด้านวิชาชีพและความรู้ในด้านการจัดการความรู้ ซึ่งความรู้ทั้งหมดต้องให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร เพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกันและที่สำคัญต้องทำงานเป็นทีม อีกทั้งความรู้นี้ต้องมีการส่งต่อให้คนในองค์กรได้รับรู้และมีส่วนร่วมเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องที่จำเป็นเหล่านี้เหมือนๆกัน (ไม่ใช่รู้เฉพาะหัวหน้างานหรือผู้บริหาร ซึ่งท่านตะเวนเข้าร่วมแต่ประชุมอย่างเดียว รู้...แต่ไม่ได้ทำ  แต่...คนทำงานนั้น ทำ...แต่ไม่รู้) ซึ่งความรู้เหล่านี้ไม่ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการทำงานที่มักถูกมองข้ามความสำคัญ จนทำให้ขาดการมีส่วนร่วม อย่าลืมว่า...ฟันเฟืองของกงล้อมันต้องหมุนไปพร้อมๆกันจึงจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ (คน ,งาน ,องค์กร) ฟันเฟืองเพียงไม่กี่ตัวคงไม่สามารถหมุนให้องค์กรไปได้ไกล

 

            KMนั้นไม่สามารถที่จะทำงานโดยลำพังได้ต้องอาศัยทำงานร่วมกันเป็นทีมสอดประสานเครือข่าย ยิ่งมากยิ่งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้มากและเป็นการทำให้วงจรของความรู้ หมุนต่อเนื่องไปไม่มีที่สิ้นสุด

 

            Knowledge base นั้นคนในองค์กรต้องรู้และเข้าใจความหมาย KM ไปในทิศทางเดียวกันและร่วมกันกำหนดความรู้สำคัญขององค์กรที่ทุกคนในองค์กรจำเป็นต้องรู้และสามารถตอบได้ในทิศทางเดียวกันและส่งต่อความรู้ที่จำเป็นนั้นแก่ทุกคน  มีการจัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญในองค์กรว่าใคร? เชี่ยวชาญด้านใด? อย่างไร? และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้รวมถึงการส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรให้รู้จักและสามารถใช้เครื่องมือKM ในการทำงาน อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดผลงาน/การเรียนรู้/นำเสนอ/แลกเปลี่ยน/ชุมชนนักปฏิบัติ/นวัตกรรม/ ให้เกิดขึ้นในองค์กรและสามารถบอกได้ว่ากลุ่มงานเราทำKMอย่างไร? ตรงไหน? ที่นำมาใช้ในการพัฒนางานอย่างไร? (ประเมินตัวเองได้) และควรมีการแบ่งงานที่รับผิดชอบชัดเจนในกิจกรรมและรายงานความคืบหน้าที่ทำ ปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงาน

 

 

สิ่งที่จะบ่งบอกว่าหน่วยงานของท่านมี KMแล้วหรือไม่? พิจารณาดังนี้

1.            มีการใช้ขบวนการจัดการความรู้(KMP)และขบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง(CMP)หรือไม่?

2.            พิจารณาว่าท่านใช้เครื่องมืออะไรบ้าง? ในขั้นตอนการจัดการความรู้

3.            ท่านใช้อะไร?เป็นตัวชี้วัดในกิจกรรมที่ทำ

  •  อาจจะมีวิธีการทำงานที่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้าง ก็มาแลกเปลี่ยนกันค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท