ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ (15) เรื่องเล่า คลังความรู้เรื่องผ้า ตอนที่ 1 ถอดประสบการณ์ พี่แสงดา


 

คุณศุภรัตน์ อยู่ที่แผนกบริการกลาง  ค่ะ  เธอเล่าว่า

ที่นี่ มีพี่ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ ที่มีความรู้ความสามารถมากในเรื่องผ้า ก็คือ พี่แสงดา เราเห็นว่า ตอนเกษียณความรู้จะหายไป จึงมีความคิดที่จะดึงความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อ พี่แสง มีความสามารถสูง มีความเชี่ยวชาญ มีการประยุกต์ สร้างสรรค์ผลงาน และไม่ได้ทำแค่ตัดเย็บ และก็เสร็จ แต่พี่เขาจะมีความสามารถ ความละเอียดในทุกอย่างว่า ตัดเย็บอย่างไร ให้ได้ดี เป็นความสามารถที่พี่เขาพัฒนางานมา เห็นเป็น KM ในการสร้างสรรค์ผลงานในรอบ 28 ปี ที่ผ่านมา เมื่อมาทำ เราก็สามารถดึงเนื้อของการทำงานมาใช้ได้เลย และต่อยอดต่อไป

ทำให้ได้คู่มือผ้า เล่มที่ 1 เล่มที่ 2 และก็ยังมีเพิ่มเติมในรายละเอียดต่างๆ ขึ้นมา

เล่มที่ 1 เป็นการนำความรู้จากพี่แสงดา มาบันทึกเป็น คู่มือผ้า ซึ่งมีการเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ขาดตกไป

เล่มที่ 2 เป็นการนำเอาคนที่มีความรู้เรื่องผ้ามาคุยกัน หลังจากที่ใช้เล่มที่ 1 แล้ว เจอ พบปัญหา ก็จะเขียนเพิ่มเติมเข้าไป และยังไม่มีอะไรสมบูรณ์ ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าจะสมบูรณ์ในเล่มเดียว

วิธีการดึงเอาความรู้ เริ่มจาก ให้พี่คิดออกมาก่อน แต่อาจไม่ครบ เราก็มาช่วยกันต่อเติม เช่น งานห้องผ่าตัด มาคุยกันว่า ควรจะแบ่งเป็นรายการอะไร แยกเป็นอะไรบ้าง รายละเอียดเขาต้องการอะไร ทำรายละเอียดให้มากที่สุด รวมทั้งมีเทคนิคต่างๆ ในการทำ

ความตั้งใจของการทำคู่มือ ก็คือ ต้องการทำให้เหมือนกับพี่แสงนั่งอยู่ตรงนี้จริงๆ เพราะว่า พี่แสงมีความรู้เรื่องชนิดผ้า คุณลักษณะของผ้า คุณภาพของผ้าประเภทต่างๆ รวมถึงตัดเย็บ และกว่าจะคิดประยุกต์ออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ทำไมถึงตัดหักมุม มันผ่านการคิดการทำมาแล้ว กับคนใช้ด้วย จนเป็นแบบสำเร็จมาถึงปัจจุบัน ก็จะมีการบันทึกรายละเอียดนี้ไว้ด้วย

เช่น ปีนี้เราเจอปัญหานี้แล้ว เช่น ซองถุงมือ เราจะยกเลิกที่เขาพับมุม ก็เลยคิดว่า เดี๋ยวก่อน ถามก่อนว่า คนเก่าเขาหักมุมเพื่ออะไร ... ก็ต้องโน้ตไว้ก่อนว่า ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ถามเขาก่อนว่า เขาทำแบบนั้นเพื่ออะไร และควรจะเปลี่ยนแปลงจากที่เขาทำหรือไม่ หรือว่าเขาคิดไว้ดีแล้ว

เราจะมีการดึงกิจกรรมของแต่ละหน่วยออกมา และทำให้คนมีความภูมิใจ ในการทำงาน เช่น ทีมของผ้า ทำให้รู้ว่า ในนี้มีส่วนช่วยได้เยอะ โดยเฉพาะคนที่นี่ มีความรู้น้อย เขาก็ไม่อยากทำอะไร คิดว่า เขามีความรู้นิดเดียว ให้คนที่มีความรู้ทำไปเถอะ แต่เราจะให้ empower เขา โดยให้กับทุกคน ให้เขาได้รู้สึกว่า ที่เขาทำมีคุณค่า และมีประโยชน์ เราถึงมีความรู้น้อยก็ไม่ได้หมายความว่า เราทำได้ไม่เหมือนคนอื่น เราทำได้ดีกว่าคนอื่นด้วยซ้ำไป จึงผลักดันวิธีคิดเหล่านี้

ที่นี่ KM เกิดตรงไหน ... หมอก้องจะสอนเรื่องเก้าอี้ 3 ขา เราก็ได้ตรงนี้ว่า ได้ประโยชน์จริงๆ ก็คือ จากการพัฒนาเป็นคู่มือผ้า เล่มที่สอง เล่มแรกอาจขลุกขลัก เพราะว่าได้มาจากตัวคนน้อยคน เล่มที่สอง เราเอามาจากคนที่มีความรู้ผ้า มานั่งคุยกัน เพราะว่าจะได้ความคิดที่กว้างออกไป และมันจะเร็วขึ้น มากกว่าคนที่ไม่รู้อะไรเลยมาทำเอง จะมีการต่อยอดและพัฒนาไวในกลุ่มที่ได้ ลปรร.

ครั้งที่สอง มีการรวมคนที่มีความรู้เรื่องผ้า ในหน่วยงานเรามีผู้ชายคนเหนึ่ง มีความรู้เรื่องผ้า เราไม่เคยรู้ รู้แต่ว่าเขามีความรู้เรื่องผ้านิดๆ หน่อยๆ พอมานั่งคุยกัน จึงรู้ว่า เขามีความรู้มาแลกเปลี่ยนเยอะมาก

เมื่อเรามีการ ลปรร. ได้ความคิดอะไร ก็ต้องรีบจดและบันทึกทันที ก็จะเป็นความรู้ ที่เราจะได้เก็บ และรวบรวมอีกที ให้มีความสวยงาม และใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

คลังความรู้เรื่องผ้า ถอดประสบการณ์ จาก พี่แสงดา ค่ะ

รวมเรื่อง ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ

 

หมายเลขบันทึก: 456842เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2011 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท