โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

อบรมหลักสูตร "ป.โท ผู้บริหารปฐมภูมิ..ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ตอนที่ 4.2 อาจารย์ชนวนทอง "KM ที่ทำกันในปัจจุบันยังขาดอะไร?"


ผมเองก็ถึงบางอ้อแล้วย้อนนึกว่า "คนไทยเราอ่านหนังสือน้อยเกินไปมันเป็นอย่างนี้นี่เอง....อาจารย์มิได้อ่านแค่ตำรา..แต่ review literature เพื่อ gain main idea for the new paradigm เราจะทำ paradigm หใม่ได้อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจ paradigm เก่า"

อบรมหลักสูตร "ป.โท ผู้บริหารปฐมภูมิ..ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ตอนที่ 4.1 อาจารย์ชนวนทอง "community empowerment" ตามอ่านตอนที่แล้วได้ครับ

ที่ค้างกันไว้เรื่อง การสนทนาที่ว่าด้วยเรื่อง KM ในห้องเรียนนี้เมื่อเดือนก่อนได้เฉี่ยวไปถึงเรื่อง knowledge Management ที่เป็นกระแสเรื่องนี้ อาจเป็นที่มาของ blog นี้ด้วยนะครับ

อาจารย์ชนวนทอง "เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า การทำ KM ในเมืองไทยตอนนี้ทำกันมาก แต่อาจมีการพัฒนาองค์ความรู้ได้ไม่มากนัก อาจจะมีการเล่าเรื่องเล่าประสบการณ์และชื่นชมกันได้ ให้กำลังใจกัน "

"การที่จะสร้าง implicit knowledge ใหม่ต้อง review explicit ที่มีอยู่ในปัจจุบันเสียก่อน"

"สิ่งที่เราทำในวันนี้ อาจไม่ใช่คนแรกที่มีประสบการณ์นี้"

(หลังผมได้ฟังความเห็นของอาจารย์ก็รู้สึกว่า อาจารย์น่าจะเห็นประเด็นอะไรบางอย่าง ผมเลยแหย่ตัวกวนเข้าไปเพื่ออยากให้อาจารย์ขยายความ)

ผม "อาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับคำกล่าวที่ว่า การเกิดองค์ความรู้ใหม่ การแก้ไขปัญหาใหม่ๆ(paradigm shift) ไม่สามารถเกิดจากฐานความคิดเดิมๆ (old paradigm) "

อาจารย์ตอบได้น่าสนใจครับ "คุณหมอหมายความว่า หากเราอ่านหรือทบทวนองค์ความรู้ในอดีตมาจะทำให้เรา bias ในการคิดหรือไม่...อันนี้ยกตัวอย่างนะคะ...วันนี้อาจารย์มาสอนพวกเราที่นี่ อาจารย์หาข้อมูลลูกศิษย์ทุกคนเพื่อจะได้รู้ background (สิ่งเก่า)เพื่อจะได้สอนในสิ่งที่พวกเราได้ประโยชน์จากอาจารย์ (สิ่งใหม่)"

ผมเองก็ถึงบางอ้อแล้วย้อนนึกว่า "คนไทยเราอ่านหนังสือน้อยเกินไปมันเป็นอย่างนี้นี่เอง....อาจารย์มิได้อ่านแค่ตำรา..แต่ review literature เพื่อ gain main idea for the new paradigm เราจะทำ paradigm หใม่ได้อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจ paradigm เก่า"

นึกไปถึงพระอาจารย์ไพศาลเคยฟังท่านเรื่อง "สีลพฺพตปรามาส" การยึดแต่ว่าวิธีคิดแบบเดิมๆ โดยที่ไม่เข้าใจว่าที่แท้จริงแล้วองค์ความรู้เดิมมีนั้นมีจุดมุ่งหมายใด..องค์ความรู้นั้นมีบริบทอย่างไร อันนี้เป็นเครื่องขัดขวางปัญญา เหมือนนัก เช่นนักวิทยาศาสตร์พอเจอทฤษฏีใหม่ก็ดีใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคนคิดทฤษฎีใหม่ก็ขัดแย้งกัน......แต่ที่ชัดเจนคือ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกเหล่านี้จะพิสูจน์ศึกษาทฤษฎีเก่าจนแน่ใจว่ามันคือทางตันจริงๆจึงเริ่มหาทางออกใหม่ๆ

หมายเหตุ: "สีลพฺพตปรามาส" แปลว่าความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร (คือ ถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและวัตรที่งมงาย หรืออย่างงมงายก็ตาม), ความถือศีลพรตโดยสักว่า ทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่า จะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐) (ป.อ. ปยุตฺโต)

ผมถามต่อ

ผม "อาจารย์คิดว่า KM ไทยเราขาดอะไร...ซึ่งถ้าทำแล้วจะช่วยให้ KM เมืองไทยมีการพัฒนา"

อาจารย์ชนวนทอง "ที่เมืองไทยขาดน่าจะมีสองจุดหลัก คือ การสกัด องค์ความรู้จากเรื่องราวมากมายที่แลกเปลี่ยน...อีกเรื่องที่สำคัญมากๆ ต่อการพัฒนาองค์ความรู้คือ การ-จัด-การ ที่ผ่านมาเราบอกว่าจะจัดการความรู้ หากแต่ความรู้ที่มีอยู่ เกิดๆมาแล้วไม่มีใครมาช่วยสกัดแล้วจัดการมันเลย....การจัดการคือ นำองค์ความรู้ที่มี ไปทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเผยแพร่ หรือ นำๆไปใช้จนเป็นรูปธรรม...."

ชั่วโมงนี้มันมากครับ แซบอย่าบอกใคร ขอบคุณอาจารย์ชนวนทองที่เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้ผมครับ

หมายเลขบันทึก: 459237เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 02:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณบันทึก บทสนทนาที่น่าสนใจมากคะ

อาจารย์หาข้อมูลลูกศิษย์ทุกคนเพื่อจะได้รู้ background (สิ่งเก่า)เพื่อจะได้สอนในสิ่งที่พวกเราได้ประโยชน์จากอาจารย์ (สิ่งใหม่)

ได้เห็นแง่มุม ว่าความรู้เดิมจะขัดขวางหรือส่งเสริมความรู้ใหม่..ขึ้นกับการใช้คะ

หากใช้เพื่อเป็นฐาน - เข้าใจสัจธรรมของความรู้ - ก็ได้ต่อยอดสิ่งใหม่ 

หากใช้เป็นหลังคา - ยึดวิธีปฎิบัติ ยึดวิธีคิด ยึดอัตตา- ก็อดได้รับสิ่งใหม่

แม้ในขณะอ่านนี้ ก็ต้องเตือนตนให้รื้อหลังคาออกคะ :-)

 

@ แต้session นี้สนุกมากจริงๆ นะเพราะว่า สิ่งที่อาจารย์โยนเข้ามาในวงมันต่างกับที่เรารู้และเชื่อ บางครั้งคิดต่างอย่างคนละขั้ว แต่เมื่อได้แลกเปลี่ยน อาจารย์ชนวนทองพูดประเด็นนี้ตอนที่พูดถึง

vicarious experience (ความรู้มือสอง) ทำอย่างไรให้มาเป็นความรู้ที่เป็นจากประสบการณ์ของเรา experiencial learning และจะทำอย่างไรให้เกิด mastery learning (เรียนแบบเป็นนายตนเอง)

อ่านเรื่องเล่าที่คุณหมอเก็บมาฝากก็มีประเด็นให้คิดต่อเยอะเลยค่ะ

นอกเหนือจากการอ่านแล้ว การเขียนเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ก็ยังผลักดันให้เกิดขึ้นยาก จริงๆ แล้ว วาระการเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้น่าจะเป็นวาระแห่งชาตินะค่ะ ^^

มะปรางเปรี้ยวครับ

นอกเหนือจากอ่านเขียนแล้ว ที่น่าสนใจอีกอย่างเมื่อไม่รักการอ่านก็ไม่รักการเขียนไปด้วยเป็นลูกโซ่ และผมว่ายุค computer ทำให้ข้อมูลหมุนเร็วและมีมากจนใช้วิจารณญาน ไม่ทัน

ดี ๆๆ มากมาย เสริมสร้างความรู้ใหม่และกว้างขวางกว่าเดิม

เข้าใจพาราไดม์เก่า..เพื่อออกจากพาราไดม์เก่า..!!

การจะออกจากทุกข์

ต้องรู้ทุกข์

เข้าใจเหตุของทุกข์

จากนั้นดำเนินตามทางปฏิบัติที่ไปสู่การออกจากทุกข์

ก่อนจะออกจากปัญหา ต้องเข้าใจปัญหา..!!

นมัสการพระวิสัน และสวัสดีคุณ ผู้เดินทางครับ

ยกความดีนี้ให้กับปราช์ญท่านนี้ครับ อาจารย์ชนวนทอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท