การดูแลสวนผลไม้หลังน้ำลด


การดูแลสวนผลไม้หลังน้ำลด

การฟื้นฟูไม้ผล หลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรจะต้องมีการบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่และให้แตกใบอ่อนโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย

ขั้นต้อนการปฏิบัติมีดังนี้ คือ

 1. หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้

2. ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว  โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด

3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะพาเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น  หลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำการขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกเสียบ้าง เพื่อช่วยเหลือต้นพืชอีกทางหนึ่ง

4. เพื่อช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ  ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของ :- น้ำตาลเด็กซ์โตรส ๖๐๐ กรัม  ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15   ๒๐ กรัม  ฮิวมิค  แอซิด ๒๐  ซีซี  โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)  ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น ควรพ่นสัก 2-3 ครั้ง

6. ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรกรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา  หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา  เช่น  เมตาแลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (กาลิเอท)  (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี)  โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม  (Pythium spp.)  หรือ ไฟทอปธอรา  (Phytophthora spp.)  สำหรับโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) , ไรซ๊อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือ สเคลอโรเที่ยม (Sclerotium spp.)  ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (เทอร์ราคลอร์, บลาสสิโคล) นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย

ที่มา: คำแนะนำจากกรมส่งเสริมการเกษตร

หมายเลขบันทึก: 460395เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับ
  • เมืองจันทร์น้ำท่วมไหมครับ

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาเรียนรู้ด้วยค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ใบมังคุดเล็กและหงิกควรทำยังไงคะ

ได้ความรู้สำหรับการปลูกสวนผลไม้ในที่ลุ่มดีค่ะ  ยุ้ยอยู่ ต.สะตอน อ.สอยดาว ฝนตกน้ำไหลมาท่วม พอฝนหยุดน้ำก็แห้ง เพราะไหลต่อลงไปข้างล่าง...ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท