การนำเสนอผลการวิจัยให้ถูกใจใคร


   

       เมื่อสัปดาห์ก่อนไปร่วมประชุมวิชาการ "สังคมศาสตร์สุขภาพ " ที่อ.โกมาตร จัดที่นครปฐม มีประเด็นที่อาจารย์พูดถึงผลการวิจัย จะให้ใครฟัง เนื่องจากมีบางงานวิจัยที่มีผลต่อความรู้สึกกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และนักวิจัยเองไม่ต้องการจะไปนำเสนอในกลุ่มดังกล่าวเพรากลัวการไม่ยอมรับต่อผลของงานวิจัย
อ.โกมาตร ได้ให้ข้อคิดที่น่าฟังว่า ผลการวิจัยที่ออกมานั้นเราต้องการให้ใครฟัง สำคัญอยู่ที่จุดมุ่งหมายของเรา หากต้องการเพียงตีแผ่ก็ไม่ต้องสนใจกลุ่มคนเรานั้น หากต้องการเข้าถึงเขา(อาจารย์ใช้คำว่าengage) เราต้องวิเคราะห์ว่า เขาเป็นอย่างไร เขาต้องการฟังอะไร และเราถึงจะได้วางแผนว่า เราจะนำผลการวิจัยที่เราค้นพบไปถึงตัวเขาอย่างไร

 
    การนำเสนอผลการวิจัย อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ได้กล่าวในงานเดียวกันว่า "การนำเสนอการวิจัยก็เปรียบการยื่นคอ(นักวิจัย)ไปให้สังคมหรือผู้เกี่ยวข้องพิพากษา(ประหาร)

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 461193เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2011 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบคำแนะนำท่าน อ.โกมาตรคะ

การเห็นภาพสุดท้าย ว่างานวิจัยจะถูกนำไปทำอะไร

ช่วยให้ทั้งผู้ทำ และ ผู้ใช้งานวิจัย จูนคำถาม คำตอบตรงกัน

แต่คำตอบ ก็คือข้อมูล ให้เขาตัดสินเองว่าจะเชื่อไม่เชื่อ ใช้ไม่ใช้

เป็นกำลังใจให้คะ :-)

  • หากเป็นวิจัยในงานประจำยิ่งแล้วใหญ่...เวลาไปนำเสนอในเวที...
  • จนนักพัฒนางานท้อ...ขยาดกลัวกับคำว่า"วิจัย"ไปเลย...

ผู้ฟังต้องกว้าง

คือ ยอมรับในความแตกต่างของผลวิจัยที่ได้ เพราะบริบทแต่ละที่ แต่ละความเห็นจะไม่เหมือนกัน

บางครั้ง งานวิจัย คือผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง ไม่ใช่ประชากรทั้งหมด

บางครั้งการนำไปอ้างอิง ถึงกลุ่มประชากร คงต้องพิจาณา เป็นรายๆ ใช่หรือไม่คะ

เรื่องวิจัยในงาน อ.ทวีศักดิ์ นพเกษร เคยกล่าวไว้ว่า

         "ผู้วิพากษ์ทั้งหลาย มักจะคลาดเคลื่อนระหว่าง thesis และ Research การทำ thesis หรือวิทยานิพนธ์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงให้เห็นว่า มีความรู้ที่ลึกซึ้งตามหัวข้อที่นำเสนอ ดังนั้นการ review literature และการอภิปรายผลจะต้องแสดงให้ลึกซึ้ง ตามแนวคิดหรือทฤษฎีที่ได้อ้างไว้ แต่กับการวิจัยในงานนั้น การreview literature ให้ทำเฉพาะเท่าที่จำเป็นตามประเด็นที่ศึกษา และอภิปรายขอบเขต"

          ส่วนการนำเสนองาน อ.ทวีศักดิ์ก็ได้บอกว่า "เราต้องมีจุดมุ่งหมายของการนำเสนอว่าคืออะไร และ ผู้ที่มารับฟัง(audience)เป็นอย่างไร จากนั้นจึงวางแผนการนำเสนอว่าจะเป็น tone อย่างไร เพื้อให้ผู้มารับฟังไปสู่จุดมุ่งหมายของเรา เรื่องนี้มันเป็นศิลปะ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท