พรรณไม้


พรรรณไม้ในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ)

 

ต้นไทร


ชื่อสามัญ                Banyan.

ชื่อพฤกษาศาสตร์     Ficus annulata BL.

วงศ์                       MORACEAE.

ถิ่นกำเนิด                อินเดีย ลังกา พม่า ไทย

การขยายพันธุ์          เพาะเมล็ด กิ่งตอน

สรรพคุณ                ใบและรากรักษาแผล น้ำเลี้ยงของกิ่งใช้ในการรักษาโรคตับ                               กิ่งและใบ ใช้แก้ปวดศีรษะ

ลักษณะ                 เป็นไม้ขนาดใหญ่ มีหลายชนิด ใบดกกลม ปลายแหลม                                  ขนาดประมาณ 3 ซ.ม. ตามกิ่งและลำต้นมีรากอากาศย้อยลง                              ดินกลายเป็นลำต้นฝอย ช่วยค้ำกิ่งก้านให้แข็งแรง มีเรือนยอด                            แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาได้ดี ลูกเป็นลูกกลมเล็ก เมื่อสุกจะมีสีแดง                            ปนเหลือง

ตีนเป็ด



ชื้อพื้นเมือง        : ตีนเป็ด สัตตบรรณ
 

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Alstonia scholaris (L.)R.Br
 

ชื่อวงศ์              : APOCYNACEAE
 

ชื่อสามัญ           : Siamese balsa , White cheesewood
 

ลักษณะวิสัย       : ไม้ต้น
 

ลักษณะเด่น       : เรือนยอดรูปเจดีย์ เมื่อโตขึ้นคล้ายฉัตร ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำ                          ยางสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม      ดอกมีกลิ่นหอม

ประโยชน์          : ปลูกเป็นไม้ประดับตกแต่งสถานที่

                          เนื้อไม้ใช้ทำลูกทุ่นอวน

                          รองเท้าไม้ ของเล่นเด็ก

                          เปลือก ใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด

                          ใบ ใช้พอกดับพิษต่างๆ

ไมยราบ

ชื้อพื้นเมือง       : ไมยราบเถา
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pudica L.
 

ชื่อวงศ์             : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
 

ชื่อสามัญ          : -
 

ลักษณะวิสัย      : ไม้ล้มลุก
 

ลักษณะเด่น      : ใบประกอบ ใบย่อยขนาดเล็ก มีหนามงุ้มแข็ง ดอกสีม่วงอมชมพู
 

ประโยชน์         : ใช้ประกอบกับสมุนไพรอื่น แก้โรคเบาหวาน แก้ประจำเดือนไม่                            ปกติ

หูกวาง


ชื้อพื้นเมือง       : หูกว๋าง หูกวาง
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
 

ชื่อวงศ์             : COMBRETACEAE
 

ชื่อสามัญ          : Bengal almond , Indian almond , Olive-bark tree ,                                                      Umbrella tree
ลักษณะวิสัย     : ไม้ต้น

ลักษณะเด่น      : ใบเดี่ยวเรียงวนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง ผลรูปไข่หรือรูปรี ป้อมและ                                                  แบนเล็กน้อย
ประโยชน์        : เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์

                        เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมัน คล้ายอัลมอนด์

กระดังงา



ชื้อพื้นเมือง        : กระดังงาสงขลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata var. fruticosa(Craib ) Corner

ชื่อวงศ์             : ANNONACEAE

ชื่อสามัญ          : -

ลักษณะวิสัย      : ไม้พุ่ม

ลักษณะเด่น       : ใบเรียงสลับในระนาบเดียวกันของกิ่ง ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบ                           เรียวยาวบิดซ้อนกัน สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ประโยชน์         : ปลูกเป็นไม้ตกแต่งสถานที่ ให้ดอกหอม

มะม่วง

ชื่อไทย                    มะม่วง

ชื่อสามัญ                 Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์         Mangifera indica Linn.

ชื่อวงศ์                     ANACARDIACEAE

ลักษณะโดยทั่วไป      มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ใน                                  ดินทั่วไป ยกเว้นดินเค็มและดินที่มีน้ำขัง

กล้วยไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Orchid

ชื่อวงศ์:                 ORCHIDACEAE

ชื่อสามัญ:            Orchid

ชื่อพื้นเมือง:          เอื้อง (ภาคเหนือ)

คำสำคัญ (Tags): #พรรณไม้
หมายเลขบันทึก: 461686เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*ดีจังเลยค่ะ..อยากชวนเข้า กลุ่มคนปลูกผักกินได้  หากสนใจใส่ไว้ในคำสำคัญนะคะ

*เก็บภาพ ต้นมะยม ที่บ้านมาฝากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท