หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เรียนรู้อินเดียอีกมุมหนึ่ง(๑) : เมื่อท่านพลเดชเยือนไทพาเกครั้งที่ ๓


เริ่มต้นจากคำถามว่า จะเข้าไปเยี่ยมหมู่บ้านเพื่อเจาะลึกโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ น่าจะไปดูอะไร เก็บข้อมูลอะไรมาบ้าง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ค้นหาความช่วยเหลือที่ซ่อนลึกอยู่ในหมู่บ้านแห่ง นี้

บันทึกนี้มีแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของครูคนหนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้เขียนบันทึกเล่าเรื่องของหมู่บ้านไทแห่งหนึ่งในอินเดีย และเชิญชวนให้มีส่วนร่วมเติมเต็มความฝันเพื่อการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของหมู่บ้านเชื้อสายไทแห่งนี้

เริ่มต้นจากคำถามว่า จะเข้าไปเยี่ยมหมู่บ้านเพื่อเจาะลึกโดยใช้เวลาเพียงสั้นๆ น่าจะไปดูอะไร เก็บข้อมูลอะไรมาบ้าง เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ค้นหาความช่วยเหลือที่ซ่อนลึกอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้

ใจที่อยากช่วยเหลือชาวบ้านพัฒนาโดยยืนพื้นอยู่บนหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นความปราถนาที่ตรงกัน จึงได้แลกเปลี่ยนกับท่านไปว่าให้ใช้ 3 หลักหาข้อมูล ภายใต้เวลาเท่ากับวิ่งฝ่าสายฝนปรอยๆแบบควิกวอล์ก (quick walk) ก็น่าจะได้เรื่องราวมากพอกลับมาแลกเปลี่ยนช่วยกันเก็บประเด็นที่สามารถช่วยเติมเต็มให้ชุมชน

ด้วยความสามารถของท่าน เพียงเวลาสั้นๆเพียงครึ่งวัน 1 คืน ก็มีข้อมูลมากมายที่ช่วยคลี่ภาพหมู่บ้านมาช่วยกันคิด ช่วยกันชี้ ช่วยกันมอง เพื่อค้นหาหนทางพัฒนา

หลักแรกคือ "คน" ก็ได้ภาพมาว่า หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดย่อม

พื้นที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากบ้านไม่อยู่ไกลกันนัก ขนาดก็ไม่ใหญ่กว่า 1 หมู่บ้านขนาดเล็กในชนบทของบ้านเรา (444 คน)

ชาย-หญิงมีจำนวนไล่เรี่ยกัน (1:1) เปรียบกับจำนวนครัวเรือนที่ดูเหมือนมีเยอะจำนวนเกือบร้อย บอกภาพขนาดครอบครัวว่าเป็นขนาดเล็ก ครอบครัวใหญ่ที่สุดน่าจะมีสมาชิกไม่เกิน 5 คน โดยเฉลี่ยก็มีสมาชิกอยู่ราว 1-3 คน

โดยส่วนตัวนั้นคาดเดาว่า ความเป็นอยู่รายครัวเรือนคงอยู่ในลักษณะครอบครัวเดี่ยวซะมากกว่าเป็นครอบครัวขยายเหมือนบ้านเรา และบางครัวเรือนมีแค่ 2 ตายายอยู่ร่วมกัน

จำนวนเด็กที่มีน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก และความมีอายุยืนของคนในชุมชนนี้ ทำให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นชุมชนที่ทันสมัยกว่าใครไปในบัดดล

ความทันสมัยอยู่ที่สมาชิกของชุมชนเป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ และนี่เป็นสถานภาพด้านสาธารณสุขที่ทันสมัยที่สุด ณ เวลานี้ของโลก

ชุมชนที่มีลักษณะนี้น่าเป็นห่วงในมุมของการพึ่งพา เพราะว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นผู้ชรา เด็ก และสตรี 

เรื่องทางสาธารณสุขจึงมีประเด็นที่ยังซ่อนลึกให้ค้นหาเพื่อเติมเต็มส่วนขาดด้านการพึ่งพาและเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการพัฒนา

ความมีอายุยืนเป็นสื่อบอกว่า ชุมชนที่นี่มีภูมิปัญญาด้านสุขภาพซ่อนอยู่ ซึ่งมีแต่คนด้านสุขภาพเท่านั้นที่มองออกว่าคืออะไร ตรงนี้เป็นจุดแข็งที่สามารถต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ โดยใช้ภูมิปัญญาที่ชุมชนมีเป็นวัตถุดิบ

อัตราเกิด-ตาย เท่าๆกัน ตรงนี้ก็เป็นอะไรที่น่าค้นหา อะไรเป็นแรงจูงใจให้อัตราเกิดต่ำ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนชนบทของบ้านเราในอดีต มีอะไรที่ซ่อนลึกอยู่อีกที่ควรค้นหาก่อนพัฒนา

ระดับของการศึกษา บอกถึงที่มาของความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่จับต้องได้จากภาพที่นำมาฝาก ความพร้อมในการใช้ฐานการศึกษาสร้างปัญญาของชุมชนนี้มีอยู่สูงมาก

การหว่านเมล็ดพันธุ์ความเข้าใจของเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะไปถึงฝั่งฝัน หากมีกระบวนการนำพาให้คนในชุมชนเข้าใจความต้องการที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตใจ(mind)

ศิลปกรรมที่ชุมชนยังคงไว้ผ่านการละเล่นและผ้าทอ ผนวกเข้ากับฐานความรู้ที่พวกเขาร่ำเรียน เป็นต้นทุนที่งดงามสำหรับสานต่อเรื่องเศรษฐิกจพอเพียง ขอเพียงแต่พวกเขาเข้าใจความต้องการภายในของตนอย่างถ่องแท้ซะก่อนเริ่ม

3 คำนี้เป็นอะไรที่ยังต้องค้นหาจากพวกเขา "อยู่รอด" "อยู่ร่วม" "อยู่อย่างมีความหมาย" เมื่อตัดฐานความต้องการด้านวัตถุออกไปแล้ว พวกเขาต้องการอะไรอย่างแท้จริง

เข้าใจ 3 อยู่นี้ได้ชัดแจ้งแล้ว การนำความต้องการด้านวัตถุมาหลอมรวม จะช่วยให้ความฝันของ "ครู" สามารถเป็นจริงได้ในเวลาไม่นานเกินรอ

(ยังมีต่อ)

28 กย.2554

หมายเลขบันทึก: 463055เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2011 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยู่อินเดียสองปีสี่เดือน ไม่รู้จักไทพาเกเลยครับ

 ไทยอาหม เป็นพวกเดียวกันหรือไม่ครับ

Ico48

อจ.โสภณครับ

ไทอาหม ไทผาเก เป็นคนกลุ่มเชื้อไทเหมือนกันครับ ปัจจุบันมี 6 กลุ่มในรัฐอัสสัม

อย่าว่าแต่อจ.เลยครับ คนอินเดียในภูมิภาคอื่นก็ไม่ค่อยรู้จักอัสสัมครับเพราะคนละเชื้อชาติกัน แต่บังเอิญมารวมกันด้วยเหตุผลทางการเมืองในสมัยเมื่ออินเดียได้รับเอกราใหม่ๆ ครับ

ลองดูบันทึกนี้ครับ http://www.gotoknow.org/blog/poldejw/235608 และอีกหลายบันทึกที่ผมได้ไปสัมผัสอัสสัมมา

ขอบคุณหมอเจ้มากครับ ชัดเจนมากเลยครับ

เป็นอีก 3 อยู่ที่ต้องค้นหาต่อไปครับ

ความมีอายุยืน ผมคิดว่าชาวไทผาเกบริโภคผักมากเหลือเกิน และนิยมต้มมากกว่าทอด แทบจะไม่เห็นอาหารทอดเลย ส่วนใหญ่จะเป็นผักต้ม ผักในบริเวณหมู่บ้านนั่นเอง

ได้คุยกับหนุ่มๆ สาวๆ ก็บอกว่า แม่เป็นคนทำอาหาร ทำอะไรมาก็ทานตามนั้น ไม่รู้สึกว่าขาดอะไร

การศึกษา ดูจะเป็นชุมชนที่มีการศึกษาดีทุกคน เพราะเป็นชนกลุ่มน้อย รัฐบาลให้สิทธิพิเศษทางการศึกษามากกว่าชาวไทอาหมซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของอัสสัม

ดูไปแล้ว อยู่ 2 อยู่น่าจะไปได้ คืออยู่รอด กับอยู่ร่วม

แต่อยู่ที่ 3 อยู่อย่างมีความหมาย น่าจะเป็นเรื่องที่ค่อยๆ อ่อนแรงลงไปครับ

จะยินดีอย่างยิ่งหากหมอเจ้มีโอกาสไปเยือนหมุ่บ้านนี้ รับจะประสานให้อย่างเต็มที่ครับ

เรื่องเส้นทางและพี่พักไม่มีปัญหา มีชาวบ้านพร้อมที่จะรับให้ไปพักหลายบ้าน อย่างญาติและลูกหลาน

ใจหนึ่งอยากจะเสนอสถาบันพระปกเกล้า ลุงเอกชัย ให้จัดไปอัสสัมสักที จะเป็นโจทย์ที่น่าสนใจไม่น้อย

ฝากหมอเจ้กริ้งกร้างไปที่ลุงเอกด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท