การเลี้ยงกบนาเพื่อสร้างรายได้ที่บ้านดงชัย เวียงเชียงรุ้ง เชียงราย


บันทึกเรื่องเล่าประสบการณ์ความสำเร็จ ชื่อผู้เล่า นายเชิดชัย แสงสุข ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ชื่อเรื่อง การเพาะพันธุ์ลูกกบนาเพื่อขายลูกกบ เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ สถานที่ บ้านเลขที่ ๑๕๕ บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เนื้อเรื่องย่อ กบนา เป็นสัตว์พื้นบ้านที่เป็นอาหารของชาวบ้าน ที่มีการเสาะหามาไว้เป็นอาหารประจำวันในทุกฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝนจะมีการออกหากบนามาประกอบเป็นอาหาร ที่เหลือยังขายเป็นรายได้ ของครอบครัวและมักมีราคาแพงอีกต่างหาก ปัจจุบัน กบนาสามารถเพาะพันธุ์ไว้สำหรับเลี้ยงไว้กินเอง หรือเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายเป็นลุกกบเพื่อให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงเพื่อจำหน่ายหรือเลี้ยงไว้กินได้แล้ว โดยนายเชิดชัย แสงสุข ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

บันทึกเรื่องเล่าประสบการณ์ความสำเร็จ ชื่อผู้เล่า นายเชิดชัย แสงสุข ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ชื่อเรื่อง การเพาะพันธุ์ลูกกบนาเพื่อขายลูกกบ เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ สถานที่ บ้านเลขที่ ๑๕๕ บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เนื้อเรื่องย่อ กบนา เป็นสัตว์พื้นบ้านที่เป็นอาหารของชาวบ้าน ที่มีการเสาะหามาไว้เป็นอาหารประจำวันในทุกฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝนจะมีการออกหากบนามาประกอบเป็นอาหาร ที่เหลือยังขายเป็นรายได้ ของครอบครัวและมักมีราคาแพงอีกต่างหาก ปัจจุบัน กบนาสามารถเพาะพันธุ์ไว้สำหรับเลี้ยงไว้กินเอง หรือเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายเป็นลุกกบเพื่อให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงเพื่อจำหน่ายหรือเลี้ยงไว้กินได้แล้ว โดยนายเชิดชัย แสงสุข ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงชัย หมู่ที่ ๒ ตำบล ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย สามารถเพาะพันธุ์ลูกกบนาเพื่อเลี้ยงไว้กินเองและ จำหน่ายลูกกบให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยง โดยมีองค์ความรู้จากการศึกษาดูงานจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และนำมาทดลอกทำ ลองผิด ลอกถูก และศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ จนเกิดความชำนาญ และสามารถเพาะพันธุ์ลูกกบนาได้ สามารถสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัวและเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ -จัดเตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร เทพื้นให้ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ระดับความลาดเอียง ๕ เซนติเมตร จัดทำท่อระบายน้ำ ขนาด ๒” พื้นบ่อเทพื้นขัดมันเรียบ หรือปูด้วยกระบี้ยงปูพื้นก็ได้ ผนังบ่อขัดมันเรียบหรือปูกระเบื้ยง ความสูง ๕๐ – ๖๐ เซนติเมตร หลังคามุงด้วยแสลมดำ ขนาดความเข้มของแสง ๘๐% -เมื่อเตรียมบ่อแล้วให้ทำความสะอาดบ่อและบรรจุน้ำ ลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร หาวัสดุประเภทพื้นน้ำ เช่น บักบุ้ง/ผักตบชวา ใส่บ่อพอประมาณ ๒.การเพาะพันธุ์กบ - การคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ให้เลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบตัวโต ที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรค ๕- ๘ คู่ แยกเลี้ยงไว้ในบ่อเลี้ยง คนละบ่อ -สังเกตดู ว่าพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ มีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ เลือกเวลาที่มีฝนตกตาม ธรรมชาติ ปล่อยพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ กบ ลงบ่อ ปล่อยให้อยู่ด้วยกัน ๑ คืนแล้วแยกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ ออกเลี้ยงคนละบ่อ และ/หรือ ถ้าฝนไม่ตก แต่พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ พร้อมผสมพันธุ์ ให้เลือกเวลาเย็น ฉีดพ่นน้ำเป็นผอย/ละออง(ทำฝนเทียม) ใส่บ่อขณะเดียวกันก็ปล่อยพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบลงบ่อปล่อยให้อยู่ด้วยกัน ๑ คืน ก็แยกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบออกจากบ่อเพาะ - ตอนเช้าหลังจากแยกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบออกจากบ่อเพาะ จะเห็นไข่กบลอยน้ำในบ่อ เพาะหรือติดตามกอพืชน้ำที่ใส่ไว้ในบ่อเพาะ ปล่อยทิ้งไว้ ๒๔ ชั่วโมง ลูกกบจะออกจากไข่เป็น ลูกอ๊อดตัวเล็กๆ -การอนุบาลลูกอ๊อด ใช่ไข่แดงจากไข่ไก่ ละลายน้ำให้กินเป็นอาหาร วันละ ๒ ครั้ง ใช้วเลา ๗-๑๐ วัน ลูกอ๊อด จะสลักหาง เป็นลูกกบเล็ก -การให้อาหารกบเล็ก ใช้อาหารไก่เล็กเลี้ยงช่วงอายุ ๑๐-๒๐ วัน และเปลี่ยนเป็นอาหารไก่ เล็ก ช่วงอายุ ๒๐-๓๕ วัน หลังจากนั้น ก็แยกเลี้ยง/จำหน่ายเป็นลูกกบ ปัญหา ที่พบ คือ ๑.ลูกกบไม่แข็งแรง เกิดจากการน้ำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ สายพันธุ์ใกล้ชิดกัน มาผสมพันธุ์ แก้ไขโดย คัดสายพันธุ์จากคนละพ่อ-แม่ ๒.โรคขาแดง/ขาปวม แก้ไขโดย ใช้ยากปฏิชีวนะผสมอาหารให้กิน ๓.ลูกกบตัวโตกัดกินลูกกบตัวเล็ก แยกลูกกบตัวโตออกจากบ่อ ๔.สัตว์ศัตรูกัดกินลูกกบ เช่น นกเอี้ยง นกกะปูด นกกางเขน นกกระเต็น แก้ไขโดยใช้ตาข่ายล้อมรอบบ่อเพาะเลี้ยงให้มิดชิด ๒.แก่นความรู้ (Core competence) ๑. การคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ ต้องไม่ใช่กบสายเลือดเดียวกัน และเป็นกบที่แข็งแรงเท่านั้น ๒.บ่อเพาะพันธุ์กบต้องมีพื้นผิวและผนังบ่อเรียบ และพื้นบ่อต้องลาดเอียง เพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา/ไม่เป็นอัตรายต่อกบ ๓.ต้องดูแลรักษาและป้องกันศรัตรูที่เป็นอันตรายต่อกบ นกต่างๆ งู และกบที่ตัวโตกว่า ๔. บ่อขนาด ๓+๔ เมตร ใช้พ่อ-แม่พันธุ์ ๕-๘ คู่ เป็นจำนวนที่เหมาสมกับขนาดของบ่อ

คำสำคัญ (Tags): #การเลี้ยงกบ
หมายเลขบันทึก: 463708เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท