ถอดรหัสการเรียนรู้ด้วยคูแซม (KUSAM)


จุดประกายเชื่อมโยงเหนี่ยวนำความรู้ไปยังแนวทาง ขั้นตอนเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้


 

จากบันทึกที่แล้ว (http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/463125) ผมได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนา KUSA ไปสู่ KUSAM โดยได้อธิบายตัว “M” ที่เพิ่มมา คือ Moral และ Maturity แล้ว แต่ใน Mindmap ยังมี Keyword อีกหลายตัวที่ยังไม่ได้อธิบาย ซึ่งผมก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียน.ในเรื่อง ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understand) ทักษะ (Skill) และมีทัศนคติ/เจตคติที่พึงประสงค์ (Attitude) เท่านั้น แต่ได้จุดประกายเชื่อมโยงเหนี่ยวนำความรู้ไปยังแนวทาง ขั้นตอนเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ด้วย รายละเอียดลองมาดูคำอื่นๆกันครับ

 

K

 

  • KM : Knowledge Mangement – การจัดการความรู้ ในการจัดการเรียนการสอน ผมคิดว่าเราไม่น่าจะเน้นการสอนอย่างเดียว แต่ต้องให้ผู้สอนกับผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน บทบาทของผู้สอนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ทุกอย่าง แต่ต้องเป็นคนที่รู้ว่าแหล่งความรู้นั้นอยู่ที่ใด และจะนำความรู้นั้นมาได้อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเดินทางไปเก็บเกี่ยวความรู้ที่ว่านั้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของตน ผมตั้งชื่อตำแหน่งผู้สอนอย่างขำๆ ว่าเป็นนายหน้าหาความรู้  “มัคคุเทศก์สิกขา” หรือ “ Guide Knowledge” นั่นเอง

  • Kindly – ความเป็นคนมีจิตใจดี ตามพรหมวิหารธรรม คือมีความเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา อ่านรายละเอียดหลักพรหมวิหารธรรมกับการทำงาน และเรื่องธรรมมะกับการทำงานที่ผมได้เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ได้ที่ http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/217939

  • Kidding – การหยอกเหย้า ล้อเล่น การเรียนการสอนจำเป็นต้องมีมุก กลยุทธ์ ให้ผู้เรียนสนใจ มีความเป็นกันเอง ต้องทำให้รู้สึกว่ากำลังสนุกสนานกับการเรียน โดยสอดแทรกความรู้เข้าไป ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว และไม่รู้สึกว่ากำลังถูกสอนอยู่

  • Keen – การสร้างความกระตือรือล้น ผู้สอนต้องดูแลเอาใจใส่แลสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากที่จะเรียน คือมีความพึงพอใจที่จะเรียน (ฉันทะ) ลองเช้าไปดูเรื่องของครูทอมป์สันกับเท็ดดี้จาก Link นี้ดูครับ http://www.youtube.com/watch?v=_ZxphJ-XMTc และ http://www.gotoknow.org/blog/thamtipsakul/304831

  • Keep – การดูแล คุ้มครอง ป้องกัน เฝ้าระวัง ผู้สอนต้องเป็นที่พึ่งของผู้เรียนได้ในทุกเรื่อง สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กำลังใจแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ได้ ลองอ่านเรื่องราวของครูเลาแอนด์จาก Link นี้ดูครับ http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/450169 , http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/437049

  • Kite – ถ้าเปรียบเทียบ ผู้เรียนคือว่าว และผู้สอนคือคนเล่นว่าว ว่าวจะขึ้นกินลมได้ดีขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้เล่นทั้งสิ้น ตั้งแต่การเริ่มผลิตว่าวด้วยวัสดุที่เหมาะสม การนำว่าวไปเล่นในที่เหมาะสม มีสภาพภูมิอากาศ บรรยากาศเหมาะสม เปรียบเสมือนการหา Training Need สำหรับผู้เข้าเรียน ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ผู้สอนต้องไม่ยัดเยียดความรู้ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้แก่ผู้เรียนโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้การสอนจะต้องให้ผู้เรียนพบปัญหาอุปสรรคมและได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง ปัญหาเปรียบเสมือนลมที่ปะทะว่าวทำให้ให้ว่าวขึ้นสูง ดังคำที่กล่าวว่า “ที่ใดไม่มีปัญหา ที่นั่นไม่มีการพัฒนา”

 

U

 

  • Utilities/Useful – การทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เนื้อหาที่สอนต้องมีประโยชน์ต่อผู้เรียนตามความจำเป็น แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าวิธีการสอนของเป็นไปอย่างเคร่งขรึม เป็นทางการ สิ่งที่คิดว่าไร้สาระอาจจะมีประโยชน์ก็ได้ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวเล่น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้สอนที่จะบูรณาการสิ่งรอบตัวเชื่อมโยงไปยังองค์ความรู้ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามที่กำหนด ลองเข้าไปดูวิธีการจัดการเรียนการสอนของครูธนิตย์จาก Link นี้ดูครับ http://www.gotoknow.org/blog/tnitsu/462753
  • Use to – การสร้างความคุ้นเคย ผู้สอนต้องสร้างให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับเนื้อหา เชื่อมโยงจากง่ายไปยาก มองภาพรวมก่อนแล้วค่อยลงไปในรายละเอียด ให้ความรักก่อนให้ความรู้ตามที่ครูสมพรสอนลิงได้ทำไว้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ดูเรื่องราวของครูสมพรสอนลิงได้ที่นี่ครับ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=35473

 

S

 

  • Safety – ความปลอดภัย การเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน ผู้สอน อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม ผู้สอนต้องดูแลความปลอดภัยของห้องเรียนให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องสร้างจิตสำนึกให้ผู้เรียน เพื่อให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วย เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก ดังนั้นการสอนเราไม่ได้เน้นเรื่องความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ต้องทำให้ผู้เรียนพยายามสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองให้ได้ โดยให้ทำกิจกรรมและมาสรุปทำ AAR (After Action Review) ร่วมกัน
  • Service – การให้บริการ การเรียนการสอนเราต้องสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ โดยให้ความสำคัญของคำว่าลูกค้า ลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่มาซื้อของเท่านั้น แต่หมายถึง ทุกๆคนที่มีความเกี่ยวข้องกับเรา ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน คนติดต่องาน พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมโลก สิ่งเหล่านี้ต้องสอดแทรกเข้าไปในการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากลูกค้าใกล้ตัวก่อน คือ พ่อแม่ พี่น้อง ครู เพื่อนร่วมชั้นเรียน นั่นเอง ลองเข้าไปดู Link ที่ผมเคยทำ AAR เกี่ยวกับ Safety/Service Mind ได้ที่นี้ครับ  http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/320250
  • Security – การรักษาความปลอดภัย  Security จะแตกต่างจาก Safety ตรงที่เป็นการรักษาความปลอดภัยจากบุคคลอื่นที่จะมาทำอันตรายแก่คนและทรัพย์สินได้ ผู้เรียนต้องได้รับการปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องเหล่านี้สอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยกตัวอย่าง สาธก เล่าประสบการณ์ให้ฟัง เช่น การล้อมวงเล่าเรื่อง เป็นต้น สำหรับการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในเรื่องนี้ก็คงคล้ายๆ กับการดำเนินการกับ Safety/Serivce
  • Sufiiciency/Sustainable – ความพอเพียงและความยั่งยืน หลายคนคงคุ้นเคยกับกับเหล่านี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพระราชดำริของพระองค์ท่านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ของพวกเรา แต่การที่จะนำไปปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของแต่ละคน สำหรับเรื่องนี้ผมเชื่อมโยงไปในเรื่องการเรียนการสอนตรงที่เราจะทำอย่างไรกับงบประมาณที่มีอย่างจำกัด ทำให้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจึงทำให้เราเกิดนวัตกรรมต่างๆขึ้นมาได้อย่างมากมาย มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เราไปจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก กาญจนบุรี ครั้งนั้นเราประหยัดงบประมาณไปได้ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังได้ทำประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและที่โรงเรียนด้วย ลองเข้าไปดูตาม Link นี้ ครับ http://www.gotoknow.org/blog/attawutc/403378
  • Simple – การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำอะไรที่มันง่ายๆ แต่ได้ผล การเรียนการสอนต้องสอนให้ง่าย ให้เด็กคิดว่าเป็นเรื่องง่าย จากเรื่องเล่าการคิดทำปากกาบนยานอวกาศก็คงทำให้เห็นภาพได้นะครับ แทนที่จะคิดทำปากกาไปใช้ในอวกาศซึ่งต้องใช้การคิดด้วยทฤษฎีหลายอย่าง อีกทั้งเสียงบประมาณไปมากมาย ทำไมไม่ใช้ดินสอแทน
  • Soft – ความอ่อนโยน ผู้สอนต้องมีสุภาพ ความอ่อนโยนเข้าถึงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่อนปวกเปียก อ่อนแอ ต้องยืนยันในหลักการอย่างเข้มแข็ง
  • Serveral – ความหลากหลาย ในการจัดการเรียนการสอน ต้องมีความหลากหลายในการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน หรือโรงฝึกเท่านั้น แต่เราสามารถจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาสถานที่ ผู้สอนต้องประยุกต์สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมให้เป็นสื่อการสอนได้อย่างกลมกลืน ลองเข้าไปดูตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ของครูธนิตย์ตาม Link นี้ดูครับ http://www.gotoknow.org/blog/tnitsu/457974
  • Support - การช่วยเหลือสนับสนุน ผู้สอนต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียนด้วยความเข้าอกเข้าใจ เป็นที่ปรึกษาให้กำลังใจ ลองเข้าไปอ่านเรื่องราวของรูทอมป์สันกับเท็ดดี้จาก Link นี้ดูครับ http://www.youtube.com/watch?v=_ZxphJ-XMTc และ http://www.gotoknow.org/blog/thamtipsakul/304831

 

ยังมี Keyword อีก 2 ตัว คือ “A”  กับ“M” ซึ่งเหลือเนื้อหาค่อนข้างเยอะพอสมควร ผมคิดว่าน่าจะยกยอดไปเล่าในตอนต่อไปดีกว่า ผู้อ่านจะได้ไม่เบื่อ แล้วค่อยพบกันใหม่ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 464060เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2011 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท