ใช้ AI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)ไปสืบค้นที่มาการพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่ “ที่สุดในโลก”(2)


ใช้ AI_Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)สืบค้นที่มาของภูมิปัญญาการพร่องน้ำโดยเรือ จนกลายเป็นการพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุด"ที่สุดในโลก" ตอนที่ 2 ครับ


ผมสนใจติดตามข่าวการพร่องน้ำโดยเรือเพื่อช่วยระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ว่ากันว่า จะใช้เรือมากถึง 1,000 ลำ ซึ่งเป็นการใช้เรือผันน้ำครั้งใหญ่ที่สุดในโลก และงานนี้ก็เช่นกัน กินเนสส์บุ๊คจะได้จดบันทึกสิ่งนี้ว่าจะเป็น การพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุด"ที่สุดในโลก"ด้วย (ทีแรกจะดำเนินการวันที่10 ต.ค.ทราบว่าได้เลื่อนเป็นวันที่ 16 ต.ค. แล้ว)โดยวิธีการนี้กำลังเป็นความหวังของคนกรุงเทพ ที่จะทำให้รอดฟ้นจากวิกฤติน้ำท่วมในครั้งนี้ ผมอดตั้งคำถามไม่ได้ ว่ารัฐบาลได้ความคิดนี้มาจากไหน ก่อนหน้านี้ผมทราบมาก่อนว่าเครือข่ายรักษ์แม่น้ำท่าจีน เคยใช้วิธีการแบบนี้อย่างได้ผลมาก่อนแล้ว

ก่อนจะเข้าบ้านได้..คุณต้องผ่านประตูก่อน...เข้าประตูไม่ได้..ก็เข้าบ้านไม่ได้ ในกระบวนการทำ
AI-Appreciative Inquiry
ประตู ก็คือ ขั้นตอน Discovery ครับ..ถ้าคุณเปิดประตูไม่ได้..ก็เข้าไปข้างในไม่ได้...
AI-Appreciative Inquriy
เป็นกระบวนการค้นหาด้วยการถามอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุด ที่ทำให้ระบบนั้นดำเนินอยู่อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด..AI เชื่อว่าในทุกระบบ ทุกคนมีเรื่องดีๆ
ซ่อนเร้น มีเรื่องที่ work ซ่อนเร้นอยู่ครับ...

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธ์
AI/OD Consultant
ที่ MBA Khon Kaen University
 

 

………..


คุณสุนา สร้อยเซียน ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง  อำเภอสามพราน เล่าเรื่องที่ได้ใช้กระบวนการAI_ Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก) ไปสืบค้นที่มา “การพร่องน้ำโดยเรือ “ ในเขตอำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม ว่า
ในปี 2518  ได้ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ในเขตลุ่มน้ำท่าจีน โดยพื้นที่อำเภอสามพราน  ก็ท่วมด้วย ทั้งนี้เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนทำให้เกิดน้ำท่วมในลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มน้ำท่าจีน ตำบลคลองจินดา   อำเภอสามพราน ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำท่าจีน เป็นพื้นที่ที่ ที่มีผลไม้นานาชนิด  ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ  ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนั้น จนสวนผลไม้เกิดความเสียหายอย่างมาก 
ชาวบ้านชาวสวน ที่เดือดร้อนและชาวชุมชนท้องถิ่นร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน  ในอำเภอสามพราน  ได้มาร่วมกันคิดวิธีระบายน้ำออกจากคลอง โดยเฉพาะที่คลองจินดาซึ่งเป็นคลองหลัก
............

คุณวิถี  หลงสมบุญ  ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนองเล่าเสริมว่า ด้วยเป็นคนพื้นเพอำเภอสามพรานได้เข้าร่วมกิจกรรม การพร่องน้ำในครั้งนั้น ด้วย ซึ่งการพร่องน้ำที่ชาวชุมชนใช้นั้นเป็นจากภูมิปัญญา”การพร่องน้ำโดยเรือ” ที่ใช้กันมาเนิ่นนาน  โดยการใช้ใบพัดเรือหางยาว ที่  ใช้ในการสัญจรและขนถ่ายสินค้า ของชาวบ้าน ที่มีอยู่ทุกบ้านมาช่วยกันผลักดันน้ำ  มีการปักเสาขวางปากคลองจินดาเป็นที่ผูกกับเรือ แล้วนำหางเรือจุ่มลงน้ำ   แล้วติดเครื่องยนต์พร้อมๆกัน 
จนสามารถทำให้ ปริมาณน้ำในคลองลดระดับลงอย่างรวดเร็ว 
(ผมเคยใช้กระบวนการAI _Appreciative Inquiry (สุนทรีสาธก)ถอดบทเรียนที่ตำบลคลองตัน อำเภอบ้านแพร้ว จังหวัดสมุทรสาครที่อยู่ไม่ไกลจากที่ต.ทรงคนองมากนัก บอกว่าในสมัยโบราณ เขาใช้การไล่ควายในคลองเพื่อการพร่องน้ำหรือไล่น้ำ จนเกิดเป็นประเพณีไล่ควายสืบต่อมา)

 

...........

 คุณวิถี  หลงสมบุญ  ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง ยังได้กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วมปี 2526 น้ำได้ท่วมพื้นที่อำเภอสามพรานอีกครั้ง  คราวนี้น้ำได้ท่วมกินพื้นที่อำเภอสามพรานทั้งอำเภอ   โดยเฉพาะตำบลทรงคนองที่เป็นย่านปลูกส้มโอ ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกส้มโอที่อร่อยที่สุดของประเทศ เกิดน้ำท่วมหนักมากและกินเวลานาน  แกนนำชาวบ้านในสมัยนั้นคืออดีตกำนันประสาน      การะเวก (ปัจจุบันเป็นรองนายก อบต.ทรงคนอง) นายเทพ  กิ่งสวัสดิ์  อดีตสารวัตรกำนัน  นายสวัสดิ์  รุ่งเรืองศรี อดีตผู้ใหญ่บ้าน ม.3  นายชิน  ประเสริฐมรรค (ปัจจุบันเป็นนายกอบต. ทรงคนอง) ก็ได้ใช้ภูมิปัญญา”การพร่องน้ำโดยเรือ”นี้ประสานพลังกัน โดยให้ทำ”การพร่องน้ำโดยเรือ” พร้อมกันทุกปากคลองในตำบลทรงคนอง  ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 คลองด้วยกัน   เมื่อได้ผลเป็นที่ประจักษ์วิธี”การพร่องน้ำโดยเรือ” นี้ก็ได้ใช้ติดต่อกันเรื่อยมาในเขตลุ่มน้ำท่าจีน 

   

..........       
     
 กำนันบุญสม  ประเสริฐมรรค กำนันตำบลทรงคนอง เล่าว่า ได้มีปัญหาน้ำได้ท่วมหนักอีกครั้งในปี  2538  น้ำท่วมคราวนั้นกินเนื้อที่กว้าง  ประชาชนได้รับความเสียหายหลายตำบลในพื้นที่อำเภอสามพราน ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน คือ ต.บางเตย ต.บางกระทึก ต.ไร่ขิง         กำนันบุญสม จึงได้ประสานไปยังกำนันทุกตำบล ให้ช่วยกันบอกกล่าวชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน รวมตัวกันผลักดันน้ำพร้อมกัน ด้วย”การพร่องน้ำโดยเรือ” จนเกิดผลน้ำได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 
..............


ต่อมาแกนนำตำบลทรงคนองหลายท่านที่มีบทบาทสำคัญในเรื่อง”การพร่องน้ำโดยเรือ”นี้ ได้เข้าไปมีบทบาททำงานเครือข่ายกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน  โดยเฉพาะคุณวิถี  หลงสมบุญ  นายกชิน    ประเสริฐมรรค นายกอบต.ทรงคนอง ได้ใช้แนวคิด”การพร่องน้ำโดยเรือ”นี้กับเครือข่ายกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน ให้ใช้”การพร่องน้ำโดยเรือ”ไปผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีน ในช่วงน้ำท่วมในปี 2549 ซึ่งครั้งนั้น มีการพัฒนามาเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่  มีกำลังสูง  ประสาน”การพร่องน้ำโดยเรือ” ในการผลักดันน้ำตั้งแต่อำเภอบางเลน /นครชัยศรี / สามพราน / จนออกปากอ่าวทะเลที่จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้พื้นที่การเกษตรรอดพ้นความเสียหายมาได้มาได้  

...........
และในปี 2554 นี้เองประวัติศาสตร์ จะได้จารึกไว้ว่าภูมิปัญญาของคนตำบลทรงคนอง  ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน และเครือข่ายกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน ได้สามารถผลักดันเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศชาติ  ด้วยรัฐบาลได้ยอมรับแนวทาง”การพร่องน้ำโดยเรือ”นี้เพื่อนำไปใช้ในการผลักดันน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งเป็นกลยุทธสำคัญ เป็นแนวทางที่เป็นความหวังที่มีส่วยสำคัญช่วยเหลือผู้คนในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆในลุ่มเจ้าพระยาหลายจังหวัด อีกมากมาย ได้ผ่านพ้นวิกฤติในเวลาอันเร็ววันนี้
เราจะรอดูผลการปฎิบัติการ  ในวันที่16 ต.ค.54นี้ครับ

 

คนลุ่มน้ำท่าจีนจึงรู้สึกภาคภูมิใจ ที่พบว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของที่มาภูมิปัญญาการพร่องน้ำโดยเรือ จนกำลังจะกลายเป็นตำนานการพร่องน้ำโดยเรือครั้งใหญ่และใช้เรือมากที่สุดในโลก ที่จะเกิดขึ้นในแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันที่16 ต.ค.54นี้

......

 

ผมรู้สึกภาคภาคภูมิใจและรู้สึกขอบคุณ
แกนนำเครือข่ายความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น ตำบลทรงคนอง
แกนนำเครือข่ายความร่วมมือชุมชนท้องถิ่น ตำบลคลองจินดา
ขอบคุณเครือข่ายชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน 
ขอบคุณ ภาครัฐ และสื่อ ที่ต่างให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ ภูมิปัญญาเรื่อง”การพร่องน้ำโดยเรือ”นี้
เป็นอย่างสูง
ขอบคุณ คุณสุนา สร้อยเซียน ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชนตำบลทรงคนอง   ผู้ประสานจัดเวทีแลกเปลี่ยนและเรียบเรียงข้อมูลในเบื้องต้น
ขอบคุณครับ
มีความหวังที่จะก้าวผ่านพ้นวิกฤตินี้ร่วมกันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 464551เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
นางสุนา สร้อยเซียน

ความรู้ที่อยู่คู่กับชุมชนมาเนิ่นนาน เรื่องดีๆเหล่านี้จะได้เผยแพร่สู่ชนรุ่นต่อๆไปได้ชื่นชม

สุนทรียสาธก....พกพาเรื่องดี ไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้น

ยินดีอย่างยิ่งครับคุณสุนา สร้อยเซียน 
เรื่องดีๆเหล่านี้เมื่อได้ค้นพบด้วยความชื่นชมยินดีแล้ว
ควรได้มีการสาธก(บอกเล่าหรือสื่อสารสาธารณะ)ต่อ
รวมทั้งการจัดเก็บเป็นขัอมูล เป็นเรื่องเล่าเผยแพร่สู่ชนรุ่นต่อๆไปได้อย่างน่าชื่นชมยินดีครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลประกอบการทำบันทึกนี้ครับ

Ico48

 

สุนทรียสาธก....พกพาเรื่องดี ไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆ ขึ้น

ท่านผู้เฒ่าวอญ่า(แต่มีหัวใจเป็นหนุ่มสาว)ครับ ชอบมากครับ

ชอบคำว่า "สุนทรียะสาธก" ยกเรื่องดีๆมาคุยกัน

Ico48

ขอบคุณครับ อ.โสภณ เปียสนิท

AI_สุนทรียะสาธก..... ยกเรื่องดีๆมาคุยกัน
AI_สุนทรียสาธก....พกพาเรื่องดี ไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆขึ้น

  • พี่สุเทพ
  • สบายดีไหมครับ
  • ไม่ได้ข่าวเลย

ขอบคุณครับอาจารย์

Ico48 ขจิต ฝอยทอง

ยังสบายดี ทั้งกายและใจ แม้มีปัญหาอุปสรรคอยู่
เรื่องการเรียนก็เรียบร้อยดี เป็นไปตามจังหวะก้าว
ยินดีครับ ในการ ลปรร.

Ico48 gtm2002

ยินดีได้รู้จักครับ
ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ

คำถามเริ่มต้น เพื่อการเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ สบายดีไหมคะ เรียน งานยุ่ง?

 เมื่อวานไปเจอบันทึกภาษาผู้ไท ให้ระลึกถึงเด้อค่า :)
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/471666

Ico48 Poo

  • ขอบเจอหลายคุณปู
  • มิได้เมอบ้าน ผู้ไทเหิงแล้ว
  • สบายดีครับ กำลังยุ่งเรื่องเฮียน ฟ้าวเห้อจบไวๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท