ความสุขหมายถึงอะไร


คนทุกคนโหยหาความสุข

เป็นธรรมดาของมนุษย์เราที่มักไขว่คว้าหาความสุข เพราะคำๆนี้ถูกบัญญัติให้แปลว่าสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และพากันแสวงหาตามแต่สติและปัญญา ด้วยวิธีการต่างๆ” ดังนั้นไม่แปลกเลยที่ใครต่อใครพากันค้นหากุญแจดอกที่คิดว่าใช่และลงล็อคที่สุด  เพื่อนำไปสะเดาะกลอนประตูแห่งความสุข ซึ่งผู้ค้นหาเชื่อว่าเมื่อเปิดออกไปก็จะพบกับความสุขที่สวยงามตามที่จินตนาการไว้

เราคงตอบแทนไม่ได้ว่าภาพเบื้องหลังประตูที่ว่านั่น มันไฉไลสวยงามดั่งที่หมายปองไว้หรือไม่ แถมความสุขของแต่ละคนก็รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน บ้างก็อยากรวย อยากมีคนรัก อยากเป็นใหญ่เป็นโต และอีกมากมาย เพราะเท่าที่เรารับทราบกันอยู่ก็คือความสุขไม่มีสูตรสำเร็จ เช่น

คนที่ร่ำรวยเงินทองไม่ได้อยู่แบบมีความสุขมากไปกว่าคนฐานะพอใช้ที่เลือกกินอยู่แบบพอเพียง

คนที่มีผู้คนรุมรักจำนวนมากก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะได้เจอความสุขจากรักที่แท้จริงเหมือนผู้อื่น

คนที่มีอำนาจบารมีอาจจะไม่ได้มีโอกาสหัวเราะและยิ้มเท่ากับคนเดินถนนกินข้าวแกงธรรมดาๆ

อาจเป็นเช่นนี้เองที่ทำให้เราอาจจะต้องค้นหากุญแจแบบอื่น ซึ่งเราอาจจะทำมันหล่นหายไป และสิ่งที่ว่านั่นก็คือ “ศาสนา” ด้วยประเด็นคำถามที่เข้าใจง่ายๆว่า เป็น + อยู่ อย่างไรให้ = ความสุข? และนี่คือคำตอบซึ่งคุณอาจจะกำลังค้นหากันอยู่

 

พระพุทธเจ้าได้ค้นพบแนวทางซึ่งยิ่งใหญ่และเป็นคำตอบของความสุข ก็คือ ‘ทางสายกลาง’ ซึ่งก็แปลให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่าการกระทำหรือคิดอ่านอะไรก็ตามที จะต้องอยู่บนความพอดี ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป อย่างเช่น หากคุณพยายามแสวงหาเงินทอง และเมื่อคุณได้มันมามากพอที่จะทำให้คุณอยู่ดีกินดีแล้ว ก็ควรจะแบ่งปันให้คนรอบข้างหรือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าตน ถ้าหากใครที่อยากจะให้คนมารักมาชื่นชอบ แต่กลับไม่เคยพยายามสร้างความดีงามอะไรเลย ก็ควรจะหันกลับมาสำรวจตนเองและทำความดีให้เป็นรูปธรรม อาตมาเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีสิทธิ์ที่จะมีความสุขได้ มีข้อแม้ง่ายๆก็คือ มีความอยากได้อยากมีแบบพอดีๆ ผลลัพธ์ชีวิตของคุณก็จะดีพออย่างที่คุณต้องการ”

 

ศาสนาอิสลามสอนว่าการอยู่บนโลกนี้ คือการเดินทางเท่านั้น และมนุษย์เป็นเพียงแค่นักเดินทาง แต่การได้รับโอกาสของทุกคนจะต้องหมั่นสร้างคุณงามความดีให้กับตัวเองและสังคม เราเชื่อว่าการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี และเผื่อแผ่ความดีนั้นไปสู่ครอบครัว เพื่อนบ้าน และสังคมโดยรวม คือหน้าที่ของเรา รวมถึงเมื่อเห็นใครทำสิ่งไม่ดี ก็จะต้องทำหน้าที่สอดส่องดูแล และโน้มน้าวให้กลับมาทำความดี ความสุขตามแนวทางของศาสนาอิสลาม ก็คือ การอยู่แบบเจียมตัว และไม่นำความต้องการอยากได้อยากมีของตัวเองเป็นที่ตั้ง จนเบียดเบียนผู้อื่น เพราะเชื่อว่าสิ่งที่เรามีและเป็นอยู่คือสิ่งล้ำค่ำมากพอแล้ว”

 

ศาสนาฮินดู

“ความศรัทธาคืออำนาจอันทรงพลังซึ่งสามารถสร้างสิ่งอันทรงคุณค่าให้กับมนุษย์ได้ หากคุณอยากมีความสุข ฮินดูไม่มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นแบบแผนว่าจะต้องคิดหรือทำเช่นไร ตัวคุณเองเท่านั้นที่สามารถเป็นผู้กำหนดเอง เพราะพลังศรัทธาจะเป็นสิ่งผลักดันให้มนุษย์สามารถกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างดีเยี่ยม เพราะการกระทำกับความเชื่อมีความผูกโยงกัน หากเราบอกให้คุณทำแบบนี้ โดยในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็จะทำมันออกมาได้แบบไม่เต็มที่ ดังนั้นเราขอเป็นผู้ผลักคุณให้คล้อยไปตามศรัทธาของตัวเอง และจงผลักดันความคิดและการกระทำให้ไปสู่เป้าหมายที่คุณวาดหวังไว้ให้ได้ แต่หากไม่ได้ คุณก็ต้องศรัทธาต่อไป เพราะว่าความศรัทธานั่นก็คือเงาสะท้อนตัวตนของคุณซึงไม่มีทางจะเป็นอื่นได้”

 

ศาสนาคริสต์

“ความทุกข์ คือมูลเหตุทั้งหมดทั้งปวงที่ทำให้มนุษย์เราอยากมีความสุข ดังนั้นเราต้องแก้ไขที่ต้นเหตุก่อน คือขจัดความทุกข์นั้นออกไป ศาสนาคริสต์สอนให้เรารักตนเองและใคร่พิจารณาว่าเรามีข้อดีข้อเสียอย่างไร เราควรจะพัฒนาในส่วนไหน หรือแก้ไขในเรื่องอะไร อย่าโทษคนรอบข้าง อย่ากล่าวหาสังคม หากทุกคนทำตัวของตัวเองให้ดีกันทั้งหมด สังคมภาพรวมก็จะสดใส และมีสุขตามไปด้วย เพราะคริสต์สอนให้เรารักสังคม เผื่อแผ่ความสุขที่มีไปให้ผู้อื่น และรู้จักให้อภัยตนเองหากก้าวพลาดล้มลง พร้อมต้องลุกกลับขึ้นมาอย่างเข้มแข็ง และรักตัวตนของตัวเอง เท่าที่มีและเป็นอยู่ เพราะการมีลมหายใจและชีวิตอยู่ นับเป็นสิ่งล้ำค่าที่ไม่สามารถหาอะไรมาทัดเทียมได้อีกแล้ว”   

หมายเลขบันทึก: 464994เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท