ทัศนศึกษา (Study Tour) เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต จัดโดย นักศึกษาปริญญาเอก มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต


สวัสดีครับชาว Blog

เช้าวันนี้ผมมีภารกิจที่สำคัญ และน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การมาร่วมกิจกรรมการจัดทัศนศึกษา (Study Tour) เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งนักศึกษาปริญญาเอก มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ตลูกศิษย์ของผมตั้งใจที่จะจัดขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ในห้องเรียนปริญญาเอกไปสู่ท้องถิ่น ไปสู่สังคมในวงที่กว้างขึ้น

ผมประทับใจมาก หลังจากที่ทุกคนได้เรียนกับผมผ่านระบบทางไกล การมาเยี่ยมลูกศิษย์ครั้งนี้ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ได้รับการดูแลอย่างอบอุ่น ทุกคนตั้งใจที่จะจัดกิจกรรมครั้งนี้ให้ออกมาอย่างดีที่สุด

การมีโอกาสได้มาเยี่ยมชมการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ตซึ่งนับว่ามีระบบการบริหารที่ทันสมัยมาก ท่านนายกเทศมนตรี คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา เป็นผู้นำหญิงที่มีวิสัยทัศน์และได้รับการยอมรับมาก ท่านให้เกียรติกับพวกเราและให้การต้อนรับอย่างดีเยี่ยม ขอถือโอกาสขอบคุณท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย 

และวันนี้ผมก็ได้รับเกียรติให้มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต กับผู้บริหารของเทศบาลนครภูเก็ตและลูกศิษย์ปริญญาเอกของผมด้วยก็คงจะได้มีสาระความรู้มาแบ่งปันกับทุก ๆ ท่านที่นี่เช่นเคยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศ

ประชุมกลุ่มย่อย ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้

ณ ร้าน คู่ขวัญ จ.ภูเก็ต

 

ณ เทศบาลนครภูเก็ต

.................................................

หมายเลขบันทึก: 465412เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2011 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
น.ส.อภิชนา สิงสันจิตร

เป็นการสัมมนา

จังหวัดภูเก็ตเต็มไปด้วยวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อาหาร ไม่ได้มีแต่หาดป่าตองที่เป็นจุดดึงดูดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น

ขอบพระคุณมากครับ กับความรู้ดีๆครับ

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ได้รับเกียรติอย่างยิ่งจาก ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต และพวกเรานักศึกษา ป.เอก ได้รับคำแนะนำในการทำวิจัย ที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้มีกำลังใจที่จะก้าวเดินต่อไป อย่างมั่นคง เพราะพวกเรามีท่านอาจารย์ที่คอยให้คำปรึกษา ขอบพระคุณคะ

นายอำนวย คุ้มบ้าน

นายอำนวย คุ้มบ้าน ลูกศิษย์อาจารย์ ศูนย์ภูเก็ต

โครงการ Study Tour เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต โดย นักศึกษาปริญญาเอก มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จัดขึ้นครั้งนี้ 20 ตุลาคม 2554 ผมได้เข้าร่วมและได้รับทราบสาระที่สำคัญในอันที่จะเป็นข้อมูลสำหรับต่อยอดในการทำงานวิจัย อย่างน้อยจะมีฐานทางข้อมูล ว่า ปัจจุบันภูเก็ตอยู่ ณ จุดใด กำลังจะเดินไปทางไหน หรือเราควรจะช่วยให้เดินไปในทิศทางใด นายกสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้กรุณาให้ข้อมูลแบบรอบด้าน และยังได้เชิญเครือข่ายที่เป็นเฟืองสำคัญของเครื่องจักรยี่ห้อ เทศบาลนครภูเก็ต มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนนักศึกษาลืมอาหารมือเที่ยง โครงการนี้ได้อะไรมากมายมหาศาลในด้านความรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้จริง เมื่อ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ของเราได้เสริมเพิ่มเติม ทุดคนถึงบางอ้อในทฤษฎีที่อาจารย์สอน ไม่ว่า 8 K การปลูก และการเก็บเกี่ยว โครงการนี้ อาจารย์ ได้ทำเรื่องที่เครียดให้กลายเป็นเรื่องง่ายอย่างมีคุณภาพ ทำให้เห็นถึงการเป็นผู้นำอย่าง นายกสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ว่า การพัฒนาองค์กรให้สามารถผูกมัดใจบุคลากรได้สำเร็จนั้น ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการกำหนดทิศทางการ ดำเนินกลยุทธ์การ ผูกมัดใจที่ต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร โดยผลักดันผ่านค่านิยมหลักของการมุ่งเน้นผลลัพธ์ และปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆให้สนับสนุนการผูกมัดใจซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะ เวลาและความต่อเนื่อง ดำเนินการอย่างเป็นระบบเนื่องจากการผูกมัดใจเป็นกระบวนทัศน์ของการบริหารคน บนพื้นฐาน ปรัชญาที่เชื่อว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้วยใจจะสามารถสร้างผลสำเร็จของงาน ได้มากกว่าและมีผลิตภาพสูง ซึ่งกระบวนการผูกมัดใจต้องเป็นกระบวนการที่มีวงจรการพัฒนาและเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล รหัส

ปรารถนา เชาวน์เสฏฐกุล นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ศูนย์ภูเก็ต

ได้เข้าร่วมโครงการ Study Tour เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต โดย นักศึกษาปริญญาเอก มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ณ เทศบาลนครภูเก็ต ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คือ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา และเครือข่ายชุมชนด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงการจัดเก็บและกำจัดขยะที่เตาเผาขยะด้วย ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำวิชา การจัดการทุนมนุษย์ ได้บรรยายพร้อมซักถาม บรรยากาศที่เกิดขึ้นทำให้นักศึกษา โดยเฉพาะตัวดิฉัน ได้มีความเข้าใจกลไกการจัดการทุนมนุษย์ได้อย่างกว้างขวางขึ้น ตลอดจนทฤษฎีที่อาจารย์จีระได้สอนในชั่วโมงเรียน ทั้ง 8 k

5l การปลูกเก็บเกี่ยว ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มี ประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อนำไปบริหารจัดการองค์กรให้เจริญก้าวหน้าสู่ความเป็นเลิศ

สรุป เรียนกับ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์ ได้ความรู้มากมาย ไม่เครียด สนุก และสามารถคิดนอกกรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย กราบขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

นายอำนวย คุ้มบ้าน

นายอำนวย คุ้มบ้าน ศิษย์อาจารย์ ศูนย์ภูเก็ต

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ มรภ.สวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต ได้จัด โครงการ Study Tour เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ณ เทศบาลนครภูเก็ต โดยการนำของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ อาจารย์ประจำวิชา การจัดการทุนมนุษย์ และได้รับเกียรติจาก น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง Old Phuket Town สมาคมเพอรานากัน และโครงการเตาเผาขยะภูเก็ต ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครภูเก็ต ท่ามกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกรอบการเรียนที่อาจารย์จีระท่านได้กำหนดให้ลูกศิษย์ได้มีโอกาสเรียนทั้งด้านทฤษฎีและลงมือปฏิบัติสัมผัสกับความเป็นจริงของปัญหาที่ศึกษา ในโอกาสเดียวกัน อาจารย์จีระ ท่านได้บรรยายให้ความรู้ด้านทฤษฎีที่ท่านสอนในห้องเรียนและทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อให้นักศึกษาพร้อมกับคณะผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับรู้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีกำไรในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเป็นเลิศ ทั้งด้านประสิทธิภาพ มาตรฐาน คุณภาพ ความเป็นเลิศ เท่าที่ผมได้ฟังอาจารย์ในทฤษฎีที่ผมคิดว่าน่าจะมีคุณค่ามากและมีบทบาทสำคัญในด้านการสนับสนุนให้ทฤษฎีด้านอื่น ๆ เช่น 8 K 5 K ของอาจารย์ สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นจริงได้ในยุคใหม่ คือ ยุคโลกาภิวัตน์ นั้น ต้องนำ ทฤษฎี ดังต่อไปนี้มาเป็นส่วนสำคัญด้วย คือ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ

เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

สรุป ผมโชคดีที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ ได้รับความรู้มากมายในการทำหน้าที่เป็นกลไกของสังคมภูเก็ตและเชื่อด้วยความมั่นใจ ว่า ทฤษฎีอาจารย์มีความสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์และองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้แน่นอน

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ

นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ ศูนย์ภูเก็ต

เมื่อวานนี้ (20 ตุลาคม 2554) เป็นวันที่พวกเราลูกศิษย์ปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต ทุกคนมีความสุขและความภาคภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสพบท่านศาสตราจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นครั้งแรกจากที่ได้เรียนกับอาจารย์ผ่านทางระบบสื่อสารทางไกลมาแล้วหลายครั้ง อาจารย์น่ารักมากเป็นผู้ใหญ่ใจดี

จากโครงการ Study Tour เรื่อง การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต บรรยากาศในห้องประชุมเป็นบรรยากาศขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ( LO ) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ตตรงกับทฤษฎี 8k’s 5k’s ของอาจารย์ และในขณะเดียวกันผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในด้านการเก็บเกี่ยว โดยการนำของนายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต (คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา ) จึงทำให้เทศบาลนครแห่งนี้เป็นเลิศในหลายด้านดังปรากฏจากรางวัลที่ได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารจัดการขยะของทั้งจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice)แก่จังหวัดอื่นๆต่อไป

นอกจากนี้ได้มีการเตรียมการในการทำดุษฎีนิพนธ์ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์กับลูกศิษย์ทุกคน ทำให้คลายความกังวลได้มากเลยค่ะและมีแรงที่จะสู้ต่อไป

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่เป็นครูให้ความรู้ และได้อนุเคราะห์ให้เป็นแหล่งศึกษาในครั้งนี้ (เทศบาลนครภูเก็ต โรงกำจัดขยะ และถนนวัฒนธรรมเมืองเก่า)

บันทึก – เล่าเรื่อง

20 ตุลาคม 2554

การทัศนศึกษา  (Study  Tour) ณ เทศบาลนครภูเก็ต 

กิจกรรมของเราในวันนี้

เช้าวันนี้..หลังจากที่คณะได้เดินทางมาถึงเทศบาลนครภูเก็ต ท่านนายกเทศมนตรีของเทศบาลนครภูเก็ต (คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา) ได้มาต้อนรับ พูดคุยกับคณะของเราก่อนจะเริ่มพิธีการ 

จากนั้นเป็นการกล่าวต้อนรับและแนะนำการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต

โดย   คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา 

        นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.    เกี่ยวกับจังหวัดภุเก็ตภูเก็ต

-          มีพื้นที่ประมาณ 535 ตร.กม.

-          มี 3 อำเภอ ประกอบด้วย

2.    เกี่ยวกับเทศบาลนครภูเก็ต

-          มีพื้นที่ประมาณ 12 ตร.กม.

-          จำนวนประชากรประมาณ 75,000 คน ผู้สูงอายุมากกว่า 6,000 คน

-          มีประมาณ 21,000 ครัวเรือน

-          หน้าที่ของเทศบาล คือ การดูแลประชาชนตั้งแต่ก่อนเกิดจนตาย นั่นคือ คุณภาพชีวิต

-          วิสัยทัศน์ของเมืองภูเก็ต คือ ภูเก็ตจะเป็นเมืองที่มีความสุขและน่าอยู่อย่างยั่งยืน

-          ยุทธศาสตร์ในการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยเน้น..

1) การศึกษา (สำคัญอันดับแรก)

  • นักเรียนในระบบ 10,500 คน
  • นอกระบบ – การสร้างงาน การฝึกอาชีพ อัตลักษณ์ การกีฬา
  • ให้ความสำคัญเรื่องภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และ IT
  • สร้างความสุขในการเรียน ดนตรี กีฬา วิชาการ
  • พัฒนาเด็กที่เรียนอ่อนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
  • มูลนิธิเมืองเก่าสร้างความเข้มแข็งจากความเป็นตัวตนของคนภูเก็ต

2) สุขภาพ

-          มีการบูรณาการงานการแพทย์เข้ากับเรื่องการศึกษา

-          มีอาสาสมัครสาธารณสุข

3) สิ่งแวดล้อม

-          กลุ่มประชาชนพิทักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งสำคัญต่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง

-          การทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต

-          บุคลากร ประมาณ 1,000 คน

-          เน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยเฉพาะการมีเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

-          โครงการไฟฟ้าลงดิน

-          เครือข่ายทางการศึกษากับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

-          ยึดแนวทางพระราชดำรัส พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นหลักคิด หลักปฏิบัติในการทำงาน

           ท่านนายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ตได้แนะนำการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ตอย่างละเอียดทำให้เห็นภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องวิสัยทัศน์ วิธีการบริหารจัดการ วิธีการบริหารทุนมนุษย์ การสร้างและบริหารเครือข่าย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการสร้างทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตให้มีความเข้มแข็ง และที่สำคัญ คือ การยึดแนวทางพระราชดำรัส พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นหลักคิด หลักปฏิบัติในการทำงานซึ่งเป็นแนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน

            จากนั้นประธานกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก คือ คุณวิศิษฐ์ ใจอาจ ก็ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคณะนักศึกษากล่าวขอบคุณที่ท่านนายกเทศมนตรีได้นำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์.. “ขอขอบคุณ และขอชื่นชมการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ต ตั้งแต่ครั้งแรกที่คณะนักศึกษาค้นหาศึกษาข้อมูลการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ พบว่า เทศบาลนครภูเก็ตเป็นเทศบาลที่ได้รับรางวัลมากที่สุด มีผลงานการบริหารท้องถิ่นที่น่าชื่นชม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการรักษาเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคั้ญมาก ..ขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูง” 

            และการมา Study Tour ในครั้งนี้ นอกจากจะมาเยี่ยมชมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานแบบเทศบาลนครภูเก็ต ท่านอาจารย์จีระ ยังได้แสดงวิสัยทัศน์และมุมมองของท่าน เรื่อง ภูเก็ต กับการสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน..ให้แก่คณะผู้บริหารของเทศบาลนครภูเก็ต และหน่วยงานเครือข่าย อาทิ ผู้บริหารของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ผู้บริหารสมาคมเพอรานากัน (The Thai Peranakan Association) ผู้บริหารชุมชนย่านเมืองเก่า ฯลฯด้วย

             อาจารย์จีระได้ย้ำถึงวัตถุประสงค์หลักของกิจกรรมในครั้งว่า กิจกรรม Study Tour ของนักศึกษาปริญญาเอก เกิดขึ้นจากความคิดของผมที่อยากให้ลูกศิษย์ของผมเรียนรู้จากความจริง เรียนรู้นอกห้องเรียน เรียนรู้นอกตำรา

            หากลองเปรียบทียบประเทศไทยกับสิงคโปร์ จะเห็นว่ารายได้ของประเทศสิงคโปร์วันนี้มากกว่าประเทศไทย 13 เท่า ดังนั้น การอยู่บนโกลของการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในอนาคต ถ้าประเทศไทยหันมาเอาจริงเรื่อง “ทุนมนุษย์” ประเทศไทยก็จะรอด

           ในมุมมองของผม..

           อนาคตของภูเก็ตต้องให้คนไทยและคนที่ด้อยโอกาสได้รับประโยชน์มากขึ้น ไม่ใช่ให้นายทุนรวยขึ้น

  • Standard
  • Benchmarking
  • Brand
  • Best Practice

          คนไทย..ต้องให้ความสำคัญกับ “มาตรฐาน” และต้องเป็น “มาตรฐานโลก” / Global Benchmarking / Brand

          นอกจากการท่องเที่ยวและธรรมชาติที่สวยงามแล้ว จังหวัดภูเก็ตจะต้องมองยุทธศาสตร์เรื่องกีฬา /สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม เช่น เรื่องกีฬา ควรจะมีการแข่งขันระดับโลก อย่างเช่น Phuket Open”

           อาจารย์จีระ ได้มีมุมมองที่น่าสนใจหลายเรื่องในการมองภาพอนาคตของเมืองภูเก็ต (โปรดอ่านจากเอกสารประกอบการบรรยายของท่านซึ่งได้นำเสนอไว้ใน Blog นี้แล้ว)

            ก่อนจบการบรรยาย ท่านอาจารย์จีระได้ทิ้งประเด็นที่หลาย ๆ ท่านอาจจะนำไปคิดและทำต่อดังนี้

-          ทำไมเมืองบางเมืองในต่างประเทศถึงดัง หรือ มีชื่อเสียง เช่น บอสตัน Cambridge , Oxford ฯลฯ

-          เมืองภูเก็ตน่าจะดึงดูดคนเก่งในโลก

-          ภูเก็ตต้องมองการให้ไกลไปถึงการเชื่อมโยงกับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ GMS ฯลฯ

-          ภูเก็ตน่าจะเป็นแหล่งรายได้ทางด้านการค้า

-          และวันนี้เรื่องโลจิสติกส์เป็นเรื่องที่ต้องมีการวางแผนมากขึ้นในภูเก็ต

          “สำหรับปัญหาเรื่องทุนมนุษย์ก็ต้องทำแบบมียุทธศาสตร์มากขึ้น - สังคมไทยลงทุนเยอะแต่คุณภาพใช้ไม่ได้ และก็เป็นที่มาของทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s –ของผม”  อาจารย์จีระกล่าวทิ้งท้ายก่อนจะเปิดเวทีให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น

บันทึกการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

คำถามถึงตัวแทนของสมาคมเพอรานากัน (The Thai Peranakan Association) ว่าบทบาทของสมาคม คืออะไร และเชื่อมโยงกับการทำงานของเทศบาลภูเก็ตอย่างไร?

สมาคมเพอรานากัน (The Thai Peranakan Association) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง คือ ชาวจีน (เซี๊ยะเหมิน) ที่เข้ามาประเทศไทยโดยทางเรือและแต่งงานกับคนพื้นเมืองภูเก็ต แล้วมีลูกหลานที่เรียกว่า “ชาวบาบ๋า” วัตถุประสงค์หลักของทางสมาคม คือ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ การดำเนินชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามของชาวเพอรานากันในประเทศไทย เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย อาหาร วัฒนธรรม ฯลฯ ร่วมกับเครือข่ายเพอรานากันในประเทศอื่น ๆ อาทิ ที่ปีนัง มาเลเซีย อินโดฯ และอื่น ๆ และทำงานร่วมกันสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ซึ่งจะสามารถช่วยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับภูเก็ตได้ นอกจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่สวยงามแล้วภูเก็ตยังมีวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามาก

ดร.จีระ เสริมว่า.. วันนี้ภูเก็ตต้องให้ความสำคัญกับเรื่องทุนทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นทุนที่สำคัญอีกทุนหนึ่งในทฤษฎี 5 K’s ใหม่

ความคิดเห็นที่ 2

ฟังที่ได้ท่านนายกเทศมนตรีฯ กับท่านอาจารย์จีระวันนี้แล้ว ทำให้เห็นว่าการสร้าง Value จากสินทรัพย์ที่เรามองไม่เห็น (Intangible Assets) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น

  • Relationship
  • Knowledge
  • Culture
  • Leadership
  • Trust
  • Skills
  • การตัดสินใจ
  • ความสุขจากข้างใน 

ความคิดเห็นที่ 3

สนใจการทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผู้ต้องขังในเรือนจำ” ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200,000 คน ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ ดังนั้น การศึกษา หรือ การฝึกวิชาชีพ ควรจะมีรูปแบบอย่างไรให้เกิดความสำเร็จ?

ความคิดเห็นที่ 4

ชุมชนย่านเมืองเก่า (Old Phuket Town) เกิดขึ้นอย่างไร และมีบทบาทต่อการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ตอย่างไร?

ชุมชนย่านเมืองเก่า ทำงานส่งเสริมเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของเมืองภูเก็ต เราสร้างกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นคล้าย ๆ กันมาทำงานร่วมกันโดยการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากผู้บริหารของเทศบาลฯ

  • สถาปัตยกรรม
  • วัฒนธรรมด้านอาหารและการแต่งกาย

การทำงานของชุมชนย่านเมืองเก่า เริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์ โดย ทำเสื้อยืดขาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชาวบ้านเราขายหุ้นให้กับชาวบ้าน เราทำการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการจัดนำเที่ยวภายในชุมชน การบรรยาย เยี่ยมชมบ้านชาวบ้าน ทำอาหารพื้นเมือง มีการอบรมเยาวชนเพื่อสร้างศักยภาพของคนรุ่นหลังให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่าย กับ เทศบาล สภาวัฒนธรรม ททท. สมาคมพารานกัน มูลนิธิเมืองเก่า (ช่วยเติมเต็มการพัฒนาอาคารสถานที่ย่านเมืองเก่า) ฯลฯ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนให้การพัฒนาภูเก็ตให้ไปในทิศทางเดียวกัน 

นายกฯ เสริมว่า.. ในการดำเนินการเพื่อการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูเก็ตสิ่งที่สำคัญ คือ การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน และทำให้เขามองเห็นประโยชน์ว่าทำแล้วเขาได้ประโยชน์อะไร?

ดร.จีระ.. เราจะต้องพยายาพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพราะฉะนั้น การนำเอาการบริหารจัดการยุคใหม่ เช่น เรื่องการตลาด การสร้างแบรนด์ หรือ Packaging เพื่อสร้างมูลค่า หรือคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นในการพัฒนา

วันนี้ ภูเก็ตจะต้องทำเรื่องการเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาเรื่องการบริหารการโรงแรมและการท่องเที่ยวระดับสูงโดยไม่ต้องพึ่งฝรั่งอีกต่อไป 

ความคิดเห็นที่ 5 

เนื่องจากมีความสนใจที่จะทำดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับความสำเร็จจากการทำ MOU เกิดขึ้นจริงหรือไม่? จึงขอเรียนถามตัวแทนจากโรงเรียนบ้านสามกองว่า “การทำ MOU ของโรงเรียนบ้านสามกอง กับ มรภ. สวนสุนันทา วันนี้ได้รับประโยชน์อย่างไร? และช่วยสร้างความสำเร็จให้แก่โรงเรียนหรือไม่? 

จริง ๆ แล้วความสำเร็จของโรงเรียนไม่ได้มาจากการทำ MOU แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากความร่วมมือ หรือ การทำ MOU กับมหาวิทยาลัย คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต 

ณ  ศูนย์รวมการกำจัดขยะ จังหวัดภูเก็ต

          ในช่วงบ่ายคณะของเราได้เข้าเยี่ยมชมและฟังบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมการกำจัดขยะ จังหวัดภูเก็ต

          การจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะนับว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของเทศบาลนครภูเก็ต มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล นอกจากการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถนำไปสู่การผลิตพลังงานทางเลือกอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นพลังงานสะอาด (Clean energy) ด้วย

           เทศบาลนครภูเก็ต  เป็นหน่วยงานคุณภาพอีกหน่วยงานหนึ่ง เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ  และประชาชน และอาจจะช่วยให้สังคมไทยของเราพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน

วราพร ชูภักดี

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง

ว่าที่ร้อยตรีจิรทีปต์ ช่วยคง รหัสนักศึกษา 53484931013

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

หลังจาก ทำ Study Tour Phuket แล้ว ยังต้องทบทวนอีกครั้งว่านับตั้งแต่พวกเราเริ่มรับรู้เรื่องราวของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผมได้รับ คำถามจากนักเรียน นักศึกษา ครูและเพื่อนร่วมงานที่ตื่นตัว ในขณะที่ตัวผมเองเป็นนักศึกษาป. เอก ก็บอกได้เลยว่า พวกเรากำลังกังวลในหลายเรื่องครับ

ผมคิดว่า เราจะสู้สิงคโปร์ได้อย่างไร ถ้าภูเก็ตเป็นอย่างนี้ สิงคโปร์คงมาซื้อกิจการต่างๆ ในบ้านเราอีกมาก แค่เกาะภูเก็ตจังหวัดหนึ่งของไทยกับคุณภาพการศึกษาของ(เกาะ)สิงคโปร์ มาเลเซียก็ เหนือกว่าเรามาก คนมาเลย์ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และพม่า เก่งภาษาอังกฤษกว่าเรา คนเวียดนาม ลาว เขมร ตื่นตัวเรื่องอาเซียนมากกว่าเรา ตอนนี้เขาเรียนภาษาไทย รู้ภาษาไทยกันไม่น้อย แต่เราเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านน้อยเหลือเกินอีกทั้งค่าแรงงานในหลายประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่ารวมทั้งอินโดนีเซีย ต่ำกว่าค่าแรงบ้านเราครับ

ตอนนี้คนจบปริญญาตรีบ้านเราก็ตกงานกันเยอะแยะอยู่แล้วเราจะเตรียมตัว ปรับตัวอย่างไร เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องราวที่สร้างความกังวลใจให้พวกเราในขณะที่เราเห็นปัญหา ผมคิดว่าเราก็มีโอกาส และมีความได้เปรียบอยู่ไม่น้อยครับ ที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือเราต้องรู้ว่า การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนจะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างซึ่งผมได้นำเสนอในแง่มุมต่างๆ มาบ้างแล้วใน 3 ตอนแรกและเราต้องรู้ว่า ตัวเราเองมีอะไรที่ได้เปรียบและเป็นโอกาสของเราเพื่อให้การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเป็นโอกาสของเรา ผมมีแนวทางในการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ครับ

เราต้องพัฒนาในเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารที่ดี มีประสิทธิภาพจะทำให้เราใช้โอกาส Asian One ได้อย่างเต็มที่ไทยเราได้เปรียบในเรื่องความพอดีครับลองมองไปด้านภูมิศาสตร์ ประเทศไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางอาเซียนได้ไม่ยากไทยเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็น จุดแรกจุดเริ่มที่ประเทศต่างๆ นอกอาเซียนใช้เป็นประตูก้าวสู่ภูมิภาคนี้ เป็นจุดที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อทำมาค้าขายกับอาเซียนเพราะในด้านการติดต่อเรามีสนามบินและเที่ยวบินที่ไปสะดวกและเชื่อมโยงทั้ง 10 ประเทศจากเชียงรายที่อำเภอเชียงของ เข้าลาว แล้วอีก 250 กม.ก็ถึงประเทศจีนแล้วเส้นทางจากนครพนม เข้าลาว ไปเวียดนาม ระยะทางขนส่งสินค้าไปมาได้ไม่ไกล ทางใต้เราก็เป็นจุดเชื่อมระหว่างอาเซียนเหนือ (ลาว เขมร พม่า เวียดนาม)และอาเซียนใต้ (มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย) ในด้านโครงสร้างพื้นฐานประเทศเรามีการคมนาคมทางอากาศ ที่เชื่อมโยงอาเซียนได้ครอบคลุมที่สุดและยังเชื่อมโยงโลกได้มีประสิทธิภาพที่สุดในอาเซียน

เรามีการคมนาคมทางบกที่ดีกว่าในหลายประเทศถนนในบ้านเราดีกว่าในเวียดนาม กำพูชา ลาว พม่า และอินโดนีเซีย โอกาสที่บริษัทนานาชาติ ไม่ว่าจากในกลุ่มอาเซียนหรือนอกกลุ่มจะใช้ไทยเป็นฐานมีมากครับ

ดังนั้น เราจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อโอกาสนี้ นั่นคือเราต้องสื่อสารได้การสื่อสารได้ไม่ใช่แค่การเรียนภาษาอังกฤษนะครับเมื่อสองวันก่อน นักเรียนเราก็โดนต่างชาติประท้วงเพราะไปแต่งตัวเป็นฮิตเลอร์เดินพาเหรดทางโรงเรียนต้องออกมาขอโทษกัน เป็นข่าวดังนี่คือ รู้ภาษาแต่ไม่รู้วัฒนธรรม อย่างเราเองก็ประท้วงเวลาฝรั่งนุ่งน้อยห่มน้อย มาโพสท่ายั่วยวนกับพระพุทธรูปเขาดูเป็นศิลป์ เราก็ไม่ยอม นี่คือรู้ภาษาแต่สื่อสารไม่ได้หรอกครับ คนใน 10 ชาติอาเซียนมีความเหมือนกันแค่บางส่วนแต่แตกต่างกันมากในหลายด้านครับ และนี่คือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ และการปกครองของแต่ละชาตินี้ต่างกันมากจะมีก็แต่คนไทยและลาวที่มีวิถีและความเชื่อคล้ายกันคนไทยเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมอเมริกันกันมานาน และเราก็เข้าใจหลายอย่างเราก็ซึมซับมาแบบไม่รู้ตัวเรารู้จักญี่ปุ่นและเกาหลี วัฒนธรรม อาหาร ภาษาเรื่องราวได้รับการบอกเล่าผ่านสื่อต่างๆหลายคนเรียนภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น

ผมคิดว่าถ้าเราสนใจที่จะใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เราคงต้องเริ่มหันมาสนใจวิถีและเรื่องราวของผู้คนในอาเซียนที่กำลังจะรวมตัวกัน 550 ล้านคนนี้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหนกันบ้าง

คนเวียดนามขยัน รายได้น้อย ชอบเรียนภาษาไทย ค้าขายในเวียดนามต้องเข้าทางราชการ การปกครองแบบพรรคคอมมิวนิสต์ที่นี่อาจเป็นอุปสรรคในการลงทุนของชาติตะวันตก คนลาวนิยมของไทย ใช้ของไทยแล้วเท่ ดูหนังไทยสินค้าจากจีนที่นี่จะมีราคาถูกมาก แต่คนลาวยังใช้น้ำปลา ผงชูรส บะหมี่สำเร็จรูปจากบ้านเรา คนเขมร ยากจน คนทั่วไปผ่านความลำบากจากสงครามทุกวันนี้เขาเชื่อว่ารัฐบาลคดโกงแต่ก็ยังพอใจเพราะชีวิตเขาทำมาค้าขายได้และดีกว่าในช่วงสงครามที่ผ่านมา ที่แปลกก็คือคนที่นี่ชอบอดีตนายกทักษิณมาก เขาเชื่อว่าทักษิณมีเชื้อสายเขมรนะครับ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่รวยระดับโลก ความโปร่งใส (คือไม่คอรัปชั่น)ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลกประเทศเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและความทันสมัยสิงคโปร์มีทุนและพร้อมลงทุนในทุกประเทศส่วน พม่า เป็นประเทศที่ได้รับการห่วงใยจากอาเซียนในเรื่องสิทธิมนุษยชนเพราะรัฐบาลเผด็จการทหาร จัดการเลือกตั้ง แล้วแพ้คุณออง ซาน ซู จี ก็เลยจับแกไปกักบริเวณ ตอนนี้ปล่อยออกมาแล้ว เพราะทนการกดดันจากนานาชาติไม่ไหวแต่อาเซียนคงช่วยในเรื่องนี้ไม่ได้มากเพราะ asian way มีหลักการที่จะไม่ยุ่งกับเรื่องภายใน ฟิลิปปินส์ ประเทศที่ส่งออกแรงงานเช่นเดียวกับไทยครับ ในฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ เราจะพบคนฟิลิปปินส์มากมายที่มาเป็นพี่เลี้ยงเด็กทำงานบ้านและเป็นแรงงานก่อสร้างประเทศฟิลิปปินส์ มีเศรษฐกิจเท่าๆ กับไทยเมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วแต่เพราะการโกงบ้านโกงเมืองของนักการเมือง วันนี้ชาวฟิลิปปินส์ลำบากมาก ความหวังใหม่ของเขาคือนักมวยหัวใจโต ที่ชื่อคุณแมนนี่ ปาเกียว อนาคตอาจก้าวถึงประธานาธิบดี อินโดนีเซีย เป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีคนถึงกว่า 230 ล้านคนและยังเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมายที่ผมคิดว่าพวกเราน่าจะสนใจ ค่อยๆ สะสม ค่อยๆ เรียนรู้เพราะถ้าเราไม่รู้จักเขาต่อให้ใช้ภาษาอังกฤษดีแค่ไหนก็คงสื่อสารกับเขาได้แค่เปลือกๆ น่ะครับ เราต้องพัฒนาในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และ เราต้องพัฒนาในเรื่อง ความรู้ ควบคู่กันไป

วันนี้มีอาจารย์จีระฯ ให้โอกาสมาบอกกล่าวเล่าเรื่องราว เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นต้นแบบของทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้และเข้าถึงตัวผู้เรียนจริงๆ หวังว่าแฟนพันธ์ุแท้ของอาจารย์จะก้าวสู่อาเซียนพร้อมกัน ขอบคุณอีกครั้งครับ

โครงการทัศนศึกษา (Study Tour) ของนักศึกษา ศูนย์ภูเก็ต วันที่ 20 ตุลาคม 2554 (ฉบับย่อ)

ก่อนดำเนินการ ผม (นายกมล ค้าไกล) และเพื่อนๆ 5 – 6 คน ร่วมกันคิดโครงการ Study Tour เพื่อทดแทนการเดินทางไปประเทศจีนโครงการ Study Tour ของนักศึกษาฯ ที่ส่วนใหญ่ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ โดยเริ่มจากให้พี่น้องคู่แฝด น้องปิ๊ก (นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์) น้องปั๊ก (นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์) และน้องเต้าวู้ (นางสาว พรรณวดี ขำจริง) อาสารับเขียนโครงการฯ ส่วนผมติดต่อประสานงานกับคุณเอ (คุณเอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน) และคุณเอ (คุณวราภรณ์ ชูภักดี) เลขาฯท่านอาจารย์ เพื่อนำเสนอโครงการและรายละเอียดให้ท่านอาจารย์ทราบ พี่ใหญ่ของพวกเรา พี่นวย (นายอำนวย คุ้มบ้าน) พี่ก๋วน (นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร) ไม่รอช้าทำหน้าที่ประสานกับ เทศบาลนครภูเก็ตทันที ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านนายกเทศมนตรี (นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา) ด้วยความเต็มใจยิ่ง ท่านนายกฯขอรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์จีระฯ พี่นวยนำเสนอหนังสือของอาจารย์ และ 10 ทฤษฎี ท่านนายกฯขอนำไปศึกษาเป็นการบ้านก่อนสัก 3 – 4 คืน (เกิดความเคารพและนับถือทันที เพราะท่านอาจารย์ของพวกเราดัง มีชื่อเสียง ช่วยไม่ได้) ...สิ่งที่ผมเสียดายคือเพื่อนๆ ศูนย์เลย และโคราช ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมกันได้ โครงการดีๆแบบนี้ นานๆจะมีสักทีในรอบปี...หลังจากนั้นพี่อ๋อย(นางสาวอุไรวรรณ ตันฑอาริยะ)พี่หยิน (นางจงดี พฤกษารักษ์) และคุณจู้ (นางสาวปรารถนา เชาวน์เสฎฐกุล) ซึ่งเป็นนักศึกษาต่างจังหวัด ถึงกับลางานล่วงหน้ากันหลายวันเลย ทุกคนได้ระดมความคิด นำรูปแบบการทำโครงการมาถก เพื่อหาแนวทางการทำโครงการให้ดีที่สุด สมกับเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์จีระ นัดกันทำเอกสาร อุปกรณ์ และเข้าดูสถานที่ ช่วยกัน Brainstorm มีเห็นต่างกันบ้าง แต่เมื่อจุดหมายร่วมกัน อะไรก็สรุปกันง่ายขึ้น Teamwork ดีจริงๆ (ขอชมหน่อย)... หกโมงเย็นเดินทางไปรับท่านอาจารย์และคณะที่สนามบินภูเก็ต โดยรถคุณสิษฐ์ (นายวิสิษฐ์ ใจอาจ -ประธานรุ่น) และรถตู้ของเทศบาล ทุกคนตื่นเต้นกันพอสมควร น่าจะเป็นเพราะ ไม่เคยเห็นตัวจริง เสียงจริง และอีกข้อ ในห้องเรียนออนไลน์ฯ ท่านอาจารย์ดุมาก (หลังจากเจอตัวจริงแล้ว เพื่อนๆบอกว่า สามารถฝากชีวิต PHD.ไว้ได้เลย) ... อาหารมื้อค่ำรับรองท่านอาจารย์และคณะ พร้อมกับเพื่อนนักศึกษาที่มาสมทบเพิ่มเติมอีกหลายคน ที่ร้านข้าวต้มปากน้ำ (วงเวียนม้าน้ำ)ทำให้เห็นวิถีของคนภูเก็ตในยามค่ำคืน... หลังจากนั้นเดินทางสู่ที่พักโรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ นั่งเสวนาพูดคุยกับท่านอาจารย์(ทีละคน)ถึงเรื่องที่ได้รับจากการเรียนกับอาจารย์ , หัวเรื่องการทำดุษฎีนิพนธ์ ท่านอาจารย์ได้ให้แนวคิด ข้อคิด และแนะนำศิษย์แต่ละคน จนสามารถมองเห็นภาพตัวเองยืนสวมครุย ม.ราชภัฎสวนสุนันทาได้ชัดเจนขึ้น(เกือบเที่ยงคืน)...วันงาน ตอนเช้ารับท่านอาจารย์และคณะทานอาหารเช้าที่ร้านคู่ขวัญ มีอาหารเช้าพื้นเมือง ชา กาแฟ เกือบ 30 อย่าง ท่านอาจารย์และทุกคนบอกเสียงเดียวกันว่า อร่อยมาก เดินทางไปสำนักงานเทศบาลนครภูเก็ต ได้รับการต้อนรับจาก ท่านนายกฯสมใจ และคณะบริหารเทศบาล อย่างดียิ่ง รวมถึงผู้นำชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนเมืองเก่า,สมาคมเพอรานากัน พวกเราใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้รับความรู้ แนวคิดต่างๆมากมาย เช่นการบริหารจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต ในส่วนของ 8 ความสุขที่เป็นนโยบายหลักของเทศบาลฯ ซึ่งก็ตรงและสอบคล้องกับทฤษฎี 8 K’s , 5 K’s ของท่านอาจารย์ รวมถึงกับบทบาทผู้นำของท่านนายกฯหญิงเหล็ก แห่งภูเก็ต ในเรื่องการยกย่องให้เกียรติ ยอมรับความคิดเห็นของข้าราชการประจำ (ซึ่งในปัจจุบันนักการเมืองส่วนใหญ่ชอบข่มเหง รังแก ข้าราชการประจำ) การให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้นในทุกภาคส่วน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและออกเยี่ยมเยียนในโครงการ”เทศบาลพบประชาชน” ทุกวันพุธ เพื่อสอบถามดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนทุกชุมชน ซึ่งผมก็เป็นประชาชนคนหนึ่งในเขตเทศบาลฯ นอกจากนี้ในส่วนตัวของผมในฐานะรุ่นน้องร่วมสถาบันฯ ท่านนายกฯยังได้รับประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น “40 ปี 40 ศิษย์เก่าดีเด่น” ประจำปีพุทธศักราช 2550 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://www.hatyai.psu.ac.th) ท่านอาจารย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องอนาคตของเมืองภูเก็ต เรื่อง Benchmarking, Quality, Standard , Best Practice , excellent ... อาหารกลางวันที่ร้านปากน้ำซีฟู๊ด บ้านกู้กู อาหารเที่ยงรสชาติดีเยี่ยม... ในภาคบ่ายร่วมรับฟังและเสวนาการจัดการขยะของเทศบาล ที่เป็นเตาเผาเพียงแห่งเดียวของจังหวัดภูเก็ต รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเป็นเตาเผาที่เป็นต้นแบบของทั่วประเทศไทย รวมถึงการบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยพี่ประชุม(นายประชุม สุริยะ)อย่างดีเยี่ยมสมกับเป็นที่ดูงานของคณะต่างๆปีละ 400 กว่าคณะ... หลังจากนั้นเยี่ยมชมย่านการค้าเมืองเก่า ที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม อาคารสไตส์”ชิโนโปรตุกีส”ที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเมืองภูเก็ต ตึกเก่าเหล่านี้เป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ลึกและแคบ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยไปตามความลึกได้ถึงห้าส่วนด้านหน้าเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดไปเป็น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ภายในอาคารมักมีฉิ่มแจ้ หรือบ่อน้ำบาดาลหนึ่งบ่อและเจาะช่อง ให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าอาคาร ตึกแถวในภูเก็ตจึงเย็นสบาย ส่วนที่ชั้นสองเป็นห้องนอนหน้าตึกแถวมีทาง เดินเท้า ทำเป็นช่องซุ้มโค้งเชื่อมกันไปตลอด ทั้งแนวตึกแถว เรียกว่า อาเขต (arcade) หรือ หงอคาขี่ ในภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งหมายถึง ทางเดินกว้าง ๕ ฟุตจีน ที่มีหลังคาคลุม สามารถเดินได้ต่อเนื่องกันตลอด โดยมีชั้นบนยื่นล้ำ ออกมา เป็นหลังคากันแดดกันฝนซึ่งตกเกือบตลอดปี นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศอีกทั้งยัง แสดง ให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการ เจาะช่องหน้าต่างเป็น ซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีก และโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีน และตะวันตก ผสมกันอย่างลงตัว ซึ่งเป็นสร้างทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตให้มีความเข้มแข็ง แต่สิ่งที่ผมประทับใจมากก็คือกลุ่มชุมชนเมืองเก่า ที่ตั้งใจมาต้อนรับคณะ ตั้งแต่บ่ายโมงกว่า (แต่คณะฯเดินทางถึงประมาณสี่โมงเย็น) ที่เป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ในเมืองเก่า ยอมเสียสละเวลาและแต่งกายด้วยชุดย่าหยา หรือชาวจีนภูเก็ตเรียกว่า ปั่วตึ่งเต่ ที่แปลว่า ครึ่งสั้น ครึ่งยาว ชาวปีนังเรียกว่า ชุดเคบาย่า เป็นชุดการแต่งกายทางชาวพื้นเมืองดั้งเดิมภูเก็ต ปัจจุบันการแต่งกายชุดย่าหยา ถือว่าเป็นการแต่งกายที่งดงาม แสดงออกถึงความสวยงามของความเป็นกุลสตรีภูเก็ต ในงานสำคัญๆเช่นงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆจึงจะมีโอกาสได้เห็นสตรีภูเก็ตแต่งกายชุดย่าหยา ที่งามสง่าน่าพิศ น่ามองเป็นที่ประทับใจยิ่งของผู้ได้พบเห็น ถือเป็นการมีส่วนร่วมของภาคชุมชนอย่างแท้จริง และมีการรับรองด้วยอาหารว่างและขนมพื้นเมืองภูเก็ตหลากหลายชนิด โดยเฉพาะโอ้เอ๋ว หรือโอ๊ะเอ๋วเป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ได้จากวุ้นของเมล็ดโอ้เอ๋ว (คล้ายเมล็ดแมงลัก Ficus pumila var. awkeotsang หรือ Ficus awkeotsang) ที่แช่น้ำแล้วใช้เมือกโอ้เอ้วมาผสมกับเมือกของกล้วยน้ำว้า ใส่เจี่ยกอเพื่อให้โอ๊ะเอ๋ว เกาะตัวเป็นก้อน นำมาใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งใส กินแก้ร้อนใน และลดการกระหายน้ำ ชาวภูเก็ตจะรับประทานโอ้เอ๋ว สามแบบ คือ โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดงและเฉาก๊วย (ขาว ดำ แดง) โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดง (ขาว แดง) และ โอ้เอ๋วใส่เฉาก๊วย (ขาว ดำ)บางคนนิยมใส่กล้วยและน้ำหวานด้วย...นักศึกษาร่วมส่งท่านอาจารย์และคณะฯที่สนามบิน พลขับโดยพี่ต๋อม(นายอธิคม ศรีรัตนประภาส) คำนวณเวลาผิดพลาดนิดหน่อย ทำให้ท่านอาจารย์และคณะตกไฟล์ ต้องเดินทางในไฟล์ถัดไป เนื่องจากการเดินทางรถติดมาก เป็นพิเศษกว่าทุกวัน (เหมือนกับกรุงเทพฯ จึงกราบขออภัยมานะที่นี้ด้วยครับ)... สุดท้ายขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ ที่สละเวลามาร่วมงานในครั้งนี้ ขอบพระคุณ ท่านนายกเทศมนตรี และคณะบริหารเทศบาลนครภูเก็ต , หัวหน้าส่วนศูนย์กำจัดขยะคุณประชุม สุริยะ คุณยินดี มโนสุนทร พร้อมคณะกรรมการชุมชนย่านเมืองเก่า และคณะกรรมการสมาคมเพอรานากัน สุดท้ายเพื่อนนักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต ที่ร่วมงานโครงการทัศนศึกษา (Study Tour) ตั้งแต่การเตรียมงาน การลงทะเบียน การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคเช้า ภาคบ่าย ตลอดจนถึงการสรุป ประเมินผลโครงการ ด้วยความขอบคุณอีกครั้ง ครับผม...

นายราวี ซามี นายราวี ซามี รหัสนักศึกษา 534849310030

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

หลังจาก Study Tour Phuket แล้ว ผมว่าว่าอีกไม่นานการศึกษาสายอาชีพจะเป็นยุทธศาสตร์ของการพัฒนาชาติ เยาวชนไทยที่เข้าสู่สายอาชีพจะเป็นแรงงาน ซึ่งไม่เพียงในประเทศเท่านั้น แต่รวมถึงตลาดแรงงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะร่วมกันในอีก 4 ปีข้างหน้า ในไม่ช้าแรงงานจะมีโอกาสเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน กติกาใหม่นี้ประเทศใดที่แรงงานมีฝีมือสูงกว่าย่อมได้เปรียบเพราะทุนมนุษย์ที่เป็นแรงงานและเป็นความต้องการในจังหวัดเศรษฐกิจอย่างภูเก็ตยังมีความต้องการมาก

ผมยังไม่เรียกตัวเองว่าผมเป็นครูมืออาชีพ แต่อาชีพของผมเป็นครู ที่ต้องทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากกรมนุษย์ที่เรียกว่านักเรียนอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่อยากให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องพิจารณาร่วมกันคือ แท่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สอศ.ต้องทำงานร่วมกันผ่านระบบแนะแนวตั้งแต่ ป.6 หรือ ม.1 ให้เข้าใจตลาดแรงงานมากขึ้น เพราะเราสูญเปล่าด้านอุดมศึกษามามาก เรียนจบปริญญาตรีแต่ไม่มีงานทำ ต้องเอาวุฒิอาชีวะไปสมัคร ซึ่งแต่ละปีมีคนจบปริญญาตรี 4 แสนคน แต่มีงานทำแค่ 1 แสนคน ตกงานถึง 1.5 แสนคนขณะที่จบอาชีวศึกษาได้งานทำ 90-100% การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ต้องพร้อมรับสถานการณ์การเคลื่อนย้ายอาชีวะในเรื่องทุนมนุษย์ 5 เรื่อง คือ 1.ผลิตกำลังคนอาชีวะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 2.พัฒนาศักยภาพครูทั้งในสถานศึกษา ในสถานประกอบการ และครูภูมิปัญญาผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น3.พัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ใหม่ โดยเทียบเคียงมาตรฐานกับหลักสูตรสากล เพิ่มการเรียนการสอนแบบทวิภาคี และเพิ่มปริญญาตรีสายปฏิบัติการ 4.พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ให้สอดคล้องกับภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคการบริการ และ5.กำลังแรงงานต้องมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมต่อประชาคมอาเซียน ต้องพัฒนาหลักสูตรโดยเชื่อมกับมาตรฐานอาชีพในสถานประกอบการ ต้องเทียบเคียงกับมาตรฐานของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยนโยบายรัฐบาล และนโยบายในการปฏิรูปการศึกษา

ทิศทางการพัฒนาอาชีวะเพื่อสอดรับกับแนวโน้มการแข่งขันตลาดอาชีวะโลกของภาค เอกชน มี 3 แนวทางหลัก คือ

1.สร้างให้ไทยเป็นฮับการศึกษาของอาชีวะเอกชน

2.พัฒนาฝีมือแรงงานโดยเฉพาะด้านภาษา

3.ก่อตั้งสมาคมอาชีวศึกษาเอกชนอาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างประเทศ

ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มี คุณภาพมาตรฐานในระดับสากล เช่น

1. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและระบบวัดผลการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การศึกษาระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา

2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาอาจารย์ด้านการสอนภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

3. ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนและความรู้ เกี่ยวกับอาเซียนตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา และการวิจัยด้านอาเซียนศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

4. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาโดยสนับสนุนการถ่ายโอน หน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับประเทศสมาชิก อาเซียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโลกทัศน์และเปิดโอกาสให้ นักศึกษาไทยได้แสดงความสามารถในเวทีระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับอาเซียน รวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างความ ตระหนักในการเป็นพลเมืองอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน

กลยุทธ์

1. พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล

2. ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา

3. พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล

4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล

5. พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ

6. พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน เช่น

1) ส่งเสริมให้สัดส่วนอาจารย์ระดับป.เอกให้สูงขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ อาจารย์ผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการโดยเฉพาะในระดับศาสตราจารย์

2) สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศของส.อุดมศึกษา ไทยกับส.อุดมศึกษาในประเทศและในอาเซียนในสาขาที่สอดคล้องกับ ทิศทางการพัฒนาประเทศและทิศทางของอาเซียน

3) สนับสนุนทุนวิจัยระดับป.เอก ทุนพัฒนาอาจารย์ และทุนสนับสนุนเพื่อ ผลิตงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย

4) ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่งานวิจัยของนักวิชาการไทยและอาเซียน

5) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติในสาขาที่ประเทศไทยมีความ เชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการของตลาดงานในอาเซียน

6) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นสองภาษา เช่น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น

7) ส่งเสริม/สนับสนุน/จัดสรรงบประมาณให้อาจารย์ชาวต่างประเทศที่มี ความรู้ความสามารถและความชำนาญสูง มาสอน บรรยาย และถ่ายทอด องค์ความรู้ให้แก่อุดมศึกษาไทย และ/หรือทำวิจัยในส.อุดมศึกษาเพื่อ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการอุดมศึกษาไทย

8) ส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาของไทย และสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียนเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ของสถาบัน

9) ส่งเสริมให้ส.อุดมศึกษาพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ

10) ส่งเสริมให้ส.อุดมศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นนานาชาติทั้งในกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตร กิจกรรมทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์

11) ส่งเสริมการสร้างความกลมกลืน (Harmonization) ของการ อุดมศึกษาในอาเซียน โดยเฉพาะในด้านคุณภาพและคุณวุฒิทางการศึกษา ผ่านกลไกความร่วมมือระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่ เช่น SEAMEO RIHED, AUN เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมบทบาทของอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับเสาหลักในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

2. สร้างความตระหนักในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและบทบาทของอุดมศึกษาไทยในการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและลบ

3. ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

4. พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน

มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการ

1. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานสู่การรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนและความเคลื่อนไหวในการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ ด้านการศึกษาในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาแก่สถาบันอุดมศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

2. ส่งเสริมการสร้างความตระหนักในเรื่องเอกลักษณ์ของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมสัมพันธ์ในหมู่ประชาชน ประชาคมอุดมศึกษา และเยาวชนอาเซียน

3. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างส.การศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการเพื่อใช้ประโยชน์และป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการเคลื่อนย้าย กำลังคนข้ามชาติ เช่น การระบาดของโรค ยาเสพติด และอาชญากรข้ามชาติ เป็นต้น

4. จัดทำ Mapping ส.อุดมศึกษาแกนหลักในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นความต้องการของเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ โดยเชื่อมโยงระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีความเชี่ยวชาญและตอบสนองต่อการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ กับส.อุดมศึกษาในอาเซียน

5. ส่งเสริมให้อาจารย์ในส.อุดมศึกษาไทยไปสอน/วิจัย/ให้บริการวิชาการ/ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่สถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน

แนวคิดสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1. ระดับประเทศ

1) การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษา

2) การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

2.ระดับภูมิภาค

1) การทำ Mutual Recognition Arrangement(MRA)

2) การพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิตในภูมิภาค

3. ระดับกระทรวง

1) การจัดทำยุทธศาสตร์รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน

2) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยน

4. ระดับสถาบัน

1) การพัฒนาหลักสูตร

2) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

และผมคิดว่าจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ของท่านอาจารย์จีระฯ ที่ผ่านมาจะเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาทุนมนุษย์ร่วมกันอย่างเป็นระบบ

นายวิสิษฐ์ ใจอาจ รหัสนักศึกษา 53484931023 นักศึกษาปริญญาเอก (ศุนย์ภูเก็ต)

การจัด Study Tour ที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ กระผมและคณะนักศึกษาศูนย์ภูเก็ต ได้รับความรู้ใหม่ๆมากมาย ที่จะนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้มากมายขึ้น ท่านอาจารย์จีระ ได้ทำให้เล็งว่า จังหวัดภูเก็ตนั้นเป็นพื้นที่ศักยภาพทางด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล และด้วยส่วนตัวกระผมเองนั้นมีความต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับความยากจนของชาวบ้านในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำมาพัฒนาให้ชาวบ้านได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตมากขึ้น และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนชาวภูเก็ตให้มากที่สุด ซึ่งท่านอาจารย์จีระ ก็ได้เสนอความคิดเห็นหลายๆอย่างทำให้ผมนำมาคิดเพื่อนำไปพัฒนาให้ถูกต้องอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และทันเหตุการณ์ โดยใช้หลักทฤษฎีต่างๆของท่านอาจารย์จีระ ไม่ว่าจะเป็น 5k's, 8k's, 2R's และทฤษฎีเก็บ เกี่ยว เป็นต้น อาจารย์ทำให้ผมและคณะมีความเข้าใจในการทฤษฎีนำเป็นรูปธรรม มีการยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน

ดังนั้นกระผมคิดว่าการจัด Study Tour ที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร

นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร เลขประจำตัว 53484931021

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ศูนย์ภูเก็ต

จากโครงการทัศนศึกษา(Study Tour) เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต”

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับ ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต

วันที่ 19 ตุลาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เดินทางโดย TG.211 ถึงภูเก็ตเวลา 19.20 น.ด้วยการต้อนรับจาก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต หลังจากนั้นได้รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ต่อด้วยการเข้าพักที่โรงแรมภูเก็ตรอแยลซิตี้ แทนที่ท่านอาจารย์จะเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง แต่ท่านกับบอกให้เวลาที่เหลือช่วงค่ำคืนนี้ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ 21.00-24.00 น.พบปะพูดคุยกัน โดยกระผมมองดูใบหน้าของท่านมีรอยยิ้มด้วยความเต็มใจที่ต้องการจะได้พบปะพูดคุยกับลูกศิษย์ตัวต่อตัวเพื่อให้เกิดความรู้ ถือเป็นการปลูก แล้วผลของการเก็บเกี่ยว นำไปสู่งานวิทยานิพนธ์ โดยกระผม นายเชี่ยวชาญ ศิวะคุณากร ตำแหน่งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้พูดคุยกับท่านเรื่องสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับ ขยะ ซึ่งในอีก 5 – 10ปีข้างหน้าจะเป็นปัญหากับการพัฒนาของเมืองท่องเที่ยวภุเก็ต ปัจจุบันนี้เทศบาลนครภูเก็ต เป็นศูนย์รวมการกำจัดขยะ ของจังหวัดภูเก็ต งานวิจัยนั้นได้ตั้งคำถาม มีแนวทางอย่างไรต่อการจัดการขยะระดับครัวเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ใช้ชื่อเรื่อง “กระบวนการมีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะระดับครัวเรือนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต” ซึ่งกระผมวิเคราะห์ว่า การได้รับความรู้จากท่านถือเป็นการที่ท่านได้ใช้การปลูกให้กับศิษย์ จากนั้นศิษย์ก็ต้องนำสิ่งที่ปลูกมาพัฒนาตัวเอง หรือองค์กร ให้เป็นการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และความสุขอย่างแท้จริง

เช้าวันที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 07.30 น.นัดหมายทานอาหารเช้าพื้นเมืองชาวภูเก็ต มีกาแฟโบราณ(โกปี้) หมี่ซั่ว ปาท่องโก๋ ขนมจีบ(เซ่วโป๋ย) จากนั้น 09.00 – 09.30 น.ลงทะเบียน มีนักศึกษาปริญญาเอก ศูนย์ภูเก็ต ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วน ของเทศบาลนครภูเก็ต ประธานชุมชน Old Phuket Town และสมาคมเพอรานากัน

09.30 – 12.30 น. เป็นการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยคุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวต้อนรับ ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เจ้าของ 10 ทฤษฏี ประกอบด้วย HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s และทฤษฏีที่ท่านได้พบในรุ่นนี้คือ การปลูกกับการเก็บเกี่ยว ส่วนวิสัยทัศน์ของเทศบาลนครภูเก็ต “ สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุข และน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 8 ความสุข

ด้านการศึกษา เน้นการศึกษาในระบบ มีระดับอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมให้เกิดภาษาที่สอง ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม ภาษาจีน เน้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษานอกระบบ เปิดศูนย์ ITC และการศึกษาตามอัธยาศัย

ด้านสังคม เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ดูแลและจัดสวัสดิการแก่คนทุกวัย

ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การจัดการน้ำ เน้นพื้นที่สีเขียว

ด้านคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสุขภาพโดยดูแลแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งทุกคนที่ต้องจากลาโลกนี้

ด้านการบริหารจัดการ เน้นการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการน้ำทั้งน้ำดีและน้ำเสีย การคมนาคมดี ถนนสวย ไฟฟ้าสว่าง

ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเมือง เน้นการสร้างงานจากฝีมือและการบริการเพื่อรายได้

ด้านการเสริมสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของเมือง สนับสนุนย่านการค้าเมืองเก่า OLD PHUKET TOWN วัฒนธรรมอาคาร ชิโน – โปรตุกีซ การแต่งกาย อาหารพื้นเมือง และประเพณี แต่งงาน กินผัก เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของภาคเช้า ทำให้กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ได้ใช้ ทฤษฏี 2 R’s การมองความจริง ถึงสิ่งที่บุคลากรในองค์กรและประชาชนต้องการ รวมทั้งการมองตรงประเด็น ซึ่งมองถึงอนาคต โดยการเป็นผู้บริหารที่เปิดใจให้กว้าง Open Mind ใช้การอ่อนน้อมถ่อมตน โดยมองถึงความสำเร็จและรางวัลที่ได้รับไม่ใช่ได้มาจากท่านเพียงผู้เดียวโดยใช้ ทฤษฏี HRDS คือ การสร้างความสุข การยอมรับนับถือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความยั่งยืนที่มองเป้าหมายระยะยาว พร้อมทั้งการใช้ ทฤษฏี 4 L’s วิธีการ บรรยากาศ โอกาส และชุมชนแห่งการเรียนรู้ เข้ามาเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เกิดจากการมีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ซึ่ง 8 ความสุขนั้นมาจากที่มาของ ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s นั่นเอง จากนั้นท้องเริ่มบอกว่า “หิว” จึงได้เดินทางไปที่ ร้านอาหารปากน้ำซีฟู๊ด

13.45 – 15.15 น. เยี่ยมชมและฟังการบรรยายพิเศษการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครภูเก็ต ณ ศูนย์รวมการกำจัดขยะ ซึ่งประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 315,961 คน ประชากรแฝง 300,000 คน และมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 5,300,000 คน มีปริมาณขยะ วันละ 530 ตัน และมีอัตราเพิ่มกว่า 7 % ต่อปี องค์ประกอบของขยะ 85.40% เป็นขยะย่อยได้ 20.58% เป็นขยะขายได้ 14% เป็นขยะทั่วไป และ0.02% เป็นขยะอันตราย ระบบเตาเผามีการเผาขยะได้ 250 ตันต่อวันซึ่งการลงทุนของโรงงานเตาเผาขยะได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ส่วนขยะที่เหลืออีก 280 ตันต่อวันใช้การฝังกลบ ปัจจุบันนี้ได้รับเงินลงทุนจากประเทศจีนสร้างเตาเผาใหม่ ประมาณ 970 ล้านบาท เผาขยะได้ 700 ตันต่อวัน เริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งการบริหารการจัดการกำจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ตได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โรงเตาเผาอยู่ในเขตเมืองเชื่อมต่อกับทะเลในเมืองซึ่งเป็นสวนสาธารณพื้นที่สีเขียว เป็นศูนย์กีฬา และเป็นชายหาดทะเลในเขตเมืองที่เดียว จากความสำเร็จนี้กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เกิดจากการนำ HR ซึ่งเป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากภาพใหญ่ Macro ไปจนถึงระดับองค์กร Micro พร้อมการใช้ทฤษฏี C&E การเชื่อมต่อกัน โดยนักลงทุนจากประเทศจีน ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและการใช้ทฤษฏี HRDS คือ การสร้างความสุข การยอมรับนับถือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความยั่งยืนที่มองเป้าหมายระยะยาว การบริหารดังกล่าวสอดคล้องกับการกล่าวชมจากท่านอาจารย์ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ควรได้รับรางวัลแม๊กไซไซ

15.20 – 17.30 น. เยี่ยมชมถนนสายวัฒนธรรม ย่านการค้าเมืองเก่า OLD PHUKET TOWN วัฒนธรรมอาคาร ชิโน – โปรตุกีซ การแต่งกายด้วยชุดหย่าหยา อาหารพื้นเมือง และประเพณี แต่งงาน ซึ่งได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของรากเหง้าบรรพบุรุษ จากหลักฐาน เช่น ตู้เซฟ ที่ ปรากฏ ปี ค.ศ. 1843 ถ้วย ชามกระเบื้องลวดลายจีน ฮอลันดา เป็นต้น ความเป็นอยู่ของชาวไทยจีน ไทยมุสลิม ไทยซิกซ์ คริสตจักร ที่ประกอบธุรกิจการค้าและอยู่ร่วมกันได้จนทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน เป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ได้รับความรู้ รับประทานอาหารว่างพื้นเมือง เช่น ขนมผิง เต้าส้อ ม่อหล้าว ตามด้วยโอเอ๋ว โดยผู้ที่เป็นไกด์นำชมเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าย่านเมืองเก่า ทำให้เกิดความประทับใจแก่ท่านอาจารย์และคณะ จนมีคำกล่าวจากท่านอาจารย์ ว่า ท่านมาภูเก็ตหลายครั้งไม่เคยทราบเลยว่า ยังมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ดีเช่นนี้ ซึ่งท่านรับว่าจะได้นำสิ่งที่ดีที่ได้พบและเห็นนำไปตีแผ่ให้ทุกคนได้รับทราบ พร้อมทั้งลงนามในสมุดเยี่ยมชมและถ่ายภาพร่วมกัน ดังที่ทุกท่านได้เห็น จากนั้นท่านต้องรีบเดินทางไปยังสนามบินนานาชาติภูเก็ต และเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

จากการทัศนศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ครั้งนี้ กระผมวิเคราะห์ได้ว่า คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เป็นผู้บริหารที่นำทฤษฎี ทั้ง 10 ทฤษฎี และการปลูกกับการเก็บเกี่ยว ดังนี้ HR, ทฤษฏี 3 วงกลม, ทฤษฏี 8 k’s, ทฤษฏี 5 k’s, ทฤษฏี 4 L’s, ทฤษฏี 2 R’s, ทฤษฏี 2 I’s, ทฤษฏี C&E, ทฤษฏี HRDS, ทฤษฏี 3 L’s และทฤษฏีที่ท่านได้พบในรุ่นนี้คือ การปลูกกับการเก็บเกี่ยว มาบริหารเทศบาลนครภูเก็ต ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “ สร้างนครภูเก็ต ให้เป็นนครแห่งความสุข และน่าอยู่อย่างยั่งยืน”

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์

ณภัสรดา ธรรมประดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 53484931019

นักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ศูนย์ภูเก็ต

ดิฉันจบปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เมื่อต้นปี 2553 และเมื่อวานนี้วันที่ 29 ต.ค. 54 ได้เ้ข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ที่ มหาวิทยาลยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ในการรับพระราชทานปริญญาบัตรในครั้งนี้ ดิฉันได้เห็นบัณฑิตท่านหนึ่ง สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นท่านสุดท้าย ทั้งที่บัณฑิตจากคณะบริหารธุรกิจได้รับพระราชทานไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่บัณฑิตท่านนี้รับเป็นท่านสุดท้าย มีเสียงปรบมือกึกก้อง บัณฑิตหลายท่านรวมทั้งดิฉันมีความรู้สึกไม่ต่างกันเลย คือ มีความปลื้มปิติ และหันมาย้อนดูตัวเอง ทำให้มีกำลังที่จะฝ่าฟันอุปสรรคในการเรียนระดับปริญญาเอก นี้ไปให้ได้ เนื่องจากบัณฑิตท่านนั้นขึ้นรับเป็นคนสุดท้ายเพราะ เธอมีขาเพียงข้างเดียว ต้องใช้ไม้พยุงเ้พื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ทุกครั้งที่มีซ้อมและเ้ข้าพิธีการจริงดิฉันและน้อง ๆ บัณฑิต น้ำตาคลอเบ้า รู้สึกปลาบปลื้มในความอดทนของบัณฑิตผู้นั้นจริง ๆ คะ

เมื่อเสร็จภาระกิจจากการรับพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ดิฉันจึงขอแสดงความคิดเห็นนอกเหนือไปจากการที่ดิฉันได้ไปร่วมงานใน โครงการทัศนศึกษา(Study Tour) เรื่อง “การจัดการทุนมนุษย์ของเทศบาลนครภูเก็ต” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับ ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต คุณสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ภูเก็ต นั้น

ดิฉันในฐานะของลูกหลานชาวภูเก็ต มีความเห็นว่า "ภูเก็ตกับการสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน" ประกอบกับความคิดของท่านอาจารย์ ดร.จีระ ที่กล่าวว่า อนาคตของภูเก็ต คงจะเป็นเมืองที่ยั่งยืน มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้ให้คนไทยมากกว่าชาวต่างประเทศ นั้น ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจาก ภูเก็ตมีจุดขาย คือ คนไทยมีเสน่ห์มากกว่าชาติอื่น ๆ มีขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาปักษ์ใต้ผสมภาษาจีนฮกเกี้ยน มีอาหารการกินที่อร่อยและโดยส่วนใหญ่จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะภูเก็ต อาทิ หมี่ผัดฮกเกี้ยน, ปอเปี๊ยสดฮกเกี้ยน, โลบะ (หมูและเครื่องในหมูรับประทานกับน้ำจิ้มที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภูเก็ต), กะหรี่ไหมฝัน (เส้นหมี่ขาวที่รับประทานกับแกงไก่ใส่ผงกะหรี่), หมี่หุ้นบะฉ่าง (เส้นหมี่ขาวผัดกับเครื่องปรุงผสมซี้อิ้วดำ รับประทานกับน้ำซุปกระดูกหมู) ,โก้ยเตาล้าง (ขนมหวาน), อาโป้ง (ขนมหวาน) และอื่น ๆ อีกมากมาย

ข้อดีและโอกาส ของภูเก็ต คือ ภูเก็ตเป็น Brand ของโลกอยู่แล้ว แต่จะต้องสร้างและรักษา Brand Positioning ของภูเก็ต ให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไปและสูงขึ้นเรื่อย ๆ

สิ่งที่น่าเป็นห่วง ด้วยดิฉันเติบโตที่ภูเก็ต ได้เห็นการเติบโตของภูเก็ต มาตั้งแต่ดิฉันจำความได้ มีการพัฒนาด้านวัตถุอย่างรวดเร็ว ความเป็นธรรมชาติลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย มีการทำลายธรรมชาติมากกว่าการอนุรักษ์ธรรมชาติ สังเกตุได้ง่าย ๆ หากภูเก็ตมีฝนตกหนักหลายวัน จะมีปัญหาเรื่องดินถล่ิม, ถนนทรุด ซึ่งหากเราพัฒนาแต่เพียงบางด้านโดยลืมปลูกจิตสำนึกให้กับคนในท้องถิ่นหรือคนที่มาอาศัยทำมาหากินที่ภูเก็ต อีกไม่นานธรรมชาติของภูเก็ตก็คงจากเราไป นักท่องเที่ยวยังคงมีทางเลือกอีกมากมาย เช่น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศเวียดนาม ที่มีความงดงามและคงมีความสงบมากกว่าภูเก็ต

จึงอยากจะฝากให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพของทุนมนุษย์ ในด้านจริยธรรม ไม่กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนจนทำให้ลูกหลานในอนาคตอยู่อย่างลำบาก ควรสร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น จึงจะสามารถแ่ข่งขันกับนานาชาติด้านการท่องเที่ยวได้ ดังนั้นการอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่คู่กับภูเก็ต จึงเป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบที่เหมาะสมและเร่งด่วน ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ คืนสิ่งดี ๆ กับสู่ท้องถิ่นให้ภูเก็ตคงความเป็นธรรมชาติตราบนานเท่านาน อยากให้ลูกหลานของคนภูเก็ต มีความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม เช่น การแต่งงานแบบท้องถิ่นภูเก็ต, ประเพณีกินผัก, ประเพณีผ้อต่อ, มีการสืบทอดความรู้ด้านอาหาร, วัฒนธรรม ภาษาถิ่น โดยอาศัย กระบวนการ KM ก็ต้องมี LC sharing อยู่ด้วย กล่าวคือ tacit and explicit knowledge เกิดขึ้นจาก knowledge capture, dialoque, tell story กระบวนการเหล่านี้ ล้วนเป็น learning culture และ sharing และที่ลืมเสียมิได้ถือ วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกยุคทุกเหตุการณ์

จาก ลูกศิษย์ คนภูเ็ก็จ

ถึงลูกศิษย์ Ph.D ทุกท่าน

 

·       อย่าลืมส่งการบ้านว่า Study Tour ครั้งนี้ได้อะไรบ้าง ทั้งศูนย์ภูเก็ต ที่มี Study tour ที่ภูเก็ต  1 วัน ศูนย์กลางและศูนย์โคราช ที่มี Study Tour  4 วัน ที่ประเทศจีน

·       แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

1.    Excellence

2.    Benchmark

3.    Quality

4.    Standard

5.    Best Practice

คืออะไร?

      สำหรับแรงบันดาลใจจากการดูงานในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นการพัฒนาองค์กรเทศบาลนครภูเก็ตอย่างจริงจังผ่านใต้ความจริงใจของผู้นำอย่างท่านนายกสมใจ  สุวรรณศุภพนา      ซึ่งจะเห็นว่าการทำงานของเทศบาลนครภูเก็ตมีความเป็นเลิศในทุกด้าน  (Excellence)  จากรางวัลที่การันตีคุณภาพการบริการงาน  หากเราจะเปรียบเทียบองค์กรของเรากับเทศบาลนครภูเก็ต  เราก็จะต้องกำหนดด้านที่เราต้องการ  เช่น  ตัวของข้าพเจ้าอยู่โรงเรียนก็ เปรียบเทียบการจัดการศึกษาของโรงเรียนข้าพเจ้ากับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล  เพื่อหาช่องว่างที่เกิดขึ้นและอุดช่องว่างเหล่านั้น (Benchmark)  เพื่อนำไปสู่คุณภาพที่ต้องการ  (Quality)  เมื่อปฏิบัติจนเป็นนิสัยก็กลายเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นกับองค์กร  (Standard)  จนกลายเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (Best Practice)  ขององค์กรนั้น  เป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆต่อไปได้ 

    จึงอาจกล่าวได้ว่าแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และทำให้มนุษย์กล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งอันงดงามให้ทั้งแก่ตนเองและต่อสังคม ^___^  ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ศิษย์คนนี้
นางสาวพีชะพะงา นิรัตติมานนท์  ศูนย์ภูเก็ต

                                                                    

สรุปความรู้เป็นกลอนหก

มองผ่านเลนส์ พิศภาพเพลินเมืองภูเก็ต

ยี่สิบตุลาหรรษา ชวนกันมาจัดงานใหญ่

ทุนมนุษย์พัฒนาไทย ร่วมก้าวไกลเดินเคียงคู่

ศึกษาผ่านวีดีทัศน์ ที่น้องอัดให้พี่ดู

เรื่องราวดีได้รับรู้ เมืองภูเก็ตแต่ก่อนมา

เทศบาลทำงานดี ประชาชีสุขหนักหนา

ทุนความสุขดังแก้วตา พัฒนาจนยั่งยืน

ท่านอาจารย์จีระนี้ ชี้แผนที่เส้นทางฟื้น

ความรู้นำใจชุ่มชื้น กลับคืนสู่ท้องถิ่นไทย

มาตรฐานงานสำคัญ จึงเทียบทันโลกไสว

กำหนดเดินก้าวไป แผนโปร่งใสแข่งขันได้

ทุนมนุษย์คุณภาพ ปัญญาวาบเรียนรู้ใหม่

เมืองภูเก็ตจะสดใส ถ้านำไปประยุกต์จริง

แปดเค (8 K)นามทฤษฎี เป็นทุนที่สร้างทุกสิ่ง

ใฝ่เรียนรู้ชีวิตจริง ดังยอดยิ่งหลักพัฒนา

ห้าเค (5K) นี้คือทุนใหม่ ตระหนักไว้ยุคโลกา

ทุนความรู้ความคิดมา นวัตกรรมพารุ่งเรือง

วัฒนธรรมล้ำเลิศ ชูชาติเชิดคุณค่าเมือง

อารมณ์อย่าได้เคือง ประเทืองสุขสร้างทางทุน

ยามบ่ายนี้ที่สะพานหิน นกโบยบินไม่มีฝุ่น

สิ่งแวดล้อมช่วยค้ำจุน ไม่มีวุ่นเรื่องขยะ

ระบบดีต่างกล่าวขาน จัดการเด่นเป็นชนะ

เจ้าหน้าที่เป็นธุระ ต่างสะสางจนสะอาด

เพลินพิศภาพย่านเมืองเก่า เมืองของเราดังภาพวาด

ชุดย่าหยาในตลาด ผ่องผุดผาดค่าสตรี

นำความรู้ที่เรียนมา สร้างคุณค่าแสนสุขี

ท้องถิ่นฐานมิตรไมตรี ทุกนาทีนำพัฒนา

มองดูเขาย้อนดูเรา กระจกเงาสะท้อนมา

ตระหนักคิดด้วยปัญญา ล้วนนำพาบันดาลใจ

แรงบันดาลใจทำให้มนุษย์กล้าก้าวพ้นความยากลำบาก และมุ่งมั่นจะแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุดให้กับเส้นทางที่เราเลือกเดิน บางที่การได้อ่านคำคมอันงดงามที่อาจารย์ได้ให้ข้อคิดกับพวกเราว่า “การเรียนต้องมีเป้าหมายอย่าเพียงแต่ตั้งรับอย่างเดียว ต้องรุกไปข้างหน้าเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราวางไว้” ก็เป็นข้อความกระตุ้นเตือนให้เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ (Excellence) แต่ในบางครั้งเราอาจมีข้อบกพร่องก็ต้องอุดช่องว่างของเรา นั้นก็คือการทำ Benchmark เพื่อนำไปสู่คุณภาพมาตรฐานที่ตนเองได้ตั้งไว้ (stardard) และเมื่อเราประสบผลสำเร็จตามที่ได้ว่างไว้ เราก็สามารถเป็น Best Practice ให้กับผู้อื่นได้ ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ที่น่าสนใจ ให้กับพวกเราทุกคนค่ะ ^________^

นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์

นางจงดี พฤกษารักษ์

ID : 53484931011

University : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ศูนย์ภูเก็ต)

Major : สาขานวัฒกรรมและการจัดการ

Assignment : Key Success Factor ของการไฟฟ้า

จากการศึกษาดิฉันคิดว่า พนักงานเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งพนักงานที่รักองค์กรและเป็นคนเก่งด้วย เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งอยาดทำงาน อยากอยู่กับเรา ในขณะเดียวกันดิฉันคิดว่า ปัจจัยคนที่ไม่เก่งมีความพยายาม มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะพัฒนาตนเองด้วย ถ้าไม่ใช้อยู่เป็น Dead wood จะเป็นการสร้างปัญหามากมายในองค์กร และปัจจัยเสริมในองค์กรดิฉันคิดว่า สร้างบรรยากาศในการ Share ideas and Share Vision ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ Exccllence is not a skill but attitude

ดังนี้ 1.) Pain is gain

2.) Emotional ในทฤษฎี 5k ' s

3.) Share Vision

4.) Trust

5.) Motivation

6.) Reinventing

ในการศึกษาของการไฟฟ้าที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พอสังเขปดังนี้ 7 Habits ดังนี้

1.) Be Proactive

2.) Think with the end in mind

3.) Put first thing first

4.) Think win - win

5.) Try to understand and then to be understood

6.) synergy

7.) Sharpen the saw

ดิฉันได้ตกผนึกในการศึกษาการไฟฟ้าเป็นองค์กรใหญ่มี Training แต่ไม่ค่อยจะมี Learning เข้ามี Training เราไม่ได้ไปสร้าง Change and Value added ซึ่งจุดเด่นที่ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้ามีได้แก่การสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้

(Learning Culture) หรือ สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) หรือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Onganization)

ในประเด็นนี้ดิฉันคิดว่าสอดคล้องกับ Peter Senge ด้วยปัจจัยต่อไปนี้

1.) Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

2.) Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด

3.) Shared Vision มีเป้าหมายร่วมกัน

4.) Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

5.) System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

นอกจากนี้ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้า ยังไม่ทำอย่างเต็มที่โดยเฉพาะเรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share Vision ความรู้ร่วมกันในองค์กรและการบริหารส่วนใหญ่เป็นแบบ top down อยู่ซึ่งจะเน้น Command and Control หรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical Powcr มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับส่วนใหญ่ทำงานกันเยอะ Working แต่ขาด Think Strategies คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก และการทำงานเป็นทีมแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้าองค์กรได้นำทฤษฎี 8H มาเสริมด้วยจะเพิ่มศักยภาพมากทีเดียวได้แก่

1.) Heritage 2.) Home 3.) Hand 4.) Head 5.) Heart

6.) Happiness 7.) Harmony 8.) Health

ดิฉันคิดว่าการไฟฟ้าสอดคล้องกับ How Passion and commitment will help in delivering excellence

ดังที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1.1.) You have to enjoy you work

1.2.) You have to have pupose and meaning of work

1.3.) You have to have ability to get things done - once you have it the rcsult is that your

work is faster

1.4.) your work has guality and excellence

1.5.) your work is more than routine - value added and Value creation

1.6.) your work is more creative

ในประเด็นของการไฟฟ้า ดิฉันคิดว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้สิ่งสำคัญ Know ledgc ประกอบด้วยปัจจัยเสริมดังนี้

1.) จะอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันได้

2.) จะเกิดการทำงานที่มีคุณภาพสูง (High Performance)

3.) เริ่มดำเนิน Good ไปสู่ Great

สรุปการไฟฟ้าที่ดิฉันได้ศึกษาข้อมูลพอสังเขป ได้แก่

1.) Pain is gain 2.) Emotional ของทฤษฎี 5K'S (อารมณ์) 3.) Share Vision

4.) Trust 5.) Motivation and 6.) Reinventing พร้อมทั้ง 5E'S ได้แก่

1.) Example : เป็นสร้างตัวอย่างที่ดี 2.) Experience : ถ่ายทอดประสบการณ์ 3.) Education : การศึกษาให้ความรู้

4.) Environment : สร้างบรรยากาศที่ดีและ 5.) Evaluation : การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ท้ายสุดนี้ดิฉัน ได้ข้อคิดดังนี้ "เลือกคนดี พัฒนาคนดี รักษาคนดี" "เล็กแต่เร็ว ง่ายแต่ถูกต้อง น้อยแต่ภูมิใจ" พร้อมทั้ง "ถ้ามีปัญหาให้มองที่เป้าหมาย อย่าติดอยู่กับวิธีการ โดยมอง Goal มากกว่าสนใจ Means และระบบที่ดีต้องเป็นระบบที่ส่งเสริมสนับสนุนให้งานรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและสามารถสร้างตรวจสอบความผิดพลาดได้ดี" ขอบคุณมากๆ ขอให้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีสุขภาพแข็งแรง ดิฉัน นางจงดี พฤกษารักษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท