จาก....รอยไหม.....ไปสู่...รอยฝ้าย (1)


จากเดิมที่คิดว่าโรคมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีเป็นโรคที่จำเพาะเกิดกับคนอิสาน แต่จากที่ตามรอยโรคจากขอนแก่นสู่เมืองน่าน....น่าจะเกิดองค์ความรู้ใหม่อีกหรือไม่

จากแดนอิสานบ้านเกิดเมืองนอน......

มาเล่นละครบทชีวิตใหม่........

จากดินแดนแห่งรอยไหม......ไปสู่ดินแดนแห่ง....รอยฝ้าย ลายงามน้ำไหล เมืองน่าน

Large_hhhhh-tile

ในบทของคนตามรอยโรคมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดี ที่ อ. บ้านหลวง จ.น่าน

นำทีมโดย....รศ. นพ. วัชรพงศ์  พุทธิสวัสดิ์

           (17 ต.ค. เดินทาง 18-19 อยู่ในพื้นที่ 20 ต.ค. เดินทางกลับ)

            จากเดิมที่เคยคิดว่าโรคมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่จำเพาะเกิดขึ้นกับคนอิสาน  โดยคนอิสาน (แบบแผนความเป็นอยู่ การกิน)  แต่ไม่ใช่เพื่อคนอิสาน เพราะโรคนี่เป็นแล้วยากที่จะรักษา  ยกเว้นที่พบในระยะต้นๆ

        แรกที่ได้ทราบว่าจะมีการออกไปที่ จ.น่าน เกี่ยวกับโรคมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดี  ทุกคนต่างงุนงง สงสัย ว่าเกี่ยวข้องอย่างไร  หรือจะเหมือนกับที่เคยเกิดการค้นพบว่า มีการเกิดโรคนี้มากที่ จ.ลพบุรี  ซึ่งอยู่ภาคกลาง  แต่เมื่อศึกษาต่อไปแล้วพบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็คือชาวอิสานที่อพยพไปอยู่ที่ลพบุรีนั่นเอง  แสดงว่าโรคนี้ติดตัวไปกับชาวอิสานไม่ว่าจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ใด  เพราะระยะฟักตัวของโรคใช้เวลานานถึงกว่า 20 ปี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ

เป็นชาวอิสานโดยกำเนิด มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็น (เกี่ยวข้องกับแบบแผนความเป็นอยู่ การกิน)

 อายุ40 ปี ขี้นไป

 ชอบกินปลาดิบ (ปลามีเกล็ด)ประเภทก้อยลาบปลาร้า ปลาสัมปลาจ่อม

 ถ้าตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับแล้ว ยิ่งมีโอกาสเกิดสูงขึ้น 

เคยกินยาฆ่าพยาธิ ยิ่งถ้ากินซ้ำๆ ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงขึ้น

แต่นี่  ที่ อ. บ้านหลวง จ.น่าน  ผู้ป่วยเป็นชาวน่านแท้ๆ ไม่มีชาวอิสานปะปน  ทำไมจึงเกิดอุบัติการณ์นี้ขึ้น น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง 

      พวกเราพักค้างคืนที่น่าน  รุ่งเช้าจึงออกไปที่ อ. บ้านหลวง

      อ. บ้านหลวง อยู่ห่างจากเมืองน่านประมาณ 46 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะบนภูเขาสูง

Large_img_5251-tile

สังคมปิดแบบชาวชนบททั่วไป ดังนั้นข้อมูลข่าวสารจึงกระจายได้อย่างรวดเร็ว

      Large_img_5262-tile

ที่ โรงเรียนบ้านหลวง เริ่มให้ความรู้ ตอบข้อสงสัย ข้องใจต่างๆ  กับ อสม. ได้รับความสนใจอย่างหนาแน่น เพราะเป็นปัญหาใกล้ตัว และมีผู้เชี่ยวชาญไปเอง

ช่วงเกือบบ่าย ร่วมกับทีมจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ไปรับฟังข้อมูลจากชาวโรงพยาบาลบ้านหลวง โดยคุณหมอกัลยาณีนำเสนอให้ฟัง ได้ข้อมูลเป็นประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

คุณหมอกัลยาณี จบจาก มช.เมื่อ 7 ปีก่อน มาอยู่ที่ อ.บ้านหลวงเมื่อปีที่แล้ว

รพ. บ้านหลวง เป็น รพ. ขนาด 30 เตียง อัตราการเกิดโรคนี้ รวมถึงอัตราการตายด้วยโรคนี้ สูงเป็นอันดับหนึ่ง (อาจเป็นที่ 1ใน จ. น่านด้วยหรือไม่)

ช่วงต้นปี ที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ชาว รพ.บ้านหลวงนำความกราบบังคมทูลทรงทราบถึงสถานการณ์ความเจ็บป่วย ความเชื่อ สภาพเศรษฐกิจ   จึงเป็นที่มาของโครงการความร่วมมือของ รพ.จุฬาภรณ์กับ รพ. บ้านหลวง (สำหรับประเด็นที่ได้จะสรุปในบันทึกต่อไป)

Large_img_5283-tile

มีเวลาพักประมาณ 1 ชั่วโมง ช่วงบ่าย พวกเราเลยมานั่งพักที่บ้าน(เช่า)ปล่อยให้ อ. วัชรพงศ์ พูดคุยกับทีมจาก รพ.จุฬาภรณ์ที่โรงพยาบาล

 

ช่วงเย็นถึงค่ำ (เกือบดึก)เป็นการพูดคุยกับบุคลากรโรงพยาบาล มีการแลกเปลี่ยน ซักถามกันมาก

ที่ทำช่วงเย็น เพราะช่วงกลางวัน บุคลากรต้องปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการ  ไม่อยากรบกวนเวลาทำงาน 

         น่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง

พวกเราดีใจที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนลืมความหิว

เช้าวันรุ่งขึ้น  ช่วงที่ อ.วัชรพงศ์เข้าไปพูดคุย ตอบข้อซักถาม ดูแลผู้มารับบริการที่มารอการตรวจ ผู้เขียนและคุณเฉลิมศรีเข้าไปที่หอผู้ป่วยใน มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย ให้กำลังใจ ชี้แนะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย

น่าชมเชยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนี้จริงๆ ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Large_img_5309-tile

 

หมายเลขบันทึก: 465577เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สุขภาวะอนามัย ควรมีการเผยแพร่ข้อควรระวังเพื่อสร้างอุปนิสัยในการบริโภคอย่างถูกต้องนะคะ ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ

ต้องติดตามตอนต่อไป...ใช่ไหมคะ ?

จะติดตามตอนต่อไปว่า...

พยาธิ เดินทางจากอีสาน

ข้ามเขา ไปถึงน่าน...ได้อย่างไร อิอิ ^__^


สวัสดีครับ

ภาพสวยและเรื่อง้ล่าที่ยอดเยี่ยม

เป็นกำลังใจครับ

ผมจะชอบอ่านตอน 2 ต่อครับ

พระอาจารย์ที่นี้มีพื้นแพมาจากอิสาน ก็เป็นโรคนี้เหมือนกัน

ยากที่จะรักษาเหมือนที่คุณกระติกเขียนไว้ครับ

สวัสดีค่ะ คุณกระติก

" แต่นี่  ที่ อ. บ้านหลวง จ.น่าน  ผู้ป่วยเป็นชาวน่านแท้ๆ ไม่มีชาวอิสานปะปน  ทำไมจึงเกิดอุบัติการณ์นี้ขึ้น น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง "

เมื่อวาน เข้ามาแซวด้วยจินตนาการเล็กๆจากข้อสังเกตมุมนี้

แต่...พบว่า บางทีการสื่อสารในมุมแคบๆของตัวเอง

มีส่วนกระทบความตั้งใจดีของเพื่อนได้เหมือนกันนะ (จากบันทึกอื่น)

คุณกระติกคงพอเข้าใจ คนในโลกแคบแบบเฮานะ

ขอบคุณค่ะ 


-ผมไป อ.บ้านหลวงบ่อยครับ เอาสินค้าไปส่งที่นั่น

-วัฒนธรรมการกินของคนอีสานกับชาวเหนือคล้ายๆ กันนะครับ

ชอบกินของสุกๆ ดิบๆ (เช่น ลาบปลาดิบ ลาบหมูดิบ หลู้เลือดดิบๆ ส้าดิบ )เหมือนกัน....ก็เลยมีโรคที่เหมือนกัน

-ไม่ทราบว่า เอี้อยได้เข้าไปเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวมะลาบรี(ผีตองเหลือง)ด้วยหรือเปล่าเอ่ย?

เพราะเส้นทางไป อ.บ้านหลวง มีชุมชนตองเหลืองอาศัยอยู่ด้วยครับ

Ico48

ขอบคุณคะพี่ใหญ่

การสื่อสารให้ประชาชนรู้ทันภาวะสุขภาพ นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งนะคะ

 

ขอบคุณคุณหมอคะ

Ico48

โปรดติดตามตอนต่อไป  ^__^

 

 

 

Ico48

น่าน นะซิ

พยาธิเดินทางข้ามเขามาได้อย่างไร น่าสนแฮะ

ไม่ต้องห่วงนะคะ ว่าจะอะไร ยังไง

สำหรับความคิดเห็น สบาย สบายอยู่แล้ว

 

Ico48

เล่าแบบเรื่อยๆ มาเรียงๆ คะ

วิชาการไม่ค่อยเก่ง เลยเล่าแบบวิชาเกินบ้าง.....

Ico48

ขอบคุณงาม ๆ ครับ ;)...

 

รับคำขอบคุณแบบงามๆ เหมือนกันคะ

คนงามๆ ก็ต้องคู่กับสิ่งงามๆ  ^__^

 

 

Ico48

ด้วยความที่โรคนี้สืบเนื่องจากวัฒนธรรมการกิน อยู่

เลยเหมือนกับเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์คะ

ระยะฟักตัวก็ใช้เวลานาน นับสิบๆ ปี จึงมักเจอในผู้ใหญ่

 

Ico48

ไม่ได้แวะที่ไหนเลยคะ

เดินทางเช้า เสร็จกิจกรรมก็มืด ค้างคืนแบบกินข้าวแล้วนอนพอดี

ตื่นมา..กิจกรรมต่อ... แล้วก็กลับน่าน ไหว้พระที่วัด .....ก็หมดเวลาแล้ว

ถ้ามีโอกาสคงได้ไปอีก

 

ปล. น้องสาว เป็นสะใภ้ชาวน่านคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท