ถอดรหัสการเรียนรู้ด้วยคูแซม (KUSAM) ภาค “A-M”


KUSAM

 

จากบันทึกที่แล้ว (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464060) ผมได้อธิบายขยายความ Keyword ของKUSAM ไป 3 ตัวแล้วคือ “K”, “U” และ “S” ยังตัวเหลืออีก 2 ตัวคือ “A” และ “M” ผมตั้งใจว่าเขียนในจบในบันทึกนี้ พร้อมแล้วมาดูพร้อมกันเลยครับ

 

A

  

- Action/Activies – กิจกรรมและการลงมือปฏิบัติ ในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการลงมือปฏิบัติทดลองให้เห็นจริง เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง ลองเข้าไปดูแนวการสอนแบบไม่สอนที่ผมได้เคยบันทึกไว้ตาม Link นี้ดูครับ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/256983

 

- Apply – การประยุกต์นำไปใช้งานจริง ผู้สอนต้องทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้งานจริงได้ ไม่ใช่เรียนรู้เพื่อรู้เท่านั้น หลังจากที่มีการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีปฏิบัติอย่างช่ำชองแล้ว ต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสไปสัมผัสกับบรรยากาศจริงๆ สถานการณ์จริงๆ หรือที่รู้จักกันในนามของ OJT (On the Job Training)

- Alert – ความตื่นตัว มีสติตั้งรับ ผู้สอนต้องสร้างให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นตื่นตัว มีกำลังใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา สร้างให้ผู้เรียนมีสติสมาธิกับการเรียน โดยหาสิ่งเชื่อมโยงเพื่อดึงดูดใจที่มีความสนุกสนานตื่นตา ตื่นใจ ไม่น่าเบื่อ ให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นไปยังเนื้อหาที่ต้องการที่จะให้เรียนรู้

- Alarm – การสังสัญญาณเตือน ไปยังผู้เรียน เพื่อปรับแต่งความเข้าใจของผู้เรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ แต่ทั้งนี้ต้องให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ครูต้องมีกลยุทธ์จิตวิทยาในการแจ้งเตือนในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น การยกตัวอย่าง เล่านิทาน สาธก ยกนิยาย อุปมาอุปไมย เป็นต้น

- Appreciate – การชื่นชมในสิ่งที่ดี แนวคิดนี้เป็นการสร้างกำลังใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีพลังได้มากทีเดียว เพราะคนเราเมื่อมีความพอใจแล้ว ก็จะเกิดฉันทะในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น วิธีการอาจจะเป็นลักษณะของการเล่าเรื่องความสำเร็จแบ่งปันสู่กันฟัง (Success Story Sharing) หรือ ใช้หลักการถามแบบสุทรียปรัศนีย์ (Appreciate Inquiry) ตัวอย่าง Success Story Sharing  ลองเข้าไปดูที่ Link http://www.youtube.com/watch?v=rKnKjBc_UUI ส่วนเรื่องAppreciate Inquiry ให้เข้าไปดูที่ Link http://www.gotoknow.org/blogs/books/view/appreciativecoaching

- Ask/Answer – การถามและการตอบ ในการเรียนรู้การใช้คำถามเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนเข้าใจตรงตามที่เราสอนหรือไม่ การถามควรถามเป็นคำถามปลายเปิด เช่น ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เท่าใด ทำไม เป็นต้น ส่วนการตอบคำถามก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ผู้สอนต้องพยายามให้ผู้เรียนค้นพบคำตอบได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด นั่นคือเมื่อมีคำถามจากผู้เรียนผู้สอนต้องพยายามแนะแนวทางให้ผู้เรียนไปหาคำตอบ นั้นๆ เองว่าคำตอบนั้นนอยู่ที่ใด เพื่อให้ผู้เรียนเดินทางไปหาคำตอบนั้นๆ เอง ดังคำที่ท่าน อ.วรภัทร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่าต้องให้ผู้เรียน “เรียนรู้วิธีเรียนรู้” เพื่อหาคำตอบด้วยตัวเอง


- Are – เป็น/อยู่/คือ ผู้สอนต้องสร้างให้ผู้เรียนรู้จักตัวเองว่า ตัวเองคือใคร มีความสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างไร เป็นกำลังใจให้ผู้เรียน ผมมีความเชี่อว่าทุกคนมีศักยภาพแต่เราไม่รู้ว่าศักยภาพนั้นจะปรากฎมาอย่างไร ดังนั้นต้องพยายามค้นหาตัวเองให้เจอ ตัวครูเองก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ดังคำของท่านผู้รู้ที่ได้กล่าวไว้ว่า “นำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นให้เชี่ยวชาญ ชำนาญให้เกิดผล”

- Affect – การกระทบ ผู้สอนต้องหามุก กลยุทธ์ที่ “โดน” ใจผู้เรียนให้มากที่สุด ต้องหาข้อมูลว่าผู้เรียนชอบ สนใจอะไร และพยายามสื่อสารให้เป็นพวกเดียวกับผู้เรียน เช่น แฟชั่น หนังเพลง Trend ที่กำลังเป็นอยู่ เพื่อที่จะได้เชี่อมโยงสิ่งเขาชอบสนใจอยู่ไปยังเนื้อหาที่ต้องการให้เกิดกาเรียนรู้

- Amazing – ความมหัศจรรย์ ตื่นตา ตื่นใจ ผู้สอนต้องหามุกกลยุทธ์ ให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตาตื่นใจ หักมุม คาดไม่ถึง เพื่อเชี่อมโยงไปยังเนื้อหาที่ต้องการให้เกิดกาเรียนรู้ เช่น พาไปทำกิจกรรมที่แปลกๆ หาของแปลกๆ มาให้ดู เป็นต้น

- Aqua – ทฤษฎีอ่างเลี้ยงปลา แนวคิดนี้ผมได้มาจากแนวคิดขอิงการทำกิจกรรม World Cafe ที่แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ทำกิจกรรมแสดงบทบาทอยู่ข้างใน กลุ่มที่สอง เป็นคนสังเกตการณ์รอบๆ เพื่อ Comment และให้กำลังใจ จากนั้นก็สลับกันคนดูไปเป็นคนเล่น คนเล่นไปเป็นคนดู หลังจากทุกคนได้สลับบทบาทกันแล้ว ก็ให้ทุกกันมาล้อมวง Share กัน ในลักษณะของ AAR ( After Action Review) อีกครั้ง


M

 

- Maturity – วุฒิภาวะ ในการเรียนการสอนผู้สอนต้องวิเคราะห์ถึงผู้เรียนในด้านวุฒิภาวะว่าพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ มีความเป็นผู้ใหญ่พอหรือไม่ ในที่นี่อยากให้วิเคราะห์ไปยังความพร้อม 3 ฐาน อันได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ และฐานคิด ตามที่ OSHO ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “วุฒิภาวะ ศิลปะของผู้ถึงพร้อม” ที่ท่านอ. ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด ได้แปลและเรียบเรียงไว้

- Merge/Mix & Match – การผสมผสาน จับคู่ให้เหมาะสม เป็นการนำสิ่งรอบตัวตามบริบทที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงองค์ความรู้ไปยังเนื้อหาที่ต้องการ เช่น การทำกับข้าว ก็สามารถเชื่อมโยงไปยังเรื่อง คณิตศาสตร์จากการคำนวณวัตถุดิบ เคมีจากส่วนผสมของวัตถุดิบ ฟิสิกส์จากพลังงานที่ต้องใช้ปรุงอาหาร ศิลปวัฒนธรรม จากลักษณะอาหารรสชาติ เป็นต้น

- Meaning – การหาความหมาย นิยาม ผู้สอนต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สร้างนิยามขององค์ความรู้ขึ้นมาเอง โดยแนะแนวทางช่วยเหลือสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การออกแบบการทดลอง และสรุปผลการทดลอง เป็นต้น ลองเข้าไปดูแนวการสอนแบบไม่สอนที่ผมได้เคยบันทึกไว้ตาม Link นี้ดูครับ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/256983

- Max /Min – การวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งศักยภาพของผู้เรียนในที่นี้ก็คือ Competency หรือสมรรถภาพนั่นเอง ผู้สอนต้องวิเคราะห์ได้ว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้ ทักษะแตกต่าง สูงสุด/ต่ำสุดเท่าใด และผู้สอนจะต้องเติมความรู้ ทักษะจากฐานต่ำสุดของผู้เรียนไปอีกเท่าใดจึงจะได้ตามที่ได้ตั้งไว้

- Mood – อารมณ์/ความรู้สึก ผู้สอนต้องวเคราะห์ผู้เรียนได้ว่าผู้มีอารมณ์ร่วมพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ ถ้ายังไม่พร้อม จะต้องทำอย่างไร อาจจะต้องหากิจกรรมละลายพฤติกรรมมาช่วย

 

หมายเลขบันทึก: 466179เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2011 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท