3.พระอัจฉริยภาพเชิงประจักษ์/บิดาแห่งระบบชลประทาน


              

              เราคงได้ยินพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯที่เกี่ยวกับน้ำ จนนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะมาจากเรื่องการไม่มีน้ำ  ทำอย่างไรจะให้มีน้ำ หรือมีน้ำมากเกินไป ที่เรียกว่าอุทกภัย ที่ทรงแนะนำ ถ้าเป็นน้ำท่วมกรุงเทพฯที่ชัดๆก็ปี 2538 ใครอยากรู้ก็ไปหาดูได้  การบริหารจัดการน้ำก็เช่นกันพระองค์ทรงแนะนำหลายอย่างซึ่งถ้าผู้บริหารประเทศนำมาคิดสู่การปฏิบัติรับรองว่าทั้งแล้งและท่วมจะทุเลาเบาบาง เช่นครั้งนี้ หากการพร่องน้ำจากเขื่อนทำมาเป็นระยะๆสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกลงมารับรองปัญหาน้ำท่วมคงไม่มากมายขนาดนี้ (ปัญหาเรื่องนี้กำลังถูกเปิดเผยต่อสาธารณะชนอยู่ในเวลานี้) “ไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้” นี่คือส่วนหนึ่งจากพระราชดำรัส ในเรื่องน้ำ ประเทศไทยที่ผ่านมามีปัญหาแล้งมากกว่าน้ำท่วม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรอย่างมาก เนื่องจากเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ระบบชลประทานจึงกลายมาเป็นโครงการที่พระองค์ทรงคิดตลอดเวลา จนเป็นที่มาของโครงการพระราชดำริ เฉกเช่นกับเรื่องการทำมาหากินอื่น

                ก่อนมหาวาตภัยปี 2505 แผ่นดินบริเวณอ่าวปากพนัง คืออู่ข้าวอู่น้ำ และการพานิชย์ ประตูสู่การค้าระหว่างประเทศคืออ่าวปากพนัง ด้วยกับทำเลที่เหมาะสมทั้งการทำนา และการพานิชย์ เนื่องจากอ่าวปากพนังคือท่าเทียบเรือพานิชย์ของชาติต่างๆที่เข้ามาค้าขาย และซื้อข้าวจากประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ อนุสาวรีย์แห่งความมั่งคั่งที่เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้เห็นก็คือปล่องควันของโรงสีข้าว หลังจากมหาวาตภัยผ่านพ้นไป( http://www.gotoknow.org/blogs/posts/465892) ดินแดนบริเวณนี้กลายเป็น พื้นแผ่นดินที่เกิดปัญหา เกี่ยวกับการทำการเกษตร ประกอบกับช่วงต่อมาการคมนาคมได้เปลี่ยนจากทางน้ำมาเป็นทางบก ทำให้อ่าวปากพนังลดบทบาทลงไป จนถึงกับไม่มีบทบาทเลย ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้คนในบริเวณนี้ได้ย้ายถิ่นฐาน ไปทำมาหากินที่ อำเภออื่นๆเช่น อ.ลานสกา อ.พรหมคีรี ฯลฯ บางคนก็ย้ายไปต่างจังหวัดก็มี(กทม.ก็มาก) สรุปแล้วการทำมาหากินคือปัญหลัก หลายๆรัฐบาลที่ผ่านก็พยายามจะพัฒนาบริเวณนี้ แต่ก็ขาดการคิดที่เป็นระบบ ที่สำคัญไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง

                ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาผู้คนเริ่มท้อถอย หมดหวัง ทั้งที่อ่าวปากพนัง มีแม่น้ำปากพนัง เป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาหลวง มีน้ำจืดไหลตลอด แต่พอถึงฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำปากพนังกลับกลายเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้

                ผู้คนพอจะมีหวังอยู่บ้างช่วงสั้น เมื่อกุ้งกุลาดำมีราคาสูง พี้นที่บริเวณนี้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง ผู้คนในพื้นที่และต่างพื้นที่ต่างก็มาแสวงโชคจากการทำนากุ้ง แต่ก็คึกคักไม่นาน ระบบนิเวศน์เสียหายมากจากการรุกล้ำป่าชายเลน และการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาเต็มรูปแบบ ทำให้น้ำเน่าเสีย ทำลายสัตว์น้ำโดยธรรมชาติจนเกือบหมดสิ้น ต่อมาราคากุ้งตกต่ำ คนทำนากุ้งเริ่มประสพกับภาวขาดทุน จนต้องทิ้งร้างเลิกทำกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความหวังต้องดับลงอีกครั้ง แต่เมื่อคนเลิกทำนากุ้งกันมากๆขึ้นระบก็ค่อยๆกลับคืนมา มีคนอีกจำนวนหนึ่งยังคงยึดอาชีพทำนากุ้งต่อไป แม้จะไม่คึกคักเท่าเก่าก็ตาม

                ท่ามกลางความหมดอาลัยตายอยาก เหมือนฟ้าโปรดเมื่อได้ข่าวว่า จะมีการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลายๆคนก็ไม่ค่อยจะมั่นใจมากนัก แต่เมื่อวันเฉลิมพระชนม์พรรษาปีหนึ่ง คนไทยทุกคน โดยเฉพาะคนในแถบลุ่มน้ำปากพนัง ได้ยินเต็มๆด้วยหูของตัวเอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงกล่าวถึงลุ่มน้ำปากพนัง ที่ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ทรงกล่าวถึงชื่อสถานที่บริเวณนั้นได้อย่างถูกต้องชัดเจน จนได้ยินคนในจังหวัดเดียวกันพูดว่า “ชื่อนี้มีด้วยหรือ” นั้นก็หมายความว่าพระองค์ทรงกล่าวถึงสถานที่ต่างได้อย่างถูกต้องชัดเจน ดั่งพระองค์เคยเสด็จมาด้วยพระองค์เอง ทั้งที่คนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนหนึ่ง ไม่รู้จักชื่อสถานที่นั้นๆด้วยซ้ำไป

บริเวณอ่าวปากพนัง

 

ภาพแสดงต้นแม่น้ำปากพนัง

ภาพแม่น้ำปากพนังปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 466733เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2011 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเทอดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันเปรียบประมาณมิได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท